บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
-ซุนหลินปิง นักสังคมวิทยาชาวจีน ประเมินว่าจำนวน “กรณีมวลชน” ทั่วประเทศจีนได้ทะลุเลย ๑๘๐,๐๐๐ ครั้งไปแล้วเฉพาะในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ มากกว่าสองเท่าของเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๖ เสียอีก
-ขณะเดียวกัน งบประมาณแผ่นดินจีนที่จัดสรรให้งานรักษาความมั่นคงภายในในปี ๒๐๑๓ ก็ขึ้นถึง ๑๒๔,๐๐๐ ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ สูงกว่างบประมาณทหารเพื่อป้องกันประเทศจากภัยภายนอกด้วยซ้ำไป
-เหตุแห่งความทุกข์ยากเดือดร้อนขัดแย้งจนนำไปสู่การเคลื่อนไหวลุกฮือของมวลชนจีนมีหลายประการ เรียงตามลำดับจากหนักไปเบาได้ดังนี้:
๑) การรื้อไล่บ้านช่องที่อยู่อาศัยของชาวบ้านอย่างผิดกฎหมายเนื่องจากการพัฒนาและสร้างเมืองอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุจริตฉ้อฉลหากำไรจากโครงการพัฒนาผิดกฎหมายและปราบปรามชาวบ้านที่ต่อต้านอย่างโหดร้าย คุมขังชาวบ้านโดยพลการ ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของประชาชน
๒) การรุกล้ำยึดครองที่ดินและเอาเปรียบแรงงาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด, แรงจูงใจให้ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว, สหภาพแรงงานถูกพรรคคุม ไม่เป็นอิสระ, คนงานอพยพจากชนบทกว่า ๒๕๐ ล้านคนมีสิทธิจำกัดเนื่องจากระบบหูโข่ว (ระบบจดทะเบียนภูมิลำเนาท้องถิ่น), ศาลตุลาการไม่เป็นอิสระ
เกี่ยวกับเหตุ ๒ ข้อแรกนี้ ขอขยายข้อมูลการวิเคราะห์ว่ารัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศจีนริบยึดที่ดินจากชาวบ้านชนบทโดยมิชอบราว ๓ – ๔ ล้านคนทุกปี, ทั่วประเทศมีชาวนาพลัดถิ่นด้วยเหตุนี้ราว ๕๐ ล้านคน, ๖๕% ของการประท้วงแต่ละปีก็เกิดจากเหตุนี้ สาเหตุเบื้องลึกเกิดจากรัฐบาลกลางยกเลิกภาษีเกษตรกรรมในปี ๒๐๐๖ รัฐบาลท้องถิ่นจึงหันไปหารายได้จากการขายที่ดินในท้องที่ให้นักพัฒนาอสังหาฯแทน จนรายได้จากการขายที่ดินอยู่ระหว่าง ๔๐ – ๗๔% ของรายได้รัฐบาลท้องถิ่นจีนทั้งหมด เมื่อประจวบกับรัฐบาลกลางเดินนโยบายลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯลงด้วยมาตรการการเงิน/ดอกเบี้ย ส่งผลกระทบให้รายได้รัฐบาลท้องถิ่นลดลง แต่ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกลับถูกประเมินผลงานจากการที่ตนกระตุ้น GDP ให้โตขึ้นได้เท่าไหร่ พวกเขาจึงหาทางออกโดยริบยึดที่ดินชาวบ้านไปขายให้นักพัฒนาฯโดยไม่จ่ายชดเชยชาวบ้านอย่างคุ้มค่าเป็นธรรมแทน
๓) การบอยคอตสินค้าแบบชาตินิยม มักพุ่งเป้าใส่ญี่ปุ่นเป็นหลัก
๔) ขาดเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะทางสื่อมวลชนและการเซ็นเซ่อร์ชุมชนพลเมืองเน็ตออนไลน์ ทำให้คนชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่สนใจการเมืองมาก่อนได้รับผลกระทบแรงกระแทกจากรัฐอำนาจนิยมลิดรอนสิทธิเสรีภาพจนกลับตื่นตัวเป็นนักเคลื่อนไหวไป เช่น เฉพาะเดือนส.ค. – ก.ย. ศกนี้ ทางการก็ได้ระดมจับกุมและกักบริเวณพลเมืองเน็ตจีนไปแล้วกว่า ๔๐๐ คน
๕) ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขซึ่งกระทบคนวงกว้างและเป็นช่องให้เกิดการเคลื่อนไหวรณรงค์ได้ยั่งยืน
ยุทธวิธีเคลื่อนไหวรณรงค์ของมวลชน มีอาทิ:
-ทำหนังสือร้องทุกข์ต่อทางการ
-แขวนป้ายผ้าในที่สาธารณะ
-ออกคำแถลงและจดหมายเปิดผนึกลงชื่อเป็นบัญชีหางว่าว
-ปฏิบัติการรวมหมู่นานารูปแบบเช่น นัดหยุดงาน, นั่งประท้วง, ปิดถนน, เดินขบวน, เปิดโรงเรียนการเมือง ฯลฯ
-ไว้อาลัยหรือไปคำนับหลุมศพบุคคลมีชื่อเพื่อแสดงออกทางการเมือง, อดข้าวประท้วง, แต่งชุดแฟนซีการเมือง, แสดงละครการเมือง
-นักกฎหมาย/นักกิจกรรมปกป้องสิทธิ์ ซึ่งคอยปกป้องสิทธิของนักเคลื่อนไหวที่ถูกรัฐข่มเหงคุกคามรังแกควบคุมตัว โดยวางบทบาทการเคลื่อนไหวของตัวเองอยู่ในระบบสถาบันของทางการ ด้วยภาษาวาทกรรมของรัฐ/พรรคผู้ละเมิดสิทธินั้นเอง
ตัวอย่างการเคลื่อนไหวครั้งเด่น ๆ:
-๒๐๐๔ คนงานหญิง ๖,๐๐๐ คนประท้วงการแปรรูปโรงงานสิ่งทอที่มณฑลกวางตุ้งเป็นของเอกชน
-๒๐๐๔ ชาวบ้านหลายร้อยที่เป็นตัวแทนชาวบ้านทั้งหมดถึง ๑๕๐,๐๐๐ คนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำฮันหยวน มณฑลเสฉวน รวมตัวกันประท้วงการบังคับขับไล่อพยพชาวบ้านและปิดถนนเข้าหลายหมู่บ้าน ตำรวจเข้าสลายการประท้วงยิงชาวบ้านตายไป ๑๗ คน บาดเจ็บ ๔๐ คน
-๖ มี.ค. ๒๐๐๖ คนงานโรงงานสิ่งทอที่ยูนนานหลายพันนัดหยุดงานเรียกร้องขอมีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างบริษัท
-๒๐๐๖ นักเคลื่อนไหวประสานนัดอดข้าวประท้วงใน ๑๐ มณฑลทั่วจีนเพื่อท้าทายการปราบปรามของรัฐบาลและหนุนช่วยเพื่อนผู้เห็นต่าง
-๒๐๑๑ ชาวบ้านหมู่บ้านหวู่กัน มณฑลกวางตุ้ง ๕,๐๐๐ คนเดินขบวนไปเมืองหลูเฟิงเพื่อนั่งประท้วงการยึดที่ดินเอาไปขายนายทุนนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยมิชอบและโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้านของเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น นำไปสู่การประท้วง ลักพาตัวผู้แทนชาวบ้าน จนคนหนึ่งถูกซ้อมเสียชีวิตในที่คุมขัง ตำรวจปิดล้อมหมู่บ้าน ในที่สุดชาวบ้านเหลืออดลุกฮือปะทะกับตำรวจและอันธพาล ปลดปล่อยหมู่บ้านดำเนินการปกครองกันเองแรมเดือน ในที่สุดก่อนจะบานปลายไปกว่านี้ ฝ่ายนำพรรคระดับมณฑลเข้ามาแทรกแซงเจรจาเองจนต่อรองไกล่เกลี่ยตกลงกับตัวแทนประชาชนในหมู่บ้านได้ มีการปลดเจ้าหน้าที่พรรคท้องถิ่น เปิดเลือกตั้งอิสระแบบลับจริง ๆ ขึ้นในหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรื่องจึงคลี่คลายไป
-๒๐๑๒ ตำรวจจีนกระจายจับผู้คนกว่า ๒,๐๐๐ ที่นัดกันเดินทางไปชุมนุมไว้อาลัยทีหลุมศพจ้าวจื่อหยาง อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เห็นต่างจากการปราบปรามเทียนอันเหมินปี ๑๙๘๙ จนถูกปลดและคุมตัว
-มี.ค. ๒๐๑๓ นักเคลื่อนไหวพากันอดข้าวประท้วงโรงเรียนแห่งหนึ่งที่เมืองเหอเฝ่ยที่ไม่ยอมรับลูกสาววัย ๑๐ ขวบของนักโทษการเมืองเข้าเรียน
-ก.ค. ๒๐๑๓ ผู้ประท้วงกว่า ๒๐๐ คนนั่งประท้วงที่กระทรวงต่างประเทศในปักกิ่งนาน ๒ สัปดาห์เพื่อเรียกร้องขอมีส่วนร่วมและจัดทำการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในจีนต่อสหประชาชาติให้โปร่งใสขึ้น
รัฐ/พรรคจีนตอบโต้โดยมุ่งสกัดขัดขวางการก่อตัวของการเคลื่อนไหวมวลชนด้วยระบบเฝ้าระวังติดตามไฮเทคและกลไกเซ็นเซ่อร์ พยายามจำกัดวงการประท้วงต่อต้านให้อยู่ในท้องที่หนึ่ง ๆ หรือประเด็นเฉพาะหนึ่ง ๆ ไม่ขยายตัวกว้างและไม่ผูกปมเป็นประเด็นระดับชาติ
บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย”
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง