Skip to main content
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
 
หากถือตามความเข้าใจของ Wolfgang Sachs นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา, และโลกาภิวัตน์ชาวเยอรมันว่าเป้าหมายใจกลางของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้แก่ “การสร้างพื้นที่การแข่งขันที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลก” (homogeneous global competitive space) ที่ปลอดเปล่าจากกฎระเบียบกำกับการประกอบการเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะผิดแปลกกันออกไปในระดับรัฐชาติและท้องถิ่นทั้งหลาย โดยผ่านกระบวนการ deregulation & re-regulation (ลดเลิกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลายระดับชาติและท้องถิ่นเสียก่อน & แล้วกำหนดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจใหม่ที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลกขึ้นมาครอบคลุมแทนที่) (http://www.worldsummit2002.org/publications/sachsglobal.pdf) เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ข้ามชาติ เป็นต้น
 กราฟแสดงวิวัฒนาการของมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้
 
ปรากฏว่าโครงการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวกำลังสะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (protectionism) ระดับชาติที่รัฐบาลนานาประเทศพากันดำเนินอย่างมากมายแพร่หลายพร้อมเพรียงกันนับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) สำหรับประเทศที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าเด่น ๆ มากกว่าเพื่อนได้แก่อาร์เจนตินา, บราซิล, แอฟริกาใต้, รัสเซีย, อินโดนีเซีย ซึ่งออกมาตรการคุ้มครองหนักข้อกว่าจีนเสียอีก ทั้งนี้ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องดังกล่าวซึ่งพิมพ์เผยแพร่ออกมาเมื่อ ๓ ก.ย. ศกนี้ (TENTH REPORT ON POTENTIALLY TRADE-RESTRICTIVE MEASURES IDENTIFIED IN THE CONTEXT OF THE FINANCIAL AND ECONOMIC CRISIS 1 MAY 2012 – 31 MAY 2013 http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2013/september/tradoc_151703.pdf
 ปกรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องมาตรการคุ้มครองการค้าของนานาประเทศคู่ค้าฉบับล่าสุด
 
ในทางประวัติศาสตร์ มาตรการคุ้มครองการค้ามักกลับมาปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเสมอ และสิ่งที่เราเห็นในหลายปีหลังนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น รายงานที่เอ่ยถึงข้างต้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรป ๓๐ กว่าประเทศทั่วโลกเผยว่าระหว่างวันที่ ๑ พ.ค. ศกก่อน ถึง ๓๑ พ.. ศกนี้ มีมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมาจากประเทศเหล่านี้ถึง ๑๕๔ มาตรการ ขณะที่มีมาตรการคุ้มครองการค้าถูกยกเลิกไปโดยประเทศเหล่านี้เพียง ๑๘ มาตรการ และหากนับย้อนกลับไปถึงนับแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมาก็จะพบว่ามีการวางมาตรการคุ้มครองการค้าที่จำกัดการค้าเสรีทั่วโลกลงเบ็ดเสร็จถึง ๖๘๘ มาตรการโดยรัฐบาลนานาประเทศซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครนเป็นกลุ่มที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ มามากที่สุดนับแต่ปี ๒๐๐๘ มา (ดูตารางด้านล่างประกอบ)
ตารางแสดงมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจาก ต.ค. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา จำแนกประเทศและประเภทของมาตรการ
 
แม้ว่าความแตกต่างขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปจะปรากฏเป็นข่าวในสื่อมากที่สุด แต่เอาเข้าจริงจีนก็หาใช่ประเทศคุ้มครองการค้ามากที่สุดไม่ กล่าวคือจีนออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมา ๓๖ มาตรการนับแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ มา นับว่ายังห่างไกลจากอาร์เจนตินาซึ่งบัญญัติมาตรการทำนองนี้ออกมาถึง ๑๔๗ มาตรการ
กราฟจำแนกประเภทมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้และเฉพาะรอบปีที่ผ่านมา
มาตรการคุ้มครองการค้าหลักที่ถูกใช้อยู่ในรูปการฟื้นฟูกฎระเบียบการนำสินค้าเข้า, ข้อกำหนดให้ใช้สินค้าในชาติ, โอนย้ายวิสาหกิจเข้ามาอยู่ในภาคส่วนตลาดสาธารณะเพื่อปกป้องวิสาหกิจแห่งชาติบางประเภทไว้จากการแข่งขันของต่างชาติ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก