Skip to main content
โลกาภิวัตน์สะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (Protectionism): รัฐบาลนานาชาติทั่วโลกวางมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ถึง ๑๕๔ มาตรการในชั่วปีเดียว!
 
หากถือตามความเข้าใจของ Wolfgang Sachs นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา, และโลกาภิวัตน์ชาวเยอรมันว่าเป้าหมายใจกลางของโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้แก่ “การสร้างพื้นที่การแข่งขันที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลก” (homogeneous global competitive space) ที่ปลอดเปล่าจากกฎระเบียบกำกับการประกอบการเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะผิดแปลกกันออกไปในระดับรัฐชาติและท้องถิ่นทั้งหลาย โดยผ่านกระบวนการ deregulation & re-regulation (ลดเลิกกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลายระดับชาติและท้องถิ่นเสียก่อน & แล้วกำหนดกฎระเบียบทางเศรษฐกิจใหม่ที่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันระดับลูกโลกขึ้นมาครอบคลุมแทนที่) (http://www.worldsummit2002.org/publications/sachsglobal.pdf) เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ข้ามชาติ เป็นต้น
 กราฟแสดงวิวัฒนาการของมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้
 
ปรากฏว่าโครงการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวกำลังสะดุดลัทธิคุ้มครองการค้า (protectionism) ระดับชาติที่รัฐบาลนานาประเทศพากันดำเนินอย่างมากมายแพร่หลายพร้อมเพรียงกันนับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์และเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ BRICS (Brazil, Russia, India, China, South Africa) สำหรับประเทศที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าเด่น ๆ มากกว่าเพื่อนได้แก่อาร์เจนตินา, บราซิล, แอฟริกาใต้, รัสเซีย, อินโดนีเซีย ซึ่งออกมาตรการคุ้มครองหนักข้อกว่าจีนเสียอีก ทั้งนี้ตามรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องดังกล่าวซึ่งพิมพ์เผยแพร่ออกมาเมื่อ ๓ ก.ย. ศกนี้ (TENTH REPORT ON POTENTIALLY TRADE-RESTRICTIVE MEASURES IDENTIFIED IN THE CONTEXT OF THE FINANCIAL AND ECONOMIC CRISIS 1 MAY 2012 – 31 MAY 2013 http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2013/september/tradoc_151703.pdf
 ปกรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องมาตรการคุ้มครองการค้าของนานาประเทศคู่ค้าฉบับล่าสุด
 
ในทางประวัติศาสตร์ มาตรการคุ้มครองการค้ามักกลับมาปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเสมอ และสิ่งที่เราเห็นในหลายปีหลังนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น รายงานที่เอ่ยถึงข้างต้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรป ๓๐ กว่าประเทศทั่วโลกเผยว่าระหว่างวันที่ ๑ พ.ค. ศกก่อน ถึง ๓๑ พ.. ศกนี้ มีมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมาจากประเทศเหล่านี้ถึง ๑๕๔ มาตรการ ขณะที่มีมาตรการคุ้มครองการค้าถูกยกเลิกไปโดยประเทศเหล่านี้เพียง ๑๘ มาตรการ และหากนับย้อนกลับไปถึงนับแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นต้นมาก็จะพบว่ามีการวางมาตรการคุ้มครองการค้าที่จำกัดการค้าเสรีทั่วโลกลงเบ็ดเสร็จถึง ๖๘๘ มาตรการโดยรัฐบาลนานาประเทศซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล อาร์เจนตินา รัสเซีย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครนเป็นกลุ่มที่ออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ มามากที่สุดนับแต่ปี ๒๐๐๘ มา (ดูตารางด้านล่างประกอบ)
ตารางแสดงมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจาก ต.ค. ๒๐๐๘ เป็นต้นมา จำแนกประเทศและประเภทของมาตรการ
 
แม้ว่าความแตกต่างขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปจะปรากฏเป็นข่าวในสื่อมากที่สุด แต่เอาเข้าจริงจีนก็หาใช่ประเทศคุ้มครองการค้ามากที่สุดไม่ กล่าวคือจีนออกมาตรการคุ้มครองการค้าใหม่ ๆ ออกมา ๓๖ มาตรการนับแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๘ มา นับว่ายังห่างไกลจากอาร์เจนตินาซึ่งบัญญัติมาตรการทำนองนี้ออกมาถึง ๑๔๗ มาตรการ
กราฟจำแนกประเภทมาตรการที่อาจใช้จำกัดการค้าทั่วโลกจากปี ๒๐๐๘ - มิ.ย. ศกนี้และเฉพาะรอบปีที่ผ่านมา
มาตรการคุ้มครองการค้าหลักที่ถูกใช้อยู่ในรูปการฟื้นฟูกฎระเบียบการนำสินค้าเข้า, ข้อกำหนดให้ใช้สินค้าในชาติ, โอนย้ายวิสาหกิจเข้ามาอยู่ในภาคส่วนตลาดสาธารณะเพื่อปกป้องวิสาหกิจแห่งชาติบางประเภทไว้จากการแข่งขันของต่างชาติ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง