Skip to main content

Kasian Tejapira(29 ก.ย.56)

เรื่องของเรื่องคือเราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี
 
ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว
 
ในดงความเชื่อที่หนาแน่นเพราะอยู่บนฐานประสบการณ์จริงนานปีอย่างนี้ ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร? ก็อาจไม่สามารถฝ่าดงความเชื่อทะลุลอดมาได้
 
นอกจากนี้ วัฒนธรรมการเมืองกระแสหลักของไทยมี 4 ไม่คุ้น คือ 
 
1) ไม่คุ้นกับความขัดแย้งทางความคิด ยึดติดกับความเชื่อธรรมชาติแบบอำนาจนิยมไทยที่ว่า "รู้รักสามัคคี" = "ว่าอะไรว่าตามกัน" และ "ตามผู้นำ" รู้สึกว่าการทะเลาะวิวาทะผิดธรรมชาติ ผิดวัฒนธรรม ผิดธรรมเนียมความเป็นไทย ไม่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะกับผู้กุมอำนาจหรือกระแสหลักหรือเสียงส่วนใหญ่ของสังคม 
 
2) ไม่คุ้นกับสถานการณ์แยกขั้วทางการเมืองรุนแรงสุดโต่งนานปี ดังที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีหลังนี้ ดังนั้น reaction แทบว่าจะอัตโนมัติ/โดยสัญชาตญาณของผู้คุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายคือกดเหยียบความขัดแย้งที่ระเบิดอยู่ในทางเป็นจริงข้างนอกไม่ให้มาปะทุออกหน้าจอ รักษาความสงบ ความไม่ขัดแย้ง ไม่มีเรื่อง เอาไว้ปลอดภัยดีกว่า ทำไมจะต้องเสี่ยงกับกรณีอื้อฉาวยุ่งยากวุ่นวายด้วย
 
3) แม้ในยามที่ตัดสินใจเปิดให้ความขัดแย้งมาแสดงออกหน้าจอสื่อด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง ก็ไม่คุ้นกับความจริงที่ว่าดุลอำนาจในสังคมภายนอกไม่ได้เท่าเทียมกัน มีฝ่ายกุมอำนาจเหนือกว่าโดยเฉพาะอำนาจรัฐ/อำนาจทุน/อำนาจสื่อ/อำนาจปืน กับฝ่ายผู้ด้อยอำนาจกว่า ในภาวะความจริงข้างนอกไม่เท่าเทียมแบบนี้ การสร้างความเท่าเทียม (ให้มีความเห็นทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กัน) "เทียม" หรือ "จอมปลอม" ขึ้นบนหน้าจอ ก็เท่ากับตอกย้ำ ผดุงรักษาค้ำจุน ไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่เท่าเทียมที่เป็นจริงข้างนอกนั่นเอง แทนที่จะ "เอียง" ไปทางเสียงของผู้ด้อยอำนาจ (รายการด้านเดียวของเสียงฝ่ายผู้ด้อยอำนาจก็ไม่เห็นจะเป็นไร หากคิดถึงเสียงดังท่วมท้นล้นสองหูของผู้กุมอำนาจภายนอกสื่อ) เพื่อถ่วงดุลปรับดุลชดเชยให้ความไม่เท่าเทียมทางอำนาจข้างนอกนั้น
 
4) ไม่คุ้นกับการใช้อำนาจทุนภาคเอกชนครอบงำสื่อผ่านการเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมรายการ (สื่อเลือกข้างทุกสีทุกพรรคทุกเจ้าไม่ว่า ASTV, Bluesky, VoiceTV, TNN, ฯลฯ) ซื้อโฆษณาและโฆษณาแฝงอย่างด้านเดียวและแนบเนียน (ตกลงมันข่าวหรือความเห็น, โฆษณาชวนเชื่อหรือสารคดี?) ให้สารของทุนเอกชนท่วมท้นล้นหลามจนเสียงเห็นต่างแทบจะถูกกลบจมมิดหายไปในเวลาสื่อ และบรรดาเจ้าของและผู้ควบคุมสถานีและรายการทั้งหลายต่างก็พากันทึกทักว่าความไม่คุ้น = ไม่มีการครอบงำของอำนาจทุนเหนือสื่อใด ๆ ในทางเป็นจริง (อ้วก) ดังกรณีท่อส่งน้ำมันปตท.รั่วในอ่าวไทย, กรณีมลภาวะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เป็นตัวอย่าง
 
จะเปลี่ยนความไม่คุ้นเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลา เป็นงานความคิดและวัฒนธรรมใหญ่และลึก ปมเงื่อนสำคัญคือต้องทำให้ราคาความชอบธรรมที่ต้องจ่ายเมื่อครอบงำ/เซ็นเซ่อร์สื่อแพงจนไม่มีใครอยากเซ็นเซ่อร์ เซ็นเซ่อร์แล้วไม่คุ้ม โดนด่าเสียหาย โดนระแวงมากกว่า นั่นอาจเป็นก้าวแรกแก่การค่อย ๆ รุล้างเลิก 3 ไม่คุ้นข้างต้น
 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ