Skip to main content

Kasian Tejapira (28 ก.ย.56)

ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ สำนักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออก เอกสารเวียนลับ “รายงานว่าด้วยสถานภาพปัจจุบันในด้านอุดมการณ์” ให้หน่วยพรรคเหนือระดับเทศบาลทั่วประเทศจัดศึกษาอภิปรายเอกสารนี้ในหมู่สมาชิกและผู้ปฏิบัติงาน กระชับงานอุดมการณ์และการเมืองให้เข้มข้นขึ้น โดยตอนหนึ่งของรายงานได้เอ่ยถึง “ปัญหาหลัก ๗ ประการ” ที่ต้องเน้นระแวดระวังในปริมณฑลอุดมการณ์ 
 
และในช่วงใกล้กันนั้นเองก็ได้มีคำชี้แนะจากศูนย์กลางพรรคและรัฐบาลให้ดำเนินการรณรงค์ “เจ็ดไม่พูด” ในองค์การหน่วยงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม (ดูรายละเอียดในภาพประกอบ) ขอร้องให้คณาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูดไม่สอนเรื่องทั้งเจ็ด และสั่งถอดถอนลบทิ้งโพสต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีข้อความว่า “เจ็ดไม่พูด” , “เจ็ดต้องไม่”, หรือ “ปัญหาทั้งเจ็ด” ออกหมด
รายละเอียดแคมเปน "เจ็ดไม่พูด"
 
นี่นับเป็นสัญญาณการถอยหลังเข้าคลองทางอุดมการณ์ครั้งสำคัญของแกนนำพรรครุ่นใหม่ที่มีสีจิ้นผิงเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรคและประธานาธิบดี และหลี่เค่อเฉียงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยที่ก่อนหน้านี้สีจิ้นผิงได้แสดงท่าทีเปิดกว้าง เอ่ยอ้างถึงการเดินหน้าสู่ “ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” แต่มิทันไรก็หันหลังกลับตาลปัตรเป็น “เจ็ดไม่พูด” เสียแล้ว 
 
พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักมีแคมเปนอุดมการณ์แบบนี้เป็นระยะ ๆ ก่อนหน้านี้ก็มีแคมเปน “ห้าไม่ทำ” → แคมเปน “ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย” → และล่าสุดคือแคมเปน “เจ็ดไม่พูด” ในปัจจุบัน
 แคมเปน "ห้าไม่ทำ" --> "ไม่เดินหนทางประชาธิปไตย" --> "เจ็ดไม่พูด"
 
นับแต่หลังเกิดเหตุการณ์ปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา, กรรมกรและประชาชนอย่าง นองเลือด “๔ มิถุนายน” (ค.ศ. ๑๙๘๙) ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่งเป็นต้นมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดตั้ง “แผนกอุดมการณ์/การเมือง” ขึ้นในทุกมหาวิทยาลัยแล้วบรรจุคนของพรรคที่ซื่อ สัตย์เข้มข้นทางอุดมการณ์เข้าไป คนเหล่านี้ไม่ทำวิจัย ไม่มีผลงานความสามารถโดดเด่นทางวิชาการ แต่จะเข้ากุมการนำผ่านตำแหน่งสำคัญทางบริหารและตำแหน่งศาสตราจารย์ของคณะ/มหาวิทยาลัยเสมอ เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์ของพรรคและจัดแถวบรรดาคณาจารย์และนักศึกษาให้อยู่ในกรอบอุดมการณ์ดังกล่าว เสมือนหนึ่งพรรคได้ยึดครองมหาวิทยาลัยเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม
สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง ผู้นำรุ่นใหม่ของพรรคและรัฐจีน
 
ต่อเรื่องนี้ ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตยที่อยู่ในนิวยอร์ค ได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า:
 
“ก่อนนี้พักหนึ่ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องการจะป้อนยาอีให้ประชาชนและพร่ำพูดถึงการสร้าง “ความฝันของจีน” และ “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ผู้คนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนบาง คนหลงคิดไปว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยากปฏิรูป ดังนั้นพวกเขาก็เลยปากกล้าขึ้น แต่แล้วทางพรรคก็เห็นว่าพวกเขาชักจะปากกล้าเกินไป ก็เลยฟาดพวกเขาล้มลง แล้วบอกพวกเขาให้ทำตามหลัก “เจ็ดไม่พูด” แม้แต่คำว่า “ความฝันแห่งรัฐธรรมนูญ” ก็ยังพูดไม่ได้เลยทั้งที่เอาเข้าจริงสีจิ้นผิงเองนั่น แหละเป็นผู้หยิบยกมันขึ้นมาเองแต่แรก เหลือเชื่อจริง ๆ ประชาชนจีนก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ไม่รู้ว่าตกลงแล้วจะให้พวกเขาพูดหรือไม่พูดอะไรกันแน่?
ตังโปเฉียว ประธานองค์การมหาวิทยาลัยประชาธิปไตย
“ผมคิดว่าพูดให้ถึงที่สุดนี่เป็นเรื่องดี เพราะมันช่วยให้ปัญญาชนจีนตาสว่าง พวกเราทั้งหลายได้ตระ หนักว่าเราถูกหลอกอีกแล้ว สิ่งที่เรียกว่าการปกครองใหม่ของสีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียงและวาทกรรม ของพวกเขาที่เรียกว่าการปฏิรูปนั้นมันก็แค่ฟองสบู่ทั้งเพ มันเป็นแค่ละครของพรรคเพื่อลวงประ ชาชนอีกเรื่องหนึ่งแค่นั้นเอง อันที่จริงแล้วมันจึงดีสำหรับขบวนการประชาธิปไตยในที่สุด”

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล