Skip to main content

 

คืองี้นะครับ ที่คุณ "มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว" เสนอนั้น http://pantip.com/topic/33707045


ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า:

1) อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ไปเรียนต่อออสเตรเลียไม่ใช่ด้วยทุนของรัฐบาลหรือทางราชการไทย หากด้วยทุนของทางมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเอง ซึ่งเราคงไปสั่งออสเตรเลียไม่ได้นะครับ เว้นแต่เรายกทัพไปยึดและควบคุมอำนาจการปกครองออสเตรเลียและนานาประเทศตะวันตกมาเป็นเมืองขึ้นของสยามก่อน

2) ส่วนอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์นั้น ได้รับพระราชทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ ให้ไปศึกษาวิชานิติศาสตร์ เน้นหนักทางด้านกฎหมายมหาชน ณ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก ที่คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัย Goettingen ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำเร็จการศึกษานิติศาสตรมหาบัณฑิต (Magister Iuris) ด้วยคะแนนดีมาก (sehr gut) ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดตามหลักสูตร Magister Iuris ของมหาวิทยาลัย โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “หลักกฎหมาย clausula rebus sic stantibus ในสัญญาทางปกครอง” และสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาเอกทางกฎหมายเป็น “Doktor der Rechte” ได้รับคะแนนระดับ “summa cum laude” ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “วิวัฒนาการทางทฤษฎีของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายเยอรมัน” วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ Dunker & Humblot (Berlin)

การพิจารณาพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดลมีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ที่ทรงพระราชทานทุนนั้น ในทำเนียบผู้ได้รับทุนมูลนิธิมหิดล แผนกธรรมศาสตร์เหมือนกันก็มีเช่น ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ (กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน), ดร. วิรไท สันติประภพ (ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และเป็นคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ ซุปเปอร์บอร์ด, ผู้สมัครผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคนถัดไป) เป็นต้น

3) คนไทยที่ได้ทุนรัฐบาลไปเรียนต่อนอกด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์มีหลายประเภทหลายแบบ ไม่ได้ออกมาพิมพ์เดียว อย่าง บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็ได้รับทุนรัฐบาลเช่นกัน ถ้าไปยกเลิกกันเสียหมด จะได้ใครเรียนจบมาเป็นประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารล่ะ วัทธ่อ!

ยังไงก็ควรปันใจไว้ให้เนติบริกร-รัฐศาสตร์บริการบ้างนะจ๊ะ จุ๊บ ๆ

........

หมายเหตุ : สำหรับการชี้แจงนี้ ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ วันที่ 28 พ.ค.58 เวลา 15.00 น. เพื่อโต้กระทู้ ของผู้ใช้ชื่อ ‘มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว’ ในเว็บพันทิปหัวข้อ ‘อยากให้ประเทศไทยยกเลิกการให้ทุนการศึกษาต่างประเทศสำหรับคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ครับ’  ซึ่งโพสต์นั้นของ ‘มีหนึ่งใจให้เธอผู้เดียว’  เป็นการกล่าวหาว่านักวิชาการที่ได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศในสาขาวิชาดังกล่าวหลายคน เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ไม่ได้ใช้ความรู้ไปในทางสร้างสรรค์ กลับสร้างความขัดแย้งวุ่นวายให้บ้านเมือง และปลุกปั่นนักศึกษา โดยไม่สนใจบริบทเฉพาะของสังคมไทย พร้อมเสนอให้ยกเลิกการมอบทุนการศึกษาต่อต่างประเทศในทั้งสองสาขาวิชา แต่ควรมอบทุนให้นักศึกษาในสาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ได้ศึกษาต่อในประเทศแทน เพื่อจะได้เรียนรู้ถึงบริบทของสังคมไทย 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม