Skip to main content

พม่าเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่างในไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ผ่อนคลายการจำกัดปิดกั้นสื่อมวลชนลง และปล่อยตัวนักโทษการเมือง การลงทุนต่างชาติเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในกองทัพพม่า ปัจจุบันพม่ากำลังเตรียมการเลือกตั้งในปีใหม่นี้ (ค.ศ. ๒๐๑๕) ทว่าน่าวิตกว่ากระบวนการปฏิรูปกำลังตกอยู่ในสภาพล่อแหลมต่ออันตราย

ในไม่กี่ปีหลังนี้เศรษฐกิจพม่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสำคัญหลายประการ รัฐบาลลดการกำกับควบคุมเศรษฐกิจลง มีการจัดวางระบบธนาคารใหม่และออกนโยบายที่ดินใหม่ ยิ่งกว่านั้นยังปล่อยค่าเงินจ๊าดลอยตัวให้เป็นไปตามตลาด (๒๕ - ๓๐ จ๊าด/บาท) แทนที่จะถูกกำหนดโดยรัฐบาลดังก่อน มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติราว ๙ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเข้าสู่พม่านับแต่ปีค.ศ. ๒๐๑๑ เป็นต้นมา

นักเศรษฐศาสตร์ ฌอง เธอร์แนล Sean Turnell แห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ออสเตรเลีย กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นานาเหล่านี้ช่วยปรับปรุงเศรษฐกิจพม่าให้ทำหน้าที่ดำเนินงานของมันได้ดีขึ้น แต่มันส่งผลน้อยมากในการเปลี่ยนอิทธิพลของกองทัพเหนือเศรษฐกิจและการเมืองลง เขาตั้งข้อสังเกตว่า:

“การเคลื่อนตัวไปสู่รูปแบบรัฐบาลใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ยังไม่แน่ชัดเกี่ยวกับบทบาทของทหาร ทหารยังจะเล่นบทแกนกลางอยู่หรือไม่ จะยอมสละการควบคุมเศรษฐกิจบางอย่างไหม จะถอยหลังออกไปอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ ที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นหรือไม่ นั่นคือคำถามใหญ่จริง ๆ”

จนถึงปัจจุบัน ทหารยังคงคุมธุรกิจใหญ่ที่สุดในพม่า รวมทั้งอุตสาหกรรมทำกำไรส่วนใหญ่ไว้ เช่น การสำรวจแก๊สธรรมชาติและเหมืองอัญมณี ทหารพม่ามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจพอ ๆ กับอำนาจทางการเมือง ที่นั่ง ๒๕% ในรัฐสภาถูกกันเอาไว้ให้เป็นโควต้าที่แต่งตั้งโดยทหาร ทำให้กองทัพมีอำนาจวีโต้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้กองทัพมีความพร้อมรับผิดน้อยเมื่อกองทหารพม่าถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิพลเมือง

เมื่อเดือน พ.ย. ศกก่อน คลีนิคสิทธิมนุษยชนแห่งสำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับพม่า http://hrp.law.harvard.edu/wp-content/uploads/2014/11/2014.11.05-IHRC-Legal-Memorandum.pdf ที่กล่าวหาว่านายทหาร ๔ คนก่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี ค.ศ. ๒๐๐๕ - ๒๐๐๖ ๑ ใน ๔ นายทหารได้แก่พลโทโคโค่ รมว.มหาดไทยพม่าคนปัจจุบัน Matthew Brewer ซึ่งเป็นนักวิจัยเรื่องความยุติธรรมระดับโลกของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประจำเมืองย่างกุ้ง กล่าวว่า ทั้งที่มีหลักฐานเพียงพอจะสั่งจับกุมตัวนายทหารทั้ง ๔ ทว่าไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใด ๆ เลย จนกว่านายทหารระดับสูงสุดจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในระบบกระบวนการยุติธรรมที่ควบคุมโดยพลเรือน ทหารก็ยังคงจะกระทำการใด ๆ โดยไม่กลัวถูกลงโทษอยู่ต่อไป เขาชี้ว่า:

“ทหารปักหลักยืนกรานว่าพวกเขาไม่ยอมที่จะเอาเรื่องเอาราวกับพฤติกรรมของตน รวมทั้งข่มขู่ผู้คนที่พยายามจะเอาเรื่องเอาราวดังกล่าวด้วย เราคิดว่าบรรดานักปฏิรูปในรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายค้านที่อยากจะจัดการปัญหานี้ไม่ได้ยืนหยัดเข้มแข็งพอที่จะเอาเรื่องกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและพฤติกรรมของทหาร เราคิดด้วยว่าทหารกำลังเลื่อนชั้นให้บรรดาผู้ละเมิดสิทธิได้ไต่ลำดับการบังคับบัญชาสูงขึ้นไปสู่ตำแหน่งชั้นเอกของกองทัพ”

ฝ่ายค้านพม่าชนะเลือกตั้งได้ที่นั่งในรัฐสภาแต่ไม่สามารถยุติอิทธิพลของทหารได้ บรรดานักวิจารณ์ต้องการให้อองซานซูจีผู้นำฝ่ายค้านหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะ กดดันให้มีความพร้อมรับผิด แต่เธอก็ไม่ได้ทำ บ้างเห็นว่าอองซานซูจีหลีกเลี่ยงที่จะพิพาทกับทหารเพื่อช่วยให้ตัวเองมีโอกาสได้เป็นผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีมากขึ้น

ส่วนบรรดานายพลพม่าทั้งหลายก็ปกป้องแก้ต่างให้แก่อิทธิพลในประเทศของตน อ้างว่ายังมีกบฎชนชาติต่าง ๆ อยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ พม่าใช้จ่ายงบประมาณไปในด้านการทหารถึง ๒๓.๒% ของทั้งหมด คิดเป็นอัตราส่วนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ทหารกล่าวว่างบฯเหล่านี้ส่วนหนึ่งถูกใช้ไปสู้รบกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ปฏิเสธรัฐบาล แต่นักสังเกตการณ์ภายนอกกล่าวว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจของทหารพม่านั่นแหละเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของกบฎที่เกิดขึ้น Matthew Brewer แห่งมหาวิทยลัยฮาร์วาร์ดระบุว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทหารในพื้นที่ขัดแย้งมีส่วนก่อให้เกิดปัญหา และทำให้กระบวนการสันติภาพยืดเยื้อออกไป อีกทั้งบั่นทอนความไว้วางใจที่ฝ่ายต่าง ๆ มีต่อรัฐบาลและทหารพม่า เดือนพ.ย.ศกก่อน ทหารพม่าได้เปิดฉากระดมยิงใส่สนามฝึกกำลังพลของชนชาติส่วนน้อยในพม่า ทำให้พลรบของชนชาติส่วนน้อยตายไป ๒๗ คน การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการเจรจาสันติภาพสิ้นสุดลงเพียงหนึ่งวัน รัฐบาลประธานาธิบดีเต็งเส่งอยากให้มีการหยุดยิงทั่วประเทศก่อนจะจัดเลือกตั้ง

หากจะลดอิทธิพลของทหารในรัฐบาลลงก็จำต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทว่าเดือนพ.ย.นี้เอง ตัวแทนของทหารได้แสดงท่าทีชัดแจ้งว่าพวกเขาไม่ยินยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะจัดเลือกตั้งขึ้น

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' 5 ม.ค.2558

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
 ผมได้รับเชิญไปร่วมสนทนาในงานเปิดตัวหนังสือ ความคิดทางสังคมการเมืองของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของอาจารย์ พัชราภา ตันตราจิน แห่งมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ปัจจุบันศึกษาต่อระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเมื่อต้นเดือนนี้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมอยากนำเอาเนื้อหาที่เตรียมไปส่วนหนึ่งมาเล่าต่อ ณ ที่นี้เพราะไม่มีโอกาสพูดถึงในวันงาน
เกษียร เตชะพีระ
ปรากฏการณ์หมกมุ่นกับรูปโฉมภายนอกเหล่านี้บันดาลใจให้ศิลปินอุนจงเปิดนิทรรศการงานศิลปะของเธอชื่อ “โรงงานร่างกาย” สะท้อนการที่ผู้คนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง ทำกับร่างกายตัวเองเหมือนมันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง และสูญเสียความหมายว่าตัวเองเป็นใครไป
เกษียร เตชะพีระ
อีกด้านของจอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาเสรีนิยม-ประโยชน์นิยม "เผด็จการยังจำเป็นสำหรับสังคมด้อยพัฒนาที่ประชาชนยังไม่พร้อม” และ ความแย้งย้อนของเสรีนิยมบนฐานประโยชน์นิยม: ทำไมเสรีภาพจึงไปได้กับเผด็จการในความคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์?
เกษียร เตชะพีระ
การไต่ระดับของเศรษฐศาสตร์รัดเข็มขัด (austerity economics) สู่ขั้นยึดเงินฝากชาวบ้านมาใช้หนี้เน่าธนาคาร
เกษียร เตชะพีระ
...ข้อเรียกร้องที่ชอบด้วยเหตุผลให้มี “การเมืองที่กำกับด้วยศีลธรรม” บ่อยครั้งเมื่อเอาไปวางในโลกปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมการเมืองไทย รังแต่จะนำไปสู่ “ผู้อวดอ้างสวมสิทธิอำนาจวินิจฉัยตัดสินศีลธรรมทางการเมืองเอาเองโดยพลการและปราศจากการตรวจสอบควบคุม”
เกษียร เตชะพีระ
Kasian Tejapira(1/4/56)สืบเนื่องจากสเตตัสของ บก.ลายจุด เรื่องล้างสมองที่ว่า:
เกษียร เตชะพีระ
จงใจและมีจังหวะบอกกล่าวผู้ชมถึงการเปลี่ยนยุคภาษา, ตลกของเรื่องนี้ไม่ใช่ตลกไทยแบบเก่า, หนังเปลี่ยนขนบการเล่าเรื่อง “แม่นาค พระโขนง”, ไม่ได้รับการเล่าบรรยายแบบเคร่งครัดตามขนบการเล่าเรื่องของความเป็นไทยทางการเลย, ผีแม่นาคแม้น่ากลัว แต่ก็สวยชิบเป๋ง แม้จะทำหน้าดุดัน เหี้ยมเกรียม หลอกเอาบ้าง ขู่บ้าง แต่พูดให้ถึงที่สุด เป็นผี non-violence นะครับ แม่นาคเวอร์ชั่นนี้จึงคล้ายไอ้ฟักในคำพิพากษาที่ตกเป็นจำเลยของชาวบ้านอย่างไม่มีทางแก้ตัว
เกษียร เตชะพีระ
ในภาวะที่แรงส่งด้านบวกจากการลงทุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่กำลังจะงวดตัวหมดพลังลงกลางปีนี้ (2013) อีกทั้งผู้บริโภคชาวออสเตรเลียก็ติดหนี้สูงไม่แพ้ผู้บริโภคอเมริกันและพยายามรัดเข็มขัดลดค่าใช้จ่ายลงมาอยู่ เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรเลียตัวต่าง ๆ จึงทำท่าจะหมดน้ำมันลง หากรัฐบาลออสเตรเลียดันไปตัดลดงบประมาณรัดเข็มขัดเข้า เศรษฐกิจออสเตรเลียก็จะสะดุดแน่นอน
เกษียร เตชะพีระ
...ภาพรวมของ the growth effects + the expansion effects + the transport effects เหล่านี้ จะไม่ถูกบันทึกนับรวมไว้ใน EIA ฉบับของโครงการย่อยใด ๆ เพราะเอาเข้าจริงมันเป็นผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้นของโครงการเมกะโปรเจคต์ลอจิสติกส์ทั้งหมด ด้วยซ้ำ ทว่ามันจะทำให้ไทยและเพื่อนบ้านและ ASEAN ใช้พลังงานและทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล น่าเชื่อว่า Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอนของคนไทยและคน ASEAN จะขยายใหญ่ออกไปอีกบานเบอะ ...
เกษียร เตชะพีระ
โรซ่าชี้ว่ามีระบอบเวลาที่เร่งเร็วขึ้น ๓ ชนิดทำงานผสมผสานกันอยู่ในระยะอันใกล้นี้ ได้แก่: -การเร่งเร็วทางเทคนิค (อินเทอร์เน็ต, รถไฟความเร็วสูง, เตาไมโครเวฟ) -การเร่งเร็วทางสังคม (ผู้คนเปลี่ยนการงานอาชีพและคู่ครองบ่อยขึ้น, ใช้ข้าวของแล้วทิ้งเปลี่ยนใหม่ถี่ขึ้น) -จังหวะดำเนินชีวิตกระชั้นขึ้น (เรานอนน้อยลง, พูดเร็วขึ้น, สื่อสารกับคนรอบข้างน้อยลง, ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันไป)
เกษียร เตชะพีระ
I am an ud-ad man.Living in ud-ad Thailand.I wonder why it is so.Maybe because the general tells me to go....
เกษียร เตชะพีระ
๑๓ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิส ประมุของค์ใหม่แห่งคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก