Skip to main content

Kasian Tejapira(15/9/56)

แม่ชีคาทอลิกชาวสเปน เทเรซ่า ฟอร์คาดส์ แห่งนิกายเบเนดิคธีน (เกิด ค.ศ.๑๙๖๖ ที่เมืองบาร์เซโลนา) ขึ้นชื่อว่าเป็นปัญญาชนสาธารณะฝ่ายซ้ายที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของยุโรป คนหลายพันพากันเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทุนนิยมของเธอซึ่งรณรงค์ให้แคว้นคาตาโลเนียเป็นอิสระ ย้อนศรการตัดทอนงบประมาณรายจ่ายรัฐบาล ให้โอนกิจการธนาคารและบริษัทพลังงานทั้งมวลเป็นของรัฐ ผลักดันแนวคิดเฟมินิสต์คริสเตียน และสวัสดิการการแพทย์และสาธารณสุข
 
สำนักชีเซนต์เบเนธบนภูเขามองต์เซอราตอันศักดิ์สิทธิ์สงบสวยงามในสเปนซึ่งมีแม่ชีอยู่ราว ๓๐ กว่าคนกลายเป็นฐานที่มั่นและกองบัญชาการการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอด้วยแรงรักสนับสนุนของแม่ชีร่วมสำนักทั้งมวลที่เห็นว่าเธอเป็น “ของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้า” และกำลังบุกเบิกทางใหม่แบบเฟมินิสต์ให้กับคริสตจักรคาทอลิก ผ่านรายการทอล์คโชว์ของทีวีท้องถิ่น, สื่อทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/Forcades กิจกรรมของเธอเยอะแยะมากมายเสียจนกระทั่งหาตัวแม่ชีเทเรซ่าว่าอยู่ไหนยากยิ่ง บ่อยครั้งที่กล่องอีเมล์ของเธอซึ่งมีเลขานุการดูแลให้ส่งคำตอบกลับมาโดยอัตโนมัติว่า “กล่องจดหมายเข้าเต็มแล้ว”
 
เธอจบการศึกษามาทางการแพทย์และเทววิทยาทั้งที่สเปนและอเมริกา ด้วยแววตาสุกใส บุคลิกเชื่อมั่นแจ่มใสสดชื่น เธอปราศรัยต่อฝูงชนเก่งและวางแผนเคลื่อนไหวได้เฉียบคม ทั้งยังพูดภาษาอังกฤษได้สมบูรณ์แบบค่าที่ไปอยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในอเมริกามาหลายปี เธอใส่ชุดแม่ชีคลุมผมอยู่เสมอ และยืนยันว่าทุกอย่างที่เธอทำมาจากศรัทธาและการอุทิศตัวให้คริสต์ศาสนาอย่างลึกซึ้ง แม้เธอจะวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักรคาทอลิกและบาทหลวงที่บริหารมันอย่างรุนแรงก็ตาม
 
ขบวนการเคลื่อนไหวของเธอซึ่งชื่อว่า “กระบวนการสถาปนา” (Proces Constituent) ซึ่งล่ารายชื่อผู้เห็นด้วยชาวคาตาลันได้ราว ๕ หมื่นคนในปีนี้ ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายที่ไม่นับถือศาสนา เธอยืนยันว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งใด ๆ และไม่ตั้งพรรคการเมือง หากจะเคลื่อนไหวอิสระเพื่อบรรลุการล้มเลิกระบบทุนนิยมสากลและเปลี่ยนโฉมแผนที่ประเทศสเปนตามหลักนโยบาย ๑๐ ข้อซึ่งเธอกับนักเศรษฐศาสตร์ อาร์คาดี โอลีเวเรส ช่วยกันร่างขึ้น
 
แต่ละวันมีขบวนผู้คนแวะมาเยี่ยมและพูดคุยกับแม่ชีเทราซ่าที่สำนักชีต่อเนื่องไม่ขาดสาย เธอเองก็ออกเคลื่อนไหวภายนอกไม่หยุดเช่นกัน เวลาเธอขึ้นไฮด์ปาร์คกลางเมือง ผู้คนจะแห่มาฟังเธอจนแน่นขนัด โดยเฉพาะแนวคิดข้อเสนอพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินของเธอที่นักการเมืองกระแสหลักของสเปนมากมายได้ยินแล้วแตกตื่นตกใจ เธอเองชื่นชมคานธี นโยบายบางอย่างที่อดีตประธานาธิบดี ฮิวโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอล่าผู้ล่วงลับและประธานาธิบดีอีโว โมราเลสแห่งโบลิเวียดำเนิน อย่างไรก็ตามที่จับใจเธอเป็นพิเศษได้แก่ตัวแบบเศรษฐกิจของแม่ชีนิกายเบเนดิคที่มีมาหลายร้อยปีซึ่งเน้นการผลิตสร้างสินค้าที่เป็นประโยชน์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจก
 
แน่นอนว่ากิจกรรมเคลื่อนไหวของเธอตกเป็นเป้าวิจารณ์โจมตีของสังฆาธิการทั้งหลายที่จงรักภักดีต่อทางการวาติกัน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องของเธอตั้งแต่เรื่องยึดกิจการธนาคารไปจนถึงการเปิดทำแท้งเสรี อย่างไรก็ตามพระสังฆาธิการเจ้าคณะของเธอในท้องถิ่นยังคงอนุญาตให้เธอเคลื่อนไหวต่อไปได้ไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด
 
ในทางส่วนตัว แม่ชีเทเรซ่าเผยว่าสมัยวัยรุ่น เธอเองก็ลังเลจะบวชชีเพราะข้อบังคับเรื่องรักษาพรหมจรรย์ อย่างไรก็ตามหลังบวชชีแล้ว เธอเองก็เคย “ตกหลุมรัก” ถึง ๓ ครั้งแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยความยึดมั่นอุทิศตนแก่พระผู้เป็นเจ้าและสำนักชีของเธอ เธอสรุปท้ายว่า:
 
“ตราบใดที่ชีวิตทางศาสนาของฉันเปี่ยมด้วยความรัก ฉันจะคงอยู่ที่นี่ แต่เมื่อใดชีวิตนี้เอวังสุดทางลง...ก็เป็นหน้าที่ของฉันที่จะผละจากมันไป”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม