Skip to main content

พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย

ในไม่กี่ปีหลังนี้เศรษฐกิจพม่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญหลายประการ รัฐบาลลดการกำกับควบคุมเศรษฐกิจลง มีการจัดวางระบบธนาคารใหม่และออกนโยบายที่ดินใหม่ ยิ่งกว่านั้นยังปล่อยค่าเงินจ๊าดลอยตัวให้เป็นไปตามตลาด (๒๕ - ๓๐ จ๊าด/บาท) แทนที่จะถูกกำหนดโดยรัฐบาลดังก่อน มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติราว ๙ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเข้าสู่พม่านับแต่ปีค.ศ. ๒๐๑๑ เป็นต้นมา

นักเศรษฐศาสตร์ ฌอง เธอร์แนล Sean Turnell แห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ออสเตรเลีย กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นานาเหล่านี้ช่วยปรับปรุงเศรษฐกิจพม่าให้ทำหน้าที่ดำเนินงานของมันได้ดีขึ้น แต่มันส่งผลน้อยมากในการเปลี่ยนอิทธิพลของกองทัพเหนือเศรษฐกิจและการเมืองลง เขาตั้งข้อสังเกตว่า:

“การเคลื่อนตัวไปสู่รูปแบบรัฐบาลใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับบทบาทของทหาร ทหารยังจะเล่นบทแกนกลางอยู่หรือไม่ จะยอมสละการควบคุมเศรษฐกิจบางอย่างไหม จะถอยหลังออกไปอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ ที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นหรือไม่ นั่นคือคำถามใหญ่จริง ๆ”

จนถึงปัจจุบัน ทหารยังคงคุมธุรกิจใหญ่ที่สุดในพม่า รวมทั้งอุตสาหกรรมทำกำไรส่วนใหญ่ไว้ เช่น การสำรวจแก๊สธรรมชาติและเหมืองอัญมณี ทหารพม่ามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจพอ ๆ กับอำนาจทางการเมือง ที่นั่ง ๒๕% ในรัฐสภาถูกกันเอาไว้ให้เป็นโควต้าที่แต่งตั้งโดยทหาร ทำให้กองทัพมีอำนาจวีโต้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้กองทัพมีความพร้อมรับผิดน้อยเมื่อกองทหารพม่าถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิพลเมือง

เมื่อเดือน พ.ย. ศกก่อน คลีนิคสิทธิมนุษยชนแห่งสำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับพม่า http://hrp.law.harvard.edu/wp-content/uploads/2014/11/2014.11.05-IHRC-Legal-Memorandum.pdf ที่กล่าวหาว่านายทหาร ๔ คนก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ - ๒๐๐๖ ๑ ใน ๔ นายทหารได้แก่พลโทโคโค่ รมว.มหาดไทยพม่าคนปัจจุบัน Matthew Brewer ซึ่งเป็นนักวิจัยเรื่องความยุติธรรมระดับโลกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประจำเมืองย่างกุ้ง กล่าวว่า ทั้งที่มีหลักฐานเพียงพอจะสั่งจับกุมตัวนายทหารทั้ง ๔ ทว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใด ๆ เลย จนกว่านายทหารระดับสูงสุดจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในระบบกระบวนการยุติธรรมที่ควบคุมโดยพลเรือน ทหารก็ยังคงจะกระทำการใด ๆ โดยไม่กลัวถูกลงโทษอยู่ต่อไป เขาชี้ว่า:

“ทหารปักหลักยืนกรานว่าพวกเขาไม่ยอมที่จะเอาเรื่องเอาราวกับพฤติกรรมของตน รวมทั้งข่มขู่ผู้คนที่พยายามจะเอาเรื่องเอาราวดังกล่าวด้วย เราคิดว่าบรรดานักปฏิรูปในรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายค้านที่อยากจะจัดการปัญหานี้ไม่ได้ยืนหยัดเข้มแข็งพอที่จะเอาเรื่องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและพฤติกรรมของทหาร เราคิดด้วยว่าทหารกำลังเลื่อนชั้นให้บรรดาผู้ละเมิดสิทธิได้ไต่ลำดับการบังคับบัญชาสูงขึ้นไปสู่ตำแหน่งชั้นเอกของกองทัพ”

ฝ่ายค้านพม่าชนะเลือกตั้งได้ที่นั่งในรัฐสภาแต่ไม่สามารถยุติอิทธิพลของทหารได้ บรรดานักวิจารณ์ต้องการให้อองซานซูจีผู้นำฝ่ายค้านหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะ กดดันให้มีความพร้อมรับผิด แต่เธอก็ไม่ได้ทำ บ้างเห็นว่าอองซานซูจีหลีกเลี่ยงที่จะพิพาทกับทหารเพื่อช่วยให้ตัวเองมีโอกาสได้เป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมากขึ้น

ส่วนบรรดานายพลพม่าทั้งหลายก็ปกป้องแก้ต่างให้แก่อิทธิพลในประเทศของตน อ้างว่ายังมีกบฎชนชาติต่าง ๆ อยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ พม่าใช้จ่ายงบประมาณไปในด้านการทหารถึง ๒๓.๒% ของทั้งหมด คิดเป็นอัตราส่วนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทหารกล่าวว่างบฯเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกใช้ไปสู้รบกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ปฏิเสธรัฐบาล แต่นักสังเกตการณ์ภายนอกกล่าวว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจของทหารพม่านั่นแหละเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของกบฎที่เกิดขึ้น Matthew Brewer แห่งมหาวิทยลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทหารในพื้นที่ขัดแย้งมีส่วนก่อให้เกิดปัญหา และทำให้กระบวนการสันติภาพยืดเยื้อออกไป อีกทั้งบั่นทอนความไว้วางใจที่ฝ่ายต่าง ๆ มีต่อรัฐบาลและทหารพม่า เดือนพ.ย.ศกก่อน ทหารพม่าได้เปิดฉากระดมยิงใส่สนามฝึกกำลังพลของชนชาติส่วนน้อยในพม่า ทำให้พลรบของชนชาติส่วนน้อยตายไป ๒๗ คน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการเจรจาสันติภาพสิ้นสุดลงเพียงหนึ่งวัน รัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่งอยากให้มีการหยุดยิงทั่วประเทศก่อนจะจัดเลือกตั้ง

หากจะลดอิทธิพลของทหารในรัฐบาลลงก็จำต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทว่าเดือนพ.ย.นี้เอง ตัวแทนของทหารได้แสดงท่าทีชัดแจ้งว่าพวกเขาไม่ยินยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะจัดเลือกตั้งขึ้น

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' 5 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
มิจฉาทิฐิว่าด้วย“24 มิถุนาคือการรัฐประหารไม่แตกต่างจากครั้งอื่นๆ คือใช้อำนาจทหารล้มล้างการปกครองเช่นเดียวกัน” "ถ้าเอาวันประกาศเอกราช ก็เอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพจากพม่าสิ" และ "วันชาติคือวันรวมใจคนทั้งชาติ ในยุคสมัยผมใจพวกเราทุกดวงอยู่ที่ในหลวงก็ควรเอาวันที่ ๕ ธันวานี่ล่ะเหมาะที่สุด"
เกษียร เตชะพีระ
นายกฯ เทย์ยิบ เออร์โดกาน จากครอบครัวกรรมาชีพยากไร้ในอีสตันบูล สู่นักการเมืองประชาธิปไตยผู้ไต่เต้าขึ้นมาจากการเมืองท้องถิ่นในนครอีสตันบูล ต่อต้านอำนาจทหาร จนถึงผู้นำอำนาจนิยมที่รมประชาชนด้วยแก๊สน้ำตา เพื่อจะได้สร้างชอปปิ้ง มอลล์ขึ้นมาบนสวนสาธารณะ Gezi และ วิกฤตนี้จะจบอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
...ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คำถามสำคัญคือ ใครบ้างที่คุณนับเป็นมนุษย์? เราควรจะแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติว่าจะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคน ๆ หนึ่งบนฐานศาสนา ชาติพันธุ์ จุดยืนทางการเมืองของเขา หรือไม่อย่างไร? ถ้าหากไม่เกิดคดีเอกยุทธ ยังจะมีใครคิดรื้อฟื้นดำเนินคดีทนายสมชายให้จบจริงหรือไม่?
เกษียร เตชะพีระ
..จะเอานายกฯคนโน้นแทน ก็จะไปเรียกเอาร้องเอาจากในหลวงโดด ๆ โดยไม่ฟังเสียงและไม่เคารพอำนาจอธิปไตยของคนไทย ๗๐ ล้านคนเลยได้ มิฉะนั้น ก็จะมีคนเปลี่ยนหน้า ม็อบเปลี่ยนหน้ากาก ไชยวัฒน์บ้าง สนธิบ้าง ชูวัดบ้าง สุทธิบ้าง หน้ากากขาวเขียวเหลืองชมพูน้ำตาลโกโก้กรมท่าน้ำเงินฟ้าสารพัดสี เข้าแถวเรียงรายผลัดกันขอนายกฯพระราชทานคนใหม่คนแล้วคนเล่าเอากับองค์พระประมุขไม่เว้นแต่ละวัน แล้วจะให้พระองค์ทรงทำอย่างไร?
เกษียร เตชะพีระ
อุตสาหกรรมยาและเทคโนโลยีชีวภาพสั่นสะเทือน: ศาลสูงสหรัฐฯพิพากษาห้ามจดสิทธิบัตรเหนือยีนส์มนุษย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันทำให้การที่ทุนนิยมจะยึดเอาพื้นที่ใหม่ในธรรมชาติระดับยีนส์และ DNA มาเป็นอาณานิคมใต้กรรมสิทธิ์ของตนมีอันสะดุดหยุดชะงักลงบ้าง
เกษียร เตชะพีระ
..นักเศรษฐศาสตร์มักไม่ค่อยชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบอัมมาร ด้วยเหตุผลว่าขาดประสิทธิภาพและเสียประโยชน์ส่วนรวม, ส่วนผมเห็นด้วยกับอาจารย์นิธิที่ท่านชอบ “ล้วงกระเป๋า” แบบนิธิ ด้วยเหตุผลว่าความเหลื่อมล้ำมีมากเหลือเกินในเศรษฐกิจไทยและโลก ควรต้องกระจายจากรวย --> จนให้เท่าเทียมเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เกษียร เตชะพีระ
ประเด็นหัวใจของการสนทนาคือความสัมพันธ์อันซับซ้อนยอกย้อนระหว่าง คุณค่าทางสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural values) กับ มูลค่า/ราคาทางเศรษฐกิจ (economic value/price) ขณะผู้ถามซักไซ้ไล่เลียงจากมุมมองและคำถามเชิงแนวคิดปรัชญาและสังคม ผู้ตอบอธิบายจากจุดยืนของความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ(ทรัพยากรมีจำกัด สังคมต้องตัดสินใจเลือกใช้ให้คุ้มค่าที่สุด), ความรู้เท่าทันต่อกรอบ/ขีดจำกัด/และพลังของความรู้ทางเศรษฐศาสตร์, การดำรงอยู่ของเงื่อนไขทางสังคม/การเมืองที่ล้อมกำกับเศรษฐกิจและ เศรษฐศาสตร์, และชะตาจำต้องเลือกของการตัดสินใจใช้ทรัพยากรจากจุดยืนเศรษฐศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ
นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน
เกษียร เตชะพีระ
หากเอาความคิดทางสังคมการเมืองของ อ.เสกสรรค์ระยะหลัง (ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา) ตามที่คุณพัชราภา ตันตราจินศึกษาค้นคว้าไว้ในหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (๒๕๕๖) มาวางไว้ในบริบทกระแสความคิดการเมืองปัจจุบันแล้วเปรียบเทียบกับแนวคิดของคู่ขัดแย้งหลักในสังคมการเมือง  ได้แก่ “แดง” (คือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและแนวร่วม) กับ “เหลือง” (คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม) แล้ว ก็จะพบว่า...
เกษียร เตชะพีระ
ประสบการณ์ทำนองนี้ของไทยเราเคยมีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ๒๕๔๐ เมื่อหมู่บ้านจัดสรร คอนโด อพาร์ทเมนต์ก่อสร้างขึ้นมาล้นเหลือเกินดีมานด์ของตลาดนับแสนหน่วย ต้องรออีกหลายปีกว่าจะขายหมด แต่นั่นมันหมู่บ้าน, คอนโด, อพาร์ทเมนต์ร้าง, ของจีนทุกวันนี้ไปไกลกว่านั้นมากคือเมืองทั้งเมืองที่สร้างขึ้นมาใหม่สำหรับ รองรับคนเป็นล้าน กลับร้าง รอคนมาอยู่ที่ไม่เคยมา อย่างที่เรียกว่า ghost cities หรือ เมืองผีหลอก...
เกษียร เตชะพีระ
“ก่อนอื่น ชื่อของฉันคือวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ ฉันใช้เวลาตลอดชีวิต ๔๖ ปีเป็นวิลเลม-อเล็กซานเดอร์หรืออเล็กซานเดอร์ ฉันว่ามันแปลกที่จะต้องเลิกใช้ชื่อนั้นเพราะฉันเป็นกษัตริย์ ในอีกแง่หนึ่งคนเราก็ไม่ใช่ตัวเลขนี่นะ” - มกุฎราชกุมารวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชทานสัมภาษณ์ทางทีวีก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบต่อจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถบีอาทริกซ์
เกษียร เตชะพีระ
คิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำพระเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ....