Skip to main content

คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์สู้รบ การประกาศมอบตัวอุปมาเหมือนแม่ทัพที่ทิ้งทัพกลางศึกด้วยเหตุที่ว่ากลัวไพร่พลและทหารแดงที่เข้าร่วมสงครามจะบาดเจ็บล้มตาย!

-------------


คืนวันที่ 13 เมษายน เพื่อนบางคนโทรศัพท์มาชวนไปกินเหล้า ผมกลับปักหลักอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลจนถึงตี 4 ครึ่ง ท่ามกลางข่าวลือหนาหูว่าจะมีการสลายการชุมนุมตอนประมาณตี 4 ผมจึงรอคอยด้วยต้องการเห็นกับตาว่าไอ้ที่เรียกว่าการสลายการชุมนุม หรือไอ้ที่เรียกว่าความรุนแรงนั้นเป็นอย่างไร


บรรยากาศในที่ชุมนุมไม่สู้ดีนัก เพราะมีข่าวแว่วออกมาว่าคนเสื้อเหลืองคอยซุ่มดักยิงคนที่กำลังเดินทางกลับบ้าน ข่าวนี้ได้รับการยืนยันด้วยอาการบาดเจ็บของคนเสื้อแดงคนหนึ่งที่ถูกนำส่งโรงพยาบาล


เสียงปืนดังอยู่ทางวัดโสมนัสหลายครั้ง หลายคนออกอาการวิตก ข่าวลือเรื่องการดักยิงลอยมาอีกครั้ง


ก่อนเที่ยงคืน คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ออกมาพูดอะไรบนเวที ฟังดูแล้วเหมือนยอมจำนน ประมาณว่า "ผมไม่ต้องการเป็นฮีโร่" และ "จะขอรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น" ท่าทีของแกนนำบนเวทีบอกอยู่กลาย ๆ แล้วว่าคงจะยอม


ถนนทางด้านที่จะออกไปสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีเสียงประกาศเป็นภาษาอีสานลอยมาเป็นระยะ ๆ ว่าให้คนที่ต้องการกลับบ้านเดินออกมา จะพาไปส่งที่บ้านต่างจังหวัด


ประมาณตีหนึ่ง ทหารเคลื่อนพลมาทางสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ตั้งแถวสองแถว แถวหลังอาวุธครบมือ หน่วยการ์ดของกองทัพแดงจึงตั้งแถวประจัน ความตึงเครียดเกินขึ้นไปทั่ว เพื่อนผมที่ไปด้วยกันเริ่มออกอาการหวาดหวั่น และร้องอยากกลับบ้าน บอกว่ามีอะไรในชีวิตต้องทำอีกเยอะ มีเรื่องที่ต้องกังวลหลายเรื่อง ผมพยายามรั้งเพื่อนไว้บอกว่ามันไม่ได้น่ากลัวอะไรหรอก ควรจะอยู่ให้กำลังใจกัน แต่เพื่อนก็เลือกที่จะกลับไปให้กำลังใจอยู่ที่บ้าน


เวลาต่อมาทหารนายหนึ่งเดินมาบอกว่าไม่ได้มาเพื่อสลายการชุมนุม หากแต่ต้องการเคลียร์ถนนที่มีรถเมล์ขวางอยู่ พอเคลียร์เสร็จแล้วทหารก็กลับหายไป เมื่อทหารจากไปความตึงเครียดก็ค่อยผ่อนคลายลง


ผมเดิน ๆ นั่ง ๆ ง่วงนอนอย่างมาก ร่ำ ๆ จะกลับบ้านหลายครั้ง แต่ก็ฝืนไว้กระทั่งถึงตี 4 ส่วนบนเวทีก็ดำเนินกิจกรรมตามปกติ มีการร้องเพลง พูดปราศรัย แต่การปลุกปลอบใจให้สู้นั้นไม่มีแล้ว


ไม่ว่าจะมีการสลายหรือไม่ ผมก็คิดในใจว่า "พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรหนอ"


ผมมองดูนาฬิกาบ่อยครั้ง จนกระทั่งถึงตี 4 ผมรอต่อไปอีกเล็กน้อย จนถึงตี 4 ครึ่ง ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการสลายการชุมนุมจึงขี่มอเตอร์ไซค์กลับบ้าน


ผมโชคร้ายพอสมควรที่มอเตอร์ไซค์ไปชนเข้ากับกองของยางรถยนต์ที่กองทัพแดงเผาทิ้งไว้ ผมล้มลงไปกองกับยางรถยนต์ จึงหวนกลับไปปฐมพยาบาลที่หน่วย FARED พอถึงบ้านหลับเป็นตาย ตื่นขึ้นมาอีกทีเปิดโทรทัศน์ไปที่ช่อง เนชั่น พบว่าคุณวีระ มุสิกะพงศ์ ตัดสินใจมอบตัวแล้ว


------------------


ผมผิดหวังและเสียใจกับการยอมจำนนของคุณวีระ ผมไม่เชื่อว่าเป็นเพราะทักษิณหยุดให้เงินหรือเป็นเพราะมีการต่อรองตกลงอะไรบางอย่างกันแล้ว ผมไม่เชื่อเช่นนั้นเลย ผมคิดว่าวีระใจเสาะ ใจปลาซิว ! อยากเป็นฮีโร่ก่อนเวลาอันควร!


มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย ถ้าวีระใจเสาะขนาดนี้แล้วจะเรียกร้องให้คนมาชุมนุมเป็นเรือนแสนทำไม? คนเรือนแสนไม่ได้มาเพื่ออยู่เฉย ๆ หรือนั่งฟังโฟนอินของทักษิณหรือฟังบทสนทนาจี๋จ๋าของวีระ กับทักษิณ ไม่ใช่เลย เขามาเพื่อต้องการแสดงพลัง ต้องการแสดงออก


ผมเห็นด้วยกับการปิดอนุสาวรีย์ชัย เห็นด้วยกับการขัดขวางการประชุมที่พัทยา เห็นด้วยกับปฏิบัติการที่กระทรวงมหาดไทย ไม่เห็นด้วยนิดเดียวตรงที่การ์ดของกองทัพแดงไปตั้งด่านอยู่ที่สามเหลี่ยมดินแดงเพราะไกลฐานที่มั่นมากเกินไปและเป็นเหตุให้เกิดการสังหารโหดโดยไม่เห็นศพในเวลาต่อมา(คืนนั้นผมขี่มอเตอร์ไซค์เวียนไปที่สามเหลี่ยมดินแดงด้วยแต่กลับออกมาก่อน)


ประชาธิปไตยไม่มีทางที่จะได้มาด้วยการนั่งฟังแกนนำสั่งสอน หรือพร่ำพูดโจมตีรัฐบาลประชาธิปัตย์และพันธมิตร แต่ประชาธิปไตยต้องเกิดจากการต่อสู้ และการสูญเสียเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในสังคมที่ไม่มีหลักการให้ยึด สันติวิธีเป็นเรื่องเพ้อเจ้อของคนชั้นกลางที่กลัวการตายโหงหรือกลัวการนองเลือด ผมขอให้ลองสังเกตดูว่าคนที่ชอบพูดเรื่องสันติวิธีนั้นเป็นชนชั้นกลางที่มีความมั่นคงในชีวิต มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายแล้วทั้งนั้น!


มีด้วยเหรอประชาธิปไตยแบบค่อยเป็นค่อยไป ? ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับประชาธิปไตยแบบค่อยเป็นค่อยไปคือการถูกข่มขืนแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่มีกำหนดสิ้นสุด ?


คุณวีระ มุสิกะพงศ์ ไม่เหมาะที่จะเป็นแกนนำกองทัพแดงในสถานการณ์สู้รบ หากแต่เหมาะที่จะจัดรายการโทรทัศน์อยู่ในห้องส่ง หรือเล่นลิเกโฟนอินกับทักษิณ หากรู้ว่าแม่ทัพใจเสาะ ผมจะไม่ยอมเข้าร่วมกับคนเสื้อแดงเลย ให้ตาย!

 

 

บล็อกของ เมธัส บัวชุม

เมธัส บัวชุม
ก่อนอื่นคงต้องขอยอมรับในความสามารถของชัย ราชวัตร ที่สามารถตรึงใจผู้อ่านคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมายาวนานหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันและดูเหมือนว่าสามารถสร้างแฟนการ์ตูนรุ่นใหม่ ๆ ได้ไม่น้อย ความน่าสนใจประการหนึ่งของการ์ตูนคอลัมน์ “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” อยู่ที่การสร้างบทสนทนาระหว่างตัวการ์ตูนเพียงไม่กี่ประโยค แต่สื่อความหมายได้มากมายเสียยิ่งกว่าบทความที่ยาวเต็มหน้ากระดาษชัย ราชวัตร ใช้วาจาสั้น ๆ ในการเสียดสีหรือวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันหรือบางครั้งเป็นการกล่าวหาใส่ความเกินจริง โดยที่เขาตัวเขาเองไม่ต้องรับผลอันใดจากการกระทำของตนเอง ตัวอย่างเช่นไทยรัฐ, 26…
เมธัส บัวชุม
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ ชัย ราชวัตร แสดงความหยาบของตัวเองผ่านการ์ตูนชุด “ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน” ที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ไทยรัฐ ชัดเจนอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเมืองสมัยทักษิณ ชินวัตร จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ชัย ราชวัตร เอาการเอางานอย่างมากในการใช้ตัวการ์ตูนโจมตีฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ บางครั้งเขาออกอาการก้าวร้าวผิดปกติเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม เป็นผลให้การ์ตูนของเขาแตกต่างจากการ์ตูนของคนอื่น ๆ คือเป็นการ์ตูนที่เด็ก ๆ อ่านไม่รู้เรื่องเพราะอ้างอิงกับข้อมูลและความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน อันที่จริงความน่าสนใจของหนังสือการ์ตูนโดยทั่วไปนั้นอยู่ที่การใช้ “ภาพ” เป็นตัวเล่าเรื่อง…
เมธัส บัวชุม
อาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ เพื่อนโทรมาชวนผมไปฟังการสัมมนาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเนื่องในงานธรรมศาสตร์วิชาการ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการเมืองภาคประชาชนไทยหลังการเลือกตั้งทั่วไป 2550” เพื่อนบอกว่ามีคุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณจอน อึ๊งภากรณ์ คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นพ.เหวง โตจิราการ คุณรสนา โตสิตระกูลผมได้ยินรายชื่อแล้วรู้สึกสนใจโดยเฉพาะคุณจาตุรนต์ ฉายแสง นักการเมืองคุณภาพที่หาได้ยากยิ่งในแวดวงการเมืองไทยปัจจุบัน แต่สุดท้ายแล้ว ผมก็ผิดหวัง คุณจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่มาร่วมวงสัมมนาแต่อย่างใด คุณศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ นำเสนอการวิเคราะห์อย่างเป็นวิชาการ อย่างไรก็ตาม…
เมธัส บัวชุม
คงเป็นเพราะความเชี่ยวชาญส่วนตัวหรือเคยผ่านประสบการณ์เลวร้ายเรื่องยาเสพติดมาก่อน คุณเฉลิม อยู่บำรุง จึงนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งว่าจะจัดการเฉียบขาดต่อพ่อค้า (และแม่ค้า) ยาเสพติดโดยลงโทษรุนแรงคือประหารชีวิต อย่างไรก็ตามคุณเฉลิม อยู่บำรุงไม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้แทนในครั้งนั้น ดังนั้น นโยบายอันดุดันเรื่องนี้ของคุณเฉลิม  อยู่บำรุงจึงถูกพับเก็บไปการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นโยบายทางสังคมอย่างเรื่องยาเสพติดและเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ถูกชูขึ้นหาเสียงมากนัก ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายโดยมากแล้วจะเน้นเรื่องนโยบายทางเศรษฐกิจ การสร้างความอยู่ดีกินดี…
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด…
เมธัส บัวชุม
อาจารย์สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นกลางบางกลุ่มที่เป็นพวก “สองไม่เอา” คือไม่เอาทั้ง “ทักษิณ” และ “ไม่เอารัฐประหาร” จนเป็นประเด็นถกเถียงน่าสนใจทางโลกไซเบอร์นักวิชาการบางคนพยายามที่จะไปให้พ้นจาก “สองไม่เอา” โดยพูดถึง “ทางเลือกที่สาม” แต่ที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม” นั้นคืออะไร การพยายามค้นหาหรือสร้าง “ทางเลือกที่สาม” มีข้อดีในแง่ที่ว่าอาจช่วยเปิดจินตนาการทางการเมืองให้กว้างขึ้นแต่ก็นั่นแหละใครจะบอกได้ว่า “ทางเลือกที่สาม”  เป็นอย่างไร  “ทางเลือกที่สาม” มีจริงหรือ ?เมื่อ “ทางเลือกที่สาม” ไม่มีอยู่จริง…
เมธัส บัวชุม
คุณสมัคร  สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน พูดถึง “มือสกปรก” และ “มือที่มองไม่เห็น” ที่พยายามสอดเข้ามาจุ้นจ้านแทรกแซงการเมืองเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล คุณสมัคร สุนทรเวชบอกว่าเป็นมือที่อยู่ “นอกวงการเมือง” เป็นมือที่จะเข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก โดยมีความต้องการที่จะขัดขวางพรรคพลังประชาชนไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล“ไอ้มือสกปรกที่อยู่ข้างนอก ที่จะยื่นมาทำให้การเลือกตั้งล้มเหลวนั้น ผมขอแถลงว่า เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อรักษาเกียรติยศ เกียรติคุณของ กกต.ไม่ให้ท่านโดยอำนาจมืดมาบีบบังคับ มาทำให้การจัดตั้งรัฐบาลเป็นการเฉไฉ ทั้ง 4 พรรค เราได้ตกลงกันแล้วว่า เราจะดำเนินการตั้งรัฐบาล ซึ่งตั้งได้แน่นอน…
เมธัส บัวชุม
-1-ครั้งที่แล้ว ผมเขียนแสดงความคิดเห็นต่อบทความของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งเขียนยกย่องว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความสง่างามออกมาสามเรื่องจนทำให้เหมาะกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ถึงเวลานี้ไม่ทราบว่าศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ จะยังเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีความสง่างามอยู่อีกหรือไม่เพราะหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อพรรคพลังประชาชนแล้ว เขาก็ออกอาการที่เรียกได้ว่า "ขี้แพ้ชวนตั้งพรรค"ด้วยแรงหนุนจากบุคคลบางกลุ่ม และองค์กรบางองค์กร ตลอดจนการได้รับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานครที่มีชัยเหนือพรรคพลังประชาชนพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง…
เมธัส บัวชุม
ผมรู้สึกประหลาดใจ คาดไม่ถึง เหลือเชื่อ รับไม่ได้ ต่อบทความของศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2550  ผมอ่านอย่างตั้งใจทีคำ ทีละประโยค  เมื่ออ่านจบแล้ว ได้แต่ส่ายหัว บ่นงึมงัมอยู่คนเดียวว่านิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอย่างที่เขียนไปแล้วได้อย่างไร เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า นิธิ  เอียวศรีวงศ์ ในวัยชรา ได้ทำลายตัวเองด้วยการเขียนบทความอันน่าสะอิดสะเอียนเพื่อชื่นชม คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างหน้ามืดตามัว เขาเขียนว่า“คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแสดงความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (…
เมธัส บัวชุม
-1-เป็นที่รู้กันดีว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือกกต.ชุดปัจจุบันซึ่งมีคนอย่าง นางสดศรี สัตยธรรม ผู้ซึ่งดูเหมือนจะชมชอบ “สถาบันทหาร” เป็นพิเศษเป็นคณะกรรมการรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นองค์กรที่กล่าวได้ว่าคลอดออกมาจาก “มดลูก” ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ที่ทำการรัฐประหารปล้นชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้ซึ่งนอกจากชอบอ้างเรื่อง “ความมั่นคง” แล้วยังชอบอ้างเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” แต่ว่ากันว่าจดทะเบียนสมรสซ้อนอย่างน้อยสองครั้งเป็นอดีตประธาน  เป็นที่รู้กันดีว่าจุดประสงค์หลักของคมช.และ “บรรดาลูกๆ”  ทั้งหลายก็คือต้องการทำลายล้าง ถอนรากถอนโคน…
เมธัส บัวชุม
-1-การยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร ที่เรียกตัวเองด้วยชื่อที่ฟังดูคุ้นหูสำหรับคนที่พบเห็นหรือศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารมาบ้างว่า “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (คปค.) ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นั้นถือเป็นฝันร้ายยาวนานสำหรับสังคมการเมืองไทย และเชื่อว่าจะตามหลอกตามหลอนประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตยไปตลอดคณะทหารที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองเสียใหม่แต่ก็ยังฟังดูคุ้น ๆ อยู่ดีว่า “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) บัดนี้คำว่า “ความมั่นคง” ปรากฏขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วในรูปของชื่อเรียกและนับจากนี้เป็นต้นไป วาทกรรม “ความมั่นคง”…
เมธัส บัวชุม
หนังสือที่มีชื่อโดนใจใครหลาย ๆ คนเรื่องนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั้งจากคนที่เห็นด้วยและคนที่รับไม่ได้แน่นอนว่าพรรคพลังประชาชนจะต้องถูกอกถูกใจที่มีคนมาช่วย "ด่า" รัฐธรรมนูญปี 2550เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่หัวหน้าพรรคฝีปากกล้าของพลังประชาชนเคยลั่นมาแล้วก่อนหน้านี้ว่า "รัฐธรรมนูญเฮงซวย"นักวิชาการน้อยใหญ่หลายคนเห็นตรงกันโดยไม่จำเป็นต้องทำโพลล์ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเฮงซวยจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันไม่ตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาของสังคม ไม่ตอบคำถามของคนชั้นกลางที่อยากมีชีวิตมั่นคงภายใต้กระแสของโลกาภิวัฒน์ ทั้งยังไม่ช่วยให้คนระดับล่างมองเห็นอนาคตที่ดีขึ้นในวันข้างหน้าแต่รัฐธรรมนูญเฮงซวยฉบับปี 2550…