Skip to main content
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
 
หากถือตามความเข้าใจของ Wolfgang Sachs นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา, และโลกาภิวัตน์ชาวเยอรมันว่าเป้าหมายใจกลางของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้แก่ “การสร้างพื้นที่การแข่งขันที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลก” (homogeneous global competitive space) ที่ปลอดเปล่าจากกฎระเบียบกำกับการประกอบการเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะผิดแปลกกันออกไปในระดับรัฐชาติและท้องถิ่นทั้งหลาย โดยผ่านกระบวนการ deregulation & re-regulation (ลดเลิกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลายระดับชาติและท้องถิ่นเสียก่อน & แล้วกำหนดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจใหม่ที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลกขึ้นมาครอบคลุมแทนที่) (http://www.worldsummit2002.org/publications/sachsglobal.pdf) เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ข้ามชาติ เป็นต้น
 กราฟแสดงวิวัฒนาการของมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้
 
ปรากฏว่าโครงการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวกำลังสะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (protectionism) ระดับชาติที่รัฐบาลนานาประเทศพากันดำเนินอย่างมากมายแพร่หลายพร้อมเพรียงกันนับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) สำหรับประเทศที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าเด่น ๆ มากกว่าเพื่อนได้แก่อาร์เจนตินา, บราซิล, แอฟริกาใต้, รัสเซีย, อินโดนีเซีย ซึ่งออกมาตรการคุ้มครองหนักข้อกว่าจีนเสียอีก ทั้งนี้ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องดังกล่าวซึ่งพิมพ์เผยแพร่ออกมาเมื่อ ๓ ก.ย. ศกนี้ (TENTH REPORT ON POTENTIALLY TRADE-RESTRICTIVE MEASURES IDENTIFIED IN THE CONTEXT OF THE FINANCIAL AND ECONOMIC CRISIS 1 MAY 2012 – 31 MAY 2013 http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2013/september/tradoc_151703.pdf
 ปกรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องมาตรการคุ้มครองการค้าของนานาประเทศคู่ค้าฉบับล่าสุด
 
ในทางประวัติศาสตร์ มาตรการคุ้มครองการค้ามักกลับมาปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเสมอ และสิ่งที่เราเห็นในหลายปีหลังนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น รายงานที่เอ่ยถึงข้างต้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรป ๓๐ กว่าประเทศทั่วโลกเผยว่าระหว่างวันที่ ๑ พ.ค. ศกก่อน ถึง ๓๑ พ.. ศกนี้ มีมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมาจากประเทศเหล่านี้ถึง ๑๕๔ มาตรการ ขณะที่มีมาตรการคุ้มครองการค้าถูกยกเลิกไปโดยประเทศเหล่านี้เพียง ๑๘ มาตรการ และหากนับย้อนกลับไปถึงนับแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมาก็จะพบว่ามีการวางมาตรการคุ้มครองการค้าที่จำกัดการค้าเสรีทั่วโลกลงเบ็ดเสร็จถึง ๖๘๘ มาตรการโดยรัฐบาลนานาประเทศซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครนเป็นกลุ่มที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ มามากที่สุดนับแต่ปี ๒๐๐๘ มา (ดูตารางด้านล่างประกอบ)
ตารางแสดงมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจาก ต.ค. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา จำแนกประเทศและประเภทของมาตรการ
 
แม้ว่าความแตกต่างขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปจะปรากฏเป็นข่าวในสื่อมากที่สุด แต่เอาเข้าจริงจีนก็หาใช่ประเทศคุ้มครองการค้ามากที่สุดไม่ กล่าวคือจีนออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมา ๓๖ มาตรการนับแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ มา นับว่ายังห่างไกลจากอาร์เจนตินาซึ่งบัญญัติมาตรการทำนองนี้ออกมาถึง ๑๔๗ มาตรการ
กราฟจำแนกประเภทมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้และเฉพาะรอบปีที่ผ่านมา
มาตรการคุ้มครองการค้าหลักที่ถูกใช้อยู่ในรูปการฟื้นฟูกฎระเบียบการนำสินค้าเข้า, ข้อกำหนดให้ใช้สินค้าในชาติ, โอนย้ายวิสาหกิจเข้ามาอยู่ในภาคส่วนตลาดสาธารณะเพื่อปกป้องวิสาหกิจแห่งชาติบางประเภทไว้จากการแข่งขันของต่างชาติ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....