kittiphan's picture

<!-- @page { margin: 2cm } P { margin-bottom: 0.21cm } A:link { color: #3366cc; font-weight: normal; text-decoration: none } --> <!-- @page { margin: 2cm } P { margin-bottom: 0.21cm } A:link { color: #3366cc; font-weight: normal; text-decoration: none } --> <p style="margin-bottom: 0cm"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"><strong>หนุ่มสาวสมัยนี้</strong></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">พื้นที่บันทึก ขีดเขียน เวียนมาเล่า เรื่องราวของคนเยาว์วัย หนุ่มสาว คนรุ่นใหม่และสังคม</font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"><strong>เกี่ยวกับผู้เขียน </strong></font></font> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">กิตติพันธ์ กันจินะ </font></font></font> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">ทำงานที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ</font></font><font face="Times New Roman, serif"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">.</font></font></font></font><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">เชียงราย และ เครือข่ายเยาวชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง </font></font><font face="Times New Roman, serif"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">(YouthNet) </font></font></font></font> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">ชอบเดินทางครับ</font></font><font face="Times New Roman, serif"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">^^</font></font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"><strong>ติดต่อที่</strong></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font face="Times New Roman, serif"><font color="#3366cc"><span style="text-decoration: none"><span style="font-weight: normal"><a href="mailto:kuumpaphan@hotmail.com"><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">kuumpaphan@hotmail.com</font></font></font></a></span></span></font><font color="#ff6600"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"> </font></font></font></font> </p>

บล็อกของ kittiphan

ปิดเทอมใหญ่ ทำอะไรดีน้า!?

ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ

ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับ

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง บางคนก็เตรียมตัวร้องเพลงนักร้องต่างชาติคนโปรดที่กำลังจะมาเปิดคอนเสิร์ตในเมืองไทย บางคนก็พยายามพิสูจน์ความรักของตนให้กับคนที่รัก และบางคนก็ออกเดินทางไปเที่ยวกับเพื่อนหญิงคนใหม่

ชีวิตของพวกเขาทั้งหลายในภาพยนตร์ อดทำให้คิดถึงเพื่อนๆ หลายคนที่จะมีเวลาว่างมากมายในช่วงปิดเทอมนี้ช่วงปิดเทอมใหญ่นี้ หลายคนคงอยากจะหาอะไรทำ ซึ่งส่วนหนึ่งที่ผมอยากเล่าในที่นี่ ก็เนื่องมาจาก “กิจกรรมดีๆ” ที่วัยรุ่นจะได้ทำในช่วงปิดเทอมใหญ่นี้ มีน้อยนัก

คาราวานความดีของวัยรุ่นอาชีวะ

ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน
 
“อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมา
ผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

20080320 การอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน

ผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?
พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน จากกลุ่มโรงเรียน จตุจักร ชัยสมรภูมิ ธนบุรี และสวนหลวง ร.9 ได้มาจัดกิจกรรมโครงการ คาราวานความดี อาชีวศึกษาพัฒนาสังคม ซึ่งจะอบรมกันสามวันเลยนะ จากวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มีนาคม เลยแหละคุณเต้า”  

กลับบ้าน?

ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก

 

ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า และไม่ค่อยได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจังเหมือนเจ้าหน้ารัฐแห่กันไปดูแลคุณทักษิณ ...

 

สถานการณ์ข้อมูลเรื่องเด็กเร่ร่อนล่าสุด ที่ทางอาจารสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษาวิจัยสถานการณ์และปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกการแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนในระยะ 3 ปี (พ.ศ.2549-2551) 1 พบว่า เด็กเร่ร่อนในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมมหภาคเปลี่ยนไป เกิดปัญหาการสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม การกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน เกิดการขยายตัวตามเมืองใหญ่ๆ ประชาชนละทิ้งถิ่นฐานอพยพเข้าสู่ตัวเมืองในสภาพที่ไม่พร้อม ขัดสนยากจนต้องอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด สองข้างทางรถไฟ บุกรุกที่สาธารณะ ประกอบกับมีเด็กเร่ร่อนต่างชาติที่หลั่งไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้านติดพรมแดนไทย ได้แก่ สหภาพพม่า ลาว และกัมพูชา ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยมากขึ้น

 

รายงานวิจัยประมาณการว่า ในเวลานี้มีเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยทั้งสิ้น 20,000 คน และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 คน ขณะที่องค์กรของภาครัฐบาลและองค์กรเอกชนเข้าช่วยเหลือได้เพียง 5,000 คน ยังคงมีเด็กเร่ร่อนนอกระบบจำนวนมากในหลายพื้นที่ที่ต้องรีบเข้าไปให้ความคุ้มครองปกป้อง สงเคราะห์ เยียวยาและบำบัดรักษาอีกเกือบ 15,000-20,000 คน

 

สำหรับเส้นทางของเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้ามารวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีจุดพักอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ เด็กเร่ร่อนจำนวนไม่น้อยมาจากเด็กชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ข้ามฝั่งชายแดนแม่สายบริเวณ จ.เชียงรายและจังหวัดอื่นๆ มีขบวนการค้ามนุษย์ซื้อเด็กราคาถูกเข้ามาเลี้ยงให้เติบโต เพื่อนำไปสู่การเป็นขอทานและแรงงานเด็ก

 

สถานการณ์ตามภาคต่างๆ ในรายงานมีดังนี้....

ในภาคตะวันออก บริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชา ใน จ.สระแก้วเด็กยากจนและเด็กเร่ร่อนจะอยู่บริเวณชายแดนเป็นจำนวนมากในรูปของเด็กเร่ร่อน ยากจน ขอทาน และแรงงานเด็กข้ามชาติ เด็กบางคนถูกนายหน้าซื้อจากพ่อแม่ และส่งต่อเข้าสู่ตัวเมือง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ กทม. เกิดรูปแบบของวงจรเด็กขอทานและแรงงานเด็กที่มีการจัดส่งอย่างเป็นระบบ

เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดเด็กเร่ร่อนเกือบทุกจังหวัด และบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว มีเด็กเร่ร่อนหนีเข้ามาในบริเวณ จ.อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี และศูนย์พักรวมอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ และมีเส้นทางไปกลับ กทม.-พัทยาบ่อยครั้ง เพื่อการขายบริการทางเพศให้แก่ชาวต่างชาติ

กรณีของภาคใต้ แนวโน้มของเด็กเร่ร่อนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเกิดเด็กกำพร้าและเด็กเร่ร่อนมากขึ้น มีการเคลื่อนตัวเข้าสู่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ในพื้นที่ภาคใต้เองมีเด็กเร่ร่อนเกิดขึ้นในหลายจังหวัด นับแต่สภาพชุมชนดั้งเดิมหลายจุดในอำเภอเมือง และมีจุดใหญ่รวมเด็กเร่ร่อนมากขึ้นใน จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวตามชายหาดต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวและบริเวณห้างสรรพสินค้าจะพบเด็กเร่ร่อนเดินทางมาจากจังหวัดอื่นๆ แทบทุกภูมิภาค

เมื่อสืบถึงภูมิหลัง แหล่งที่มา ครอบครัว การศึกษา ประวัติเด็ก พบว่าเด็กเร่ร่อนเหล่านี้เกิดขึ้นมาในสภาพไร้ตัวตน ขาดหลักฐานทางราชการ ไร้โอกาสทางการศึกษา มีสภาพถูกกระทำในรูปแบบต่างๆ เมื่อเริ่มออกเร่ร่อนอาจมีอายุยังน้อย เส้นทางเดินของเด็กบางคนกำหนดเองได้ แต่จำนวนไม่น้อยถูกขบวนการค้ามนุษย์ซื้อมาเลี้ยงให้เติบโตขึ้น และถูกบังคับให้ทำงาน สุดท้ายเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองใหญ่ๆ มีจุดพักเมืองท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค แล้วมารวมกันที่ กทม.ตามเส้นทางอันตรายของการเป็นเหยื่อและเครื่องมือทางเพศ ยาเสพติด ขอทาน แรงงานเด็กและอื่นๆ

 

หากดูประสบการณ์ของกลุ่มที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อนอย่าง "มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก" ซึ่งทำงานในพื้นที่เชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ใน http://www.vgcd.org ว่า จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับสองของประเทศได้ถูกกระแสทุนนิยมตามระบบของประเทศ โดยเฉพาะการถูกวางให้เป็นเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่จึงเป็นปัจจัยดึงดูดผู้คนต่างถิ่นให้อพยพเคลื่อนย้าย เข้ามารวมถึงเด็กเร่ร่อน นอกจากนี้กลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนภูเขาหรือตะเข็บชายแดนก็เป็นอีกกลุ่มที่เข้ามาสู่การหารายได้ในเมือง เช่นกัน โดยเฉพาะการให้เด็กเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการหารายได้ เช่น จากการขอทาน ขายดอกไม้ ขายสินค้าต่าง ๆ กับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งพบได้ตามท้องถนนยามค่ำคืน

 

เด็กวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนเป็นกลุ่มที่ขาดทางเลือก ขาดการศึกษา บางกลุ่มไม่มีสัญชาติและมีเด็กจำนวนมากต้องถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้ใหญ่และเพื่อนรุ่นพี่ จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการขายบริการทางเพศเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง และเยาวชนเร่ร่อนยังมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ การใช้ยาเสพติด ดื่มเหล้า ดูดยาบ้า ดมกาวแล้วมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เยาวชนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ ขาดทักษะชีวิตในการคิดวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยง ตัดสินใจที่เหมาะสม การปฏิเสธต่อรอง การตระหนักต่อคุณค่าของตนเอง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ เช่น บาร์เหล้าเบียร์ สถานเริงรมย์ กลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาเสพติด

 

สาเหตุเหล่านี้จึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเร่ร่อนบางคนได้รับเชื้อ เอชไอวีแล้ว แต่ไม่ยอมรับตัวเอง ยังคงมีการขายบริการทางเพศและมีเพศสัมพันธ์กับเยาวชนกลุ่มอื่น ๆ เช่น นักเรียน นักศึกษาและไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพราะขาดความตระหนักหรือมีทัศนคติด้านลบที่อยากแพร่เชื้อ ไม่สนใจผู้อื่น

 

เท่าที่ศึกษาเอกสารข้อมูลจากงานวิจัยและการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องทำให้เห็นว่าการที่เด็กและเยาวชนที่ไม่มีบ้าน ต้องเร่ร่อนไร้บ้าน ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้น จะทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การเข้าถึงการศึกษา หรือแม้แต่สวัสดิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ครั้งหนึ่ง ผมเดินขึ้นสะพานลอยย่านห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เห็นน้องๆ เด็กๆ สองสามคน แต่งกายมอมแมมไปคุ้ยหาอะไรสักอย่างจากถังขยะ ผู้คนเดินผ่านมองไปมาด้วยสายตาที่บอกไม่ถูกนัก ผมตัดสินใจว่าจะเข้าไปถามว่าต้องการอะไร ถ้าอยากกินข้าวจะไปซื้อมาให้ ช่วงขณะที่กำลังจะเดินเข้าไปถาม น้องๆ ก็วิ่งหนีไปด้วยความตกใจ

 

ผมไม่รู้ว่าพวกเขามาจากที่ไหน อายุเท่าไหร่ แต่สิ่งที่เห็นอยู่นี้คือสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับเด็กๆ เพราะเด็กๆ ควรจะมีที่พักอาศัยได้อยู่ แม้ว่าบางครั้งเขาไม่อยากอยู่บ้าน หรือผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้ แต่อย่างน้อยรัฐเองก็ต้องเข้ามาดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก

 

ที่สำคัญเด็กๆ หลายคนย่อมเข้าไม่ถึงการศึกษาและเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเขาจะเข้าหาหมอได้อย่างไร แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการช่วยเหลือเด็กๆ เช่น มีครูข้างถนน (โครงการที่ทางมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ดำเนินการ - http://www.fblcthai.org) โดยทางมูลนิธิจะดำเนินการ คือ

 

1. ส่งครูข้างถนนไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่สำรวจพบเด็กหรือได้รับแจ้งว่ามีเด็กเร่ร่อนใช้ชีวิตอยู่
2. ครูข้างถนนจะคลุกคลีและสร้างสัมพันธ์ที่ดีเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับเด็ก
3. นำเด็กที่ยินยอมพร้อมใจแล้ว เข้าสู่บ้านเปิดหรือหน่วยงานที่เหมาะสม เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กต่อไป
4. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของเครือข่ายเพื่อร่วมกันป้องและแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนในภาพรวม

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าถึงจะไม่มีครูข้างถนนแต่ "พวกเรา" ทุกคนหากพบเห็นเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านก็อาจจะเข้าไปสอบถาม และลองหาทางช่วยเหลือดู เพราะเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งให้เขาได้รับสิทธิการคุ้มครองสวัสดิภาพด้วย

 

แม้ว่าเราจะไม่รู้จักพวกเขาเหมือนที่เรารู้จักคุณทักษิณ แต่เราสามารถจะให้ปีกเด็กน้อยได้โบยบินสู่บ้านอย่างปลอดภัยได้เช่นกัน....

1 หนังสือมติชนรายวัน ประจำวัน อาทิตย์ ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ผ่านพ้นจนครบเทอม, โครงการเยาวชน1000ทาง

 

หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน เพื่อให้เยาวชน "มือใหม่" เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

ปี 2550 ที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการทั่วประเทศมากกว่า 300 โครงการและแต่ละโครงการเยาวชนจะเป็นคนที่คิดเองโดยมีงบประมาณสนับสนุนกลุ่มละไม่เกิน 8,000 บาท และมีการพิจารณาจากกรรมการที่แต่ละภาคได้สรรหามา หลังจากนั้นเยาวชนก็ดำเนินการตามแผนการที่วางไว้

 

ในตัวโครงการเยาวชน1000ทาง นอกจากจะมีการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ยังมีระบบการให้คำปรึกษา การติดตามสนับสนุน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อรองรับการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่อๆ ไป

 

อย่างก็ตาม อยากจะนำเรื่องราวดีๆ ของเพื่อนๆ พี่น้อง เยาวชนที่ได้ดำเนินการมาเผยแพร่ในที่นี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มาจากภาคอีสาน....

 

มาที่โครงการแรกคือ โครงการ "เพื่อนยามเหงา" เป็นโครงการของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เริ่มมาจากการที่เพื่อนๆ ได้พบเจอผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ บางคนก็มีญาติมาเยี่ยม บางคนก็ไม่มี เพื่อนๆ จึงบอกว่า อยากจะใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมของเขาเป็นเพื่อนยามเหงาให้กับคนป่วยที่ขาดเพื่อน ขาดการเอาใจใส่จากคนที่รัก และมอบสิ่งดีๆ ให้กับคนเหล่านั้น

 

ส่วนโครงการ "ปาท่องโก๋ร่วมใจต้านภัยหนาว" นั้น ก็เป็นอีกโครงการ ที่น้องๆ เยาวชนจากนครราชสีมา อยากทำกิจกรรมสักอย่างหนึ่งในช่วงปิดเทอมและหารายได้เสริม และน้องๆ ก็บอกว่า หน้าหนาวแล้ว จึงอยากจะมอบผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน โดยนำเงินที่ได้จากการทำปาท่องโก๋ไปจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวมาให้

 

น้องในทีมงานโครงการ 2 บอกเหตุผลที่ทำปาท่องโก๋ขายว่า เพราะสงสารผู้สูงอายุในชุมชนที่ต้องทนกับอากาศหนาว "บ้านเราเวลาอากาศหนาว มันหนาวมาก และคนที่เดือดร้อนที่สุดคือคนแก่ยากจน เวลาหนาวๆ พวกท่านมักจะห่มผ้าห่มผืนเก่าๆ ขาดๆ มานั่งผิงไฟหน้าบ้าน เห็นแล้วก็อดสงสารไม่ได้"

 

น้องอาย สมาชิกในทีม ยังเล่าต่ออีกว่า "แต่ละวันขายปาท่องโก๋ได้ 200-300 บาท ทำอย่างนี้อยู่ 1 เดือน ตอนแรกๆ เหนื่อยมาก ไหนจะต้องขายปาท่องโก๋ ไหนจะต้องเรียน แต่พอคิดว่าทำเพื่อคนแก่ ก็มีกำลังใจขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาพวกท่านเมตตาเรามาก เหนื่อยแค่นี้ทนได้ค่ะ"

หลังจากที่ทำเสร็จน้องๆ ก็นำเงินไปซื้อผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในชุมชน...

ต่อมาก็เป็นโครงการอื่นๆ เช่น3 โครงการแลกเปลี่ยนความรู้สู่น้องในหมู่บ้านห้องสมุดของเรา ของเยาวชนจากขอนแก่น ที่ใช้เวลาว่างของตนเองสอนหนังสือให้กับเด็กในหมู่บ้านที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนพิเศษเหมือนกับเด็กในตัวอำเภอคนอื่น ๆ เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ค่อนข้างไกลจากตัวอำเภอ จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อสอนหนังสือให้กับน้องๆ ทุกๆ วันเสาร์และอาทิตย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของเยาวชน 1000 ทางจากจังหวัดพะเยา ที่เห็นว่าปัญหาขยะในชุมชนมีมากเลยอยากจะปลูกฝังให้กับเด็กเรื่องการทิ้งขยะจึงคิดโครงการนี้ขึ้นมา นอกจากจะเป็นการช่วยปลูกฝังการรักษาความสะอาดแล้ว การนำขยะกลับมาขายยังเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีด้วยเนื่องจากเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

โครงการร้อยฝัน ของเยาวชนจากสิงห์บุรี ที่นำความรู้และภูมิปัญญาที่ตนเองมีมาถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน นั่นคือความรู้ด้านการปักและซ่อมแซมเสื้อผ้า โดยน้อง ๆ นักเรียนอาข่าส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดแคลนทุนทรัพย์ เวลาที่เสื้อผ้าขาดก็ไม่สามารถซื้อใหม่ได้ น้อง ๆ กลุ่มนี้จึงนำความรู้ความสามารถที่มีมาสอนเพื่อนๆ และน้องๆ ในโรงเรียน รวมไปถึงการสอนการปักผ้าในลวดลายของชาวอาข่าอีกด้วยเนื่องจากบางครั้งมีชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมโรงเรียนก็เกิดความสนใจและขอซื้อในราคาที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นอีกทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเด็ก ๆ ชาวอาข่า

นี่เป็นแค่โครงการตัวอย่างบางส่วนที่นำมานำเสนอ ทว่า มีหลายโครงการที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ เยาวชน เช่น โครงการเสียงร้องจากเหรียญสตางค์ ที่ทีมงานบอกว่า "ได้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ให้กับผู้อื่น การเป็นผู้ใหญ่มากกว่าผู้รับ การได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม การได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก เรียนรู้ความไม่เห็นแก่ตัว เรียนรู้ถึงความสุขที่ได้รับจากคนหลายคนที่จริงใจและไม่จริงใจ ได้เพื่อนๆ เยอะ"

เยาวชนจากโครงการ "น้ำส้มควันไม้" บอกว่า ได้พัฒนาความรับผิดชอบในตัวเองและหน้าที่การงานมากขึ้น มีความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน ความอดทน ขยันมากขึ้น ได้เป็นตัวอย่างในการนำไปขยายผลต่อในโรงเรียนอื่นๆ

นอกจากการได้เพื่อนใหม่ การได้พัฒนาทักษะ ประสบการณ์ บทเรียนชีวิตแล้ว เยาวชนหลายๆ โครงการจากทั่วประเทศ ยังได้บอกเป็นเสียงทำนองเดียวกันว่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านโครงการเยาวชน1000ทาง ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้การให้ และความรับผิดชอบของตัวเองต่อสังคม

 

ทั้งนี้ พี่หนึ่ง ผู้จัดการภาคอีสานตอนล่างเขียนในบันทึกไว้ว่า 4
"น้อง ๆ ขยันขันแข็งกันน่าดู บางกลุ่มทำกิจกรรมในโครงการเสร็จแล้วก็โทรมาถามเกี่ยวกับเรื่องเอกสารสรุปว่าต้องทำอย่างไรบ้าง.....บางกลุ่มก็เข้ามาที่บ้านเลย....อันนี้ต้องเลี้ยงข้าวด้วย..เฮ้อ...ยิ่งเหนื่อยหนัก....แต่โดยรวมพอใจกับน้อง ๆ โครงการมากถึง 80 % เลยทีเดียว น้องๆ ตั้งอกตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกๆ คน มีบ้างที่เหนื่อยหน่อย อย่างเช่น ปาท่องโก๋ร่วมใจ...ต้านภัยหนาว.....กว่าจะได้มาซึ่งผ่าห่ม..ดูน้องๆ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับการทำ....การขาย....พักผ่อนน้อย เวลาทั้งหมดที่เคยเล่น ๆ กลับถูกนำมาใช้เพื่อคนอื่นๆ....แต่น้องๆ ก็ทำได้และก็ประสบผลสำเร็จด้วย....ส่วนโครงการอื่นๆ ก็ดีทีเดียวมีปัญหาอุปสรรคบ้างแต่ก็ฝ่าฟันไปได้ด้วยดี...เห็นความตั้งในของน้อง ๆ แล้วรู้สึกหายเหนื่อย...โดยเฉพาะเวลาที่มีผู้ใหญ่ พูดถึงน้องๆ โครงการเยาวชน1000ทาง....มีความรู้สึกว่าทุนทางสงคมเพิ่มขึ้น ....มีผู้ที่พร้อมจะมาเป็นแรงสนับสนุน..เป็นเพื่อนร่วมทางในการกรุยทางให้กับน้อง ๆ โครงการเยาวชน1000ทางในรุ่นๆ ต่อ ๆ ไป"

ใช่, อย่างที่พี่หนึ่งได้บันทึกไว้ ว่าการทำงานของเยาวชนที่ตั้งใจนี้ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ควรจะสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับเยาวชน ทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงกายภาพ และพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงโอกาส กล่าวคือ ควรมีการพัฒนาเยาวชนจากมุมที่เป็นการส่งเสริมเยาวชนมากกว่าเป็นการควบคุมจำกัดสิทธิ และควรส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสในการสื่อสารกับผู้ใหญ่ ส่งเสียงต่อสาธารณะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ - ความฝันเหล่านี้เป็นไปได้ เพียงแค่ว่าผู้ใหญ่จะเห็นความสำคัญมากน้อยเพียงใด และความท้าทายที่สำคัญคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่นอกจากผู้ใหญ่จะให้เยาวชนมีส่วนร่วมแล้ว จะมอบ "อำนาจ" ในการตัดสินใจให้แก่เยาวชนด้วย

 

1 โครงการเยาวชน 1000ทาง เป็นการรวมตัวของเครือข่ายเยาวชนจากทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ดูเวบไซต์ได้ที่ http://www.1000tang.net/

2 อ่านต่อได้ที่มติชนออนไลน์ http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lad03250151&day=2008-01-25§ionid=0115

3 อ่านต่อที่เดลินิวส์ ออนไลน์

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=153444&NewsType=1&Template=1

4 บันทึกของพี่น้อยหนึ่ง อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/node-esandown/146409

งานวิจัยกับวัยรุ่น

งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้

งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่น

นอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน นักเรียนทุกคนควรได้เรียนเพศศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกระดับชั้น และครูควรตอบข้อสงสัยในเรื่องเพศศึกษาของนักเรียนได้อย่างกระจ่างชัด กว่าครึ่งของวัยรุ่นที่ทำการสำรวจ (2,000 คน) ไม่เห็นด้วยต่อประเด็นที่ว่าเพศศึกษาควรสอนเรื่องการรักนวลสงวนตัวเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าการจัดเพศศึกษาที่เข้าถึงและตอบโจทย์วัยรุ่นได้ทุกคนนั้น จะต้องเริ่มจากการให้ทางเลือกที่หลากหลายสำหรับแต่ละคนที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ในการจัดการสัมพันธภาพและวิถีเพศของตนเอง

ส่วนด้านการเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันที่ทำให้วัยรุ่นปลอดภัย กว่าครึ่งอยากให้นักเรียนขอรับถุงยางอนามัยที่โรงเรียนได้ และเห็นว่าผู้หญิงควรเป็นผู้พกพา รวมทั้งเห็นว่าสถาบันการศึกษาควรมีนโยบายที่ปฏิบัติต่อเพศทางเลือก เกย์ กะเทย ทอม ดี้ อย่างเท่าเทียม  และในกรณีที่ตั้งครรภ์ ควรได้รับสิทธิให้เรียนต่อได้ทั้งขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดตามความสมัครใจ เพศศึกษาสำหรับเยาวชนในสถานศึกษา จึงไม่ได้หมายความเพียงการจัดให้มีการเรียนการสอน แต่ยังต้องสะท้อนให้เห็นในการปฏิบัติต่อเยาวชนอย่างเห็นคุณค่าที่เท่าเทียมในมิติอื่นๆ ด้วย

และวัยรุ่นกว่า 70% ยังต้องการให้ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองพูดคุยและรับฟังความในใจเรื่องความรักและเรื่องเพศ จึงถึงเวลาที่เด็กและผู้ใหญ่ต้องหันหน้ามาเจอกัน เพราะว่าการสอนเรื่องเพศศึกษาเป็นยิ่งกว่านโยบาย เพราะเป็นจิตสำนึกที่จะช่วยดูแลให้เยาวชนอยู่รอดปลอดภัยจากปัญหาเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจทำลายนักเรียนได้ทุกกลุ่ม

นอกจากผลสำรวจในเชิงสร้างสรรค์ ที่เป็นข้อเสนอแนะและทางออกสำหรับวัยรุ่นต่อเรื่องเพศ ของ Youth Net แล้ว ก็ไม่ค่อยเห็นผลอะไรไปมากกว่านั้น

นอกจากนี้ ความคิดเห็น คนอื่นๆ ต่อผลสำรวจเท่าที่หาได้คือ ที่ “เพ็ญพิลาส เหล็มปาน” จาก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอว่า

รังรัก

1

นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

ทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5

ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง

พอเรียนจบ ม.6 ทั้งสองสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน นันเรียนด้านสังคมศาสตร์ ส่วนฝนเรียนวิทยาศาสตร์ ทั้งสองคนบอกกับพ่อแม่ของตัวเองว่าอยู่หอกับเพื่อน เวลาที่พ่อแม่ของใครมาหาที่หอ อีกคนจะไปนอนหอเพื่อน เพื่อไม่ให้พ่อแม่ทราบว่าอยู่ด้วยกัน

ตามปกติแล้ว นันจะเป็นคนดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายค่าห้อง ส่วนฝนดูแลเรื่องอาหารการกินและเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งสองคบกันมาหลายปี นันและฝน รู้ดีว่า ทั้งสองต่างสนใจใคร่สวาทในตัวของกันและกัน ตอนที่พบกันครานั้น เรื่องราวบนเตียงนอนเกิดขึ้นหลายหน แต่ทว่าในความสนุก ความสุขจากการมีเซ็กส์ ก็เป็นไปด้วยความปลอดภัยทุกครั้ง

ผมเจอทั้งสองคนเมื่อไม่นานมานี้ เพราะฝนรู้จักกับเพื่อนของผม ซึ่งเขาได้ปรึกษาผมว่า เขาจะไม่ใช้ถุงยางอนามัยแล้ว เพราะคิดว่าอยากจะลองมีอะไรกันแบบไม่ใช้ถุงยางอนามัยและอยากให้ฝนทานยาคุมเพื่อคุมกำเนิด แต่ทั้งสองกลัวผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น จึงได้มาถามไถ่ ปรึกษา

ผมให้ข้อมูลไปตามที่ตนรู้ แต่ก็เป็นเพียงการให้ข้อมูลที่รอบด้าน มากที่สุด แต่สุดท้ายก็ให้เป็นการตัดสินใจร่วมกันของทั้งสองเองว่าจะเอายังไง

นันบอกว่า ตอนที่ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อตอนเรียนมัธยมเพราะกลัวพลาด กลัวฝนจะท้อง แต่ตอนนี้ทั้งสองใกล้จะจบแล้ว และคิดว่างานการที่ทำอยู่ก็สามารถจะรับผิดชอบตัวเองได้ จึงอยากเปลี่ยนวิธีการ และคิดว่าหากจะท้องก็ไม่กลัว เพราะทั้งสองก็พร้อมที่จะมีลูก หากมันเกิดการผิดพลาดมา

ผมบอกเขาทั้งสองว่า แม้ว่ายาคุมกำเนิดจะป้องกันการท้องได้ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการรับเชื้อเอชไอวี หรือแม้แต่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

 

2

ฟ้ากับแป้ง เพิ่งเรียนอยู่ ม. 6 ฟ้ากับแป้งเป็นแฟนกัน คบกันมา 2 ปี ฟ้ากับแป้งอยู่หอคนละที่ ไม่ได้พักด้วยกัน เพราะหอแป้งเป็นหอหญิงล้วน ส่วนของฟ้าเป็นหอรวม

ฟ้าไม่กล้ามีอะไรกับแป้ง เพราะกลัวว่าแป้งจะไม่รัก เขาทำได้อย่างมากก็เพียงจับมือและจูบ ทุกครั้งที่แป้งมาหาฟ้าที่ห้อง ท้องสองนอนกอดกัน จูบกันนัวเนียบนเตียงนานหลายชั่วโมง

ผมแปลกใจไม่ได้ที่จะถามว่าทำไมถึงทำได้ เมื่อผมเจอฟ้า ตอนวันเสาร์ที่ผ่านมา เขาบอกว่า เขาไม่อยากมีอะไร เพราะมีไปก็แค่นั้น เขาอยากจะมีอะไรกับแป้งตอนที่แต่งงานกัน ตอนนี้ ทำได้แค่จูบและกอดก็เพียงพอ

แล้วอารมณ์ไม่พาไปเหรอ? – ผมถาม

ฟ้าบอกว่า พาไปเหมือนกัน บางครั้งก็อยากจะมีอะไรแบบสอดใส่ แต่ก็หยุดไว้ได้เมื่อคิดถึงผลที่จะตามมา

ตอนนี้ทั้งสองยังคบคบกัน พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายก็รับรู้ แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร

3

ลุงคนหนึ่ง อายุ 50 กว่าแล้ว แกมีเซ็กส์ครั้งแรก ตอนอายุ 16 ตอนนั้นเป็นช่วงที่แกทำมาหากินด้วยการเลี้ยงวัวและควาย แกเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อก่อนตอนอยากมีอะไร มันหาที่จะไปมีอะไรกันยาก เพราะบ้านเรือนเมื่อก่อนมีน้อย จะทำอะไรก็ต้องไปที่ลับตาคน

ตอนนั้นแกกับผู้หญิงแฟนกัน ก็ไปเลี้ยงวัวควายตามประสา แล้วจังหวะอะไรก็ดลใจ ทั้งคู่เลยมีอะไรกัน ที่ทุ่งนา และนับตั้งแต่นั้นมาทั้งสองก็แอบซ่อนผู้ใหญ่มามีอะไรกัน จน 3 ปี ให้หลัง มีคนมาเห็นข้างกองฟาง จึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน และทั้งสองก็ต้องแต่งงานกันตามประเพณี

ทุกวันนี้แกยังคงเล่าเรื่องกองฟางของแกให้ฟังอยู่เสมอ คุยไป ยิ้มไป...

4

นันกับฝน บอกกับผมว่า สมัยนี้ถ้าไม่มีหอ วัยรุ่นก็สามารถมีอะไรกันได้ ทุกที่ หากเขาอยากจะมีอะไรจริงๆ มันจึงทำให้ผมคิดถึงเพื่อนบางคนที่ชอบมีอะไรในห้องน้ำ, สวนสาธารณะ, บนรถ, ห้องเรียน เป็นต้นด้วย

ฟ้ากับแป้ง บ่นเสมอว่า คนมักคิดว่าทั้งคู่มีอะไรกัน ทั้งที่ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพียงเพราะเห็นสองคนเดินจับมือกันอยู่บ่อยๆ

มีเพื่อนหลายคนเคยตั้งคำถามที่สำคัญต่อผู้ใหญ่คือ ผู้ใหญ่กลัวเด็กมีเพศสัมพันธ์ไปทำไม ยิ่งสมัยที่มีโรงเรียนแล้วเอาคนต่างเพศ คือ ชายกับหญิง (ในเชิงสรีระนะครับ) มาอยู่ด้วยกัน ในช่วงวัยอยากรู้ อยากเห็น โดยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่มีข้อมูล ความรู้เรื่องเพศศึกษามาสอน ยิ่งไม่ต้องคิดอะไรครับว่าจะห้ามให้เด็กมีอะไรกันได้ ก็เพราะยิ่งไม่มีข้อมูลเรื่องเพศที่รอบด้านเท่าใด วัยรุ่นคงไม่สามารถประเมินพฤติกรรมเสี่ยงของตนได้เท่านั้น พฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย การท้อง แท้ง การไม่สามารถจัดการอารมณ์ของตนได้ จึงเกิดปรากฏขึ้น

ยิ่งมีข่าวว่าจะมีการจัดระเบียบหอพักแล้ว ยิ่งทำให้ชวนคิดว่าจะแก้ไข ไม่ให้วัยรุ่นมีอะไรกันได้หรือไม่ เพราะถึงไม่มีที่ห้องพักหรือหอ หากเขาต้องการที่จะมีอะไรกันแล้ว ไม่ต้องห่วงหรอก เพราะเขาสามารถหาที่ทางให้กับตัวเองได้อยู่แล้ว

และแม้ว่าเขาจะอยู่ด้วยกันฉันท์สามี ภรรยา ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นปัญหาอะไร หากเขาสามารถที่จะรับผิดชอบต่อเรื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น และมีความปลอดภัยและรับผิดชอบกับชีวิตทางเพศของตน

มาถึงตรงนี้ ข้อเสนอที่น่าจะเป็นไปได้คือ การสร้างการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาให้เกิดขึ้นสังคมอย่างเป็นจริง ให้ทั่วถึงกับวัยรุ่นทุกๆ คน ทั้งที่เรียนและไม่ได้เรียนในโรงเรียน

เมื่อถึงตอนที่วัยรุ่น อยู่หอ อยู่บ้าน อยู่กับแฟน อยู่กับคู่นอน หรืออะไรก็ตาม ข้อมูลที่รอบด้านก็จะอยู่กับตัวเขา เพื่อให้เขาได้เลือกที่จะกำหนดชีวิตของตัวเอง ...

วัยรุ่นอยากทำกิจกรรมเพื่อสังคม!?

ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคน

มีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด”

น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วม

ฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “ท้องถิ่นสร้างสรรค์ เยาวชน1000ทาง: ทิศทางนโยบายที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่น” ที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคมได้จัดการศึกษาขึ้น

ในการศึกษาเบื้องต้นจากการสอบถามวัยรุ่นทั่วประเทศจำนวนมากกว่า 5,000 คน พบว่า วัยรุ่นที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมเกือบทั้งหมดถึง 97 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าต้องการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งกิจกรรมที่วัยรุ่นอยากทำมากที่สุดคือ กิจกรรมด้านท่องเที่ยว กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมด้านดนตรี กิจกรรมด้านยาเสพติด และกิจกรรมด้านกีฬา ตามลำดับ

หล่านี้ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าวัยรุ่นในปัจจุบันอยากทำกิจกรรมเพื่อสังคมแต่ยังขาดโอกาส พื้นที่ เวทีในการเข้าร่วม และแม้ว่าจะได้เข้าร่วมในชุมชนแต่ก็เป็นเพียง “ผู้เข้าร่วม” มากกว่า “ผู้นำ” กิจกรรม

วัยรุ่นเข้าร่วมกิจกรรมในฐานะกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหากวัดตามบันไดการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน 8 ขั้นที่ยูนิเซฟ กำหนดไว้ ก็คงจะอยู่ในระดับ “ต่ำ” คือเป็นเพียงแค่ ผู้เข้าร่ม หรือ “ไม้ประดับ” เท่านั้นเอง ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้สะท้อนในกิจกรรมที่วัยรุ่นตอบแบบสำรวจคือกิจกรรมวันสำคัญ และกิจกรรมประเพณี

ที่กล่าวว่าเป็นกิจกรรมสั้นๆ เพราะไม่ได้มีกระบวนการพัฒนาทักษะของวัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น ฝึกกระบวนการคิด กระบวนการพัฒนาทักษะ ซึ่งสวนทางกับความต้องการของวัยรุ่นที่อยากทำกิจกรรมคือเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจกระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ สร้างคุณค่าความดีให้กับตัววัยรุ่นเอง

ฉะนั้นแล้ว กิจกรรมที่วัยรุ่นอยากทำเพื่อสังคม จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะ ความคิดของตัวเองมากกว่าการแค่เป็นมือไม้ แรงงานในการจัดกิจกรรมของชุมชนเพียงเท่านั้น

เมื่อน้องคนที่บอกผมว่า อบต.เขาจัดกิจกรรมแค่วันสำคัญและวันตามประเพณี ผมก็เล่าให้เขาฟังถึงสิ่งที่การศึกษาวิจัยได้ค้นพบ แต่ทว่าในมุมของ อบต.เองการศึกษาวิจัยก็พบว่า อบต.มีทัศนคติที่เปิดกว้างต่อการทำงานกับวัยรุ่น รวมถึงมีความสนใจในการพัฒนาทักษะชีวิต ความรู้ ส่งเสริมศักยภาพของวัยรุ่น อีกทั้งยังให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของวัยรุ่นในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม อบต. ยังขาดข้อมูลที่บอกเกี่ยวความสนใจในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ของวัยรุ่นในชุมชน

ทั้งนี้ อบต.หลายแห่งยังมีความพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณและทำงานกับวัยรุ่นในรูปแบบต่างๆ ทั้งการดำเนินโครงการ การเป็นพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา การอำนวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ รวมถึงอาหารและยานพาหนะ  แต่แนวทาง องค์ความรู้ และวิธีการนั้นยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงความต้องการของวัยรุ่นได้อย่างทั่วถึง 

ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นนั้น อาจเป็นเพราะกิจกรรมต่างๆ ที่ อบต.จัด ยังคงเป็นกิจกรรมระยะสั้น และไม่ได้กระตุ้นให้วัยรุ่นในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตั้งแต่ต้น

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หาก อบต. หรือผู้ใหญ่ที่อยากสนับสนุนกิจกรรมของวัยรุ่นก็ต้องหากิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ น่าสนใจ และพัฒนาทักษะของวัยรุ่นให้มากกว่ากิจกรรมแบบไม้ประดับเพียงอย่างเดียว

ทุกวันนี้ วัยรุ่นอยากทำกิจกรรมเยอะ แต่ขาดช่องทางในการสนับสนุน หากผู้ใหญ่ที่มีบทบาทในการสนับสนุนวัยรุ่นให้ทำกิจกรรม เช่น โรงเรียน อบต. อาจต้องชวนวัยรุ่นมาคิด มาร่วมทำในฐานะ “ผู้นำ” มากกว่า แค่การให้วัยรุ่นเป็นเพียง “กลุ่มเป้าหมาย” เท่านั้น

 

แด่คุณหมอสงวน...

ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน

ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี
 
ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

วันเด็กทุกสัญชาติ

20080116 วันเด็กทุกสัญชาติ

ลมหนาว ยังไม่จางหาย....

วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

วันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ ก็ได้เตรียมจัดกิจกรรมในบู๊ธของตนเอง มีการเล่นเกม จัดนิทรรศการ การเรียนในเรื่องเอดส์ เพศ สิทธิเด็ก ส่วนผู้สูงอายุก็เตรียมของใช้ในอดีตมาแสดงให้เด็กๆ ดู เช่น เครื่องปั่นฝ้าย ที่จับปลา เป็นต้น

มีผู้ปกครองพาเด็กๆ ตัวเล็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรม มีน้องคนหนึ่งถามผมว่า “วันเด็กมีจัดกี่ที่”

ผมเงียบไปสักพัก แล้วก็บอกว่า “น่าจะมีหลายที่นะครับ”

“แล้วประเทศอื่นมีวันเด็กไหม...” น้องผู้หญิงอีกคนถามผม ผมตอบว่า “ไม่รู้ครับ” เพราะไม่รู้จริงๆ ว่าประเทศอื่นมีการจัดกิจกรรมวันเด็กแบบเมืองไทยไหม หรือถ้ามีก็คงจะไม่ใช่วันเดียวกัน แต่อาจเป็นวันอื่นๆ ก็ได้

พอนึกถึงเรื่องประเทศอื่น ก็นึกถึงเรื่องชาติขึ้นมา ..... เรื่องชาติ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในชาตินี้ แต่ไม่มีสัญชาติ เป็นคน “ทุกข์” เรื่องสัญชาติ ซึ่งก็คือ เด็กๆ เพื่อนๆ พี่น้องอีกหลายคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย แต่ไร้ซึ่งสัญชาติไทย

อย่างงานวันเด็กไร้สัญชาติ ก็ได้มีการจัดมาแล้วหลายครั้ง และแต่ละครั้ง ก็มีกระแสผลักดันให้ภาครัฐดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติของเด็ก เพราะเด็กๆ หลายที่ที่ไร้สัญชาตินั้น จะขาดหลักประกันในการเข้ารับการศึกษา หรือการบริการสาธารณสุขของรัฐ

ทั้งนี้แม้ว่า ภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการต่างๆ เช่น ในเรื่องสัญชาติ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ประเทศไทยลงนามเป็นภาคี เมืองปี 2535 และได้ตั้ง ข้อสงวนไว้ สอง – สาม ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือเรื่อง “สัญชาติ” โดยความคืบหน้าปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอว่า ให้รัฐบาลดำเนินการ ถอนข้อสงวนข้อ 7 เรื่องสถานะบุคคล โดยการแก้ไข พ.ร.บ. สัญชาติ เพื่อไม่ให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยของพ่อและแม่ต่างด้าวเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

เรื่อง มาตรา 7 ทวิ ตามพรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2535 ได้เปิดโอกาสให้คนที่ไร้สัญชาติสามารถร้องขอสัญชาติไทยต่อกระทรวงมหาดไทยเป็นรายๆ ได้ตามกฎหมาย แต่ก็ยังพบว่ายังมีเด็กไทยบางส่วนที่ประสบปัญหาเรื่องเอกสารการเกิด ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนการเกิดและไม่ได้รับสัญชาติไทยด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ ของการที่เด็กๆ ไม่ได้รับสัญชาติ บางส่วนเนื่องจากประชาชนที่ไม่มีสัญชาติไทยไม่รู้กฎหมายและระเบียบขั้นตอนในการดำเนินการแจ้งเกิด หรือไม่เห็นประโยชน์ของการแจ้งเกิด หรืออุปสรรคในการเดินทางก็ตาม แต่สาเหตุที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วนไม่อำนวยความสะดวก หรือเลือกปฏิบัติยังคงมีอยู่ เช่น การเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ หรือเรียกหลักฐานประกอบมากเกินความจำเป็น ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์เข้าตนบนความเดือดร้อนของผู้อื่น

ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ติดตามเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของประเทศได้มองว่าในเรื่องสิทธิที่จะมีชื่อ สัญชาติ และสถานะบุคคล (identity) นั้นรัฐจะต้องส่งเสริมการประกันให้เด็กที่เป็นคนไร้รัฐ (stateless) มีสิทธิที่จะมีสัญชาติ (รวมถึงสัญชาติไทย) และสามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ นอกจากเรื่องแก้กฎหมายแล้ว จะมีการส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กไร้สัญชาติ

ส่วนเด็กผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง บัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาแหล่งพักพิง และประกัน การเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับ (non-refoulement) โดยเฉพาะเด็กที่เคยเป็นทหาร รวมทั้งพิจารณาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสาร ค.ศ. 1967

หรือแม้แต่ (ร่าง) พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ...... ก็ได้ระบุว่า “ให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนรับรองการเกิด การพัฒนา  การยอมรับ การคุ้มครองและโอกาสในการมีส่วนร่วมตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษาอบรม ความคิดเห็นทางการเมือง การเกิดหรือสถานะอื่นของเด็กและเยาวชน บิดามารดา หรือผู้ปกครอง”

ฉะนั้นแล้ว ถือได้ว่าเรื่องของสัญชาติของเด็กนั้นไม่ควรจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทางสังคมต่างๆ อย่างที่ได้เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา และเป็นเรื่อง “สิทธิ” ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนจริงๆ ซึ่งเมื่อย้อนกลับมายังวันเด็กที่เกิดขึ้นนั้น ก็อาจบอกได้ว่า ควรจะเป็นวันเด็กของเด็กๆ ทุกคน ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีหรือไม่มีสัญชาติ ควรจะเป็นวันเด็กทุกสัญชาติ ที่ไม่แค่เฉพาะเด็กที่มีทุกข์จากเรื่องสัญชาติเพียงเท่านั้น

..........

ผมยังจำเรื่องของ มึดา นาวานารท เพื่อนเยาวชนจากแม่ฮ่องสอน ได้ว่า เธอเป็นเด็กคนเดียวร้องไห้หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันเด็กหลายปีก่อน เพราะนายกทักษิณเมื่ออดีต หนีพวกเธอออกทางหลังทำเนียบฯ ตอนนั้นเธอเล่าว่าที่ไปทำเนียบนั้นเพื่อจะไปบอกเล่าความรู้สึกและปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและเพื่อน ๆ เนื่องจากประเด็นไร้สัญชาติเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ผู้ใหญ่ช่วยแก้ไข การได้รับสถานะความเป็นคนไทย คือ ของขวัญสำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่มีสัญชาติ

มึดา เคยเสนอว่า “นายกรัฐมนตรี คือ คนที่มีอำนาจในการจัดการเรื่องสัญชาติสูงสุด หันมาสนใจเรื่องสัญชาติสักนิดก็จะดี แม้จะเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งเพียงหยิบมือในประเทศไทย แต่อยากให้คิดว่าพวกเราก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนี้อยากให้ลองเข้าหาคนรากหญ้าจริง ๆ เดินเข้าหาประชาชนที่ประสบปัญหาจริง ๆ มาดูกันว่าข้อเท็จจริง คือ อะไร มีอะไรที่ซ่อนอยู่ในนั้นบ้างเราน่าจะมาเปิดโอกาสคุยกันหรือเปล่า เปิดอกคุยกันดีกว่าจะปล่อยเอาไว้แบบนี้ หากยืดเยื้อไม่ยอมแก้ไข ปัญหาจะเรื้อรังขึ้นหรือเปล่าและอย่าแก้ไขที่ปลายเหตุ โยนเงินลงมาให้หรือส่งออกไปประเทศโลกที่สาม แก่นของปัญหาจริง ๆ ไม่ได้รับการเปิดออกมา”

วันเด็กปีนี้ แม้ว่าจะมีการแจกขนมอบกรอบต่างๆ มากมาย คละคลุ้งไปกับกลิ่นโชยแห่งความอาดูร ในการสูญเสียสมาชิกของราชวงศ์ แต่ปัญหาของเด็กทุกๆ คน ไม่ว่ามีหรือไม่มีสัญชาติยังคงเกิดขึ้นดั่งสายลมที่พัดพาความเยือกเย็นหนาว ผ่านมาและผ่านไป ทุกขณะ ...รัฐบาลแล้ว รัฐบาลเล่า.....

--------
แหล่งข้อมูล:
1. รายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทย ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ฉบับที่ 2 เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ โดย คณะอนุกรรมการเรื่อง “สิทธิเด็ก” คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
2. บทสัมภาษณ์มึดา นาวานารท เข้าถึงได้ที่ http://www.thaingo.org/man_ngo/muda.htm

 

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

kittiphan 20080108 2

กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...

เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลาก

โครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม ได้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, โครงการ Youth Venture โครงการที่ทางมูลนิธิอโชก้า ประเทศไทย ดำเนินการขึ้นเพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในการทำกิจกรรมตามที่ตนถนัด, โครงการของภาคธุรกิจ เช่น โครงการที่มูนนิธิซีเมนต์ไทยสนับสนุน โครงการชั่วโมงนี้เพื่อเด็ก ที่ทางสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนฯ ดำเนินการ หรือแม้แต่โครงการแบ่งปันฯ ที่ทางเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมกับภาคีดำเนินการ ฯลฯ

ลักษณะโครงการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็น “มือใหม่” หรือ “มือปานกลาง” หรือ “มือเก่า” ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางให้เยาวชน ในการเข้ามาขอรับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ได้ทั้งสิ้น

กล่าวสำหรับเยาวชนมือใหม่ ที่ออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ตามที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ ชื่อสั้นๆ ว่า “เยาวชนพันทาง” นั้น ก็ได้ดำเนินการสนับสนุนเยาวชนมือใหม่มากกว่า 300 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่เยาวชนได้คิดเองและดำเนินการเองภายใต้งบประมาณสนับสนุนไม่เกินโครงการละ 8,000 บาท ทั่วประเทศ

kittiphan 20080108 1

จากที่ได้รับฟังความรู้สึกของเยาวชนมือใหม่ที่เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น สอนหนังสือให้ น้อง อาสาสมัครตรวจสอบการเลือกตั้ง ค่ายพัฒนาทักษะ ละครสัญจร ปลูกป่า อนุรักษ์น้ำ เป็นต้น เยาวชนหลายคนต่างมองว่าการทำกิจกรรมทางสังคมนี้ เป็นการทำให้ตัวเองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของตัวเองในการทำเพื่อผู้อื่น และยังช่วยทำให้เกิดความรัก ความหวงแหนต่อชุมชนหมู่บ้านของตนมากขึ้น

คือได้ฝึกคิด ฝึกทำ ไปด้วยพร้อมๆ กัน

เมื่อย้อนกลับมามองที่ตัวเอง, ผมจำได้ว่า ตอนเมื่อก่อนที่แรกเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมเยาวชนนี้ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าใดนัก จะมีเพียงแต่องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนับสนุนการทำกิจกรรม และอีกอย่างที่พบก็คือลักษณะกิจกรรมที่บางองค์กรที่สนับสนุนให้เยาวชนทำก็เป็นกิจกรรมประเภทการประชุม เอาเด็ก มานั่งฟังผู้ใหญ่บรรยาย แต่ไม่ได้สร้างการเรียนรู้มากเท่าที่ควร

ช่วงเมื่อก่อนจำได้ว่ากว่าจะเรียกตัวเองได้ว่าเป็นเด็กกิจกรรมนั้นต้องผ่านการอบรม เคี้ยว เค้น ฝึกทักษะ ลงสนามต่างๆ นานา กว่าจะได้มานำกระบวนการ ชวนคุยในวงใหญ่ ได้แสดงละครตามที่ต่างๆ ต้องใช้เวลานานหลายเดือนหลายปี แต่สมัยนี้เยาวชนนักกิจกรรมรุ่นใหม่ๆ มักเข้ามาโดยผ่านการจัดเวทีประชุม เพื่อนำเสนอความคิดเห็นมากกว่า ดังนั้นในช่วงหลังๆ จึงมักได้ยินคำพูดของรุ่นพี่หลายๆ คนว่า “เด็กกิจกรรมสมัยนี้พูดเป็น แต่คิดไม่เป็น”

เมื่อฟังคำพูดและมองสิ่งที่กำลังเป็นไปอยู่ในทุกวันนี้ ผมเห็นว่ามีเวทีต่างๆ มากมายที่ผู้ใหญ่ให้เยาวชนเข้าร่วม ให้เยาวชนออกมามีส่วนสำคัญในการแสดงพลัง แต่มักเป็น ลักษณะเวทีพูดมากกว่าเวทีคิด หลายครั้งเราจะพบว่าเยาวชนพูด นำเสนอเก่ง แต่คิดหรือวิเคราะห์ไม่ค่อยได้(เรื่อง) ซึ่งทำให้ขาดมุมมอง เนื้อหา ประเด็นจากประสบการณ์จริงๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน คือถ้าพูดตรงๆ คือ พูดลอยไปลอยมา มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ เทือกนั้นๆ

(เยาวชนหลายคนที่เข้าร่วม “สภาเด็กและเยาวชน” ระดับจังหวัด ของที่ต่างๆ น่าจะทราบดีว่า กิจกรรมแบบที่ให้เยาวชนเข้ามาร่วมแบบผ่านๆ นั้น เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนอย่างไรบ้าง หรือ เยาวชนที่ไม่ทำกิจกรรมกับสภาเยาวชนจังหวัด แต่เป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมในพื้นที่ ก็จะพบและรู้ว่าการทำงานในพื้นที่แบบจริงๆ จังๆ นั้น ช่วยให้ตัวเองคิด วิเคราะห์เป็นมากน้อยเพียงใด)

นอกจากนี้อีกมุมที่เห็นคือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักกิจกรรมที่เกิดขึ้นช่วงหลังๆ มักเป็นกิจกรรมที่เอื้อเฉพาะเยาวชนที่ผู้ใหญ่มองว่าดี และเป็นเวทีพูดมากกว่าคิดนี้ ผมเข้าใจดีว่า ผู้ใหญ่เองมีความมุ่งหวังที่อยากจะทำกิจกรรมกับเยาวชนแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร คือ ไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมอะไรกับเยาวชน และไม่รู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเยาวชนต่างๆ ที่หลากหลายได้อย่างไร

โดยเฉพาะผู้ใหญ่ระดับ “องค์การบริหารส่วนตำบล” ที่ต่อไปจะต้องทำงานกับเยาวชนมากขึ้น ยิ่งปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ก็กำลังจะมีการประกาศใช้ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกตำบลต้องมีศูนย์เยาวชน, ทุกอำเภอ ต้องมีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ, ทุกจังหวัดต้องมีสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด, และรวมทั้งประเทศก็จะมีสภาเด็กและเยาวชนระดับประเทศไทยด้วย

ทีนี้กลับมาว่า เมื่อนโยบายพร้อมสนับสนุน แต่คนทำงานยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็เป็นบทบาทจำเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและเยาวชนว่านอกจากจะคิดหรือกำหนดนโยบายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนแล้ว ต้องพัฒนาแนวทางในการพัฒนาคนทำงาน องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในระดับพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลและโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนอย่างมากในท้องถิ่น

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในห้วงต่อไป คือความท้าทายของคนทำงานกับเยาวชนและเยาวชนนักกิจกรรมทั้งหลายที่จะดำเนินงานร่วมกัน, ท้าทายเช่นว่าจะสร้างเยาวชนให้มีความคิด วิเคราะห์ พูดเป็น ทำเป็น ได้พร้อมๆ กันอย่างไร โจทย์ใหญ่นั้นน่าจะอยู่ตรงจุดนี้ การที่ผู้ใหญ่จะทำอะไรเพื่อเยาวชนแบบที่ผู้ใหญ่ต้องการตอนนี้คงจะใช้ไม่ค่อยได้ เพราะแนวทางที่ดีระดับหนึ่งคือ ถ้าจำอะไรเพื่อเยาวชน ต้องถามที่เยาวชน และใช้โอกาสนั้นๆ สร้างการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เยาวชนพูดเป็น คิดเป็น ทำเป็น พร้อมๆ กัน ...ให้เยาวชนทำได้มากกว่า “พูด”

 

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ kittiphan