เรื่องของเรื่องคือเราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี
ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว
ในดงความเชื่อที่หนาแน่นเพราะอยู่บนฐานประสบการณ์จริงนานปีอย่างนี้ ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร? ก็อาจไม่สามารถฝ่าดงความเชื่อทะลุลอดมาได้
นอกจากนี้ วัฒนธรรมการเมืองกระแสหลักของไทยมี 4 ไม่คุ้น คือ
1) ไม่คุ้นกับความขัดแย้งทางความคิด ยึดติดกับความเชื่อธรรมชาติแบบอำนาจนิยมไทยที่ว่า "รู้รักสามัคคี" = "ว่าอะไรว่าตามกัน" และ "ตามผู้นำ" รู้สึกว่าการทะเลาะวิวาทะผิดธรรมชาติ ผิดวัฒนธรรม ผิดธรรมเนียมความเป็นไทย ไม่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะกับผู้กุมอำนาจหรือกระแสหลักหรือเสียงส่วนใหญ่ของสังคม
2) ไม่คุ้นกับสถานการณ์แยกขั้วทางการเมืองรุนแรงสุดโต่งนานปี ดังที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีหลังนี้ ดังนั้น reaction แทบว่าจะอัตโนมัติ/โดยสัญชาตญาณของผู้คุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายคือกดเหยียบความขัดแย้งที่ระเบิดอยู่ในทางเป็นจริงข้างนอกไม่ให้มาปะทุออกหน้าจอ รักษาความสงบ ความไม่ขัดแย้ง ไม่มีเรื่อง เอาไว้ปลอดภัยดีกว่า ทำไมจะต้องเสี่ยงกับกรณีอื้อฉาวยุ่งยากวุ่นวายด้วย
3) แม้ในยามที่ตัดสินใจเปิดให้ความขัดแย้งมาแสดงออกหน้าจอสื่อด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง ก็ไม่คุ้นกับความจริงที่ว่าดุลอำนาจในสังคมภายนอกไม่ได้เท่าเทียมกัน มีฝ่ายกุมอำนาจเหนือกว่าโดยเฉพาะอำนาจรัฐ/อำนาจทุน/อำนาจสื่อ/อำนาจปืน กับฝ่ายผู้ด้อยอำนาจกว่า ในภาวะความจริงข้างนอกไม่เท่าเทียมแบบนี้ การสร้างความเท่าเทียม (ให้มีความเห็นทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กัน) "เทียม" หรือ "จอมปลอม" ขึ้นบนหน้าจอ ก็เท่ากับตอกย้ำ ผดุงรักษาค้ำจุน ไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่เท่าเทียมที่เป็นจริงข้างนอกนั่นเอง แทนที่จะ "เอียง" ไปทางเสียงของผู้ด้อยอำนาจ (รายการด้านเดียวของเสียงฝ่ายผู้ด้อยอำนาจก็ไม่เห็นจะเป็นไร หากคิดถึงเสียงดังท่วมท้นล้นสองหูของผู้กุมอำนาจภายนอกสื่อ) เพื่อถ่วงดุลปรับดุลชดเชยให้ความไม่เท่าเทียมทางอำนาจข้างนอกนั้น
4) ไม่คุ้นกับการใช้อำนาจทุนภาคเอกชนครอบงำสื่อผ่านการเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมรายการ (สื่อเลือกข้างทุกสีทุกพรรคทุกเจ้าไม่ว่า ASTV, Bluesky, VoiceTV, TNN, ฯลฯ) ซื้อโฆษณาและโฆษณาแฝงอย่างด้านเดียวและแนบเนียน (ตกลงมันข่าวหรือความเห็น, โฆษณาชวนเชื่อหรือสารคดี?) ให้สารของทุนเอกชนท่วมท้นล้นหลามจนเสียงเห็นต่างแทบจะถูกกลบจมมิดหายไปในเวลาสื่อ และบรรดาเจ้าของและผู้ควบคุมสถานีและรายการทั้งหลายต่างก็พากันทึกทักว่าความไม่คุ้น = ไม่มีการครอบงำของอำนาจทุนเหนือสื่อใด ๆ ในทางเป็นจริง (อ้วก) ดังกรณีท่อส่งน้ำมันปตท.รั่วในอ่าวไทย, กรณีมลภาวะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เป็นตัวอย่าง
จะเปลี่ยนความไม่คุ้นเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลา เป็นงานความคิดและวัฒนธรรมใหญ่และลึก ปมเงื่อนสำคัญคือต้องทำให้ราคาความชอบธรรมที่ต้องจ่ายเมื่อครอบงำ/เซ็นเซ่อร์สื่อแพงจนไม่มีใครอยากเซ็นเซ่อร์ เซ็นเซ่อร์แล้วไม่คุ้ม โดนด่าเสียหาย โดนระแวงมากกว่า นั่นอาจเป็นก้าวแรกแก่การค่อย ๆ รุล้างเลิก 3 ไม่คุ้นข้างต้น
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....