Skip to main content
- คำว่า Ochlocracy (Ochlocrat = นักกฎหมู่; Ochlocratic = แบบกฎหมู่) นี่เท่ห์ดีครับ แต่คำง่ายกว่าก็มีเช่น mob rule หรือ mobocracy แปลตรงตัวคือ “การปกครองโดยม็อบหรือมวลประชาชนทั่วไป”, “การกำราบเจ้าหน้าที่โดยชอบให้หงอกลัวหัวหด” 
 
-Ochlocracy นับญาติกับรูปแบบการปกครองอื่นในความคิดการเมืองกรีกโบราณ กล่าวคือ: (ดูภาพตารางประกอบ)
 
คำอธิบายตาราง:
-ดี = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวมเป็นที่ตั้ง
-เลว = การปกครองที่ยึดผลประโยชน์ของกลุ่มหรือบุคคลเป็นที่ตั้ง ทำให้ความยุติธรรมเสื่อมโทรมลง
-กฎหมู่ = ประชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะพฤติกรรมของนักกวนเมือง (demagogue), อำนาจจิตตารมณ์เหนือเหตุผล, ทรราชย์ของเสียงข้างมาก
-คณาธิปไตย = อภิชนาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะคอร์รัปชั่น
-ทรราชย์ = ราชาธิปไตยที่เสื่อมทรามลงเพราะขาดราชธรรม
 
-เราอาจหยุดยั้งภัยคุกคามของกฎหมู่ต่อประชาธิปไตยได้โดยประกันว่าคนส่วนน้อยหรือปัจเจกบุคคลจะได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรมจากพฤติกรรมกวนเมืองหรือความตื่นตระหนกทางศีลธรรมระยะสั้น แต่ก็ไม่แน่นัก เพราะกฎหมู่อาจชนะได้ถ้าหากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเอาใจออกห่างกฎหมายบ้านเมือง ไปฝักใฝ่นักกวนเมืองแทน
 
-กฎหมู่ต่างจากอารยะขัดขืนและสัตยาเคราะห์ตรงฝ่ายหลังยึดมั่นวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่กฎหมู่ไม่ยึดถือวิธีการดังกล่าว
 
-เจ้าหน้าที่ตำรวจนานาประเทศพยายามต่อสู้เอาชนะขบวนการกฎหมู่ด้วยการจำกัดวง/ขอบเขตขบวนการกฎหมู่ให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เพื่อแยกขบวนการกฎหมู่ออกห่างจากเป้าหมายโจมตี, สาธารณชนส่วนใหญ่ทั่วไป, สื่อมวลชน ฯ จนตกไปอยู่ชายขอบ/ถูกมองข้ามละเลยไปได้ บ้างก็ใช้วิธีออกกฎบังคับให้ผู้จัดต้องขอใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทางการก่อนจัดชุมนุมแสดงพลังหรือเดินขบวนในที่สาธารณะ, ในทางกลับกัน ขบวนการกฎหมู่ก็หาทางฝ่าด่านปิดล้อมทางการทั้งในแง่ข่าวสารและการเคลื่อนที่โดยอาศัยเครือข่ายไอทีสมัยใหม่และพาหนะคล่องตัว เช่น จักรยาน เป็นต้น
 
หมายเหตุข้อเขียนนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 10 มี.ค.57

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง