Skip to main content

 

คืองี้นะครับ ที่คุณ "มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว" เสนอนั้น http://pantip.com/topic/33707045


ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า:

1) อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไปเรียนต่อออสเตรเลียไม่ใช่ด้วยทุนของรัฐบาลหรือทางราชการไทย หากด้วยทุนของทางมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเอง ซึ่งเราคงไปสั่งออสเตรเลียไม่ได้นะครับ เว้นแต่เรายกทัพไปยึดและควบคุมอำนาจการปกครองออสเตรเลียและนานาประเทศตะวันตกมาเป็นเมืองขึ้นของสยามก่อน

2) ส่วนอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์นั้น ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง” และสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน” วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)

การพิจารณาพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ที่ทรงพระราชทานทุนนั้น ในทำเนียบผู้ได้รับทุนมูลนิธิมหิดล แผนกธรรมศาสตร์เหมือนกันก็มีเช่น ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ (กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน), ดร. วิรไท สันติประภพ (ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และเป็นคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด, ผู้สมัครผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคนถัดไป) เป็นต้น

3) คนไทยที่ได้ทุนรัฐบาลไปเรียนต่อนอกด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์มีหลายประเภทหลายแบบ ไม่ได้ออกมาพิมพ์เดียว อย่าง บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็ได้รับทุนรัฐบาลเช่นกัน ถ้าไปยกเลิกกันเสียหมด จะได้ใครเรียนจบมาเป็นประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารล่ะ วัทธ่อ!

ยังไงก็ควรปันใจไว้ให้เนติบริกร-รัฐศาสตร์บริการบ้างนะจ๊ะ จุ๊บ ๆ

........

หมายเหตุ : สำหรับการชี้แจงนี้ ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ วันที่ 28 พ.ค.58 เวลา 15.00 น. เพื่อโต้กระทู้ ของผู้ใช้ชื่อ ‘มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว’ ในเว็บพันทิปหัวข้อ ‘อยากให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ครับ’  ซึ่งโพสต์นั้นของ ‘มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว’  เป็นการกล่าวหาว่านักวิชาการที่ได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศในสาขาวิชาดังกล่าวหลายคน เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ไม่ได้ใช้ความรู้ไปในทางสร้างสรรค์ กลับสร้างความขัดแย้งวุ่นวายให้บ้านเมือง และปลุกปั่นนักศึกษา โดยไม่สนใจบริบทเฉพาะของสังคมไทย พร้อมเสนอให้ยกเลิกการมอบทุนการศึกษาต่อต่างประเทศในทั้งสองสาขาวิชา แต่ควรมอบทุนให้นักศึกษาในสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ได้ศึกษาต่อในประเทศแทน เพื่อจะได้เรียนรู้ถึงบริบทของสังคมไทย 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
๓ ขั้นตอน ของ ลัทธิช็อก ประชาชนถูกช็อกด้วยวิกฤต, ประชาชนถูกช็อกด้วยนโยบายเสรีนิยมใหม่ที่ผลักดันผ่านออกมา และ ในความเป็นจริง ประชาชนผู้ต่อต้านคัดค้านนโยบายดังกล่าวยังมักจะถูกรัฐบาลกวาดล้างจับกุมไปทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นานาโดยเฉพาะการช็อกด้วยไฟฟ้า 
เกษียร เตชะพีระ
โดรน (Drone) หรือเครื่องบินไร้คนขับเพื่อสอดแนมและสังหาร นักฆ่าหน้าจอตัดสินใจด้วยเกณฑ์ใดว่าจะกดปุ่มให้โดรนสังหารยิงถล่มคุณหรือไม่? อนุสนธิจากข่าว “โดรนโจมตีในเยเมน เสียชีวิต ๑๒ ราย” 
เกษียร เตชะพีระ
ถาม-ตอบกับคำถามประเมินความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้แค่ไหนอย่างไร, อะไรคือเงื่อนไขการเมืองที่รองรับการจัดการลักษณะนี้, จะมีรัฐประหารไหม และ แนะนำอะไรได้บ้างในสถานการณ์เฉพาะหน้านี้
เกษียร เตชะพีระ
ปัญหาชนชั้นกับการปฏิวัติกระฎุมพี, ลักษณะเด่นร่วมเชิงโครงสร้างของการปฏิวัติกระฎุมพี ๔ ประการ, เงื่อนไขและลักษณะของการปฏิวัติกระฎุมพีที่เปลี่ยนไปในประวัติศาสตร์, การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ของคณะนิติราษฎร์มีลักษณะเด่นน่าสังเกตบางประการ และคำถามทิ้งท้าย
เกษียร เตชะพีระ
บทวิเคราะห์เรื่องนี้ของผมถึงเงื่อนไขความเป็นไปได้ของการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นหลักเมื่อเทียบกรณีอียิปต์ปัจจุบันกับไทยหลังรัฐประหาร ๒๕๔๙ ..มีความต่างที่น่าสนใจนำมาเปรียบเทียบบางประการในความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องรัฐประหารโดยกองทัพ ระหว่างเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ กับอียิปต์ในปีปัจจุบัน ๒๕๕๖
เกษียร เตชะพีระ
ผมทำกราฟฟิคขึ้นไว้เพื่อประมวลสรุปความเข้าใจของตัวเองและใช้ประกอบการสอนนักศึกษา แต่สังเกตว่ามีเพื่อนชาว Facebook สนใจพอควร จึงคิดว่าควรเขียนคำอธิบายประกอบถึงที่มาที่ไปและเนื้อหาของมันโดยสังเขป
เกษียร เตชะพีระ
ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน = ฝันสลายของตลาดส่งออกใหญ่ของเอเชียตะวันออกรวมทั้งไทย = ฝันสลายของตัวแบบเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEM - East Asian Economic Model) รวมทั้งไทยด้วย
เกษียร เตชะพีระ
๕ ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย, ๔ concepts หลักที่ Chatterjee ประยุกต์มายึดกุมทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชนบทเอเชีย การสะสมทุนขั้นปฐมภูมิ, พิเคราะห์ชาวนาเอเชีย ชนิดของทุนและที่ตั้งทางเศรษฐกิจใหม่ของชาวนายุคโลกาภิวัตน์ ไม่ใช่อุปถัมภ์, ไม่ใช่กบฎชาวนา, ไม่ใช่การเมืองภาคประชาชน, และไม่ใช่ประชาสังคม
เกษียร เตชะพีระ
 รัฐเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านชาวนาชนบทแล้ว ชาวนาไม่ได้เผชิญหน้ากับการขูดรีดทางชนชั้นหรือรัฐโดยตรง เปลี่ยนอาชีพเพราะมองเห็นโอกาสยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หนุ่มสาวชาวชนบทรุ่นใหม่ที่ได้เรียนหนังสือและเสพสื่อสารมวลชนสมัยใหม่อยากเลิกเป็นชาวนา ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดกับชาวนาเอเชียในทรรศนะ Partha Chatterjee หนึ่งในเจ้าพ่อ Subaltern Studies ชาวอินเดีย 
เกษียร เตชะพีระ
กองทัพอียิปต์เป็นสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่น่าสนใจมาก แปลงสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนกิ้งก่า, ไม่ซื่อกับใครเหมือนงูในอ้อมอกชาวนา, และแว้งกัดทุกฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้อคิดจากรัฐประหารในอียิปต์: ประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งล้มง่ายเข้าและสร้างยากขึ้นทุกที จำเป็นต้องพัฒนากลไกมิติริเริ่มใหม่ต่าง ๆ เพื่อเปิดกว้างการใช้อำนาจแก่สังคมการเมือง