Skip to main content

มีโอกาสต้อนรับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่มาเยือนเมืองไทยเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา  หลังจากที่เธอเสร็จสิ้นภารกิจการงานในกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมายจากที่ทำงานแล้ว เธอก็บินตรงไปยังภูเก็ต และแวะเยี่ยมเยือนผู้เขียนที่พังงา

ขอเรียกเธอสั้นๆ ว่า ทีน่า เธอเป็นลูกครึ่งจีน-อินโดนีเซีย ทำงานเป็นเลขานุการ  ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำอินโดนีเซีย แม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์แต่เธอก็ได้รับโอกาส ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่สำคัญของสถานทูต เธอแสดงให้เห็นว่า ร่างกายไม่ใช่อุปสรรคของการทำงานและขาดความคล่องตัวแต่อย่างใด ตลอดเวลาสิบกว่าปีในการทำงาน เธอได้รับมอบหมายให้ไปดูงานต่างแดนหลายประเทศ เช่น อียิปต์ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ประเทศไทย ฯลฯ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงานของเธอ 

1
ทีน่า กับเพื่อนๆ

เคยถามเธอว่า สังเกตจากสิ่งแวดล้อมที่กรุงจาการ์ตาและอีกหลายเมืองในอินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำสาธารณะ รถประจำทางสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ แม้แต่ส่วนราชการ ไม่ได้ให้ความสำคัญและเอื้ออำนวยต่อคนพิการหรือร่างกายไม่สมบูรณ์เลย เพราะไม่มีเครื่องมือใดๆ ช่วยเหลือและบริการสำหรับคนพิการ 

แล้วเธออดทนได้อย่างไรมาเป็นเวลาเกือบ 50 ปี เธอยอมรับว่า รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนพิการ ซึ่งคงต้องรณรงค์และกดดันให้รัฐบาลเห็นความสำคัญต่อปัญหานี้ อินโดนีเซียยังถือว่าเป็นประเทศที่ยากจน ปัญหาสำคัญของอินโดนีเซียตอนนี้คือ การพยายามกำจัดปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นปัญหามหึมาของประเทศ หากกำจัดคอรัปชั่นไม่ได้ ประเทศจะไม่มีทางไปรอด เธอบอกว่า การคอรัปชั่นของอินโดนีเซียเป็นการคอรัปชั่นแบบไม่มียางอาย ที่เธอรับไม่ได้เอาเสียเลยก็คือ เงินบริจาคช่วยเหลือเหตุการณ์สึนามิ ที่ระดับรัฐมนตรีกระทรวงหนึ่งประกาศในสื่อเลยว่า เงินบริจาคของชาวต่างชาติ ให้โอนเข้าบัญชีธนาคารของเขา เพื่อที่เขาจะนำไปช่วยเหลือชาวอาเจะห์ด้วยตนเอง เธอมองว่านอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ไม่ได้เรื่องแล้ว นักการเมืองเหล่านี้ยังดูแคลนสติปัญญาคนอินโดนีเซีย นึกว่าประชาชนไม่รู้ว่านักการเมืองคอรัปชั่นขนาดไหน นี่ไม่ใช่ยุคปิดหูปิดตาประชาชนเหมือนในอดีต เธอบอกว่าอย่างนั้น 

นี่คือปัญหาของอินโดนีเซีย  เธอเป็นประชาชนธรรมดาที่ไม่ฝักใฝ่เรื่องทางการเมืองแม้จะเป็นกลุ่มการเมืองทางเลือกก็ไม่สนใจ ความจริงแล้ว ภาคประชาชนของอินโดนีเซีย หรือ เอ็นจีโอของเขาเข้มแข็งมาก พยายามตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น และการละเมิดสิทธิมนุษยชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างแข็งขัน เมื่อแข็งมาก แรงกดของฝ่ายอำนาจก็มากเป็นลำดับเช่นกัน คนทำงานเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน คนสำคัญของอินโดนีเซียได้สังเวยความกลัวการตรวจสอบเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนของฝ่ายอำนาจมาแล้วหนึ่งราย (ในยุคประชาธิปไตย) คือ Munir เขาเสียชีวิตด้วยยาพิษ เมื่อครั้งที่เขานั่งเครื่องบินไปต่างประเทศ ซึ่งจะนำเรื่องราวของเขามาให้อ่านในตอนต่อไป

2
ทีน่ากับเพื่อน ศราวุธ ประทุมราช

สำหรับทีนา สิ่งที่เธอทำได้ในการแก้ปัญหาให้กับตัวเองแบบคนธรรมดาสามัญ คือ ให้กำลังใจตนเอง และครอบครัวเป็นกำลังใจสำคัญในการดำรงอยู่ เธอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เกือบเท่าๆ กับคนที่มีร่างกายสมบูรณ์ แต่ใช้กำลังมากกว่าเกือบสองเท่า ใจเธอสู้แม้ผู้เขียนยังทึ่ง เพราะสิ่งที่เธอเรียกร้องในการท่องเที่ยวพังงาครั้งนี้คือ พายเรือแคนู ซึ่งเธอว่ายน้ำไม่ได้ เธออยากเห็นป่าเมืองไทย แต่ผู้เขียนจนใจ ยอมแพ้เรื่องศักยภาพของคนนำเที่ยว (คือผู้เขียนเอง) มากกว่า เพราะกลัวจะพาเธอไปไม่รอด เลยได้แค่ขี่ช้างท่องป่า สบายขึ้นมาหน่อย และลงเรือแคนูพร้อมกับเธอ แม้มันล่มก็ยังมีฝีพายและเสื้อชูชีพพยุงกันไปได้ 

แม้บางเวลาเธอจะอ่อนแออย่างเห็นได้ชัด แต่ก็พยายามรบกวนคนอื่นแต่เพียงเล็กน้อย ช่วงที่อยู่อินโดนีเซีย เธอแสดงน้ำใจในความเป็นเจ้าบ้าน คอยแนะนำให้ความเห็นเรื่องวัฒนธรรมประเพณีของอินโดนีเซีย เธอเป็นนักอ่าน และชอบเรียนรู้ สังเกตจากความรอบรู้ของการตอบคำถามของเพื่อนต่างบ้านต่างเมือง เพื่อนๆ ก็ได้รับความคิดเห็นในมุมแปลกใหม่ของเธอ ในเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภาคของอินโดนีเซีย แถมยังมีตัวอย่างให้ได้ปฏิบัติกันจริงด้วย ด้วยการพาพรรคพวกไปพิสูจน์วัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินของคนจีนผสมวัฒนธรรมซูดาน ซึ่งเป็นพื้นที่แถบตะวันตกของอินโดนีเซีย โดยฝีมือคุณแม่ของเธอ ที่บ้านในเมืองโบโกร์ เมืองเดียวกับสถานที่ตั้งที่พักของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย  ซึ่งห่างจากจาการ์ตาราว 54 กิโลเมตร นับเป็นอาหารที่สุดแสนอร่อยมื้อหนึ่งสำหรับพวกเรา 

3
อาหารมื้อที่อร่อยที่สุดมื้อหนึ่ง

ทีน่าเป็นความทรงจำที่ดีจากอินโดนีเซีย นั่นคือ ความเป็นคนอินโดนีเซียที่น่ารักและมีน้ำใจ “ผู้คนน่ารัก” ไม่ได้มีแต่ในบ้านเรา แต่มีทุกหนทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำและผู้คนในชนบททุกแห่งหนที่ผู้เขียนได้พบเจอ  ภาษาไม่ได้เป็นอุปสรรคที่จะเห็นการกระทำด้านดีและมีเมตตาของมนุษย์ ผู้เขียนทำการบ้านเรื่องภาษาอินโดไปน้อย พูดได้งูๆ ปลาๆ เช่น  ซายา เมา เปอกี บันดุง (แปลว่า ฉันต้องการจะไปบันดุง) ชาวบ้านเห็นว่า คงได้แค่นี้มั้ง ทั้งชาวบ้านและคนขับรถในหมู่บ้านชายแดนเมืองบันดุงจึงรุมช่วยเหลือ ช่วยกันโบกรถประจำทาง แถมกำชับคนขับให้ไปส่งให้ถึงเมืองบันดุง (น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะเขาคุยกับคนขับแล้วชี้มือชี้ไม้มาทางผู้เขียน) วันนั้นก็กลับถึงที่หมายอย่างปลอดภัย 

อีกครั้งหนึ่งในใจกลางเมืองบันดุง ซึ่งผู้เขียนได้รับการเตือนมาว่า อย่าใช้บริการแท็กซี่ ฉะนั้นจึงเลือกใช้บริการรถสองแถว ซึ่งแน่นขนัด และท่ามกลางความมืดมิดของราตรีนั้น ผู้เขียนกลับได้รับแสงสว่างจากน้ำใจคนขับและชาวบ้านที่โดยสารมาด้วยกัน เนื่องจากผู้เขียนต้องต่อรถอีกทอดไปยังโรงแรมที่พัก แต่สถานที่รอรถนั้นไฟฟ้าสลัวๆ น่ากลัวมาก ชาวบ้านที่อยู่บนรถต่างส่งภาษาที่ผู้เขียนไม่ทราบว่าพูดอะไร แต่คนขับรถพาผู้เขียนมายืนรอที่ป้ายรอรถ แถมยังรอนานถึง 20 นาที โดยที่ผู้โดยสารไม่มีใครบ่นสักคำ จนกระทั่งรถอีกคันมาถึง คนขับจึงบอกให้ขึ้นรถ และไปช่วยกำชับกับคนขับคันที่ผู้เขียนนั่งให้ไปส่งที่โรงแรมในนามบัตรที่ผู้เขียนส่งให้เขาดูก่อนหน้านี้ ผู้เขียนจึงได้ทราบว่า ทุกคนยอมเสียเวลาเพราะเมตตาคนต่างถิ่นต่างภาษาที่ต้องรอรถในเวลาค่ำมืดเพียงลำพัง เป็นเรื่องที่ซาบซึ้งใจอย่างมาก

ภาษาท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คน ซึ่งต้องตระหนักแต่ประสบการณ์ของผู้เขียน “ภาษากาย” และ “ภาษาใจ” ก็สำคัญไม่น้อย หมายถึงการมีท่าทีและความจริงใจต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เป็นเรื่องที่สร้างไมตรีต่อกันได้เช่นกัน

4

วันนี้ทีน่าคงมีความสุขกับครอบครัว และขึ้นรถไฟจากที่บ้านซึ่งห่างจากที่ทำงานถึง 54 กิโล ไป - กลับทุกวัน ร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวยไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการมีน้ำใจต่อคนอื่นเลย

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
 ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
   สิ่งที่ดีที่สุดของปีนี้สำหรับผู้เขียนคือ "การได้รักใครบางคน" ช่วงเวลามหัศจรรย์ที่เกิดเมื่อไม่นานนัก แต่สัมผัสได้ว่า การได้รัก (อีกครั้ง) มันเกิดพลังสร้างสรรค์ อยากทำในสิ่งที่เป็นบวกแก่คนรอบข้าง และเมื่อความอ่อนโยนอบอุ่นส่งตอบกลับมา ยิ่งก่อความอิ่มเอิบในใจและอิ่มเอมในอารมณ์ยิ่งนัก จากซึมๆ เศร้าๆ ก็กระฉับกระเฉงอย่างบอกไม่ถูก ความต้องการสรรหาแต่สิ่งดีให้แก่ความรัก ตื่นตัวตลอดเวลา...ถือว่าการได้รักใครบางคน เป็นของสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับตัวเอง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ข่าวการเสียชีวิตของสมาชิกผู้สนับสนุนของกลุ่มการเมืองสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอยู่ขณะนี้ พวกเขาพลีชีพเพราะความเชื่อ ความศรัทธาของพวกเขา ซึ่งเป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์ที่เขาแสดงออกต่อสิ่งที่ศรัทธานั้น แต่ไม่มั่นใจว่า พวกเขาเผชิญความรุนแรงถึงขั้นเลวร้ายเช่นนี้ โดยปราศจากแรงขับของความรุนแรงที่สองฝ่ายก่อให้เกิดขึ้น ท่านผู้นำทั้งหลาย ท่านกำลังใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของคนเหล่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกียรติภูมิของท่านผู้นำ ที่ปูด้วยคราบเลือด น้ำตา ของมวลชน ควรภาคภูมิใจล่ะหรือ??? ความเชื่อ ศรัทธาควรเป็นหนทางเพื่อสันติภาพ หากเมื่อใดถูกนำไปสู่ความรุนแรงแล้วไซร้…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
  เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ไทยและอินโดนีเซียในระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอำนาจที่มีความหมายต่อประเทศ ที่มีมายาวนาน และเรารับทราบไม่กว้างขวางมาก เลยลงภาพให้ชมกัน ในแง่ความหลากหลายของศาสนาและชาติพันธุ์นั้น ประเทศอินโดนีเซียยึดเป็นหลักธรรมนูญของประเทศ อินโดนีเซียได้ชื่อว่ามีวัดไทย จำนวนมากตั้งอยู่ทั่วประเทศ ไม่ต่างจากอเมริกา ความเป็นชาตินิยมแบบอินโดนีเซียจึงแตกต่างอย่างมากจากความเป็นชาตินิยมของไทยค่อนข้างมาก  สัญลักษณ์รูปช้างสร้างเป็นที่ระลึกหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินโดนีเซีย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
แค่ตั้งชื่อก็สะดุ้งเอง แต่แน่ใจว่าต้องใช้ชื่อนี้ เพราะเหตุเกิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1946 ค่ะ เป็นกลุ่มทหารปฏิวัติหรือกลุ่มกบฎ นำโดย Gusti Ngurah Rai นายทหารผู้ก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยอิสรภาพจากการรุกรานของประเทศอาณานิคมดัทช์ และญี่ปุ่น เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากบาหลี ก็เป็นโอกาสให้ดัทช์ เจ้าอาณานิคมเก่าเข้ามาครอบครองบาหลีอีกครั้ง โดยครั้งนี้ต้องการรวมบาหลีเข้ากับอินโดนีเซีย ทหารและประชาชนชาวบาหลี ซึ่งมาจากทั่วทั้งเกาะบาหลี จึงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้กับกองทัพดัทช์ ผู้ซึ่งมีกองกำลังพร้อมอาวุธทันสมัย แต่ทหารบาหลีมีเพียงอาวุธของชาวญี่ปุ่น…