เรื่องของเรื่องคือเราอยู่ในสังคมการเมืองที่มากไปด้วยมรดกของการใช้อำนาจรัฐปิดปากฝ่ายค้านและผู้มีความเห็นต่างไม่ให้ออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นปกติธรรมดามานานปี
ดังนั้นเมื่อมีการระงับออกรายการ ไม่ว่าด้วยเหตุผลกลใด (เหนือเมฆ, คนค้นคนตอนศศิน, ฯลฯ) เราจึงคิดแบบแทบจะอัตโนมัติ/เป็นสัญชาตญาณเลยว่า "รัฐบาล", "หน่วยราชการ", "นักการเมือง" แทรกแซงให้แบนอีกแล้ว
ในดงความเชื่อที่หนาแน่นเพราะอยู่บนฐานประสบการณ์จริงนานปีอย่างนี้ ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร? ก็อาจไม่สามารถฝ่าดงความเชื่อทะลุลอดมาได้
นอกจากนี้ วัฒนธรรมการเมืองกระแสหลักของไทยมี 4 ไม่คุ้น คือ
1) ไม่คุ้นกับความขัดแย้งทางความคิด ยึดติดกับความเชื่อธรรมชาติแบบอำนาจนิยมไทยที่ว่า "รู้รักสามัคคี" = "ว่าอะไรว่าตามกัน" และ "ตามผู้นำ" รู้สึกว่าการทะเลาะวิวาทะผิดธรรมชาติ ผิดวัฒนธรรม ผิดธรรมเนียมความเป็นไทย ไม่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะเลาะกับผู้กุมอำนาจหรือกระแสหลักหรือเสียงส่วนใหญ่ของสังคม
2) ไม่คุ้นกับสถานการณ์แยกขั้วทางการเมืองรุนแรงสุดโต่งนานปี ดังที่ได้เกิดขึ้นในหลายปีหลังนี้ ดังนั้น reaction แทบว่าจะอัตโนมัติ/โดยสัญชาตญาณของผู้คุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายคือกดเหยียบความขัดแย้งที่ระเบิดอยู่ในทางเป็นจริงข้างนอกไม่ให้มาปะทุออกหน้าจอ รักษาความสงบ ความไม่ขัดแย้ง ไม่มีเรื่อง เอาไว้ปลอดภัยดีกว่า ทำไมจะต้องเสี่ยงกับกรณีอื้อฉาวยุ่งยากวุ่นวายด้วย
3) แม้ในยามที่ตัดสินใจเปิดให้ความขัดแย้งมาแสดงออกหน้าจอสื่อด้วยเหตุผลข้อเท็จจริง ก็ไม่คุ้นกับความจริงที่ว่าดุลอำนาจในสังคมภายนอกไม่ได้เท่าเทียมกัน มีฝ่ายกุมอำนาจเหนือกว่าโดยเฉพาะอำนาจรัฐ/อำนาจทุน/อำนาจสื่อ/อำนาจปืน กับฝ่ายผู้ด้อยอำนาจกว่า ในภาวะความจริงข้างนอกไม่เท่าเทียมแบบนี้ การสร้างความเท่าเทียม (ให้มีความเห็นทั้งสองฝ่ายเท่า ๆ กัน) "เทียม" หรือ "จอมปลอม" ขึ้นบนหน้าจอ ก็เท่ากับตอกย้ำ ผดุงรักษาค้ำจุน ไม่เปลี่ยนแปลง ความไม่เท่าเทียมที่เป็นจริงข้างนอกนั่นเอง แทนที่จะ "เอียง" ไปทางเสียงของผู้ด้อยอำนาจ (รายการด้านเดียวของเสียงฝ่ายผู้ด้อยอำนาจก็ไม่เห็นจะเป็นไร หากคิดถึงเสียงดังท่วมท้นล้นสองหูของผู้กุมอำนาจภายนอกสื่อ) เพื่อถ่วงดุลปรับดุลชดเชยให้ความไม่เท่าเทียมทางอำนาจข้างนอกนั้น
4) ไม่คุ้นกับการใช้อำนาจทุนภาคเอกชนครอบงำสื่อผ่านการเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมรายการ (สื่อเลือกข้างทุกสีทุกพรรคทุกเจ้าไม่ว่า ASTV, Bluesky, VoiceTV, TNN, ฯลฯ) ซื้อโฆษณาและโฆษณาแฝงอย่างด้านเดียวและแนบเนียน (ตกลงมันข่าวหรือความเห็น, โฆษณาชวนเชื่อหรือสารคดี?) ให้สารของทุนเอกชนท่วมท้นล้นหลามจนเสียงเห็นต่างแทบจะถูกกลบจมมิดหายไปในเวลาสื่อ และบรรดาเจ้าของและผู้ควบคุมสถานีและรายการทั้งหลายต่างก็พากันทึกทักว่าความไม่คุ้น = ไม่มีการครอบงำของอำนาจทุนเหนือสื่อใด ๆ ในทางเป็นจริง (อ้วก) ดังกรณีท่อส่งน้ำมันปตท.รั่วในอ่าวไทย, กรณีมลภาวะโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เป็นตัวอย่าง
จะเปลี่ยนความไม่คุ้นเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลา เป็นงานความคิดและวัฒนธรรมใหญ่และลึก ปมเงื่อนสำคัญคือต้องทำให้ราคาความชอบธรรมที่ต้องจ่ายเมื่อครอบงำ/เซ็นเซ่อร์สื่อแพงจนไม่มีใครอยากเซ็นเซ่อร์ เซ็นเซ่อร์แล้วไม่คุ้ม โดนด่าเสียหาย โดนระแวงมากกว่า นั่นอาจเป็นก้าวแรกแก่การค่อย ๆ รุล้างเลิก 3 ไม่คุ้นข้างต้น
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก