Skip to main content

พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย

ในไม่กี่ปีหลังนี้เศรษฐกิจพม่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญหลายประการ รัฐบาลลดการกำกับควบคุมเศรษฐกิจลง มีการจัดวางระบบธนาคารใหม่และออกนโยบายที่ดินใหม่ ยิ่งกว่านั้นยังปล่อยค่าเงินจ๊าดลอยตัวให้เป็นไปตามตลาด (๒๕ - ๓๐ จ๊าด/บาท) แทนที่จะถูกกำหนดโดยรัฐบาลดังก่อน มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติราว ๙ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเข้าสู่พม่านับแต่ปีค.ศ. ๒๐๑๑ เป็นต้นมา

นักเศรษฐศาสตร์ ฌอง เธอร์แนล Sean Turnell แห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ออสเตรเลีย กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นานาเหล่านี้ช่วยปรับปรุงเศรษฐกิจพม่าให้ทำหน้าที่ดำเนินงานของมันได้ดีขึ้น แต่มันส่งผลน้อยมากในการเปลี่ยนอิทธิพลของกองทัพเหนือเศรษฐกิจและการเมืองลง เขาตั้งข้อสังเกตว่า:

“การเคลื่อนตัวไปสู่รูปแบบรัฐบาลใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับบทบาทของทหาร ทหารยังจะเล่นบทแกนกลางอยู่หรือไม่ จะยอมสละการควบคุมเศรษฐกิจบางอย่างไหม จะถอยหลังออกไปอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ ที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นหรือไม่ นั่นคือคำถามใหญ่จริง ๆ”

จนถึงปัจจุบัน ทหารยังคงคุมธุรกิจใหญ่ที่สุดในพม่า รวมทั้งอุตสาหกรรมทำกำไรส่วนใหญ่ไว้ เช่น การสำรวจแก๊สธรรมชาติและเหมืองอัญมณี ทหารพม่ามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจพอ ๆ กับอำนาจทางการเมือง ที่นั่ง ๒๕% ในรัฐสภาถูกกันเอาไว้ให้เป็นโควต้าที่แต่งตั้งโดยทหาร ทำให้กองทัพมีอำนาจวีโต้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้กองทัพมีความพร้อมรับผิดน้อยเมื่อกองทหารพม่าถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิพลเมือง

เมื่อเดือน พ.ย. ศกก่อน คลีนิคสิทธิมนุษยชนแห่งสำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับพม่า http://hrp.law.harvard.edu/wp-content/uploads/2014/11/2014.11.05-IHRC-Legal-Memorandum.pdf ที่กล่าวหาว่านายทหาร ๔ คนก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ - ๒๐๐๖ ๑ ใน ๔ นายทหารได้แก่พลโทโคโค่ รมว.มหาดไทยพม่าคนปัจจุบัน Matthew Brewer ซึ่งเป็นนักวิจัยเรื่องความยุติธรรมระดับโลกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประจำเมืองย่างกุ้ง กล่าวว่า ทั้งที่มีหลักฐานเพียงพอจะสั่งจับกุมตัวนายทหารทั้ง ๔ ทว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใด ๆ เลย จนกว่านายทหารระดับสูงสุดจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในระบบกระบวนการยุติธรรมที่ควบคุมโดยพลเรือน ทหารก็ยังคงจะกระทำการใด ๆ โดยไม่กลัวถูกลงโทษอยู่ต่อไป เขาชี้ว่า:

“ทหารปักหลักยืนกรานว่าพวกเขาไม่ยอมที่จะเอาเรื่องเอาราวกับพฤติกรรมของตน รวมทั้งข่มขู่ผู้คนที่พยายามจะเอาเรื่องเอาราวดังกล่าวด้วย เราคิดว่าบรรดานักปฏิรูปในรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายค้านที่อยากจะจัดการปัญหานี้ไม่ได้ยืนหยัดเข้มแข็งพอที่จะเอาเรื่องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและพฤติกรรมของทหาร เราคิดด้วยว่าทหารกำลังเลื่อนชั้นให้บรรดาผู้ละเมิดสิทธิได้ไต่ลำดับการบังคับบัญชาสูงขึ้นไปสู่ตำแหน่งชั้นเอกของกองทัพ”

ฝ่ายค้านพม่าชนะเลือกตั้งได้ที่นั่งในรัฐสภาแต่ไม่สามารถยุติอิทธิพลของทหารได้ บรรดานักวิจารณ์ต้องการให้อองซานซูจีผู้นำฝ่ายค้านหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะ กดดันให้มีความพร้อมรับผิด แต่เธอก็ไม่ได้ทำ บ้างเห็นว่าอองซานซูจีหลีกเลี่ยงที่จะพิพาทกับทหารเพื่อช่วยให้ตัวเองมีโอกาสได้เป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมากขึ้น

ส่วนบรรดานายพลพม่าทั้งหลายก็ปกป้องแก้ต่างให้แก่อิทธิพลในประเทศของตน อ้างว่ายังมีกบฎชนชาติต่าง ๆ อยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ พม่าใช้จ่ายงบประมาณไปในด้านการทหารถึง ๒๓.๒% ของทั้งหมด คิดเป็นอัตราส่วนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทหารกล่าวว่างบฯเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกใช้ไปสู้รบกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ปฏิเสธรัฐบาล แต่นักสังเกตการณ์ภายนอกกล่าวว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจของทหารพม่านั่นแหละเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของกบฎที่เกิดขึ้น Matthew Brewer แห่งมหาวิทยลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทหารในพื้นที่ขัดแย้งมีส่วนก่อให้เกิดปัญหา และทำให้กระบวนการสันติภาพยืดเยื้อออกไป อีกทั้งบั่นทอนความไว้วางใจที่ฝ่ายต่าง ๆ มีต่อรัฐบาลและทหารพม่า เดือนพ.ย.ศกก่อน ทหารพม่าได้เปิดฉากระดมยิงใส่สนามฝึกกำลังพลของชนชาติส่วนน้อยในพม่า ทำให้พลรบของชนชาติส่วนน้อยตายไป ๒๗ คน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการเจรจาสันติภาพสิ้นสุดลงเพียงหนึ่งวัน รัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่งอยากให้มีการหยุดยิงทั่วประเทศก่อนจะจัดเลือกตั้ง

หากจะลดอิทธิพลของทหารในรัฐบาลลงก็จำต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทว่าเดือนพ.ย.นี้เอง ตัวแทนของทหารได้แสดงท่าทีชัดแจ้งว่าพวกเขาไม่ยินยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะจัดเลือกตั้งขึ้น

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' 5 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง