Skip to main content

การเมืองหลังการเข้ามาของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร คือการแข่งขันกันนำเสนอด้านนโยบายที่ตอบสนองความต้องการสิ่งอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งถูกละเลยมาตลอด


ผลงานของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ยิ่งยงและพรรคไทยรักไทยที่ได้ทำไว้ในเรื่องการกำหนดนโยบายสำหรับคนยากคนจน และผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงกระทั่งใครต่อใครพรรคประชาธิปัตย์ปากว่าตาขยิบลอกมาหน้าตาเฉย แม้แต่พรรคภูมิใจของเนวิน ชิดชอบที่เพิ่งเปิดตัวไปก็ชูเรื่องประชานิยมเป็นม็อตโตของพรรค


เป็นเพราะวิสัยทัศน์แบบนักธุรกิจของอดีตนายก ฯ สามารถมองเห็นและเข้าใจความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ของประเทศ มองเห็นความต้องการของประชาชนที่ไม่เคยได้รับการตอบสนอง มองเห็นความขาดหายที่จะเติมให้เต็มได้ แต่มากไปกว่าการมองเห็นก็คือความกล้าหาญที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา กล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่นักการเมืองคนอื่นไม่ทำ ทำในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยทำ


ท่ามกลางขาลงของนอมินีชุด 3 อย่างพรรคเพื่อไทยที่มีหางแต่ไร้หัว พรรคประชาธิปัตย์ไม่ควรจะลืมกันว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยได้สร้างนโยบายที่ตอบโจทย์ชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างเอาจริงเอาจัง นโยบายที่เต็มไปด้วยคำถามและถูกประชาธิปัตย์ปรามาสว่าทำไม่ได้ กาลเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้


คนป่วยหลายคนรอดตายเพราะโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ที่บางคนยอมรับว่ารักษาพยาบาลด้วยบัตร 30 บาท นั้นดีกว่าใช้ประกันสังคมเสียอีกเพราะค่าใช้จ่ายในโครงการ 30 บาทนั้นสามารถเบิกจ่ายจากรัฐบาลได้ในขณะที่ประกันสังคมทำไม่ได้ ส่วนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหรือ OTOP นั้นก็ช่วยสร้างเงินสร้างงานในชุมชนเช่นเดียวกับนโยบายหวยบนดินที่รับเงินกันถ้วนหน้า


ต้องยอมรับว่าอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร นั้นเก่งในเรื่องการหาเงิน ทั้งหาเงินเพื่อนำไปใช้ในการผลักดันนโยบายสาธารณะให้กลายเป็นจริง และแม้กระทั่งหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด (นายกรัฐมนตรีที่สร้างภาพว่าไม่ต้องการเงินทอง สร้างภาพว่าซื่อสัตย์สุจริตต่างหากที่เป็นเรื่องน่าแปลกและน่าสงสัย)


ความสำเร็จอันท่วมท้นชนิดสร้างสถิติทางการเมืองใหม่ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลี่ยนแปลงปฏิรูปหลากหลายด้าน การทำให้การเมืองกับการตลาดกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เหล่านี้ ส่งให้อดีตนายก ฯ กลายเป็นนวัตกรแห่งกาลเวลาสำหรับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นโยบายประชานิยมถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพรรคประชาธิปตย์ว่าจะทำให้คนเป็นหนี้ สร้างนิสัยและค่านิยมที่ไม่ถูกต้องให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ๆ ก็ต้องรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เป็นการสร้างคะแนนนิยม เป็นการหาเสียงเชิงนโยบาย มีผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ แต่ถึงวันนี้นักการเมืองจากประชาธิปัตย์กลับกลืนน้ำลายตนเอง


เวลาผ่านไปไม่นานและเราก็ค้นหาได้ไม่ยากว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วิจารณ์ นโยบายประชานิยมไว้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายของรัฐบาลชุดนี้เป็นการตอกย้ำความเป็นทายาทของ พ...ทักษิณ ชินวัตร โดยสังเกตจากหลายนโยบาย เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน เป็นต้น พร้อมตั้งข้อสังเกตอีกว่า หลายนโยบายทำเพื่อตัวเอง พวกพ้อง หรือเพื่อประชาชน (คมชัดลึก. วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์, .. 2551)

http://www.komchadluek.net/2008/02/19/x_main_a001_190594.php?news_id=190594


นโยบายที่ตรงกับสิ่งที่ประชาชนต้องการ เราตอบไม่ได้หรอกว่าเป็นเรื่องดีทั้งหมดหรือเลวทั้งหมด เรื่องใดที่สนองตอบความต้องการของประชาชนและเป็นเรื่องดีสำหรับส่วนรวม ถ้าสามารถวางระบบให้มีคุณภาพยั่งยืนได้ อันนี้ดีแน่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนนั้นดี แต่ข้อควรระวังคืออย่ามุ่งหวังผลทางการเมืองอย่างเดียว เราต้องกำกับด้วยว่าจะเอาทุนไปทำอะไร ถ้านำไปสู่การใช้จ่ายเพิ่มหนี้สินไม่ยั่งยืน อันนี้ไม่ดี ดังนั้นต้องแยกเป็นเรื่องๆ ไป”

www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004dec01p5.htm


การกลืนน้ำลายหรือลืมคำพูดตัวเองเป็นสิ่งที่นักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ถนัดนักหนา สันดานแบบ “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” นั้นหาได้ไม่ยากจากนักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์


นโยบายถูกเรียกขานว่า “ประชานิยม” เคยหนุนนำให้ชื่อของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นไปอยู่บนหิ้งในฐานะพระเอกตลอดกาลแบบเดียวกับรัฐบุรุษหนึ่งเดียวอย่างปรีดี พนมยงค์ (ส่วนรัฐบุรุษที่ตั้งให้กันเองอีกคนเป็นของปลอม)

ผลงานและมันสมองตลอดจนการยอมรับจากประชาชนของของอดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ทำให้พรรคประชาธิปัตย์พวกศักดินาฉงนฉงาย


มาบัดนี้พรรคประชาธิปัตย์อยากเดินตามรอยในสิ่งที่อดีตนายก ฯ ทักษิณ ชินวัตรเคยทำไว้ แต่ “นางกุลา” ก็คือนางกุลา จะเป็น “โสนน้อย” ไปไม่ได้ เช่นเดียวกับนางอิจฉาอย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่มีวันจะเป็นพระเอกหรือนางเอกได้ แม้ว่าจะพยายามทำให้ดูเหมือนก็ตาม.

 

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ท่ามกลางเสียงตะเบ็งเซ็งแซ่จากนักวิชาการสายพันธมิตร, สื่อสายพันธมิตร, 40 สว. ลากตั้งสายพันธมิตร, พรรคการเมืองสายพันธมิตร, นักสิทธิมนุษยชนสายพันธมิตร, คนกลางสายพันธมิตร, คนดีสายพันธมิตร, ตุลาการสายพันธมิตร และอะไรต่อมิอะไรสายพันธมิตรนั้น เราพอจะได้ยินได้อ่านอะไรที่แตกต่างสร้างสรรค์ เป็นถ้อยคำรื่นหูที่ได้ยินแล้วสบายใจอยู่บ้างแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม เสียงส่วนน้อยเหล่านี้ควรค่าแก่การจดจำตอกย้ำหรือเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เป็นเสียงแห่งความกล้าหาญที่ช่วยดึงรั้งไม่ให้สังคมเตลิดไปกับความหลงผิด เป็นเสียงแห่งเหตุผลและความถูกต้อง เชื่อว่าหลายคนคงผ่านหู ผ่านตามาแล้ว แต่ขอนำเสนอซ้ำอีกครั้งหนึ่ง 1.…
เมธัส บัวชุม
พวกกบโง่....เห็นนกกระยาง....เป็นนางฟ้า...สมน้ำหน้า....หลงบูชา....ดุจนางแถน...นางประแดะ.....แสร้งเมตตา...อย่างแกนๆฝูงกบแสน....ดีใจ....ได้นายดี......๚ะ๛                                                ๏..ตรังนิสิงเห...๚ะ๛( http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=733477 )========================================= ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง ละเลงเลือดแผ่นดินเดือด ถ่อยเถื่อน สะเทือนไหมเหล่าแกนนำ อำมหิต คงสะใจประเทศไทย ใกล้พังยับ นับวันรอพันธมิตร ป่วนเมือง ระส่ำสุดเตรียมอาวุธ รบกับใคร กระไรหนอกองทัพธรรม กำมีดพร้า ฆ่าให้พอทำเพื่อ "พ่อ" สนธิลิ้ม และจำลอง ละอองดาว ( http://www.prachatai.com/05web/th/home/comment.php?mod=mod_ptcms&ContentID=13977&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai ) พอฝุ่นควันจากเหตุการณ์สลายหายไป ภาพปรากฏก็เริ่มชัดเจนขึ้น ข้อเท็จจริงค่อย ๆ แสดงตัวออกมาทีละส่วน ๆ ก่อนจะกลายเป็นภาพรวมใหญ่ ทำให้การใส่ความและการโฆษณาชวนเชื่อของแกนนำพันธมิตรฯ…
เมธัส บัวชุม
นายแพทย์ประเวศ วะสี ผู้ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปภายใต้โลโก้ “ราษฎรอาวุโส” เป็น “ผู้ใหญ่” ที่ใครต่อใครรู้จักกันดี เพราะคำพูดคำอ่านหรือแนวคิดของท่าน ตกเป็นข่าวพาดหัวอยู่เสมอทางหน้าหนังสือพิมพ์และได้รับการขานรับจากกลุ่มคนน้อยใหญ่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม แม้กระทั่งข้าราชการ บทบาทของนายแพทย์ประเวศ วะสี ในหลาย ๆ วาระและโอกาส มีความสำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยอย่างสูง จนคว้ารางวัลต่างๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ รางวัลแมกไซไซ รางวัลจากยูเนสโก เหรียญเชิดชูเกียรติจาก WHO เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีข้อกังขาว่า…
เมธัส บัวชุม
นอกจากจะรู้จักใช้ “สี” ให้เป็นประโยชน์แล้ว ลัทธิพันธมิตรยังมีความสามารถพิเศษในการ ”เปลี่ยนสี” ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือ “เลือกสี” ให้เหมาะกับกาละเทศะ เพราะจะใช้ “สีเดียว” ทุกเวลาและสถานที่คงไม่ได้ การรู้จัก “เปลี่ยนสี” นี้เป็นการปรับตัวเช่นเดียวกับที่เราได้เห็นในสัตว์หลายชนิดที่สามารถสร้างสีให้เกิดความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมหรือสื่อสารกับสัตว์ตัวอื่นๆ ไม่ว่าสัตว์นั้นจะเป็นผู้ล่าหรือผู้ถูกล่า หรือจะเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีหรือไม่มีกระดูกสันหลังต่างก็มีความสามารถในการเปลี่ยนสีด้วยกันทั้งนั้น
เมธัส บัวชุม
ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน ปี 49 กระทั่งปัจจุบัน  อันธพาล-ลัทธิพันธมิตร ได้ผลิต ตอกย้ำนำเสนอ วาทกรรมทางการเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางและร่วมด้วยช่วยกันกับองค์กรอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา บุคคลที่มีชื่อเสียง สว. ลากตั้ง ดารา ฯลฯ  ทั้งที่เป็นวาทกรรมเพื่อมุ่งทำลายฝ่ายตรงข้ามและใช้ในการยกยอปอปั้นลัทธิตนเอง วาทกรรมบางอย่าง ลัทธิพันธมิตรประดิษฐ์ขึ้นโดยตรงสำหรับการกรรโชกข่มขู่รัฐบาลและสังคม แต่บางวาทกรรมไม่ได้คิดขึ้นเองหากแต่นำมาจากประธานองคมนตรี นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส สื่อมวลชน และจากบรรดาบุคคลที่เทิดทูนระบอบอมาตยาธิปไตยไว้เหนือหัว…
เมธัส บัวชุม
กลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียเป็นปัญหาเสมอมาสำหรับการสถาปนากติกาการปกครองและระเบียบการเมือง ทั้งนี้เพราะเป็นกลุ่มที่กฎหมายและการจัดระเบียบทางสังคมไม่สามารถควบคุมจัดการได้ คุกคามต่อสวัสดิภาพความเป็นอยู่ปกติของคนโดยทั่วไปเพราะกลุ่มอันธพาลการเมือง หรือแก๊งมาเฟียดำรงชีพอยู่ได้ก็ด้วยการขู่เข็ญกรรโชกกระทั่งใช้กำลัง หรือใช้กฎหมู่เพื่อให้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ นอกจากจะไม่ผลิตอะไรออกมาแล้ว กลุ่มอันธพาลการเมืองยังคอยรีดไถเงินจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่น ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการข่มขู่รีดไถหรือล็อบบี้อย่างชาญฉลาดของกลุ่มอันธพาลการเมืองที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรอย่างสมบูรณ์แบบที่กลุ่มพันธมิตร…
เมธัส บัวชุม
ไม่ต้องเป็นผู้ฉลาดหลังเหตุการณ์เราก็จินตนาการได้ไม่ยากว่าการชุมนุมก่อน 19 กันยายน 2549 ของกลุ่มพันธมิตร ฯ นั้นเป็นการออกบัตรเชิญให้ทหารทำรัฐประหารแม้ว่าบางคนอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ การชุมนุมของพันธมิตร ฯ หลังพรรคพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาลก็เช่นเดียวกัน ไป ๆ มา ๆ ก็เหมือนเดิมคือการออกบัตรเชิญให้ทหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกคำรบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลังประชาชนได้บทเรียนมาแล้วก่อนหน้านี้ และได้รู้ว่าความผิดพลาดในรายละเอียดเพียงนิดเดียวอาจเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การยึดอำนาจรอบสองได้ รัฐบาลจึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการจัดการกับม็อบพันธมิตร ฯ แต่โอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มี…
เมธัส บัวชุม
บทความที่แล้วพยายามจะให้ความหมายของ “กวีเกรียน” ว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วเมื่อลองมาวิเคราะห์ พิจารณา สามารถสรุปรวบยอดได้ว่า กวีเกรียน นั้นเดินทางล้าหลัง อยู่ถึง 3 ก้าวด้วยกัน ก้าวที่ 1 คือ ขาดการทบทวนอดีต ไม่สามารถนำอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ไม่สามารถสกัดเก็บซับเอาข้อดี ข้อเสียในอดีตมาเป็นฐานคิดในการวิเคราะห์สังคมการเมือง จะว่าไปบทเรียนในอดีตของสังคมไทยก็มีให้ศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลง 2475, การต่อสู้ของเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการในอดีตหรือกระทั่งการต่อสู้อยู่ในป่าของพคท.ฯลฯ…
เมธัส บัวชุม
ตอนแรกตั้งใจจะตั้งชื่อบทความว่า “กวีพันธมิตร ฯ” แต่เห็นชื่อที่โดนใจวัยรุ่นกว่าในเวบบอร์ด “ฟ้าเดียวกัน” ว่า “กวีเกรียน” โดยคุณ Homo erectus (ซึ่งเคยเข้ามาวิพากษ์เชิงด่าผมอยู่เป็นประจำจนเลิกไปเอง) จึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม “กวีเกรียน” ในความหมายของผมคือกวีที่ล้าหลัง คิดอ่านไร้เดียงสาเหมือนเด็กที่อ่อนต่อโลก วิเคราะห์สังคมไม่ออกเพราะไม่มีหลักคิดที่มั่นคง อ่านการเมืองไม่เป็นเพราะมัวแต่คิดว่านักการเมืองชั่วร้ายเลวทรามในขณะที่ประชาชนและข้าราชการ และพวกอภิสิทธิชนนั้นมีคุณธรรม จริยธรรม หรืออย่างน้อยก็มีมากกว่านักการเมือง…
เมธัส บัวชุม
-1- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวละครการเมืองที่ไม่ยอมลงจากเวที กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "ภาษาไทย พ.ศ.พอเพียง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ที่จัดขึ้นโดย ราชบัณฑิตยสถาน มูลนิธิรัฐบุรุษฯ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า "ภาษาไทยทำให้คนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ สื่อสารที่ดีต่อกัน ทำให้คนเข้าใจกัน ทำให้คนรักกัน โกรธ หรือเกลียดกัน ทำลายกันก็ได้ พวกเราคนไทยจึงต้องตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ต้องไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ฟุ้งเฟื้อจนเกินไป ต้องรักษาและพัฒนาให้ลูกหลานอย่างพอเหมาะ" (มติชน, 27 ก.ค. 51, หน้า 13) จากคำกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพลเอกเปรม ติณสูลานนท์…
เมธัส บัวชุม
ดา ตอร์ปิโด เขย่ารากฐานความศรัทธาของคนไทยอีกคำรบหนึ่งด้วยการพูดปราศรัยต่อหน้าสาธารณะที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม อย่างตรงไปตรงมา และไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหม จากข่าวที่ปรากฏออกมาตามสื่อแขนงต่าง ๆ บอกให้รู้ว่าการปราศรัยของเธอนั้นเกี่ยวพันกับสถาบันเบื้องสูง ต้องยอมรับว่า ดา ตอปิโดร์ เป็นคนกล้าและแกร่งอย่างที่หลายคนทำไม่ได้ในแง่ที่ว่ากล้าพูด กล้าทำในสิ่งที่ตนเองคิดโดยไม่ต้องพะวงว่าจะเกิดผลร้ายตามมา ทราบจากที่เป็นข่าว สนธิ ลิ้มทองกุล นำคำพูดของ ดา ตอร์ปิโด มาเล่าซ้ำออกอากาศผ่าน ASTV ไปทั่วประเทศ คำปราศรัยของดา ตอร์ปิโด…