Skip to main content

 

การประท้วงประกวดมิสเวิลด์อย่างดุเดือดของกลุ่มมุสลิมอินโดนีเซีย

Kasian Tejapira(22/9/56)

ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู 
 
ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
 
นั่นคือการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ที่กรุงจาการ์ตา มีหญิงมุสลิม ๒๐ คนจาก ๖ ประเทศ (อินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ไนจีเรีย, มาเลเซีย, บรูไน, อิหร่าน) เข้าแข่งขัน ผู้ประกวดทุกคนสวมชุดฮิญาบคลุมผมมิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า มีผลงานทางวิชาการ, กีฬาและวัฒนธรรมบางอย่าง ไม่มีการแสดงร้องรำทำเพลง หากแข่งกันท่องบทตอนต่าง ๆ จากพระคัมภีร์อัลกุรอ่านให้กรรมการตัดสินแทน และต้องเขียนเรียงความส่งประกอบการประกวดเรื่อง “ประสบการณ์ฮิญาบของฉัน” เป็นต้น
ภาพการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ปีนี้และผู้ชนะประกวด โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา สาวไนจีเรีย
 
เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ก.ย. ศกนี้ ก็ประกาศผลการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งล่าสุด โดยผู้ชนะประกวดคือ โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา วัย ๒๑ ปีจากไนจีเรีย เธอได้รับเงินรางวัล ๒,๐๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐฯและได้เดินทางไปกรุงเมกกะ ซาอุดีอาระเบียและอินเดีย ซึ่งที่นั่นเธอจะทำกิจกรรมช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เธอกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกวดว่า:
 
“เราแค่กำลังพยายามแสดงให้โลกเห็นว่าอิสลามนั้นงดงาม เรามีเสรีภาพและฮิญาบเป็นความภาคภูมิใจของเรา การประกวดมิสมุสลิมาห์ไม่เหมือนการประกวดมิสเวิลด์ที่ผู้หญิงเปิดเผยร่างกายของตัวเลย”
 
เอกา ชันตี ผู้ริเริ่มก่อตั้งการประกวดมิสมุสลิมาห์เมื่อ ๓ ปีก่อนชี้แจงว่าการประกวดนี้มุ่งส่งเสริมแนวคิดความงามที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่า ถือเป็นการประท้วงอย่างสันติต่อการประกวดมิสเวิลด์แบบตะวันตก เดิมทีชันตีเป็นผู้อ่านข่าวทีวีอินโดนีเซียที่ประสบความสำเร็จ แต่เธอต้องออกจากงานเพราะตัดสินใจสวมฮิญาบเป็นประจำและไม่ยอมปลดฮิญาบออกเวลาอ่านข่าวออกทีวี
 
เดิมทีอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลามแบบเดินสายกลางไม่เคร่งจัด แต่มาระยะหลังนี้เริ่มมีการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่เรียกร้องให้ผู้หญิงมุสลิมอินโดนีเซียสวมฮิญาบมากขึ้นเรื่อย ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง