Skip to main content

 

ปลายเดือนมกราคม ศกนี้ องค์การ Freedom House อันเป็น NGO อเมริกันที่คอยติดตามสอดส่องประเมินเสรีภาพและประชาธิปไตยทั่วโลกนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ได้เผยแพร่รายงานประจำปี Freedom in the World 2015 https://freedomhouse.org/sites/default/files/01152015_FIW_2015_final.pdf  ซึ่งระบุว่าปีที่แล้วมาเสรีภาพพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (civil liberties ตัวชี้วัดความเป็นเสรีนิยม & political rights ตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย) เสื่อมทรุดลงทั่วโลกโดยทั่วไป มาตรวัดเสรีภาพสากลขององค์การตกต่ำลงทุกปีตลอดช่วง ๙ ปีที่ผ่านมา อุดมคติประชาธิปไตยตกอยู่ภายใต้การคุกคามที่ใหญ่โตที่สุดในรอบ ๒๕ ปี

รายงานของ Freedom House ชี้ว่าปีค.ศ. ๒๐๑๔ ถือเป็น “ปีที่หม่นหมองเป็นพิเศษ” เกิดการปะทุขึ้นของการก่อการร้ายรุนแรงและยุทธวิธีที่ก้าวร้าวทั่วโลก ตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคที่ปรากฏการสูญเสียเสรีภาพชัดเจนที่สุด กลุ่มสู้รบแห่งรัฐอิสลามฆ่าฟันผู้คนจำนวนมากในการเข้ายึดพื้นที่ประเทศอิรักและซีเรียส่วนหนึ่ง การนำที่ขาดประสิทธิภาพและกดขี่ในประเทศทั้งสองเปิดช่องโหว่ให้กลุ่มสู้รบแห่งรัฐอิสลามเข้าปฏิบัติการได้ ซีเรียถูกจัดอันดับว่ามีเสรีภาพต่ำสุดในรอบสิบปีในสภาพที่มีทั้งสงครามกลางเมืองและการก่อการร้ายรุนแรง ในทางกลับกันตูนีเซียเป็นข้อยกเว้นในบรรดาประเทศที่เกิดเหตุวุ่นวายทั้งหลาย โดยถือเป็นประเทศอาหรับเดียวที่กลายเป็นประเทศเสรี (free) ในรอบ ๔๐ ปีที่ผ่านมา
(อนึ่ง Freedom House จัดอันดับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกออกเป็น ๓ ประเภทตามคะแนนด้านเสรีภาพพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่แต่ละประเทศได้จากการประเมิน ได้แก่ free, partly free, unfree หรือเสรี, กึ่งเสรี, ไม่เสรี)
 
Arch Puddington รองประธานด้านวิจัยของ Freedom House ผู้เขียนรายงานประจำปี ๒๐๑๔ นี้ชี้ว่าการสูญเสียเสรีภาพที่ร้ายแรงที่สุดในปีที่แล้วเป็นผลมาจากการก่อการร้าย เขากล่าวว่า:
“การคลี่คลายของเหตุการณ์ที่น่าหดหู่ที่สุดอย่างหนึ่งคือกระแสสูงของการก่อการร้าย ในอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยพบเห็นผลกระทบของการก่อการร้ายต่อประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญเท่ากับที่เกิดขึ้นในปี ๒๐๑๔ มาก่อนเลย” การก่อการร้ายทำให้คนนับพัน ๆ พลัดถิ่นที่อยู่ ผู้หญิงถูกลักพาตัวหรือจับตัวไปเป็นสินศึก มีการสังหารชนส่วนน้อยทางศาสนาในตะวันออกกลาง แอฟริกาและเอเชียใต้
 
Freedom House ระบุว่าสภาพที่ขาดเสรีภาพแบบประชาธิปไตยสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้การก่อการร้ายเติบใหญ่ขึ้น ประชากรราว ๒.๖ พันล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในสภาพเงื่อนไขที่ “ไม่เสรี” คิดเป็นประมาณ ๑ ใน ๓ ของประชากรทั่วโลก
 
รายงานชี้ว่ารัสเซียเข้าไปพัวพันกับความรุนแรงในภาคตะวันออกของยูเครนรวมทั้งเข้ายึดคาบสมุทรไครเมีย รายงานยังวิจารณ์ทางการรัสเซียที่โจมตีสื่อมวลชนรัสเซียว่าเป็นการไม่เคารพมาตรฐานประชาธิปไตย
 
รายงานตั้งข้อสังเกตการที่รัฐบาลอียิปต์ผลักดันดอกผลทางประชาธิปไตยที่เพิ่งได้มาให้ถอยหลังลงคลองไป ทั้งยังปราบปรามสื่อมวลชน กลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้เห็นต่างทางการเมืองด้วย
 
Freedom House กล่าวว่ารัฐบาลตุรกีและจีนได้เปิดฉากรณรงค์อย่างก้าวร้าวเพื่อเล่นงานปฏิปักษ์ของตน
 
Thomas Huges ผู้อำนวยการบริหารของกลุ่ม Article 19 องค์กรสิทธิมนุษยชนของอังกฤษที่ปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพสื่อสิ่งพิมพ์และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูล http://www.article19.org/index.php กล่าวว่าความเปลี่ยนแปลงในสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกทั้งหลายได้ทำร้ายอุดมคติประชาธิปไตย
“แนวโน้มน่าเป็นห่วงยิ่งอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือที่ซึ่งเราเคยเห็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเข้มแข็งแต่เดิมมา เพราะได้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ เช่น การติดตามสอดส่องมวลชนขนานใหญ่ เหล่านี้นับเป็นการสร้างกรณีตัวอย่างที่ส่งผลเชิงลบอย่างยิ่ง”
 
Freedom House ฟันธงว่าความผิดพลาดใหญ่โตที่สุดที่ระบอบประชาธิปไตยจะทำลงไปได้ก็คือการยอมรับความคิดที่ว่าเราไม่มีปัญญาความสามารถจะทำอะไรได้หรอกเมื่อเผชิญกับจอมเผด็จการที่ใช้กำลังหรือข่มขู่คุกคามคนอื่น เอาเข้าจริงกลับเป็นปุถุชนพลเมืองสามัญต่างหากผู้พร้อมจะลุกขึ้นมาท้าทายผู้ปกครองเหล่านี้
 
หมายเหตุ บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก 'Kasian Tejapira' เมื่อวันที่ 1 ก.พ.58

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม