การประท้วงประกวดมิสเวิลด์อย่างดุเดือดของกลุ่มมุสลิมอินโดนีเซีย
ท่ามกลางข่าวกลุ่มผู้เคร่งศาสนาอิสลามชาวอินโดนีเซียประท้วงการจัดประกวดมิสเวิลด์ประจำปีนี้ที่ประเทศของตน จนทางผู้จัดต้องปรับลดรายการ งดให้ผู้เข้าประกวดนานาชาติใส่ชุดบิกินีแต่ให้ใส่โสร่งบาหลีแทนและยังถูกรัฐบาลอินโดนีเซียสั่งย้ายสถานที่จัดงานจากกรุงจาการ์ตาไปเกาะบาหลีซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู
ก็มีการประกวดนางงามเวอร์ชั่นอิสลามอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาที่จาการ์ตาด้วยเหมือนกัน!
นั่นคือการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ที่กรุงจาการ์ตา มีหญิงมุสลิม ๒๐ คนจาก ๖ ประเทศ (อินโดนีเซีย, บังคลาเทศ, ไนจีเรีย, มาเลเซีย, บรูไน, อิหร่าน) เข้าแข่งขัน ผู้ประกวดทุกคนสวมชุดฮิญาบคลุมผมมิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า มีผลงานทางวิชาการ, กีฬาและวัฒนธรรมบางอย่าง ไม่มีการแสดงร้องรำทำเพลง หากแข่งกันท่องบทตอนต่าง ๆ จากพระคัมภีร์อัลกุรอ่านให้กรรมการตัดสินแทน และต้องเขียนเรียงความส่งประกอบการประกวดเรื่อง “ประสบการณ์ฮิญาบของฉัน” เป็นต้น
ภาพการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งที่ ๓ ปีนี้และผู้ชนะประกวด โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา สาวไนจีเรีย
เมื่อวันพุธที่ ๑๘ ก.ย. ศกนี้ ก็ประกาศผลการประกวดมิสมุสลิมาห์ครั้งล่าสุด โดยผู้ชนะประกวดคือ โอบาบียี ไอชาห์ อาจิโบลา วัย ๒๑ ปีจากไนจีเรีย เธอได้รับเงินรางวัล ๒,๐๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐฯและได้เดินทางไปกรุงเมกกะ ซาอุดีอาระเบียและอินเดีย ซึ่งที่นั่นเธอจะทำกิจกรรมช่วยสอนหนังสือเด็ก ๆ เธอกล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประกวดว่า:
“เราแค่กำลังพยายามแสดงให้โลกเห็นว่าอิสลามนั้นงดงาม เรามีเสรีภาพและฮิญาบเป็นความภาคภูมิใจของเรา การประกวดมิสมุสลิมาห์ไม่เหมือนการประกวดมิสเวิลด์ที่ผู้หญิงเปิดเผยร่างกายของตัวเลย”
เอกา ชันตี ผู้ริเริ่มก่อตั้งการประกวดมิสมุสลิมาห์เมื่อ ๓ ปีก่อนชี้แจงว่าการประกวดนี้มุ่งส่งเสริมแนวคิดความงามที่สงบเสงี่ยมเรียบร้อยกว่า ถือเป็นการประท้วงอย่างสันติต่อการประกวดมิสเวิลด์แบบตะวันตก เดิมทีชันตีเป็นผู้อ่านข่าวทีวีอินโดนีเซียที่ประสบความสำเร็จ แต่เธอต้องออกจากงานเพราะตัดสินใจสวมฮิญาบเป็นประจำและไม่ยอมปลดฮิญาบออกเวลาอ่านข่าวออกทีวี
เดิมทีอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลามแบบเดินสายกลางไม่เคร่งจัด แต่มาระยะหลังนี้เริ่มมีการออกกฎหมายต่าง ๆ ที่เรียกร้องให้ผู้หญิงมุสลิมอินโดนีเซียสวมฮิญาบมากขึ้นเรื่อย ๆ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม