Skip to main content
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
 
หากถือตามความเข้าใจของ Wolfgang Sachs นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา, และโลกาภิวัตน์ชาวเยอรมันว่าเป้าหมายใจกลางของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้แก่ “การสร้างพื้นที่การแข่งขันที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลก” (homogeneous global competitive space) ที่ปลอดเปล่าจากกฎระเบียบกำกับการประกอบการเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะผิดแปลกกันออกไปในระดับรัฐชาติและท้องถิ่นทั้งหลาย โดยผ่านกระบวนการ deregulation & re-regulation (ลดเลิกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลายระดับชาติและท้องถิ่นเสียก่อน & แล้วกำหนดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจใหม่ที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลกขึ้นมาครอบคลุมแทนที่) (http://www.worldsummit2002.org/publications/sachsglobal.pdf) เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ข้ามชาติ เป็นต้น
 กราฟแสดงวิวัฒนาการของมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้
 
ปรากฏว่าโครงการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวกำลังสะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (protectionism) ระดับชาติที่รัฐบาลนานาประเทศพากันดำเนินอย่างมากมายแพร่หลายพร้อมเพรียงกันนับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) สำหรับประเทศที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าเด่น ๆ มากกว่าเพื่อนได้แก่อาร์เจนตินา, บราซิล, แอฟริกาใต้, รัสเซีย, อินโดนีเซีย ซึ่งออกมาตรการคุ้มครองหนักข้อกว่าจีนเสียอีก ทั้งนี้ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องดังกล่าวซึ่งพิมพ์เผยแพร่ออกมาเมื่อ ๓ ก.ย. ศกนี้ (TENTH REPORT ON POTENTIALLY TRADE-RESTRICTIVE MEASURES IDENTIFIED IN THE CONTEXT OF THE FINANCIAL AND ECONOMIC CRISIS 1 MAY 2012 – 31 MAY 2013 http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2013/september/tradoc_151703.pdf
 ปกรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องมาตรการคุ้มครองการค้าของนานาประเทศคู่ค้าฉบับล่าสุด
 
ในทางประวัติศาสตร์ มาตรการคุ้มครองการค้ามักกลับมาปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเสมอ และสิ่งที่เราเห็นในหลายปีหลังนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น รายงานที่เอ่ยถึงข้างต้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรป ๓๐ กว่าประเทศทั่วโลกเผยว่าระหว่างวันที่ ๑ พ.ค. ศกก่อน ถึง ๓๑ พ.. ศกนี้ มีมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมาจากประเทศเหล่านี้ถึง ๑๕๔ มาตรการ ขณะที่มีมาตรการคุ้มครองการค้าถูกยกเลิกไปโดยประเทศเหล่านี้เพียง ๑๘ มาตรการ และหากนับย้อนกลับไปถึงนับแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมาก็จะพบว่ามีการวางมาตรการคุ้มครองการค้าที่จำกัดการค้าเสรีทั่วโลกลงเบ็ดเสร็จถึง ๖๘๘ มาตรการโดยรัฐบาลนานาประเทศซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครนเป็นกลุ่มที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ มามากที่สุดนับแต่ปี ๒๐๐๘ มา (ดูตารางด้านล่างประกอบ)
ตารางแสดงมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจาก ต.ค. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา จำแนกประเทศและประเภทของมาตรการ
 
แม้ว่าความแตกต่างขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปจะปรากฏเป็นข่าวในสื่อมากที่สุด แต่เอาเข้าจริงจีนก็หาใช่ประเทศคุ้มครองการค้ามากที่สุดไม่ กล่าวคือจีนออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมา ๓๖ มาตรการนับแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ มา นับว่ายังห่างไกลจากอาร์เจนตินาซึ่งบัญญัติมาตรการทำนองนี้ออกมาถึง ๑๔๗ มาตรการ
กราฟจำแนกประเภทมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้และเฉพาะรอบปีที่ผ่านมา
มาตรการคุ้มครองการค้าหลักที่ถูกใช้อยู่ในรูปการฟื้นฟูกฎระเบียบการนำสินค้าเข้า, ข้อกำหนดให้ใช้สินค้าในชาติ, โอนย้ายวิสาหกิจเข้ามาอยู่ในภาคส่วนตลาดสาธารณะเพื่อปกป้องวิสาหกิจแห่งชาติบางประเภทไว้จากการแข่งขันของต่างชาติ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล