Skip to main content

นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป

หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา


ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....ซึ่งอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ไม่ต่างจากประเทศมาเลเซีย แต่สิ่งที่สังคมพยายามตอบรับ (ทั้งที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน) สร้างความประหลาดใจไม่น้อย

ในขณะที่มาเลเซียกำลังเล่นงาน อันวา อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซียทำผิดในข้อหารักร่วมเพศอย่างหนักอยู่นั้น ในประเทศอินโดนีเซีย มีหนังสือพิมพ์รายวันเปิดกว้างให้วิพากษ์วิจารณ์ต่อประเด็นนี้ “รักร่วมเพศเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้าง” และเลือกนำเสียงของการตอบรับและยอมรับมาลงในหนังสือพิมพ์มากกว่าเสียงของการปฏิเสธ อย่างเช่น หนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ โดยพาดหัวอย่างท้าทายว่า Islam recognize homosexuality”

http://www.thejakartapost.com/news/2008/03/27/islam-039recognizes homosexuality039.html


ไม่ใช่ครั้งแรกของสื่ออินโดนีเซียที่เล่นเรื่อง homosexual แม้จะเป็นสิ่งที่เปาะบางในศาสนาอิสลาม แต่หลายครั้งที่เรื่องราวทำนองนี้ อย่างเช่นมีนิตยสารบางฉบับนำเรื่องนักเขียนเลสเบี้ยนคนหนึ่งมาลงในหนังสือแล้ว เธอเป็นนักเขียนชาวสุราบายา จังหวัดชาวตะวันออกและมีชื่อเสียงกับผลงานในประเด็น homosexual ที่เปิดเผยและปาก (กา) กล้าบอกกับสังคมให้ยอมรับความจริง ถึงแม้เธอจะคลุมญิฮาบ นอกจากนี้ยังมีหนังสือแนวอีโรติกภาษาบาฮาซา ที่เขียนโดยนักเขียนหญิง แต่เธอก็มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในสังคมอินโดนีเซีย


ในสื่อโทรทัศน์ของอินโดนีเซีย ตัวละครที่เป็นเพศที่สามสามารถแสดงความเป็นตัวตนของเขาได้อย่างเสรี แม้ว่าจะเป็นบทประกอบที่เรียกเสียงหัวเราะ สร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมในรายการเกมโชว์ ละครซิทคอม ฯลฯ แต่ก็เป็นการเปิดพื้นที่อย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศที่เป็นมุสลิม


การเลือกเพศ อาจไม่เกี่ยวกับร่างกาย ...ประหนึ่งว่า บางส่วนในสังคมอินโดนีเซียจะตอบรับเช่นนั้น สิ่งที่พระเจ้าสร้างมาเช่นกัน


ขอยกมือสนับสนุนนักผจญภัยที่เขาเห็นว่า ประเทศอินโดนีเซียน่าจะเป็นประเทศอยู่อย่างสบายใจมากที่สุด....


บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ป๊ะซานอล ผู้สื่อข่าวอาวุโสในแวดวงสื่ออินโดนีเซีย ผู้เอื้ออารีต่อลูกหลานร่วมอาชีพ แม้ไม่ใช่คนในภาษาและสัญชาติเดียวกัน แต่ก็ให้ความช่วยเหลือแนะนำแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียน แถมยังเอ็นดูเลี้ยงดูปูเสื่อผู้เขียนและเอื้ออาทรไปถึงเพื่อนร่วมทุนของผู้เขียนด้วย แต่วันนี้แวดวงสื่ออินโดไม่มีท่านเสียแล้ว แต่ทุกคนก็ยังจำคุณูปการที่ท่านทำไว้ให้กับวงการสื่อ ในวันนั้น จากตัวเมืองมารัง ท่านนำเราไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่งเพื่อดูงานวิทยุชุมชนของหมู่บ้าน เพราะหลัง 1998 ภาคประชาชนเติบโตและเคลื่อนไหวสูงในอินโดนีเซีย มีการจัดตั้งกลุ่มสื่อภาคประชาชนขึ้นทั่วภูมิภาค วิทยุชุมชนก็เป็นหนึ่งในนั้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนพูดถึง Tempo ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า สังคมอินโดนีเซียเป็นสังคม แห่งการเรียนรู้ และลึกซึ้งทางด้านภูมิปัญญา ไม่ง่ายนักที่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งจะมีองค์กรสื่อที่สามารถสร้างสื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือก แสดงจุดยืนของตนเองมานานนับยี่สิบปี และคาดว่าจะเจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ทั้งตัวองค์กรและตัวความคิด ไม่ใช่สื่อประเภท ม้าตีนต้น ที่เปิดตัวแบบผู้มีอุดมการณ์ทางความคิด ก้าวล้ำนำสังคม แต่เมื่อหนังสือพิมพ์เริ่มดัง หรือรายการดังติดลมบน ความคิดก็เบี่ยงเบนไปทางรักษาพื้นที่ทางเศรษฐกิจมากกว่า การรักษาจุดยืนทางความคิด ผิดกับสังคมอินโดนีเซียที่สื่อของพวกเขาแสดงจุดยืนอย่างมั่นคง…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ครั้งก่อนกล่าวถึง Tempo ซึ่งเป็นนิตยสารประเทืองปัญญาของสังคมอิเหนา ที่ชาวอิเหนา (ภาคประชาชนและปัญญาชน) ภาคภูมิใจยิ่งที่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มี Tempo หากจะเปรียบว่าสังคมมะกันมี Time อิเหนาก็มี Tempo และ Tempo ไม่ใช่นิตยสารรายสัปดาห์ที่เอาข่าวของรายวันมายำ แล้วใส่ความคิดเห็นลงไปอีกหน่อยเพิ่มเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์รายสัปดาห์โดยทั่วไปทำกันเท่านั้น แต่นักข่าวของ Tempo มีเวลาในการทำข่าว เจาะข่าวมากพอสมคาร และมีประเด็นข่าวเป็นตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้นข่าวเจาะลึกของ Tempo จึงมีลักษณะเฉพาะตัว นอกจากประเด็นเชิงเผ็ดร้อนในเชิงการเมืองแล้ว Tempo ยังมีสารคดีเชิงวัฒนธรรม และบันเทิงในแง่มุมวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ช่วงที่ผู้เขียนอยู่อินโดนีเซีย ต้องพึ่งข่าวสารและสมัครเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษสองฉบับคือ the Jakarta Post และ Tempo เพื่อเข้าใจ (ผ่านสื่อ) ต่อสังคมอินโดนีเซียน ซึ่งช่วยได้ในภาพรวม ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนตกกระแสสังคมอินโดนีเซียเกินไป  ผู้เขียนได้เคยเอ่ยถึงและนำคำสัมภาษณ์ผู้จัดการในเครือจาการ์ตา โพสต์ลงในคอลัมไปบ้างแล้ว ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงองค์กรสื่อหนึ่งที่ทรงอิทธิพลมากแห่งหนึ่งของอินโดนีเซีย และได้ชื่อว่าเป็นสื่อกระแสหลักแต่เป็นทางเลือกหนึ่งของภาคประชาชนแดนตากาล็อค Tempo (หรือหมายถึง Time) มีสองภาคภาษาคือ ภาคภาษาอินโดนีเซียและภาคภาษาอังกฤษ…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
    ยังคิดถึงแฟนคอลัมน์อยู่เสมอนะคะ และที่หายด้วยภารกิจบางอย่างและกำลังเตรียมหาข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับแดนอิเหนาและตากาล็อคมาฝากผู้อ่านอยู่นะคะ อย่าเพิ่งลืมกันไปก่อน ช่วยให้กำลังใจด้วยนะคะ แต่สัปดาห์นี้ก็ยังไม่มีเรื่องของอิเหนาและตากาล็อคมาให้อ่านนะคะ เพราะเห็นว่าสถานการณ์ข้าวยากหมากแพงกำลังวิกฤตในโลกเรา มีหลายประเทศที่ประสบปัญหาข้าวขึ้นราคาและขาดแคลนข้าว อย่างเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์แดนตากาล็อคก็มีข้าวว่า รัฐบาลต้องหาข้าวราคาถูกให้กับคนยากจนในประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่นักหากสื่อไม่เอามาพูดก็จะไม่มีใครทราบว่า ความจริงแล้วที่ฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่ห่างไกล…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ภาพจากประชาไทภาพจากวิกิพีเดีย คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์เกิด     2498บ้านเกิด  กรุงเทพฯการศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครอบครัวเกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
มีโอกาสต้อนรับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่มาเยือนเมืองไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา  หลังจากที่เธอเสร็จสิ้นภารกิจการงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมายจากที่ทำงานแล้ว เธอก็บินตรงไปยังภูเก็ต และแวะเยี่ยมเยือนผู้เขียนที่พังงา ขอเรียกเธอสั้นๆ ว่า ทีน่า เธอเป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย ทำงานเป็นเลขานุการ  ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอินโดนีเซีย แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์แต่เธอก็ได้รับโอกาส ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของสถานทูต เธอแสดงให้เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานและขาดความคล่องตัวแต่อย่างใด ตลอดเวลาสิบกว่าปีในการทำงาน เธอได้รับมอบหมายให้ไปดูงานต่างแดนหลายประเทศ เช่น อียิปต์…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เพื่อนสาวชาวมาเลย์ชื่นชมและคลั่งไคล้ในตัวกวีผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย เป็นฮีโร่ของเธอเลยทีเดียว ถึงกับนำชื่อของเขาไปตั้งเป็นชื่อลูกชายคนโต ผู้เขียนคาดเดาว่า กวีผู้นี้คงมีอิทธิพลทางด้านวิถีชีวิตที่อิสระเสรี ผู้เชื่อในสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ ที่ใฝ่หาเสรีภาพ และคงมีอิทธิพลครอบงำเพื่อนสาวไม่น้อย เพราะเธอแม้จะเป็นมุสลิม แต่แหกกฎหลายอย่างที่หญิงชาวมุสลิมถูกกำหนดให้กระทำ แม้กระทั่งเรื่องหัวใจ ที่เธอปล่อยให้มันอิสระเสรีอย่างที่มนุษย์คนหนึ่งอยากจะเป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่คนนี้คือ Chairil Anwar เขาถูกจำกัดความว่าเป็นกวีที่ใช้คำได้สวยงาม แต่ทว่ามีอิทธิพลอย่างรุนแรงกับผู้อ่าน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หายไปหลายอาทิตย์เพราะอาการเจ็บไข้และติดพันภารกิจการงาน กลับมาไม่นาน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสื่อชาวอินโดนีเซียว่า ผู้อาวุโสนักต่อสู้เพื่อสื่อเสรีและวิทยุชุมชนคนสำคัญคนหนึ่งของอินโดนีเซีย เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เขียนไม่อยากจะเชื่อว่าท่านจะไปเร็วด้วยโรคร้าย แม้ว่าอายุอานามของท่านจะ 70 กว่าๆ แล้ว แต่สมองของท่านเฉียบยังคมดีอยู่ ร่างกายแข็งแรง ปราดเปรียวเคลื่อนไหวคล่องตัวไม่เหมือนคนอายุ 70 ทั่วไป ทั้งยังท่วงท่าสง่างาม หลังไม่ค้อม เดินเหินคล่องแคล่ว สำคัญคือ ท่านลดอายุด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่ ขนาดวัยรุ่นยังอาย เพราะอินเทรนด์ ตลอดเวลา ผมและหนวดขาว ไม่ทำให้รู้สึกว่าท่านอายุเกิน 70 แล้ว…