Skip to main content

มาริยา มหาประลัย

20080418 wedding

“เฮ้ย! งั้นเรามาแต่งงานกันดีไหม(วะ)” ไม่มีแหวนเพชร ไม่มีเพลงประกอบสุดโรแมนติคคลอตาม ผู้ชายตรงหน้าฉันไม่ได้นั่งคุกเข่าอย่างในหนัง แต่พูดพลางแคะขี้มูกไปด้วยซ้ำ

กะพริบตาอีกทีฉันก็นึกขึ้นได้ว่าตัวเองไม่ได้เป็นจูเลีย โรเบิร์ตสในหนังเรื่อง Runaway Bride ที่มีริชาร์ด เกียร์ กำลังคุกเข่าขอแต่งงานนี่หว่า แต่ฉันกำลังอยู่กับในร้านส้มตำสุดฮิปแต่โคตรแพงเพราะต้องเสียค่าดื่ม-แดกไลฟ์สไตล์คนเมืองแกล้มกับข้าวเหนียวไปด้วย

เรากำลังมันปากอยู่กับไก่ย่างและหัวข้อการสนทนาว่าด้วยความสัมพันธ์อันเผ็ดร้อนกว่าส้มตำปูรสแซ่บสะเด็ดสะเด่า หนุ่มสาวอย่างพวกเรายังโสด (ในความหมายว่ายังไม่มีแฟน) และเต็มไปด้วยพลังชีวิต หาได้ตั้งคำถามกับชีวิตไปวันๆ แค่ว่า “เมื่อไรฉันจะมีแฟนเสียที(วะ)”  

คำถามของเราในค่ำคืนนั้นก็คือ พออายุยังน้อยแบบนี้จะถือครองโฉนดความโสดก็ไม่มีใครว่าอะไรหรอก แต่พออายุกระเถิบเข้าสู่เลขสามเลขสี่เมื่อไร คงต้องถูกพ่อแม่และ “ผู้หวังดีทั้งหลาย” ตั้งกระทู้ถามสดกลางสภาว่าเมื่อไรจะเป็นฝั่งเป็นฝากับเขาเสียที ถึงตอนนั้นเราจะเอายังไงกันดี

ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะถูกหาว่าไม่มีใครเอาไปทำแม่ทำเมีย อันเป็นการบรรลุขั้นสูงสุดในการเกิดเป็นผู้หญิงที่ดีในสังคมที่มีรากฐานของผู้ชายเป็นใหญ่ ถ้าเป็นผู้ชายก็จะถูกตั้งคำถามกับความเป็นชายว่าเป็นเก้งกวาง (เกย์) หรือเปล่า ฟังแล้วอยากเท้าเอวถามแทนผู้ชายเหล่านั้นว่า “เป็นเกย์แล้วไง” แล้วสะบัดบ๊อบใส่หน้าคนนั้นซะ อ๊ายส์!   

คิดแล้วก็ขำ สังคมไทยสอนให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัวไว้เป็นมั่น แต่พรหมจรรย์ก็ต้องมีอายุการใช้งานของมัน ขืนเก็บไว้นานๆ ไม่มีใครพรากไปเสียทีก็โดนหาว่าไม่มีใครเอาอีก แล้วไอ้เรื่องการเป็นโสดกับเรื่องไม่มีใครเอานี่มันก็เป็นหนังคนละเรื่องกันชัดๆ

แต่แหม...ชีวิตก็ไม่ไร้ทางออกเสียทีเดียวหรอก ในเมื่อผู้ชายและผู้หญิงก็ถูกคาดหวังในเรื่องการแต่งงานกันทั้งคู่ ฉันและเพื่อนๆ ทั้งชายหญิงและอื่นๆ อีกมากมาย เลยตกลงกันว่า งั้นเรามาแต่งงานกันเองเถอะ!

ใช่! เราจะแต่งงานกันเพื่อผลประโยชน์!

ผลประโยชน์อะไรบ้างล่ะที่จะได้หลังจากการแต่งงาน โอ๊ย! เยอะแยะ! ตัดปัญหาการถูกตั้งคำถามเรื่องหน้าตาทางสังคม ฉันไม่ถูกมองเป็นสาวทึนทึกไร้คู่ พ่อแม่หมดห่วงไปได้อีกเปราะหนึ่ง ไหนจะมีคนดูแลเรายามป่วยไข้ มีเพื่อนที่อยู่ด้วยกันแถมเป็นเพื่อนที่ฉันรักเสียด้วย ที่เก๋กว่านั้นคือ เราลดหย่อนภาษีได้ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายลง ลดการใช้พลังงานลง นี่ฉันช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้ด้วยนะเนี่ย! อ๊ายส์! เริ่ด! ท่าทางคู่ของเราจะอยู่ยั้งยืนยงคงกระพันตราบเท่าที่ไม่มีใครลุกขึ้นมาฟ้องหย่าเพราะคู่ของตัวไม่ยอมมีเซ็กส์ด้วย!
    
อ้อ! เรื่องเซ็กส์น่ะเหรอ อันนี้แล้วแต่คน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนิยามความสัมพันธ์นี้ไว้อย่างไร บางคนอาจมีเซ็กส์กับเพื่อนได้ เพราะถือว่าเป็นคนที่เขาไว้ใจซึ่งกันและกันมากที่สุดก็ว่ากันไป แต่บางคนขืนจะให้ตกร่องปล่องชิ้นกับเพื่อนตัวเองคงไม่ไหว จะขอตัวช่วยหรือเปลี่ยนคำถามก็ตามสะดวก หรือถ้าเพื่อนชายที่ฉันจะเกี่ยวก้อยกันไปแต่งงานด้วยอยากจะเดทกับใครก็ตามใจเธอเถิด

เพราะตัวฉันเองก็จะเดทของฉัน เอิ่ม...ถ้ามีใครให้เดทน่ะนะคะคุณ! ถ้าผู้หญิงอีกคนเกิดงงๆกับความสัมพันธ์ของเราสองคน ฉันจะไปนั่งคุยกับเขาเองว่า “อู้ย! คุณขา เดทกับสามีดิฉันไปเถอะค่ะ เราแต่งงานกันขำๆ เท่านั้นแหละ เอ่อ...ถ้าคุณมีเพื่อนชายก็แนะนำฉันได้นะคะ เผื่อฉันจะได้ไปลดภาษีกับคนอื่นบ้าง อ๊ายส์!!!”   
    
ความรักน่ะเหรอ? อู้ย! เราก็รักกันไงคะ แต่รักกันแบบเพื่อน ใครบอกกันว่าการแต่งงานต้องรักกันแบบ “คู่รัก” เท่านั้น การแต่งงานแบบโรแมนติค Happily Ever After แบบที่เราถวิลหาน่ะมันเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่กี่สิบปีเองนะคุณ เหตุผลที่คนในยุคเกษตรกรรมแต่งงานกันน่ะเหรอ ก็เพื่อต้องการแรงงานเพิ่มเอาไว้ทำไร่ทำนาน่ะสิคะ อ๊ายส์! ฟังแล้วโคตรโรแมนติคเลย! ย้อนไปไกลกว่านั้น สมัยโบราณ เจ้าเมืองก็ยกลูกสาวตัวเองไปดองกับอีกเมืองหนึ่งเพื่อประโยชน์ทางความมั่นคงของรัฐตัวเอง รักเริกอะไรกันที่ไหนล่ะคะ ต่างอะไรกับที่ฉันบอกว่าอยากแต่งงานเพื่อลดภาษี!
    
เช่นเดียวกับที่คู่เกย์หลายคู่ที่บอกฉันว่า ทุกวันนี้เขาก็อยู่กินกันอย่างสามีภรรยาอยู่แล้ว แต่ เหตุผลเดียวที่เขาจะแต่งงานกันถ้ามีกฎหมายว่าเกย์สามารถแต่งงานกันได้ในประเทศไทย (ซึ่งอาจจะต้องเกิดเป็นเกย์อีกชาติ ประเทศไทยถึงจะเห็นว่าเกย์เป็น “ประชากร”) ก็คือผลประโยชน์ที่จะคุ้มครองการครองคู่ของเขาเหมือนอย่างที่สามีภรรยา Heterotype ได้รับอยู่ในปัจจุบัน ที่ญี่ปุ่น ผู้หญิงและเกย์บางคนก็ยินดีแต่งงานกัน เพราะสังคมญี่ปุ่นคาดหวังต่อชายหญิงในเรื่องการแต่งงานสูงมาก ในเมื่อผู้ชายที่เป็นเกย์ในญี่ปุ่นไม่ได้รับการยอมรับ ส่วนผู้หญิงโสดในญี่ปุ่นก็เป็นที่ครหา การแต่งงานกันของคนทั้งคู่จึงเป็นเรื่องที่สมประโยชน์กันทุกฝ่าย ที่จริงไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่นหรอก คุณจะปฏิเสธเหรอว่าการแต่งงานกันเพื่อผลประโยชน์มันไม่มีเลยในเมืองไทยในปัจจุบัน

ตั้งแต่เด็ก เราถูกสังคมโปรแกรมใส่กบาลว่าสมการ พ่อ + แม่ + ลูก = ครอบครัว ย่อยลงไปกว่านั้น พ่อ = ผู้ชาย แม่ = ผู้หญิง พ่อกับแม่แต่งงานกันด้วยความรัก ฟูมฟักลูกด้วยความรัก (ละไว้ว่าด้วยความคาดหวังอีกข้อหนึ่งก็ได้) จินตนาการเกี่ยวกับครอบครัวของเราจึงถูกตีกรอบไว้แคบมากแถมยังมีอคติทางเพศเคลือบไว้ในความรักแบบครอบครัว เช่น พ่อที่เป็นเกย์จะเป็นพ่อที่ดีได้ไหม (เช่น ที่คนชอบพูดว่า “สงสารลูกเขานะ” เมื่อรู้ว่าดาราชายบางคนอาจเป็นเกย์) แล้วเป็นไปได้ไหมถ้าแม่เป็นเลสเบี้ยน ถ้าพ่อกับแม่ไม่ได้แต่งงานกันด้วยความรัก แต่ก็มีปัญญาและมีหัวใจที่เลี้ยงเรามาได้ เราจะยอมรับได้ไหม และเราจะเรียกความสัมพันธ์ของเพื่อนสองคนที่อยู่ด้วยกัน มีเซ็กส์กัน แต่ไม่ได้รักกับแบบ “คู่รัก” ว่าครอบครัวได้ไหม

แล้วเราเปิดใจไว้กว้างสำหรับ “ครอบครัว” แบบอื่นๆ ที่เป็นอยู่และกำลังจะเป็นไปไว้มากน้อยเพียงใด

เราได้เห็นว่าคนรุ่นใหม่บางกลุ่มกำลังตั้งคำถามและพยายามสร้างนิยามใหม่ของการแต่งงานและการมีครอบครัวที่มากไปกว่าสมการ การแต่งงาน = ผู้ชาย 1 คน + ผู้หญิง 1 คน + ความรักแบบคู่รัก อย่างที่สังคมเคยยัดใส่สมองมา ไปเป็นสมการการใช้ชีวิตรูปแบบอื่นที่อาจจะเข้ากับชีวิตของเขาได้ดีกว่า สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ วิธีตอบโต้กับปฏิกิริยาของสังคมของพวกเขา ในเมื่อสังคมอยากคาดหวังและควบคุมกรอบการแต่งงานดีนัก ก็โอเค! อยากให้แต่งงานเหรอ ได้! ไม่ปฏิเสธ! ถ้าผลประโยชน์มัน “ถึง” และ “พร้อม” ก็พยักหน้ายอมรับมัน แต่ไม่ได้แปลว่าเขา “ก้มหัว” ให้กับมันเสียหน่อย คุณเห็นไหมว่า “ขบถ” กำลังแอบหัวเราะเยาะหึๆ ใส่สังคมอยู่น่ะ  

เพราะหน้าฉากมันคือการยิ้มรับการแต่งงานตามจารีตปฏิบัติ แต่หลังฉากคือการตบหน้าและถ่มถุยใส่การแต่งงานดีๆนี่เอง

มันก็เหมาะกันดีกับสังคมมือถือสากปากถือศีลแบบนี้มิใช่หรือ

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…