Skip to main content

Kasian Tejapira(25/10/56)

อย่างหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นบ่อยและทั้งรำคาญทั้งอนาถใจคือท่าทีประเภท.....
 
"เห็นไหม ไอ้หน้าโง่เอ๊ย กูด่ามึงแล้ว แต่มึงไม่ฟัง เสือกอยากไปคบพวกทักษิณ-เสื้อแดง-เพื่อไทย โดนเขาหลอกแล้วเป็นไง เพิ่งรู้ตัว ฯลฯลฯ"
 
คืองี้นะครับท่านผู้โคตรฉลาดทั้งหลาย ผมจะบอกอะไรให้ท่านใช้สติปัญญาอันยิ่งใหญ่มหากาฬมเหาฬารของท่านได้เข้าใจหน่อย
 
๑) คนจำนวนมากที่เข้าร่วมการต่อสู้ทางการเมืองนั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเฉพาะของตัวเอง และเลือกร่วมฝ่าย เข้าข้าง หรือทำแนวร่วมกันตามประเด็น ตามสถานการณ์ เมื่อไหร่สถานการณ์เปลี่ยน ก็แยกฝ่าย เปลี่ยนข้าง ต่อสู้กัน
 
เหมาเจ๋อตงชนะหน้าโง่เจียงไคเช็ค จนเจียงต้องอพยพหนีจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปอยู่เกาะไต้หวัน ก็เพราะฉลาดในการเลือกร่วม/แยกแบบนี้ จึงจับมือกับเจียงต้านญี่ปุ่นผู้รุกราน พอเสร็จศึกก็แยกข้าง เจรจาไป รบกับเจียงไปต่อ จนชนะ ได้ครองแผ่นดินจีน
 
๒) ผมไม่ขอพูดแทนคนอื่นทุกคน แต่หลายคนที่ผมเห็นและรู้จัก (โดยที่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับพวกเขา) ไม่ได้มีมายาคติอะไรกับพลังการเมืองฝ่ายทักษิณ-เพื่อไทยเลยตั้งแต่ต้น เข้าใจธาตุแท้ ขอบเขต การร่วมทางที่เป็นไปได้ของพวกเขาดี เรื่องวิจารณ์ต่อสู้กับพวกเขานั้น ทำมานานก่อนจะเกิดพธม. ก่อนสนธิจะหันมาผูกผ้าพันคอสีฟ้าและใส่เสื้อสีเหลือง และก่อนพวกคุณตื่นตัวทางการเมืองหันมาใส่เสื้อเหลือง/หน้ากากขาวตามสนธิกันอีกนะครับ
 
๓) การเมืองคือการหาพวกให้มากที่สุดเพื่อต่อรองต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์ ในทุก ๆ สถานการณ์ต้องทำงานแนวร่วมให้ดี หาพวกให้มากที่สุดเพื่อเป้าหมายเฉพาะหน้าที่จำกัดขอบเขตและจังหวะเวลา แต่ในทุก ๆ จังหวะสถานาการณ์และแนวร่วมที่เปลี่ยนไป ต้องไม่พลาดสายตาจากเป้าหมายยุทธศาสตร์ระยะยาวและกำลังพื้นฐานที่ต้องปลูกสร้างเพื่อเดินไปให้ถึงในขั้นสุดท้าย ต่างกับการทหารที่อาจอาศัยคนน้อยก็ชนะได้ และต่างจากศีลธรรมที่ยึดหลักความถูกต้องเป็นที่ตั้ง ไม่ต้องการพวก
 
คน "ฉลาด" ที่ออกมาก่นด่าเหยียดหยามดูหมิ่นคนอื่นอย่างไม่รู้จักเงาหัวตัวเองนั้น ไ่ม่เข้าใจการเมืองพื้นฐาน ไม่เข้าใจการทำงานแนวร่วม มีแต่ด่าทอผลักไสคนที่สามัคคีได้ออกไป พวกเขาทำการเมืองเหมือนศาสนา/ศีลธรรม นั่งคัดแต่คนที่ตรัสรู้หรือบริสุทธิ์หรือบรรลุอรหัตถผลหรือ "ฉลาด" "เหมือนกู/พวกกู" เท่านั้น
 
ท่าทีแบบนี้ไม่ชนะหรอกครับ น่าสงสารจะตายชักว่าไปแล้ว เพราะศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของพวกเขาคือตัวพวกเขาเอง (แต่พวกเขายังไม่รู้ด้วยซ้ำไป ปลาบปลื้มอยู่นั่นแหละว่ากู "ฉลาด", อ้วก)
 
เอ้า เชิญแสดงความ "ฉลาด" กันต่อไป.....

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ