Skip to main content

จริงทีเดียว ใกล้เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ที่ทั้งศาลตุลาการ องค์กรอิสระและม็อบอนาธิปไตยรุมสาดสารพัดข้อหาใส่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จนเลอะเทอะเปรอะเปื้อนมอมแมม ทำให้บรรยากาศการเมืองเป็นดังมติชนระบุว่า “๒ ด้านการเมือง ′สุเทพ′ ฮึกห้าว เหิมหาญ ′ยิ่งลักษณ์′ หดหู่”

แต่ผมคิดใคร่ครวญไตร่ตรองไปมาหลายตลบ กลับรู้สึกว่าในความฮึกห้าวเหิมหาญของพลังฝ่ายแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย มีความหดหู่ห่อเหี่ยวลึก ๆ อยู่

เป็นความหดหู่ห่อเหี่ยวที่แก้ผ้าล่อนจ้อน เทหมดหน้าตักแล้ว เอาเข้าจริง ๆ ไม่มีอนาคต ไม่รู้จะไปไหนข้างหน้านะครับ

ผมสังเกตว่ามี ๔ ลักษณะสำคัญของขบวนการแอนตี้เลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย ที่สืบทอดต่อเนื่องจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย —> ผ่านองค์การพิทักษ์สยาม —> กปปส./ปชป.ในปัจจุบัน

 

๑) moral absolutism & monism

๒) political deglobalization

๓) แบ่งแยก monarchy ออกจาก democracy อย่างสุ่มเสี่ยงอันตราย

๔) บ่อนทำลายและทอนความชอบธรรมของสถาบันการเมือง

 

การทำอะไรทวนกระแสโลก แหกคอกแตกเหล่าแยกหมู่นอกพวกจากประชาคมนานาอารยประเทศ แบบไม่ยอมรับว่าคนเท่ากัน ขัดขวางการเลือกตั้ง เอาเผด็จการจากการแต่งตั้งมาแทนประชาธิปไตยนั้น เป็นภาระเหนื่อยหนัก ต้องอาศัยพลังยาม้าของศีลธรรมสัมบูรณ์แบบและ เชิงเดี่ยว (ห้ามท้าห้ามถาม กดทับผ่านข้ามบรรทัดฐานศีลธรรมกฎหมายอื่นใดทั้งหมด ว่าด้อยกว่า ไม่สำคัญเท่าเรื่องของเรา อีกทั้งปฏิเสธความหลากหลายพหุนิยมทางศีลธรรมทั้งนั้นทั้งสิ้น ไม่ยอมรับไม่ยอมเห็นว่าเป็นไปได้ที่ในโลกกว้างของเราคนดี/ความดีไม่ได้มีหนึ่งเดียวอันเป็นความรู้ที่มนุษยชาติเรียนมาตั้งแต่เริ่มยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการที่มาร์โคโปโลไปเยือนจีนแล้ว ฯลฯ) มาบำรุงเลี้ยงให้กล้าและมุทะลุทำไปโดยไม่ฟังเสียงใครและเสียงอื่นใดในใจตัวเอง

ส่วนที่สุ่มเสี่ยงอันตรายที่สุดของการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง คือมักอ้างอิงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาให้ความชอบธรรมกับปฏิบัติการล้มการเลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตย อันเป็นการทำลายฐานรากของระบอบการเมืองการปกครองไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นั่นคือ ประชาธิปไตยกับสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เคียงข้างควบคู่ไปด้วยกัน การแบ่งแยกสถาบันพระมหากษัตริย์ออกไปและนำมาตั้งประจัญเผชิญหน้ากับประชาธิปไตยเป็นอันตรายระยะสั้นต่อประชาธิปไตยและสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัยของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระยะยาวที่สุด

ประเทศหนึ่งดำรงคงอยู่ได้โดยอาศัยสถาบันต่าง ๆ อันหลากหลายทำงานสอดบรรสานคล้องจองไปด้วยกัน ไม่สามารถจะอิงอาศัยเพียงสถาบันใดสถาบันเดียวท่ามกลางความเสื่อมทรุดถดถอยพังทลายของสถาบันอื่นทุก ๆ สถาบันได้ กล่าวเฉพาะในทางการเมือง ต้องอาศัยทั้งสถาบันประชาธิปไตย (รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้ง ฯลฯ) และสถาบันนิติรัฐ (ศาลสถิตยุติธรรมอิสระ, รัฐธรรมนูญ, องค์กรอิสระตรวจสอบถ่วงดุลทั้งหลาย) ทำงานสอดคล้องรองรับไปด้วยกันอย่างเป็นที่ยอมรับจากผู้คนในสังคมการเมืองอย่างแทบจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ

ทว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและได้เกิดมานานเกือบทศวรรษคือมีการจงใจบ่อนทำลายสถาบันประชาธิปไตย (รัฐสภา, พรรคการเมือง, การเลือกตั้ง) ลงอย่างร้ายแรงถึงรากซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่ายุบ ยึด ล้มล้าง ยกเลิก/โมฆะ ในทางกลับกัน สถาบันนิติรัฐเท่าที่มีก็ทั้งถูกนำไปรับใช้การเมืองแบบเลือกข้างเลือกฝ่าย (politicized & partisan) จนกลายเป็นมีลักษณะสองมาตรฐาน ลำเอียง ไม่เที่ยงธรรม อาจเป็นที่ยินยอมพร้อมรับของฝ่ายหนึ่งมากขึ้นเป็นพิเศษ แต่กลับต้องสงสัย, สูญเสียเครดิต, ไม่ได้รับการยอมรับหรือกระทั่งถูกปฏิเสธจากฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายอื่น ๆ มากขึ้น สถาบันนิติรัฐทำงานราบรื่นได้เพราะทุกฝ่ายยอมรับความชอบธรรม เที่ยงธรรม ไม่เลือกข้าง ไม่เล่นการเมืองของมัน เมื่อสถาบันนิติรัฐสูญเสียคุณสมบัติดังกล่าวไป ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ก็กลายเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา ทุพพลภาพ พลอยทำงานไม่ได้และล้มเหลวไปกันด้วยกับรัฐที่ใช้การไม่ได้และรัฐล้มเหลวทั้งหมดนั่นเอง (dysfunctional/failed state)

พลังฮึกห้าวเหิมหาญของม็อบและขบวนการใดที่ก่อตัวขึ้นโดยกัดกร่อนบ่อนทำลายเหล่าสถาบันการเมืองของชาติให้เสื่อมทรุดถดถอยราบคาบลงไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มีแต่พลังทำลาย ผลได้ของการเคลื่อนไหว ไม่ยั่งยืน เมื่อฝุ่นหายตลบแล้วก็จะพบว่ามีแต่ซากปรักหักพังแห่งสถาบันการเมืองของชาติทั้งชาติ โดยไม่ได้ดอกผลการต่อสู้อะไรจริงจังยั่งยืนขึ้นมาเลย

 

หมายเหตุ : บทความนี้ เกษียร  เตชะพีระ ได้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Kasian Tejapira' วันที่ 3 เม.ย.57 เวลา 17.00 น.

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก