Skip to main content

 

การประท้วงประกวดมิสเวิลด์อย่างดุเดือดของกลุ่มมุสลิมอินโดนีเซีย

Kasian Tejapira(22/9/56)

ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู 
 
ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
 
นั่นคือการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ที่กรุงจาการ์ตา มีหญิงมุสลิม ๒๐ คนจาก ๖ ประเทศ (อินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ไนจีเรีย, มาเลเซีย, บรูไน, อิหร่าน) เข้าแข่งขัน ผู้ประกวดทุกคนสวมชุดฮิญาบคลุมผมมิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า มีผลงานทางวิชาการ, กีฬาและวัฒนธรรมบางอย่าง ไม่มีการแสดงร้องรำทำเพลง หากแข่งกันท่องบทตอนต่าง ๆ จากพระคัมภีร์อัลกุรอ่านให้กรรมการตัดสินแทน และต้องเขียนเรียงความส่งประกอบการประกวดเรื่อง “ประสบการณ์ฮิญาบของฉัน” เป็นต้น
ภาพการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ปีนี้และผู้ชนะประกวด โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา สาวไนจีเรีย
 
เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ก.ย. ศกนี้ ก็ประกาศผลการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งล่าสุด โดยผู้ชนะประกวดคือ โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา วัย ๒๑ ปีจากไนจีเรีย เธอได้รับเงินรางวัล ๒,๐๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐฯและได้เดินทางไปกรุงเมกกะ ซาอุดีอาระเบียและอินเดีย ซึ่งที่นั่นเธอจะทำกิจกรรมช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เธอกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกวดว่า:
 
“เราแค่กำลังพยายามแสดงให้โลกเห็นว่าอิสลามนั้นงดงาม เรามีเสรีภาพและฮิญาบเป็นความภาคภูมิใจของเรา การประกวดมิสมุสลิมาห์ไม่เหมือนการประกวดมิสเวิลด์ที่ผู้หญิงเปิดเผยร่างกายของตัวเลย”
 
เอกา ชันตี ผู้ริเริ่มก่อตั้งการประกวดมิสมุสลิมาห์เมื่อ ๓ ปีก่อนชี้แจงว่าการประกวดนี้มุ่งส่งเสริมแนวคิดความงามที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่า ถือเป็นการประท้วงอย่างสันติต่อการประกวดมิสเวิลด์แบบตะวันตก เดิมทีชันตีเป็นผู้อ่านข่าวทีวีอินโดนีเซียที่ประสบความสำเร็จ แต่เธอต้องออกจากงานเพราะตัดสินใจสวมฮิญาบเป็นประจำและไม่ยอมปลดฮิญาบออกเวลาอ่านข่าวออกทีวี
 
เดิมทีอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลามแบบเดินสายกลางไม่เคร่งจัด แต่มาระยะหลังนี้เริ่มมีการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่เรียกร้องให้ผู้หญิงมุสลิมอินโดนีเซียสวมฮิญาบมากขึ้นเรื่อย ๆ

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล