Skip to main content

จริงทีเดียว ใกล้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ที่ทั้งศาลตุลาการ องค์กรอิสระและม็อบอนาธิปไตยรุมสาดสารพัดข้อหาใส่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จนเลอะเทอะเปรอะเปื้อนมอมแมม ทำให้บรรยากาศการเมืองเป็นดังมติชนระบุว่า “๒ ด้านการเมือง ′สุเทพ′ ฮึกห้าว เหิมหาญ ′ยิ่งลักษณ์′ หดหู่”

แต่ผมคิดใคร่ครวญไตร่ตรองไปมาหลายตลบ กลับรู้สึกว่าในความฮึกห้าวเหิมหาญของพลังฝ่ายแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย มีความหดหู่ห่อเหี่ยวลึก ๆ อยู่

เป็นความหดหู่ห่อเหี่ยวที่แก้ผ้าล่อนจ้อน เทหมดหน้าตักแล้ว เอาเข้าจริง ๆ ไม่มีอนาคต ไม่รู้จะไปไหนข้างหน้านะครับ

ผมสังเกตว่ามี ๔ ลักษณะสำคัญของขบวนการแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย ที่สืบทอดต่อเนื่องจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย —> ผ่านองค์การพิทักษ์สยาม —> กปปส./ปชป.ในปัจจุบัน

 

๑) moral absolutism & monism

๒) political deglobalization

๓) แบ่งแยก monarchy ออกจาก democracy อย่างสุ่มเสี่ยงอันตราย

๔) บ่อนทำลายและทอนความชอบธรรมของสถาบันการเมือง

 

การทำอะไรทวนกระแสโลก แหกคอกแตกเหล่าแยกหมู่นอกพวกจากประชาคมนานาอารยประเทศ แบบไม่ยอมรับว่าคนเท่ากัน ขัดขวางการเลือกตั้ง เอาเผด็จการจากการแต่งตั้งมาแทนประชาธิปไตยนั้น เป็นภาระเหนื่อยหนัก ต้องอาศัยพลังยาม้าของศีลธรรมสัมบูรณ์แบบและ เชิงเดี่ยว (ห้ามท้าห้ามถาม กดทับผ่านข้ามบรรทัดฐานศีลธรรมกฎหมายอื่นใดทั้งหมด ว่าด้อยกว่า ไม่สำคัญเท่าเรื่องของเรา อีกทั้งปฏิเสธความหลากหลายพหุนิยมทางศีลธรรมทั้งนั้นทั้งสิ้น ไม่ยอมรับไม่ยอมเห็นว่าเป็นไปได้ที่ในโลกกว้างของเราคนดี/ความดีไม่ได้มีหนึ่งเดียวอันเป็นความรู้ที่มนุษยชาติเรียนมาตั้งแต่เริ่มยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่มาร์โคโปโลไปเยือนจีนแล้ว ฯลฯ) มาบำรุงเลี้ยงให้กล้าและมุทะลุทำไปโดยไม่ฟังเสียงใครและเสียงอื่นใดในใจตัวเอง

ส่วนที่สุ่มเสี่ยงอันตรายที่สุดของการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง คือมักอ้างอิงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาให้ความชอบธรรมกับปฏิบัติการล้มการเลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย อันเป็นการทำลายฐานรากของระบอบการเมืองการปกครองไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นั่นคือ ประชาธิปไตยกับสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เคียงข้างควบคู่ไปด้วยกัน การแบ่งแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกไปและนำมาตั้งประจัญเผชิญหน้ากับประชาธิปไตยเป็นอันตรายระยะสั้นต่อประชาธิปไตยและสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัยของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระยะยาวที่สุด

ประเทศหนึ่งดำรงคงอยู่ได้โดยอาศัยสถาบันต่าง ๆ อันหลากหลายทำงานสอดบรรสานคล้องจองไปด้วยกัน ไม่สามารถจะอิงอาศัยเพียงสถาบันใดสถาบันเดียวท่ามกลางความเสื่อมทรุดถดถอยพังทลายของสถาบันอื่นทุก ๆ สถาบันได้ กล่าวเฉพาะในทางการเมือง ต้องอาศัยทั้งสถาบันประชาธิปไตย (รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้ง ฯลฯ) และสถาบันนิติรัฐ (ศาลสถิตยุติธรรมอิสระ, รัฐธรรมนูญ, องค์กรอิสระตรวจสอบถ่วงดุลทั้งหลาย) ทำงานสอดคล้องรองรับไปด้วยกันอย่างเป็นที่ยอมรับจากผู้คนในสังคมการเมืองอย่างแทบจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและได้เกิดมานานเกือบทศวรรษคือมีการจงใจบ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย (รัฐสภา, พรรคการเมือง, การเลือกตั้ง) ลงอย่างร้ายแรงถึงรากซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่ายุบ ยึด ล้มล้าง ยกเลิก/โมฆะ ในทางกลับกัน สถาบันนิติรัฐเท่าที่มีก็ทั้งถูกนำไปรับใช้การเมืองแบบเลือกข้างเลือกฝ่าย (politicized & partisan) จนกลายเป็นมีลักษณะสองมาตรฐาน ลำเอียง ไม่เที่ยงธรรม อาจเป็นที่ยินยอมพร้อมรับของฝ่ายหนึ่งมากขึ้นเป็นพิเศษ แต่กลับต้องสงสัย, สูญเสียเครดิต, ไม่ได้รับการยอมรับหรือกระทั่งถูกปฏิเสธจากฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายอื่น ๆ มากขึ้น สถาบันนิติรัฐทำงานราบรื่นได้เพราะทุกฝ่ายยอมรับความชอบธรรม เที่ยงธรรม ไม่เลือกข้าง ไม่เล่นการเมืองของมัน เมื่อสถาบันนิติรัฐสูญเสียคุณสมบัติดังกล่าวไป ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ก็กลายเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา ทุพพลภาพ พลอยทำงานไม่ได้และล้มเหลวไปกันด้วยกับรัฐที่ใช้การไม่ได้และรัฐล้มเหลวทั้งหมดนั่นเอง (dysfunctional/failed state)

พลังฮึกห้าวเหิมหาญของม็อบและขบวนการใดที่ก่อตัวขึ้นโดยกัดกร่อนบ่อนทำลายเหล่าสถาบันการเมืองของชาติให้เสื่อมทรุดถดถอยราบคาบลงไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มีแต่พลังทำลาย ผลได้ของการเคลื่อนไหว ไม่ยั่งยืน เมื่อฝุ่นหายตลบแล้วก็จะพบว่ามีแต่ซากปรักหักพังแห่งสถาบันการเมืองของชาติทั้งชาติ โดยไม่ได้ดอกผลการต่อสู้อะไรจริงจังยั่งยืนขึ้นมาเลย

 

หมายเหตุ : บทความนี้ เกษียร  เตชะพีระ ได้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Kasian Tejapira' วันที่ 3 เม.ย.57 เวลา 17.00 น.

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
เหนืออำนาจรัฐ ยังมีอำนาจทุน: อองซานซูจี วีรสตรีผู้ยืนหยัดต้านอำนาจรัฐเผด็จการทหารพม่า อ่อนข้อให้อำนาจทุนจีน
เกษียร เตชะพีระ
...ในทุก trust มี risk แฝงฝังอยู่อย่างมิอาจปัดป่ายบ่ายเบี่ยงเป็นอื่นได้ ก็เพราะ trust มันทำงานอย่างนี้ คือไม่เป็นทางการ ไม่มีกฎหมายครอบงำกำกับ มันหลวม ๆ สบตาเอ่ยปากขอรู้ไจวางใจกัน และความหลวมนี่แหละทำให้ทุกอย่างดำเนินการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น ด้วยความไว้วางใจที่มีต่อกัน และฉะนั้นมันจึงเปิดช่องให้ trust ถูก abused ได้..
เกษียร เตชะพีระ
ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้ กองทัพแก้ไม่ได้ เพราะโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ปัญหาการทหาร แต่เป็นปัญหาการเมือง ในที่สุดการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดนภาคใต้นี้ต้องทำโดยรัฐบาล
เกษียร เตชะพีระ
...ก้าวต่อไปที่น่าจะเป็นของงานการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือการรุกด้วยข้อเสนอรูปธรรมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ใช้สิทธิอำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการบริหารท้องถิ่นตนเองมากขึ้น ข้อเสนอนี้จะเป็นตัวช่วงชิงชนะใจมวลชน และกดดันปีกการทหารของฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบให้ยอมรับทางออกทางการเมืองในที่สุด... 
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
เกษียร เตชะพีระ
ฝ่ายซ้ายมองสฤษดิ์เห็นเป็น "นัสเซอร์" ส่วนฝ่ายขวามองสฤษดิ์เห็นเป็น "เดอโกล" ส่วนสฤษดิ์นั้นเอาเข้าจริงเห็นตัวเองเป็น "พ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ" ผู้ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มประชาธิปไตย "แบบตะวันตก" กวาดล้างขุดรากถอนโคนมรดกการปฏิวัติ 2475 ทั้งทางสัญลักษณ์และโครงสร้างกฎหมาย เพื่อสร้าง "ประชาธิปไตยแบบไทย " โดยอิงอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์
เกษียร เตชะพีระ
เรื่องให้ฝ่ายรัฐควักเงินหลวงมาจ่ายส่วนต่างค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มจากเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไม่มีเยี่ยงอย่างที่ไหนในโลกทำกันครับ
เกษียร เตชะพีระ
มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน
เกษียร เตชะพีระ
ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง
เกษียร เตชะพีระ
ความยุติธรรมที่ผู้มาทีหลังควรได้ร่วมบริโภคและยกระดับมาตรฐานการครองชีพดีขึ้นอย่างเท่าเทียม, กโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอุ้มอุตสาหกรรมรถยนต์, ขีดจำกัดทางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตเมืองของการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล