Skip to main content

20080116 วันเด็กทุกสัญชาติ

ลมหนาว ยังไม่จางหาย....

วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

วันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ ก็ได้เตรียมจัดกิจกรรมในบู๊ธของตนเอง มีการเล่นเกม จัดนิทรรศการ การเรียนในเรื่องเอดส์ เพศ สิทธิเด็ก ส่วนผู้สูงอายุก็เตรียมของใช้ในอดีตมาแสดงให้เด็กๆ ดู เช่น เครื่องปั่นฝ้าย ที่จับปลา เป็นต้น

มีผู้ปกครองพาเด็กๆ ตัวเล็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม มีน้องคนหนึ่งถามผมว่า “วันเด็กมีจัดกี่ที่”

ผมเงียบไปสักพัก แล้วก็บอกว่า “น่าจะมีหลายที่นะครับ”

“แล้วประเทศอื่นมีวันเด็กไหม...” น้องผู้หญิงอีกคนถามผม ผมตอบว่า “ไม่รู้ครับ” เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าประเทศอื่นมีการจัดกิจกรรมวันเด็กแบบเมืองไทยไหม หรือถ้ามีก็คงจะไม่ใช่วันเดียวกัน แต่อาจเป็นวันอื่นๆ ก็ได้

พอนึกถึงเรื่องประเทศอื่น ก็นึกถึงเรื่องชาติขึ้นมา ..... เรื่องชาติ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในชาตินี้ แต่ไม่มีสัญชาติ เป็นคน “ทุกข์” เรื่องสัญชาติ ซึ่งก็คือ เด็กๆ เพื่อนๆ พี่น้องอีกหลายคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย แต่ไร้ซึ่งสัญชาติไทย

อย่างงานวันเด็กไร้สัญชาติ ก็ได้มีการจัดมาแล้วหลายครั้ง และแต่ละครั้ง ก็มีกระแสผลักดันให้ภาครัฐดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติของเด็ก เพราะเด็กๆ หลายที่ที่ไร้สัญชาตินั้น จะขาดหลักประกันในการเข้ารับการศึกษา หรือการบริการสาธารณสุขของรัฐ

ทั้งนี้แม้ว่า ภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการต่างๆ เช่น ในเรื่องสัญชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยลงนามเป็นภาคี เมืองปี 2535 และได้ตั้ง ข้อสงวนไว้ สอง – สาม ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือเรื่อง “สัญชาติ” โดยความคืบหน้าปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอว่า ให้รัฐบาลดำเนินการ ถอนข้อสงวนข้อ 7 เรื่องสถานะบุคคล โดยการแก้ไข พ.ร.บ. สัญชาติ เพื่อไม่ให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยของพ่อและแม่ต่างด้าวเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

เรื่อง มาตรา 7 ทวิ ตามพรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2535 ได้เปิดโอกาสให้คนที่ไร้สัญชาติสามารถร้องขอสัญชาติไทยต่อกระทรวงมหาดไทยเป็นรายๆ ได้ตามกฎหมาย แต่ก็ยังพบว่ายังมีเด็กไทยบางส่วนที่ประสบปัญหาเรื่องเอกสารการเกิด ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนการเกิดและไม่ได้รับสัญชาติไทยด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ ของการที่เด็กๆ ไม่ได้รับสัญชาติ บางส่วนเนื่องจากประชาชนที่ไม่มีสัญชาติไทยไม่รู้กฎหมายและระเบียบขั้นตอนในการดำเนินการแจ้งเกิด หรือไม่เห็นประโยชน์ของการแจ้งเกิด หรืออุปสรรคในการเดินทางก็ตาม แต่สาเหตุที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วนไม่อำนวยความสะดวก หรือเลือกปฏิบัติยังคงมีอยู่ เช่น การเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ หรือเรียกหลักฐานประกอบมากเกินความจำเป็น ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์เข้าตนบนความเดือดร้อนของผู้อื่น

ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ติดตามเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของประเทศได้มองว่าในเรื่องสิทธิที่จะมีชื่อ สัญชาติ และสถานะบุคคล (identity) นั้นรัฐจะต้องส่งเสริมการประกันให้เด็กที่เป็นคนไร้รัฐ (stateless) มีสิทธิที่จะมีสัญชาติ (รวมถึงสัญชาติไทย) และสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ นอกจากเรื่องแก้กฎหมายแล้ว จะมีการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กไร้สัญชาติ

ส่วนเด็กผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง บัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง และประกัน การเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับ (non-refoulement) โดยเฉพาะเด็กที่เคยเป็นทหาร รวมทั้งพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสาร ค.ศ. 1967

หรือแม้แต่ (ร่าง) พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ...... ก็ได้ระบุว่า “ให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนรับรองการเกิด การพัฒนา  การยอมรับ การคุ้มครองและโอกาสในการมีส่วนร่วมตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมือง การเกิดหรือสถานะอื่นของเด็กและเยาวชน บิดามารดา หรือผู้ปกครอง”

ฉะนั้นแล้ว ถือได้ว่าเรื่องของสัญชาติของเด็กนั้นไม่ควรจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทางสังคมต่างๆ อย่างที่ได้เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา และเป็นเรื่อง “สิทธิ” ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนจริงๆ ซึ่งเมื่อย้อนกลับมายังวันเด็กที่เกิดขึ้นนั้น ก็อาจบอกได้ว่า ควรจะเป็นวันเด็กของเด็กๆ ทุกคน ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีหรือไม่มีสัญชาติ ควรจะเป็นวันเด็กทุกสัญชาติ ที่ไม่แค่เฉพาะเด็กที่มีทุกข์จากเรื่องสัญชาติเพียงเท่านั้น

..........

ผมยังจำเรื่องของ มึดา นาวานารท เพื่อนเยาวชนจากแม่ฮ่องสอน ได้ว่า เธอเป็นเด็กคนเดียวร้องไห้หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันเด็กหลายปีก่อน เพราะนายกทักษิณเมื่ออดีต หนีพวกเธอออกทางหลังทำเนียบฯ ตอนนั้นเธอเล่าว่าที่ไปทำเนียบนั้นเพื่อจะไปบอกเล่าความรู้สึกและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและเพื่อน ๆ เนื่องจากประเด็นไร้สัญชาติเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยแก้ไข การได้รับสถานะความเป็นคนไทย คือ ของขวัญสำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่มีสัญชาติ

มึดา เคยเสนอว่า “นายกรัฐมนตรี คือ คนที่มีอำนาจในการจัดการเรื่องสัญชาติสูงสุด หันมาสนใจเรื่องสัญชาติสักนิดก็จะดี แม้จะเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งเพียงหยิบมือในประเทศไทย แต่อยากให้คิดว่าพวกเราก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนี้อยากให้ลองเข้าหาคนรากหญ้าจริง ๆ เดินเข้าหาประชาชนที่ประสบปัญหาจริง ๆ มาดูกันว่าข้อเท็จจริง คือ อะไร มีอะไรที่ซ่อนอยู่ในนั้นบ้างเราน่าจะมาเปิดโอกาสคุยกันหรือเปล่า เปิดอกคุยกันดีกว่าจะปล่อยเอาไว้แบบนี้ หากยืดเยื้อไม่ยอมแก้ไข ปัญหาจะเรื้อรังขึ้นหรือเปล่าและอย่าแก้ไขที่ปลายเหตุ โยนเงินลงมาให้หรือส่งออกไปประเทศโลกที่สาม แก่นของปัญหาจริง ๆ ไม่ได้รับการเปิดออกมา”

วันเด็กปีนี้ แม้ว่าจะมีการแจกขนมอบกรอบต่างๆ มากมาย คละคลุ้งไปกับกลิ่นโชยแห่งความอาดูร ในการสูญเสียสมาชิกของราชวงศ์ แต่ปัญหาของเด็กทุกๆ คน ไม่ว่ามีหรือไม่มีสัญชาติยังคงเกิดขึ้นดั่งสายลมที่พัดพาความเยือกเย็นหนาว ผ่านมาและผ่านไป ทุกขณะ ...รัฐบาลแล้ว รัฐบาลเล่า.....


--------
แหล่งข้อมูล:
1. รายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทย ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ฉบับที่ 2 เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ โดย คณะอนุกรรมการเรื่อง “สิทธิเด็ก” คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
2. บทสัมภาษณ์มึดา นาวานารท เข้าถึงได้ที่ http://www.thaingo.org/man_ngo/muda.htm

 

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…