เรื่องของเรื่องคือเราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี
ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว
ในดงความเชื่อที่หนาแน่นเพราะอยู่บนฐานประสบการณ์จริงนานปีอย่างนี้ ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร? ก็อาจไม่สามารถฝ่าดงความเชื่อทะลุลอดมาได้
นอกจากนี้ วัฒนธรรมการเมืองกระแสหลักของไทยมี 4 ไม่คุ้น คือ
1) ไม่คุ้นกับความขัดแย้งทางความคิด ยึดติดกับความเชื่อธรรมชาติแบบอำนาจนิยมไทยที่ว่า "รู้รักสามัคคี" = "ว่าอะไรว่าตามกัน" และ "ตามผู้นำ" รู้สึกว่าการทะเลาะวิวาทะผิดธรรมชาติ ผิดวัฒนธรรม ผิดธรรมเนียมความเป็นไทย ไม่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะกับผู้กุมอำนาจหรือกระแสหลักหรือเสียงส่วนใหญ่ของสังคม
2) ไม่คุ้นกับสถานการณ์แยกขั้วทางการเมืองรุนแรงสุดโต่งนานปี ดังที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีหลังนี้ ดังนั้น reaction แทบว่าจะอัตโนมัติ/โดยสัญชาตญาณของผู้คุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายคือกดเหยียบความขัดแย้งที่ระเบิดอยู่ในทางเป็นจริงข้างนอกไม่ให้มาปะทุออกหน้าจอ รักษาความสงบ ความไม่ขัดแย้ง ไม่มีเรื่อง เอาไว้ปลอดภัยดีกว่า ทำไมจะต้องเสี่ยงกับกรณีอื้อฉาวยุ่งยากวุ่นวายด้วย
3) แม้ในยามที่ตัดสินใจเปิดให้ความขัดแย้งมาแสดงออกหน้าจอสื่อด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง ก็ไม่คุ้นกับความจริงที่ว่าดุลอำนาจในสังคมภายนอกไม่ได้เท่าเทียมกัน มีฝ่ายกุมอำนาจเหนือกว่าโดยเฉพาะอำนาจรัฐ/อำนาจทุน/อำนาจสื่อ/อำนาจปืน กับฝ่ายผู้ด้อยอำนาจกว่า ในภาวะความจริงข้างนอกไม่เท่าเทียมแบบนี้ การสร้างความเท่าเทียม (ให้มีความเห็นทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กัน) "เทียม" หรือ "จอมปลอม" ขึ้นบนหน้าจอ ก็เท่ากับตอกย้ำ ผดุงรักษาค้ำจุน ไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่เท่าเทียมที่เป็นจริงข้างนอกนั่นเอง แทนที่จะ "เอียง" ไปทางเสียงของผู้ด้อยอำนาจ (รายการด้านเดียวของเสียงฝ่ายผู้ด้อยอำนาจก็ไม่เห็นจะเป็นไร หากคิดถึงเสียงดังท่วมท้นล้นสองหูของผู้กุมอำนาจภายนอกสื่อ) เพื่อถ่วงดุลปรับดุลชดเชยให้ความไม่เท่าเทียมทางอำนาจข้างนอกนั้น
4) ไม่คุ้นกับการใช้อำนาจทุนภาคเอกชนครอบงำสื่อผ่านการเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมรายการ (สื่อเลือกข้างทุกสีทุกพรรคทุกเจ้าไม่ว่า ASTV, Bluesky, VoiceTV, TNN, ฯลฯ) ซื้อโฆษณาและโฆษณาแฝงอย่างด้านเดียวและแนบเนียน (ตกลงมันข่าวหรือความเห็น, โฆษณาชวนเชื่อหรือสารคดี?) ให้สารของทุนเอกชนท่วมท้นล้นหลามจนเสียงเห็นต่างแทบจะถูกกลบจมมิดหายไปในเวลาสื่อ และบรรดาเจ้าของและผู้ควบคุมสถานีและรายการทั้งหลายต่างก็พากันทึกทักว่าความไม่คุ้น = ไม่มีการครอบงำของอำนาจทุนเหนือสื่อใด ๆ ในทางเป็นจริง (อ้วก) ดังกรณีท่อส่งน้ำมันปตท.รั่วในอ่าวไทย, กรณีมลภาวะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เป็นตัวอย่าง
จะเปลี่ยนความไม่คุ้นเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลา เป็นงานความคิดและวัฒนธรรมใหญ่และลึก ปมเงื่อนสำคัญคือต้องทำให้ราคาความชอบธรรมที่ต้องจ่ายเมื่อครอบงำ/เซ็นเซ่อร์สื่อแพงจนไม่มีใครอยากเซ็นเซ่อร์ เซ็นเซ่อร์แล้วไม่คุ้ม โดนด่าเสียหาย โดนระแวงมากกว่า นั่นอาจเป็นก้าวแรกแก่การค่อย ๆ รุล้างเลิก 3 ไม่คุ้นข้างต้น
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง