Skip to main content

          ก่อนอื่นขอแสดงความเสียใจแก่เหตุโศกนาฏกรรมในโรงหนังในรัฐโคโลลาโด้ นี่เป็นอีกครั้งที่สังคมอเมริกาได้รับรู้ว่า ภัยที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่การก่อการร้ายแต่เป็นระบบการซื้อขายปืนที่ง่ายดายอย่างยิ่งราวกับขนมของประเทศตัวเอง ซึ่งในความเห็นของผมแล้ว ควรจะมีการทบทวนกฎหมายนี้ให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้นเสียที หลายคนถามผมว่ามันเกิดจากอิทธิพลของหนังหรือเปล่า ผมส่ายหน้าว่า หนังไม่มีทางทำให้คนลุกขึ้นยิงใครแบบนั้นแน่นอน 

ซึ่งต้องอยู่ที่การสืบสวนของทางเจ้าหน้าที่ว่าจะออกมาอย่างไร
 
บทความนี้จึงเป็นบทความสุดท้ายของการพูดถึงหนังอัศวินรัตติกาลของคริสโตเฟอร์ โนแลนครับ หลังจากคราวที่แล้วผมพาทุกท่านออกทัวร์ไปในเมืองก๊อตแทมเพื่อให้ได้เห็นสภาพของสังคมว่า ทำไม อะไร ยังไง ถึงจำเป็นต้องมีอัศวินรัตติกาลคนนี้ มาคราวนี้ผมจะพาทุกท่านไปให้ลงลึกกว่านั้นหน่อยด้วย การพาทุกท่านไปสำรวจจิตใจเบื้องลึกเบื้องหลังของเหล่าผู้คนในเมืองก๊อตแทมนี้ดูว่า พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้างในเมืองแห่งนี้
 
บทความนี้เปิดเผยความลับของหนังจนหมดเปลือก ใครยังไม่ได้ชมภาคล่าสุดอย่าพึ่งเข้ามานะครับ
 
แน่นอนว่าเริ่มจากใครไม่ได้นอกจากตัวของบรูซ เวย์น
 
Bruce Wayne/Batman
 
 
หากนิยามตัวตนของบรูซ เวย์นแล้ว เขาคือ หนุ่มเพลย์บอยที่ใช้ชีวิตไปวันๆกับเงินจำนวนมหาศาล รถหรูๆ ผู้หญิงสวยๆ บริษัทอันใหญ่โตและมีผลกำไรทุกปี พูดง่ายๆว่า เป็นชีวิตที่สุดแสนน่าอิจฉาในสายตาของใครหลายคน ใครจะคาดคิดว่า ชีวิตของบรูซ เวย์นจะพบกับความเจ็บปวดสุดแสนสาหัสเมื่อเขาซึ่งกลัวค้างคาวในระหว่างการแสดงจนทำให้พ่อและแม่ของเขาถูกยิงตายต่อหน้าตาด้วยฝีมือของโจรที่เป็นลูกน้องของเจ้าพ่อใหญ่ในเมืองที่แม้แต่กฏหมายยังไม่สามารถเอาผิดเขาได้ เพราะเกรงกลัวอิทธิพลของเจ้าพ่อรายนี้จนเขาหมดศรัทธาในระบบยุติธรรมแล้วออกจากเมืองก๊อตแทมไป
 
หากจะเปรียบเทียบก็คือ บรูซ เวย์น ได้ตื่นจากความฝันอันสวยหรูจากโลกที่แสนสุขสงบ เราจะเห็นว่าบรรยากาศของคฤหาสน์เวย์นก่อนที่พ่อของเขาจะตายนั้นมีสภาพคล้ายกับสวนอีเดนในพระคัมภีร์ โลกที่ไร้ซึ่งความเงียบเหงา โลกที่ไร้ซึ่งความกลัว ทว่าหลังจากพ่อแม่ของเขาตายไป คฤหาสน์เวย์นเปลี่ยนสภาพเป็นดินแดนแห่งความเงียบและโศกเศร้าที่แสนน่าปวดใจ เราไม่เห็นความสุขที่ออกมาจากคฤหาสน์นี้เลย ราวกับว่า มันเป็นคฤหาสน์ของคนตายด้วยซ้ำ
 
บรูซ เวย์น ออกเดินทางไปทั่วโลกเพื่อศึกษาจิตใจของอาชญากรจนได้พบกับองค์กร พันธมิตรแห่งเงาที่นำโดย ราส อัลกูล ที่ซ่อนให้เขาด้วยคำพูดที่ทำให้เขาใช้มันเป็นแรงบันดาลใจการเอาชนะความกลัวด้วยการใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือ รวมทั้งเรื่องทางสัญลักษณ์ด้วย
 
“สัญลักษณ์จะทำให้ผมไม่เสื่อมสลาย”
 
นั้นเป็นการบอกใบ้ว่า การที่เขาจะดำรงเป็นศาลเตี้ยปราบผู้ร้ายนั้น เขาจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองจากมนุษย์เดินดินธรรมดากลายเป็นบางอย่างแทน
 
            บางอย่างที่ไม่ใช่มนุษย์
 
คำพูดของเรเชลที่ล่วงรู้ถึงตัวจริงของแบ๊ทแมนแล้วนั้นได้เป็นเหมือนการคาดเดาอนาคตบางอย่างไว้ล่วงหน้า เธอบอกว่า ใบหน้าของบรูซ เวย์น คือ หน้ากาก ส่วนแบ๊ทแมนคือ หน้าจริงที่ใช้เพื่อต่อสู้กับคนร้าย เธอหวังว่า ชายคนรักของเธอจะกลับมา แต่ไม่มีทางเป็นไปได้เพราะแบ๊ทแมนนั้นยังจำเป็นต่อเมืองนี้อยู่นั้นเอง นัยยะนี้จึงพูดถึงภาพหน้ากากที่ตัวละครได้สวมอยู่อย่างแนบแน่นและไปโดดเด่นเอาในภาคต่อ จนกระทั่งการมาของโจ๊กเกอร์ที่บอกถึงความเหมือนกันราวกับพี่น้องของตนและแบ็ทแมนได้อย่างน่าสนใจ การเจอกับโจ๊กเกอร์นั้นได้ทำให้บรูซ เวย์นได้ตระหนักถึงความมืดมิดในตัวเองได้อย่างไม่คาดคิด 
 
สิ่งที่แบ็ทแมนกับโจ๊กเกอร์คล้ายคลึงกันก็คือ การเป็นตัวประหลาดในสังคมที่แสนจะปลิ้นปลอกอย่างเมืองก๊อตแทม โจ๊กเกอร์เชื่อว่า แบ็ทแมนเองก็ไม่ได้ต่างอะไรกับเขา ในฉบับหนังสือการ์ตูนนั้นโจ๊กเกอร์เชื่อว่า คนเราทุกคนเป็นบ้าได้หากถูกกระแทกแรงๆสักครั้ง และเขามองว่า ตัวแบ๊ทแมนเองเหมือนกับเขาทุกอย่างยกเว้นเพียงแค่ การมีศีลธรรมในใจเท่านั้น ซึ่งตัวแบ๊ทแมนมีกฎที่จะไม่ฆ่าใครนอกจากซัดจนปางตาย ยิ่งมองในแง่จิตวิทยาแบ๊ทแมนได้เอาความโกรธแค้นชิงชังในความชั่วร้ายไประบายใส่ตัวคนร้ายนั้นเอง แต่เขาก็ยังมีลิมิตที่จะหยุดเพียงแค่นั้น ซึ่งหากมองดูห่างๆแล้วมันก็ไม่ได้ต่างเลยกับสิ่งที่โจ๊กเกอร์ทำ นั้นก็คือ เป็นการสัญลักษณ์ของอำนาจนอกระบบที่เกิดจากระบบอันแสนจะอ่อนแอ
 
ยกตัวอย่างกรณีศึกษาง่ายๆว่า การที่แบ๊ทแมนเลือกข้ามการจับโจ๊กเกอร์ไปแล้วไปไล่จับพวกมาเฟียแทนนั้นเป็นเพราะพวกมาเฟียอันตรายกว่าหรือเพราะความแค้นส่วนตัวส่วนตัวกันแน่

หากมองในสภาพนี้ก็สามารถมองได้แบ๊ทแมนนั้นมีความผิดปกติทางจิตใจอยู่บ้างไม่ใช่น้อย
 
ดั่งที่ โจนาธาน เครน หรือ หุ่นไล่กา วายร้ายอีกคนได้พูดในตอนที่ถูกจับว่า นั้นมันไม่ใช่ความเห็นของแพทย์ เพราะเครนเองก็รู้ว่า ตัวของแบ๊ทแมนนั้นไม่ปกติ
 
ดังนั้นคำพูดที่ว่า หากต้องการให้เมืองนี้มีความปกติก็จำเป็นต้องให้แบ๊ทแมนถอดหน้ากากแล้วไปมอบตัวซะนั้นเอง เพราะความเกินเลยหลายอย่างในอำนาจของเขาได้ชักนำสิ่งที่คล้ายคลึงกันเข้ามาในเมืองนี้นั้นก็คือ ตัวของโจ๊กเกอร์นั้นเองที่โผล่เข้ามาในชีวิตของแบ๊ทแมน และทำให้เขาได้รับรู้ว่า เมืองนี้จะสงบสุขได้ถ้าไม่มีเขา ดังนั้นเขาจึงหายตัวไปกว่าแปดปี ภายหลังจากสร้างฮาร์วีย์ เดนท์ให้เป็นฮีโร่ปลอมๆแล้ว ระบบกฎหมายก็เข้มแข็งมากขึ้นกว่าตอนที่เขาอยู่เสียอีก
 
นั้นคือ ไม่จำเป็นต้องมีแบ๊ทแมนอีกแล้ว
 
ทว่าเขาคิดผิดกับการมาของวายร้ายอีกคนอย่าง เบน ที่ทำให้เขาได้ทบทวนสิ่งที่เขาหลงลืมไปนาน 
 
เขาได้หลงลืมความกลัวไปนานแล้ว เขาไม่เคยมีความกลัวแม้กระทั่งความตายจนกระทั่งได้พ่ายแพ้ต่อเบนและเห็นเมืองที่เขาปกป้องย่อยยับกับตา การที่เขากระโดดขึ้นไปเหนือคุกโดยไม่มีเชือกนั้นก็เป็นการบอกว่า หากเขาจะปกป้องเมืองนี้ สิ่งที่เขาควรจะทำนั้นก็คือ การที่จะไม่กลัวแม้กระทั่งความตาย
 
นั้นคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ที่ทำให้อัศวินรัตติกาลลุกขึ้นมาผงาดอีกครั้งหลังจากจมลงสู่ความมืดมืดไปแล้ว
แบ๊ทแมนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่สืบทอดต่อไปยังแบ๊ทแมนคนต่อไปที่จะมาสวมชุดนี้
 
Ra’s Al Ghul (ราส อัล กูล)
 
 
 
 
แน่นอนว่า บรูซ เวย์น ไม่มีทางเป็นอัศวินรัตติกาลได้หากไม่ได้พบกับชายคนนี้และพันธมิตรแห่งเงาของเขาที่ได้สอนให้เขารู้จักการเอาชนะความกลัว การต่อสู้กับความชั่วร้ายบนโลก รวมทั้งสอนศิลปะการต่อสู้หลายๆอย่างให้กับเขา แน่นอนว่าตัวราส อัล กูล นั้นมีสิ่งที่คล้ายคลึงกับบรูซ เวย์น อยู่ไม่ใช่น้อย เขานั้นเป็นคนหนึ่งที่สูญสิ้นศรัทธาในระบบไปเสียสิ้น เขาต้องเสียภรรยาและลูกไปโดยที่เขาไม่อาจจะทำอะไรได้เลยด้วยซ้ำไป นั้นทำให้ตั้งกลุ่มองค์กรอาชญากรรมที่มีเป้าหมายคือการทำลายความชั่วร้ายทั้งมวลบนโลกแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ไม่มีอ่อนข้อใดๆทั้งนั้น 
 
และเป้าหมายของเขาคือการทำลายเมืองก๊อตแทมให้สิ้นซาก
 
ราส อัล กูล นั้นมองว่า เมืองนี้หมดทางเยียวยาไปแล้วเพราะ ตอนนี้สภาพของมันเลวร้ายอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็น อิทธิพลของมาเฟียที่อยู่เกลื่อนเมือง ตำรวจ ข้าราชการรับสินบนที่ไม่เคยสนใจดูแคลนประชาชน เมืองที่เต็มไปด้วยความฉ้อฉลจนไม่อาจจะกู้คืนได้ แม้ว่าการตายของพ่อแม่บรูซ เวย์นได้ทำให้เมืองมีความหวังขึ้นมาบ้าง แต่ก็ไม่สามารถฉุดเมืองนี้ขึ้นมาจากเหวนรกได้ ดังนั้น ราส อัล กูล จึงตั้งเป้าหมายว่าจะทำลายเมืองนี้จนสิ้นซากด้วยการใช้ความกลัวนั้นเอง
 
หากเปรียบความกลัวเป็นอำนาจสักอย่างหนึ่ง มันก็คงเป็นระบอบเผน็จการเบ็ดเสร็จที่ไม่ให้ใครสามารถหืออือใดๆได้ อย่างกฎหมายประเภทข้าใหญ่เพียงผู้เดียว คำพูดของข้าคือกฎหมาย ซึ่งเป็นระบอบที่ล้าสมัยอย่างยิ่งและไม่เหมาะกับโลกในปัจจุบันที่ผู้คนฉลาดขึ้นและมีอิสระมากขึ้นกว่าแต่ก่อน 
 
และเพื่อทำแบบนั้น ราส อัล กูล จึงวางแผนทำลายทุกอย่างในเมืองทิ้งให้กลับไปสู่ยุคหลังเขาอีกครั้ง
เพราะเขาเชื่อว่า หากรวมศูนย์อำนาจไว้ด้วยความกลัวนั้นจะทำให้เมืองสงบสุขได้
 
แต่เอาจริงก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น
 
เพราะ การทำแบบนี้ก็ไม่ต่างกับการเอาหินไปอุดปากภูเขาไฟนักหรอก เพราะถึงจะอุดได้มันก็ยังมีแรงดันมหาศาลที่เมื่อวันหนึ่งหินหลุดออกมาเมื่อไหร่ทุกอย่างจะปะทุออกในที่สุด จึงไม่แปลกใจว่า ประเทศเผน็จการหลายประเทศในโลกเรานี้ต่างล่มสลายลงเพราะ ความกดขี่ของระบบที่รวมทุกอย่างไว้ด้วยตัวเองทั้งหมดนั้นเอง 
 
และสุดท้ายแผนการของเขาก็ล่มสลายด้วยฝีมือของแบ๊ทแมนที่เชื่อว่า เมืองนี้ยังไม่เกินเยียวยานั้นเอง
 
Joker โจ๊กเกอร์
 
 
มีคำถามว่า ตัวละครตัวใดที่เป็นคู่ต่อสู้คู่บุญของแบ๊ทแมนชนิดที่ว่า หากมีเรื่องนี้ที่ใดก็ต้องตัวร้ายตัวนี้ตลอดราวกับเงาตามตัว ก็คงไม่พ้นตัวตลกจากนรกอย่าง โจ๊กเกอร์
 
ภูมิหลังของโจ๊กเกอร์นั้นแทบไม่มีใครรู้เลยว่า เขามีชื่อจริงว่าอะไร เป็นใครมาจาก ภูมิหลังมาจากไหน แทบจะเป็นตัวละครที่เต็มไปด้วยปริศนาที่หากศึกษาแล้วจะพบว่า เรื่องราวของเขานั้นสามารถเขียนเป็นวิทยานิพนธ์เล่มโตๆ ได้เลยด้วยซ้ำไป หากนิยาม ราส อัล กูล ด้วยความกลัว (Fear) แล้ว ตัวโจ๊กเกอร์นั้นก็เหมาะอย่างกับคำว่า โกลาหล (Chaos) อย่างยิ่งเพราะทุกอย่างในตัวของเขาช่างสับสนเสมือนโลกใบนี้เอง
 
หลายคนให้คำนิยามของโจ๊กเกอร์ว่าเป็นตัวละครที่คู่แฝดของแบ๊ทแมนทั้งคู่มีความคล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ หากย้อนไปดูประวัติของโจ๊กเกอร์ในคอมมิค เขานั้นเป็นเพียงคนธรรมดาที่ได้พบเรื่องน่าสะเทือนใจจนจิตใจแตกสลายและถูกครอบงำด้วยบุคลิกอีกด้านหนึ่งของตัวเองจนหมดสิ้น ซึ่งก็ไม่ได้ต่างกับบรูซที่บุคลิกของเขาจะเปลี่ยนไปเมื่อสวมหน้ากากเพียงแต่บรูซ เวย์น ไม่ได้ปล่อยให้จิตสำนึกอีกด้านกลืนกินบุคลิดเดิมจนหมด 
 
ในขณะที่โจ๊กเกอร์นั้นถูกอีกบุคลิกกลืนกินจนหมดสิ้น
 
ดังนั้นตัวละครของคู่นั้นจึงมีสภาพเป็นเหมือนด้านตรงข้ามของเหรียญ ความต่างของทั้งคู่นั้นก็มีเพียงแบ๊ทแมนยังมีสิ่งที่เรียกศีลธรรมกดเอาไว้ทำให้ไม่ให้บุคลิกอีกด้านกลืนกินตัวเองไป 
 
ส่วนโจ๊กเกอร์ไม่มี
 
มีคำกล่าวที่ว่า คนบ้านั้นมักจะมองโลกได้ชัดแจ้งว่าคนดีทั่วไป

ซึ่งนั้นผมคิดว่า เป็นเรื่องจริง
 
น่าแปลกที่ตัวละครอย่างโจ๊กเกอร์นั้นเข้าขั้นความน่าหวาดระแวงและไม่น่าไว้ใจแต่หลายครั้ง ตัวเขาก็มองอะไรหลายอย่างขาดกว่าที่เราคิดนักไม่ใช่น้อย
 
ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของเขาที่มองออกว่า ประชาชนชาวก๊อตแทมนั้นมีลักษณะเป็นพวกตีสองหน้าและหน้าไหว้หลังหลอก ในยามพวกเขาต้องการแบ๊ทแมนนั้นพวกเขาก็จะเรียกร้องหาเขา และเมื่อพวกเขาไม่ต้องการ พวกเขาจะขับไล่พวกเขาไปเหมือนหมูเหมือนหมา อย่างที่เขาได้ยื่นเสนอไปให้ว่า ถ้าแบ๊ทแมนไม่มอบตัว เขาจะฆ่าคนเรื่อยๆ นั้นทำให้ผู้คนพากันกล่าวโทษแบ๊ทแมนราวกับว่า เขาเป็นต้นเหตุทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เมืองมีสภาพเป็นอย่างไร
 
หรือ การละเล่นที่เขาเล่นเอาเถิดกับปุ่มระเบิดเรือเพื่อทดสอบศีลธรรมของคนก๊อตแทม เราได้เห็นพวกคนดีทั้งหลายที่บอกว่า พวกเราเป็นประชาชนสุดแสนบริสุทธิ์นั้นพร้อมใจกันจะกดระเบิดเรือนักโทษอีกลำเพราะ พวกเขาเลือกเป็นโจรในขณะที่พวกโจรเลือกโยนปุ่มระเบิดออกไปแต่แรกแล้ว นั้นแสดงให้เห็นถึงภาพศีลธรรมของประชาชนในเมืองนี้ที่พร้อมจะเลวได้ทุกห้านาทีหากมีปุ่มชนวนที่เรียกว่า ชีวิตขึ้นมา เราพร้อมฆ่าคนเพื่อเอาตัวรอดเสียด้วยซ้ำไป 
 
ดังนั้นคำพูดที่ว่า คนสมัยนี้มันพึ่งพาอะไรไม่ได้เลย ก็น่าจะเป็นคำพูดในเชิงตำหนิคนในเรือลำนั้นว่า พึ่งพาอะไรไม่ได้แม้กระทั่งการฆ่าคนเพื่อให้มือสกปรก เหมือนเช่นที่พวกเขาไม่กล้าที่จะลุกขึ้นเพื่อปกป้องตัวเองนอกเสียจากกระดิกเท้ารอแบ๊ทแมนมาช่วย
 
นั้นยิ่งสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นในระบบของโจ๊กเกอร์และอาจจะรวมทั้งตัวมนุษย์ด้วย
 
แล้วโจ๊กเกอร์เชื่อในอะไรล่ะ
 
เขาเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความเลวซ่อนอยู่ในจิตใจ มนุษย์เหมือนสัตว์ป่าที่พร้อมกัดกินคนอื่นเพื่อเอาชีวิตรอด ดังนั้นโจ๊กเกอร์นั้นเชื่อในสิ่งที่เรียกว่า อนาธิปไตย ระบบไม่กฎอะไรนอกจากกฎเอาตัวรอดของธรรมชาตินั้นเอง ทว่า โจ๊กเกอร์ก็ไม่ได้อยู่ดูสิ่งที่ต้องการจะทำอยู่ดี
 
แต่กระนั้นเขาก็วางระเบิดลูกใหญ่ทิ้งเอาไว้ในเมืองนี้
 
ระเบิดที่ชื่อว่า ฮาร์วีย์ เดนท์
 
Harvey Dent / Two Face 
 
 
แน่นอนว่าแบ๊ทแมนนั้นไม่สามารถที่จะปฏิบัติการคุ้มครองเมืองนี้ไปได้ตลอด เพราะเขายังเชื่อว่า หากมีใครสักคนที่ก้าวเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองนี้โดยที่ไม่ต้องใส่หน้ากากแบบเขาได้ นั้นคือสิ่งที่เมืองนี้รอคอย
 
และเขาได้พบกับความหวังนั้นจากการได้พบกับเขา
 
อัยการหนุ่มที่พึ่งย้ายเข้ามาในเมืองแห่งนี้ภายหลังการเสียชีวิตของอัยการคนก่อน เขาได้เข้ามาในเมืองนี้และได้ล่วงรู้ว่า แบ๊ทแมนเป็นคนที่คอยช่วยเหลือเจมส์ กอร์ดอนอยู่เบื้องหลัง นั้นทำให้เขาอยากพบกับเขาในฐานะชายที่ช่วยให้เมืองนี้มีความหวังเช่นเดียวกับตัวของเขาเอง ฮาร์วีย์ เดนท์เข้าอกเข้าใจในตัวแบ๊ทแมนหลายอย่างไม่ใช่น้อย อาทิ เขารู้ว่า แบ๊ทแมนนั้นต้องการคนมารับช่วงต่อจากเขา และเขามองแบ๊ทแมนไม่ต้องการจะทำแบบนี้ไปตลอดชีวิตนั้นเอง
 
โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า จะตายอย่างฮีโร่หรืออยู่จนกลายเป็นวายร้าย ก็สะท้อนถึงภาพของความหวังที่จำเป็นต้องมีการสานต่อที่บรูซ เวย์นหรือแบ๊ทแมนได้คาดหวังเอาไว้
 
แต่ก็เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังในที่สุด
 
นอกจากโจ๊กเกอร์และฮาร์วีย์ เดนท์ยังเป็นอีกตัวละครที่มีความลึกมากจนสามารถเขียนทำวิทยานิพนธ์เล่มโตๆได้อย่างสบาย เพราะเขามีสภาพเป็นตัวแทนของคนที่มีสับสนในจิตใจอันเนื่องมาจากวัยเด็กของเขาเอง(ซึ่งหนังไม่ได้เปิดเผยให้รู้) การเชื่อมั่นในการโยนหัวก้อยด้วยเหรียญ ซึ่งเหรียญนั้นสืบทอดมาจากพ่อของเขา ทำให้เขานั้นเป็นพวกที่ยินยอมต่อความสกปรกใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาชญากรรมแบบใดก็ตาม เขาจะไม่มีวันยอมถอยราวกับต้นไม้ที่ยืนตระหง่านท่ามกลางพายุ ซึ่งอาจจะเรียกว่า สุดโต่งเกินไปจนมองเห็นได้ว่า การที่เขากลายเป็น Two Face นั้นเกิดจากความสุดโต่งในความเชื่อด้านระบบของตัวเองนั้นเอง
 
ซึ่งสุดท้ายแล้วระบบก็ทำให้ความเชื่อมั่นของเขาพังทลายลงจนกลายเป็นวายร้ายอีกหนึ่งคนไปในที่สุด
 
ความล่มสลายของฮาร์วีย์ เดนท์ เปรียบเสมือนระบบการเมืองแบบตัวบุคคลที่เชื่อมั่นในความขาวสะอาดมากเกินไปหรือจะพูดว่า เขาเชื่อในระบบหัวก้อยไปมากเกิน จนลืมนึกไปว่า ไม่มีมนุษย์คนใดบนโลกเป็นเทวดา ไม่มีมนุษย์ใดที่มีแต่ความขาวสะอาดจนบริสุทธิ์ ทุกคนย่อมมีความมืดมิดอยู่ในตัว จนพูดได้ว่าทุกคนไม่มีความมืดที่สุดก็ไม่มีความขาวที่สุดเหมือนกัน
 
ดั่งที่เกิดขึ้นกับฮาร์วีย์ เดนท์ ที่เปลี่ยนจากหนุ่มอนาคตไกล จากแสงสว่างกลายเป็นความมืดเพียงเพราะ ระบบได้ทำลายตัวเขาจนหมดสิ้นนั้นเอง
 
และนี่คือข้อพิสูจน์ของโจ๊กเกอร์ที่ว่า
 
คนดีๆถ้าถูกกระแทกแรงๆสักครั้งก็เป็นบ้าได้
 
Catwomen / Selina Kyle
 
 
หากฮาร์วีย์ เดนท์ คือข้อพิสูจน์ที่ว่า คนดีก็เลวได้ ตัวนางแมวป่านั้นก็เป็นข้อพิสูจน์ที่ว่า บางครั้งคนเราก็ไม่สามารถเลือกเกิดได้ ถึงแม้ว่าในหนังจะไม่ได้บอกภูมิหลังว่า นางแมวยั่วสวาทคนนี้มีภูมิหลังครอบครัวแบบอะไรยังไงถึงได้กลายเป็นโจรสาวไปได้ แต่หากมองแล้วเซลีน่า ไคลท์ก็ผลผลิตหนึ่งของระบบที่ไม่สมบูรณ์แบบนี้อย่างชัดแจ้ง เพราะท่าทีหลายอย่างของเธอนั้นล้วนแล้วแต่แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นในระบบยุติธรรมใดๆเลย เธอไม่เชื่อมั่นแม้กระทั่งมนุษย์เลยด้วยซ้ำไป ดังนั้นการที่เธอหักหลังใครหลายคนนั้นก็เพราะ เธอคิดว่า
 
ถ้าไม่หักหลังใครก่อน อาจจะถูกหักหลังก่อน
 
ทว่าความคิดนี้ของเธอก็ต้องเปลี่ยนไปเมื่อต้องเผชิญหน้ากับบรูซ เวย์น
 
ถึงแม้ตอนแรกเธอจะหักหลังเขากลายครั้งก็ตาม เซลีน่าก็ไม่คาดคิดว่า คนอย่างบรูซ เวย์นจะยังเชื่อมั่นในตัวของเธออยู่ดี การเผชิญหน้ากับเขาในแต่ล่ะครั้งยิ่งทำให้จิตใจที่ไม่เชื่อในใครของเธอเริ่มถูกทำลายลงประดุจน้ำแข็งที่ละลายลงเพราะความร้อนนั้นคือ สาเหตุที่ว่าทำไมในช่วงสุดท้ายเธอถึงกลับมาช่วยเขาทั้งๆที่น่าจะหนีไปได้
 
 
นั้นเป็นข้อพิสูจน์ว่า ไม่มีใครเลวโดยกมลสันดาลนั้นเอง
 
ทุกคนมีความดีในตัวแม้แต่คนที่เลวที่สุดอย่างโจ๊กเกอร์ก็ตามที แล้วทำไมนางแมวป่าถึงจะเป็นคนดีกลับตัวเข้าสังคมไม่ได้กันเล่า
 
คำถามหนึ่งได้เกิดขึ้นว่า ถึงเธอหนีไปได้แล้วจะมีที่ใดให้เธอยืนอยู่บนโลกนี้กันล่ะ บางทีนางแมวป่าตัวหนึ่งอาจจะแค่อยากหาที่ที่อยู่ที่พักของตัวเองก็เป็นได้
 
ดั่งคำกล่าวว่า เมื่อห่างยามรบ ดาบย่อมพักอยู่ในฝัก เมื่อบทหนักในชีวิตที่ผ่านพ้นผู้คนย่อมหาที่พักใจ บางคนหาฝักดาบพักใจในเวลาอันสั้น แต่บางคนหาไม่เจอจนกระทั่งสิ้นชีวิต

แต่บัดนี้แมวป่าตัวหนึ่งได้ค้นพบที่พักใจของเธอแล้ว
 
Bane 
 
 
น่าเสียดายว่า เบนเป็นตัวละครที่มีความลึกทางมิติค่อนข้างน้อยอย่างยิ่งในบรรดาตัวร้ายของแบ๊ทแมน เขาเป็นเพียงสัญลักษณ์ของการทำลายล้าง การเข้ามาของลัทธิอนาธิปไตย การลุกขึ้นสู่ของชนชั้นที่ถูกกดขี่จากคนรวย ดังนั้นเบนจึงมีลักษณะของความเป็นชายขอบตั้งแต่รูปลักษณ์เหมือนนักมวยปล้ำอันทรงพลัง การสวมเสื้อคลุมราคาถูก หน้ากากที่ใส่สารบรรเทาความเจ็บปวด รวมทั้งแนวคิดด้านความกลัวที่เขาได้รับสืบทอดมาจากราส อัล กูล อันเป็นเสมือนการสืบทอดความเจตนารมณ์หรืออุดมการณ์ในการล้างความชั่วด้วยแนวคิดที่ว่า
 
ก๊อตแทมมันเกินเยียวยาแล้ว
 
ดังนั้นต้องทำลายมันให้สิ้นเพื่อให้ทุกอย่างกลับไปตั้งต้นใหม่ที่จุดเดิม ซึ่งก็ไม่ต่างกับการล้างระบบเลยนั้น สุดท้ายแล้วเมืองก็มีสภาพเป็นอนาธิปไตยกลายๆแบบที่โจ๊กเกอร์ต้องการ
 
ดั่งคำที่ว่า
 
ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนนนั้นแล
 
แต่ตัวของเบนนั้นรู้ดีว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องยึดโยงกับอะไรสักอย่างหนึ่งไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะยิ่งแย่ลง ดังนั้นเขาจึงตั้งระบบศาลขึ้นมาเพื่อพิพากษาเหล่าคนรวยในเมืองนี้ที่ฉกฉวยทุกอย่างทั้งผลประโยชน์แล้วเอาเปรียบคนจนทั้งหลาย ดังนั้นเบนจึงเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านระบบทุนนิยมที่เอื้อให้แก่เหล่าบริษัททั้งหลายนั้นเอง ดังนั้นภาพของเหล่าคนรวยที่ถูกเนรเทศออกไปเดินบนน้ำแข็งก็ไม่ต่างกับการเอาไปยิงเป้าในประเทศคอมมิวนิสต์หลายประเทศนัก
 
แต่สุดท้ายแล้วเบนก็ไม่อาจจะทานกระแสการทวงคืนอำนาจแก่อำนาจเดิมได้และนำไปสู่การกลับมาของระบอบแบ๊ทแมนอีกครั้งหนึ่ง
 
กระนั้นหากมาลองมองตัวเบนดีๆ เราจะพบว่าภูมิหลังของเขานั้นเลวร้ายยิ่ง เขานั้นเป็นตัวตนที่ตรงกันข้ามกับแบ๊ทแมนโดยสิ้นเชิง เขาเกิดในคุก ฆ่าคนตั้งแต่เด็กและยังต้องคอยปกป้องลูกสาวของหัวหน้าตัวเองจากเหล่าเดนนรกในคุกจนตัวเองต้องเสียโฉม หากมองแล้วเขาก็เป็นเพียงคนคนหนึ่งที่สูญสิ้นจากระบบเช่นเดียวกันคนอื่นเหมือนกัน
 
John Blake
 
 
ความห่วยแตกของระบบได้ก่อให้เกิดเหล่าตัวละครมากมายขึ้นในเมืองแห่งนี้ เช่นเดียวกับชายหนุ่มจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่พึ่งเข้ามาบรรจุเป็นตำรวจหน้าใหม่ได้ไม่นานนักอย่าง จอห์น เบรค ที่มีแบ๊ทแมนเป็นวีรบุรุษในดวงใจและเชื่อมั่นลึกตลอดแปดปีที่ผ่านมาว่า
 
เขาจะต้องกลับมา 
 
ในขณะเดียวกันเขาก็สงสัยเขาจะกลับมาเมื่อไหร่ในเมื่อเมืองนี้ไม่ต้องการเขาอีกแล้ว เพราะระบบกฎหมายต่างๆก็เข้มแข็งขึ้นจนแทบไม่มีผู้ร้ายใหญ่ๆอีกเลยในหลายปีที่ผ่านมา
 
จนกระทั่งการมาของเบนนั้นแหละ
 
ตลอดเรื่องเราจะเห็นว่า เบรคนั้นถูกทดสอบอยู่ตลอดในเรื่องความเชื่อมั่นในระบบด้วยความเขานั้นเป็น ตำรวจชั้นผู้น้อยทำให้เขาไม่สามารถช่วยเหลือใครได้ท่วงที เพราะต้องรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตลอดเวลา หรือการแสดงความเห็นของเขาทุกครั้งมักจะถูกปัดตกไปเสมอเพราะ ด้วยเหตุว่าเขาพึ่งเข้ามาใหม่ หรือยศน้อยกว่า
 
แต่ที่ทำให้เขาต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตศรัทธาครั้งใหญ่ก็คือ การที่เขาพบว่า ระบบทำให้มนุษย์ไม่เหลือความไม่เป็นมนุษย์เหลือแล้ว โดยเฉพาะในฉากที่เขาพยายามพาเด็กหนีออกจากเมืองแต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ของอีกเมืองประกาศให้เข้าไปในเมือง โดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมใด เพราะในเมื่อเมืองมันจะระเบิดแล้วก็ควรจะรีบให้พวกเขาข้ามอีกฝั่ง
 
ทว่าพวกเขากลับระเบิดสะพานทิ้งและกราดกระสุนใส่จอห์น เบรก
 
นั้นทำให้คือเหตุการณ์ที่ทำให้รู้ว่า ระบบที่เขาเชื่อมั่นนั้นไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง อาจจะรวมไปถึงเรื่องของฮาร์วีย์ เดนท์ ที่เขาพึ่งรู้ว่า กอร์ดอนได้สมคบคิดกับแบ๊ทแมนเพื่อคงกฎหมายไว้โดยเอาคนดีๆอย่างเขาให้ถูกทาสีด้วยข้อหาอาชญากร นั้นทำให้เขารู้ว่า ระบบที่เขาเชื่อมาตลอดนั้น
 
มันหลอกลวง
 
ส่งผลให้เขาตัดสินใจหันหลังให้กับระบบและมุ่งหน้าสู่ถ้ำค้างคาวในที่สุด
 
หากลองพิจารณาชื่อของแล้วคงไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่าชื่อกลางของเขาที่หากนำมาใส่แล้วจะได้คำว่า

John Robin Blake 
 
ชื่อของโรบินนอกจากจะมีความนัยถึงตัวละครหนึ่งในแบ็ทแมนแล้วยังมีความนัยถึงนิสัยของเบรกด้วย โรบินนั้นเป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง
 
หากว่า นกคือสัญลักษณ์ของอิสรภาพ
 
และเหตุผลกลใดกัน ที่ นกอย่างเบรกจะต้องมาติดอยู่ในกรงที่ชื่อว่า ระบบด้วยกันเล่า
 
James Gordon , Alfred Pennyworth , Lucius Fox 
 
 
หากตัวละครก่อนหน้านี้คือผลผลิตจากความผิดหวังของระบบ ตัวละครเหล่านี้ก็อยู่ด้วยความเชื่อมั่นในระบบใดระบบหนึ่งเช่นกันอย่าง เจมส์ กอร์ดอน ที่เชื่อมั่นในระบบกฏหมายและความดีของมนุษย์อย่างยิ่งยวด หากไม่ใช่เขาบรูซ เวย์น อาจจะกลายเป็นวายร้ายไปแล้วหากตัวของเขานั้นไม่เข้ามาปลอบใจเด็กชายตัวเล็กๆคนหนึ่งพร้อมบอกว่า โลกยังไม่แตก ทำให้เขาเป็นเหมือนฮีโร่ของบรูซ เวย์น ไปโดยปริยาย ที่ทำให้เขายังเชื่อมั่นว่า ยังมีคนดีเหลืออยู่บนโลกที่เสร็งเคร็งนี้และทำให้เขายังพอมีความหวังในระบบบ้าง
 
เหมือนที่เราดูหนังทั้งสามภาคแล้วพอจะชื่นใจเวลาเห็นตำรวจดีๆอย่างเขาปรากฏตัวขึ้นในจอ
 
 
ส่วนอัลเฟรดนั้นเป็นตัวละครที่คอยแนะนำและช่วยเหลือตัวของบรูซ เวย์น ตลอดเวลา หากเปรียบได้ล่ะก็เขาก็คงเหมือนพ่อที่คอยดูแลชายหนุ่มคนนี้ให้เติบใหญ่และเฝ้ามองสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างใจเย็น เขามองออกว่า การเป็นแบ๊ทแมนเกิดขึ้นเพราะความต้องการจะช่วยเหลือผู้คน เขามองว่าสักวันแบ๊ทแมนจะต้องผลัดใบ เขามองออกว่า ผู้ร้ายอย่างโจ๊กเกอร์นั้นต้องทำอะไร
 
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเขายังเชื่อมั่นในตัวของบรูซ เวย์น เสมอ แม้ว่าในภาคนี้เขาจะทิ้งบรูซ เวย์นไปก็ตามเพราะเขาไม่ฟังในสิ่งที่เขาเตือนเลย แต่สุดท้ายความฝันที่เขาจะได้เห็นบรูซ ในอิตาลีพร้อมกับภรรยาก็เกิดขึ้นจนได้
 
หรืออาจจะเป็นเพียงความนึกคิดไปเองของเขาก็ได้
 
 
อีกหนึ่งคนที่น่าพูดถึงก็คือ ลูเซียส ฟ๊อกซ์ นักประดิษฐ์แห่งเวย์น เอ็นเตอร์ไพรท์ที่เชื่อมั่นในความดีและระบบอย่างยิ่ง เขาเชื่อมั่นว่า แบ๊ทแมนเป็นการกระตุ้นให้คนเข้มแข็งขึ้นและพร้อมลุกขึ้นสู้กับความชั่วต่างๆนาๆนั้นเอง นั้นคือสาเหตุที่ภาคสอง เขาประกาศจะลาออกถ้าไม่ทำลายเครื่องมือที่ใช้สอดแนมสิทธิมนุษยชนเสีย รวมทั้งการเขาแสดงความรับผิดชอบหลายครั้งหากเครื่องมือของเขาตกไปอยู่ในมือของผู้ก่อการร้าย
 
ดังนั้นการที่แบ๊ทแมนกลายเป็นอัศวินรัตติกาลได้นั้นหากไม่มีความเชื่อมั่นจากลูเซียสแล้วคงไม่สามารถทำอะไรได้ ความฝันของเขาคงเป็นแค่กระดาษที่เขียนไว้และไม่มีทางได้เอามาใช้นั้นเอง
 
People ประชาชนแห่งเมืองก๊อตแทม
 
สุดท้ายคงเป็นการปลอกเปลือกประชาชนผู้แสนดีในเมืองนี้ แรกเริ่มเดิมทีพวกเขาเป็นเพียงประชาชนตัวเล็กๆที่ก้มหัวให้กับอำนาจที่เหนือกว่าทั้งมาเฟีย ข้าราชการชั่วๆ ตำรวจเลวๆ โดยที่พวกเขาไม่อาจจะทำอะไรได้แม้กระทั่งการลุกขึ้นยืนเพื่อเปลี่ยนแปลงความเป็นแบบนี้ เพราะรู้ดีว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้และใช้ชีวิตไปวันๆจนกระทั่งการมาของแบ๊ทแมนที่เข้ามาปราบผู้ร้ายในเมืองจนเกลี้ยง
 
พวกเขาตะโกนร้องเชียร์ด้วยความสะใจที่เห็นเหล่าร้ายถูกเขาและฮาร์วีย์ เดนท์กำจัด ทว่าคำประกาศของโจ๊กเกอร์ได้ทำให้พวกเขาพร้อมจะผลักไส้แบ๊ทแมนไปให้แก่โจ๊กเกอร์โดยไม่ใยดี ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาพึ่งดีใจที่แบ๊ทแมนปราบผู้ร้ายให้หยกๆด้วยซ้ำ
 
หรือจะเป็นเหตุการณ์บนเรือที่ประชาชนชาวก๊อตแทมพร้อมใจกันจะกดระเบิดใส่เรือนักโทษเพื่อเอาตัวรอด โดยพูดจาต่างๆนาๆราวกับตัวเองเป็นคนดี 
 
โดยลืมไปว่าตัวเองกำลังจะเป็นฆาตกรด้วยซ้ำไป
 
เพียงแต่พวกเขาไม่กล้าพอที่จะกดระเบิดก็เท่านั้น
 
ในภาคล่าสุดนี้ก็เช่นกันในวาระอนาธิปไตยของเบน พวกเขาทำได้เพียงแค่หลบซ่อนในบ้านตัวสั่นงกๆด้วยความกลัวพลางภาวนาให้สักคนมาช่วย พวกเขาพยายามตั้งความหวังให้รัฐบาล กองทัพหรือใครก็ได้ให้มาช่วยพวกเขาจากสถานการณ์ที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาต้องพบกับความไม่สงบสุขนี้เสียที
 
แต่คำถามวก็คือ พำไมพวกเขาไม่คิดจะลุกขึ้นยืนและสู้ด้วยตัวเองบ้างเหล่า
 
สิ่งที่เกิดขึ้นในแบ๊ทแมนทั้งสามภาคอาจจะเกิดขึ้นเพราะ ระบบที่เฮงซวยที่ให้ความหวังแก่ประชาชนไม่ได้ หรือ เกิดขึ้นเพราะเหล่าร้ายมีอำนาจเกินกว่าจะต้านทานได้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ถูกต้องที่สุดอย่างเดียว

เพราะตราบใด ประชาชนไม่เข้มแข็ง จะมีแบ๊ทแมนอีกร้อยคนก็ไม่อาจจะช่วยอะไรได้

หรือจะรอบุรุษรัตติกาลกันต่อไปเหล่าล่ะครับ
 
ป.ล จบแล้วครับสำหรับบทความยาวอย่างอัศวินรัตติกาลทั้งสองตอนที่ถือว่าได้เป็นผลงานซุปเปอร์ฮีโร่ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และคงมองหาหนังฮีโร่ที่พูดถึงโลกได้ดีกว่านี้ไม่ได้แล้วครับ

 
 

บล็อกของ Mister American

Mister American
   (บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องเบาๆเพื่อให้เตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนชมภาพยนตร์เรื่อง Prometheus)
Mister American
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับป๋าไมเคิ่ล ฮานาเก้ที่ได้รางวัลปาล์มทองอีกครั้งหนึ่งจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ Ffpภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่าง Amour ที่เรียกได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ฝีมือการทำหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นของจริงที่ยิ่งเวลาผ่านไปรสชาติการทำหนังของเขาก็ยิ่งเข้มข้นทุกทีไม่เหมือนผู้กำกับอีกหลายรายที่มือตกไปอย่างไม่น่าอภัย กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับชายที่ชื่อว่า ไมเคิ่ล ฮานาเก้นี้ก็คือ แค่หนังเรื่องแรกของเขานั้นก็ปรากฏแววเก่งมาในทันที  และหนังเรื่องแรกของเขาก็คือ The Seven Continent นั้นเอง
Mister American
ถ้าเอ่ยชื่อของไมเคิ่ล ฮานาเก้ ถ้าไม่ใช่แฟนหนังจริงๆหลายคนอาจจะไม่รู้จักเขาเท่ากับผู้กำกับคนอื่นๆอย่าง ไมเคิ่ล เบย์ สปีลเบิร์กหรือคาเมร่อนก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิ่งที่หลายคนมารู้จักผู้กำกับจากยุโรปได้ก็คงไม่พ้นนิยามหนังของเขาที่หลายให้คำว่า โหดเหี้ยม เลือดเย็น และน่าขนลุก โดยหนังที่หลายคนมักจะ
Mister American
(เนื้อหาบทความนี้อาจะเปิดเผยความลับของภาพยนตร์)  ผมเชื่อว่าทุกคนเคยมีความฝัน ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ฮีโร่ของญี่ปุ่นอย่าง อุลตร้าแมน ไอ้มดแดง ขบวนการห้าสีบุกจอโทรทัศน์ หลายคนในตอนนั้นยังเป็นเด็กตัวน้อยๆที่เฝ้ารอคอยหน้าจอที่สัปดาห์เพื่อจะได้ชมฮีโร่ของตัวเองปราบปรามเหล่าร้ายในหน้าจอที่หวังยึดครองโลก เราได้สนุกสนานกับการผจญภัยของพวกเขา บางคนอาจจะถึงขั้นอยากเป็นฮีโร่กับเขาบ้างเลยทีเดียว หรือบางคนอาจจะใฝ่ฝันที่จะได้เห็นฮีโร่ตัวจริงด้วยสายตาของตัวเอง  ซึ่งเด็กชายที่ชื่อ ฟิล โคลสัน คือหนึ่งในนั้น
Mister American
ครั้งหนึ่งเมื่อภาพยนตร์เรื่อง เฉือน ของผู้กำกับก้องเกียรติ โขมศิริ ได้ลงโรงฉายชนกับภาพยนตร์รัก Feel Good อย่างรถไฟฟ้ามาหานะเธอนั้นหลายคนที่ไปชมเรื่องนี้ต่างอึ้งกับภาพความโหดร้าย ของฆาตกรต่อเนื่องของไทยที่คาดว่าจะเป็นภาพยนตร์ฆาตกรต่อเนื่องที่น่าสนใจ เรื่องหนึ่ง และมีคำถามขึ้นมาว่า