Skip to main content

-1-

พรรคประชาธิปัตย์หาเสียงเพื่อการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง โดยชูคำขวัญที่ฟังดูดัดจริตและกินไม่ได้ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน”

ผมได้ยินหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปล่งคำนี้ออกมาแล้วก็ให้นึกสงสัยว่าจะมีใครซักกี่คนในโลกนี้เชื่อในสิ่งที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ พูดออกมา

พรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาส เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ๆ ตามสไตล์ถนัดด้วยการโฆษณาหาเสียงก่อนใครเพื่อน  ในขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างพรรคพลังประชาชนนั้นต้องเจอกับอำนาจชั่วที่คอยการสกัดกั้นทุกรูปแบบ

-2-

ต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคพลังประชาชนจะฝ่าต้านแรงสกัดจากอำนาจชั่วได้มากน้อยแค่ไหน การตัดทอนกำลังพรรคพลังประชาชนด้วยรูปแบบวิธีการต่าง ๆ จะทำให้พรรคพลังประชาชนอ่อนกำลังลงไปได้มากน้อยเพียงใด หรือว่าจะยิ่งทำให้พรรคการเมืองพรรคนี้เติบโตมากขึ้น ความศรัทธาเชื่อถือจากประชาชนจะช่วยให้เอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่

ผมเชื่อว่า หากแม้นเมื่อใดที่ประเทศนี้สามารถปกครองด้วยหลักการของเสียงข้างมากจริงๆ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ต้องการทหาร เมื่อนั้นพรรคพลังประชาชนจะต้องได้จัดตั้งรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะประชาชนเสียงข้างมากของประเทศ ยังคงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยที่กลายร่างเป็นพรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของสมัคร สุนทรเวช หรืออย่างน้อยก็มีจำนวนมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน

บางคนชอบพรรคพลังประชาชนเพราะนโยบายต่าง ๆ ในอดีตที่ให้ความสำคัญแก่คนระดับล่าง (จะมีคนบางจำพวกแย้งในทันทีว่านโยบายของพรรคไทยรักไทยเดิม และของพรรคพลังประชาชนเป็นนโยบายประชานิยมที่ทำให้คนเป็นหนี้ ทำให้ประชาชนไม่รู้จักพึ่งตนเอง! ทั้งที่ประชาชนอยู่มาได้เป็นร้อยปีก่อนที่จะมีพรรคการเมืองด้วยซ้ำ)

บางคนชอบพรรคพลังประชาชน เพราะความสามารถของนักการเมืองในพื้นที่และความผูกพันภักดีที่มีต่อกัน ซึ่งความผูกพันภักดีที่ว่านี้คนชั้นกลางจะไม่มีทางเข้าใจได้เลยในชีวิตนี้ว่ามีความหมายความสำคัญอย่างไร

วันก่อน เจ้าหน้าที่คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าให้ฟังว่าจะอย่างไรก็ยังเลือกพรรคพลังประชาชนแม้ว่าจะไม่ได้เป็นพรรคที่จัดตั้งรัฐบาลก็ตาม เขาให้เหตุผลหลายข้อว่าทำไมจึงยังเลือกพรรคนี้

(แล้วเจ้าหน้าที่คนนี้ก็เล่าให้ฟังถึงข่าวอื้อฉาวเรื่องบ้านราคาสามสิบล้านของอธิการบดีสุรพล นิติไกรพจน์ ซึ่งผมไม่รู้ว่าจริงเท็จมากน้อยเพียงใด ใครที่มีพลังอำนาจช่วยเข้าไปตรวจสอบให้ทีเถิดว่าอธิการบดี ม.7 ท่านนี้  เอาเงินมากมายมาจากไหน มาจาก ”ผลประโยชน์ทับซ้อน” จากตำแหน่งอธิการบดีหรือเปล่า!)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยที่จะชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังคงเชื่อมั่นศรัทธาในพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้นว่าจะเปลี่ยนชื่อไปแล้วก็ตาม

-3-

คำว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ทำให้ผมต้องใช้จินตนาการขนาดหนัก เพราะนึกไม่ออกเลยจริง ๆ ว่าคนอย่างชวน หลีกภัย, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือเทพเทือก นั้นจะปล่อยให้ประชาชนมาก่อนได้อย่างไร

คิดไปคิดมา คำว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” จึงน่าจะหมายถึงว่า “ประชาชนต้องมาซวย” ก่อนพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ถึงรัฐประหารที่ผ่านมา     

หากติดตามประวัติศาสตร์การเมืองบ้าง ก็จะพบได้ไม่ยากว่าพรรคประชาธิปัตย์จะ “โชคดี”  ได้จัดตั้งรัฐบาลเสมอหลังเกิดการรัฐประหารแล้วมีการเลือกตั้ง จนอาจกล่าวได้ว่า “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์กับรัฐประหารเป็นของคู่กัน”

รัฐประหารครั้งที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์สามารถ “สืบทอดอดีต” ของตัวเองได้อย่างดีโดยเล่นเป็น “ลูกคู่” คอยรับและส่งบทให้เข้ากับคณะรัฐประหารอย่างไม่ประดักประเดิดหรือละอายแก่ใจ บางคนจึงเรียกพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็น “อะไหล่ธิปัตย์” คือช่วยสนับสนุน ซ่อมแซม อำนวยความสะดวกแก่กลุ่มที่ยึดอำนาจ 

การที่พรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เกิดรัฐประหารกระทั่งเห็นพ้องด้วย การที่พรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้รัฐบาลเถื่อนทำงานไปโดยคอยเป็น “ลูกคู่” หรือเป็น “อะไหล่” นั้น ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากปล่อยประชาชนให้ซวยนั่นเอง

เป็นที่ตระหนักกันดีว่าสภาวะเศรษฐกิจหลังรัฐประหารนั้นตกต่ำ ประชาชนเดือดร้อน ค่ารถเมล์ขึ้น ค่าครองชีพเพิ่ม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นความซวยหลังรัฐประหารต่อเนื่องมาถึงก่อนการเลือกตั้ง เป็นความซวยของประชาชนที่ “เกิดขึ้นก่อน” ที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาล

ดังนั้น คำขวัญที่ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” นั้นเป็นคำขวัญที่ยัง “กล่าวไม่หมดความ” คำขวัญที่ถูกต้องของพรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นว่า “ประชาชนต้องซวยก่อน”

แล้วพอประชาชนรับความซวยไปแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็จะได้เป็นรัฐบาลบริหารเงินงบประมาณเป็นล้านล้าน  สบายใจ.

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…