Skip to main content

 

ตรงแก่นของกรณีพิพาทระหว่างน้องก้อยกับโค้ชเชมี 2 ปมปัญหาเกี่ยวเนื่องกัน

1) การปะทะระหว่างวัฒนธรรมครู-ลูกศิษย์แบบตะวันออก กับ วัฒนธรรมปัจเจกชนนิยม

2) ความลักลั่นระหว่างสัมฤทธิ์คตินิยม (pragmatism) ของคนไทย กับ การเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

เพื่อมองเห็นประเด็นเหล่านี้ อาจลองถามตัวเองดูว่า.....

ถ้าโค้ชเชไม่ได้นำทีมเทควันโดไทยจนประสบความสำเร็จโดดเด่นได้แชมป์ในการแข่งขันสากลหลายครั้ง พูดง่าย ๆ ถ้าโค้ชเช "แพ้" แทนที่จะ "ชนะ" เราจะมองเรื่องนี้เหมือนเดิมไหม? หรือต่างไปอย่างไร? เพราะเหตุใด?

ถ้ากรณี "อบรมสั่งสอน" แบบนี้เกิดขึ้นกับลูกของคุณเอง คุณจะคิดเห็นต่อเรื่องนี้เหมือนเดิมไหม? หรือต่างออกไปอย่างไร? เพราะเหตุใด?

คุณจะจ่ายเท่าไหร่ เสียสละอะไรบ้าง เพื่อ "ชัยชนะ"? เมื่อไหร่ ถึงจุดไหน คุณจะหยุดจ่าย? และเอาเข้าจริงใครเป็นคนที่จ่าย คุณหรือคนอื่น?

เราคนไทยย่อมดีใจที่ทีมกีฬาชาติไทยชนะได้แชมป์ คำถามคือชาติไทยของเรา นอกจากเป็นชาติที่ชนะแล้ว ควรมีคุณสมบัติอื่นอย่างใดบ้าง? หรือชาติของเราจะเป็นอย่างใดก็ได้ก็ช่าง ขอให้ชนะเท่านั้นเป็นพอ? แค่ไหนที่เรายินดีจะแลกค่านิยม คุณค่า สิ่งสำคัญของชาติ กับ "ชัยชนะ"? ถึงจุดไหนที่เราจะหยุด เพราะบางอย่างสำคัญกับชาติของเรามากกว่า "ชัยชนะ"? คือ ไม่ชนะก็ได้ แพ้ก็ไม่เป็นไร ขอเรารักษาสิ่งนี้ไว้ก่อน เพราะมันสำคัญกับชาติเรามากกว่า.....?

 

หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 17 ก.ค.2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ