Skip to main content

คงไม่ต้องแปลกใจว่า หากจะมองหาหนังไทยสักเรื่องที่น่าหยิบมาพูดถึงหนังเรื่อง ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง นั้นเป็นหนึ่งในหนังที่ควรหยิบมาพูดมากเรื่องหนึ่งในขณะนี้นอกจากจะเป็นหนังภาคต่อที่สานความสำเร็จมาจากภาคแรกที่สร้างปรากฏหนังท้องถิ่นนิยมให้เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย เมื่อหนังเล็ก ๆ นี้สร้างกระแสทำเงินในภาคอีสานไปกว่าสิบล้านบาท แถมยังมาพร้อมกับคำวิจารณ์ที่ดีอีกด้วย

                คำสำเร็จนี้เองที่ทำให้หนังเรื่องนี้มีภาคสองตามมาและตัวหนังเองก็ประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อยทีเดียวกับการทำเงินไปกว่า 15 ล้านในภาคอีสาน และกำลังทำเงินในประเทศลาวเป็นหนังทำเงินสูงสุดในตอนนี้ด้วย รายได้นี้ได้สะท้อนให้เห็นภาพอุตสาหกรรมของภาพยนตร์ท้องถิ่นนิยมที่กำลังเติบโตในช่วงเวลาที่วงการหนังไทยกำลังซบเซาอยู่ ณ ตอนนี้ ไม่ใช่แค่เพียงผู้บ่าวไทบ้านเท่านั้น ตอนต้นปีเราก็มีหนังเรื่อง เทริด ของเอกชัย ศรีวิชัยทำเงินในบ้านเกิดนั่นคือ ภาคใต้ของตัวเองเช่นกัน

                หนังท้องถิ่นนิยมเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงเวลานี้ นัยหนึ่งคือ การเป็นหนังที่ทำขึ้นเพื่อเล่าเรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ ด้วยสายตาของคนในพื้นที่จริง ๆ แน่ล่ะว่า มันได้ผลเมื่อดูจากรายได้ของหนังสองเรื่องที่เมื่อเทียบกับการฉายในเมืองหลวงแล้วคนล่ะเรื่องทีเดียว

                กระนั้นเองนอกจากการเข้าถึงคนดูในพื้นที่นั้น ๆ แล้ว หนังพวกนี้ยังมีมุมมองที่สะท้อนภาพของพื้นที่ ผู้คน และสังคมในรอบข้างอย่างน่าสนใจอีกด้วย ซึ่งน่าสนใจกว่าหนังที่ใช้ผู้กำกับนอกพื้นที่ไปทำเสียอีก

                ความน่าสนใจนี้ทำให้ผมตัดสินใจนำหนังเรื่องนี้มาตีความและพาไปให้เห็นว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าอะไรให้กับสังคมของเราได้บ้าง

1. อีสานปัจจุบันทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม

                เมื่อพูดถึงพื้นของภาคอีสาน เราคงนึกถึงภาพของชาวนาที่ทำนากันบนพื้นดินแล้งแค้น ภาพของชาวหนุ่มสาวที่ต้องใช้ชีวิตไปวัน ๆ เมื่อหมดหน้านาก็ต้องเข้าเมืองไปหางานทำทิ้งไว้เพียงพ่อแม่แก่เฒ่าที่คอยดูแลลูกหลานแทน แน่ล่ะว่า นี่คือ ภาพอีสาน เมืองจน ๆ ผู้คนมีชีวิตอย่างไร้ความหวังในสายตาของผู้คนทั่วไป นับจากหนังสือเรื่อง ลูกอีสานออกวางจำหน่ายครั้งแรกในหลายสิบปีก่อน อีสานก็ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย แม้ปัจจุบันเองก็ตาม วงจรชีวิตของคนอีสานยังคงเป็นแบบเดิม พวกเขาเรียนน้อย และต้องใช้ชีวิตไปวัน ๆ ในหมู่บ้านที่ไม่มีอะไร บางคนกลายเป็นบ่าวไทบ้านที่แถวแซวหญิง กินเหล้าไปวัน ๆ หรือ สาว ๆ ก็ทำได้แค่เลี้ยงวัว ช่วยพ่อแม่ทำงานก็เท่านั้นเอง เมื่ออายุมากขึ้นพอทำงานได้ พวกเขาจะต้องลงไปยังเมืองกรุงเพื่อทำงานทิ้งพ่อแม่เอาไว้ในหมู่บ้านนี้และจะกลับมาในช่วงงานบุญเท่านั้น

                นี่คือ หมู่บ้านอีสานที่หนังให้เราเป็นเห็น แม้ว่า พวกเขาจะยิ้มหัวเราะกันมีความสุข แต่มันคือ ความสุขบนความแร้นแค้น ความเจริญของชุมชนเมืองที่ไปกระจุยไว้เพียงเมืองใหญ่ส่งผลให้ลูกหลานคนอีสานต้องเรียนน้อยเพื่อลงไปทำงานในกรุงเทพ เราได้เห็นตัวละครอย่าง วรรณ นางเอกของภาคนี้ที่ต้องเลิกเรียนเพียงม. 3 แล้วถูกพ่อบังคับไปหางานทำในกรุงเทพ นัยยะคือ ต้องการให้เธอเลิกคบกับเคน พระเอกของเรื่องและไม่ให้เธออยู่ในวงหมอลำที่กำลังสร้างขึ้นใหม่

                เหตุผลคือ มันไม่มีอนาคต

                คำว่า ไม่มีอนาคตนั้นคือ ภาพสายตาของคนอีสานยุคเก่าที่มองว่า ช่วงเวลานี้ช่างเลวร้าย พวกเขาไม่มีความหวัง ไม่มีวันฝันเหลืออยู่ ไม่แปลกที่พวกเขาจะตัดสินใจให้ลูกไปทำงานในกรุง หรือ อาจจะให้ลูกแต่งงานกับฝรั่งไปเลยแบบที่แม่ใหญ่แดงทำไป

                แน่ล่ะว่า หนังสะท้อนให้เห็นว่า การกระทำนั้นเกิดจากเหตุการณ์บังคับทั้งสองบ้าน แต่หนังก็ตอกย้ำความรู้สึกนี้ผ่านสายตา ผู้บ่าวและผู้สาววัยชราต้องมานั่งทนทุกข์ นั่งเศร้ากับการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่ทำให้พวกเขาต้องพรากจากลูกหลานไป เรามองเห็นความเศร้านี้ชัดเจนและหนังทำออกมาได้ดีมาก ๆ ในการสื่อถึงภาพความผิดพลาด ความงี่เง่าและทัศนคติคับแคบของผู้ใหญ่ที่นำพาให้หมู่บ้านสองหมู่บ้านใกล้ตายไปทุกวินาที

2. ความตายนำมาสู่การเริ่มต้น

                หนังให้เห็นว่า ชีวิตของคนอีสานในช่วงหลายสิบปีนี้ไม่เปลี่ยนไปเลย (หนังระบุปีว่าเกิดขึ้นในปี 2559) แม้ว่าช่วงเวลาจะผ่านมาจนจะถึงยุค 2560 แล้วก็ตาม สภาพของสังคมอีสานไม่เปลี่ยนเลยสักนิด ภาพของแม่ใหญ่แดงไปหาคนมาร่วมงานบุญแล้วไม่มีใครอยู่ทำให้เรานึกเศร้าใจตามที่เห็นว่า ไม่มีใครอยู่แล้ว ยิ่งคำพูดว่า ตายก่อนหรือเปล่าจะได้เห็นหน้าหลานยิ่งสะท้อนว่า โอกาสที่พวกเขาจะได้เห็นหน้าลูกหลานอีกมันยากแค่ใด แม้จะมีเทคโนโลยี มีไลน์ มีมือถือก็ยังไม่สามารถบรรเทาส่วนตรงนี้ได้เลย หากจะมีวันที่ลูกหลานจะมาพร้อมหน้าคงมีแต่วันที่ตัวเองตายเท่านั้น

                ความตายเป็นสัญญะที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้

                หนังให้ความตายเป็นเสมือนจุดเริ่มต้น มันเริ่มจากแม่ใหญ่แดงตัดสินใจจะทำงานบุญแจกข้าวหาตัวเองที่ปกติแล้วมีแต่ทำให้คนตายเท่านั้น แม้ว่าเป้าหมายของการทำงานบุญนี้จะมาจากความต้องการจะรั้งลูกสาวตัวเองที่กำลังท้องแก่เอาไว้ที่นี่จนกว่าจะคลอดเพราะอยากจะเห็นหน้าหลาน เพราะ แม่ใหญ่แดงไม่รู้ว่า ตัวเองจะตายวันตายพรุ่งหรือเปล่า เธอจึงตัดสินใจแบบนี้ แม้ว่าจะต้องทะเลาะกับไมเคิ่ล สามีฝรั่งของลูกสาวที่อยากให้ฉายหนังมากกว่า แต่แม่ใหญ่แดงกลับอยากได้หมอลำจึงตัดสินใจขี่มอเตอร์ไซด์ไปจ้างหมอลำอีกหมู่บ้านหนึ่งแทน

                ทว่าคณะหมอลำนั้นยุบไปแล้วหลังจากภรรยาของหัวหน้าวงที่เป็นพ่อของเคนตาย แน่ล่ะว่า เคนเป็นตัวละครที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจจะสืบทอดหมอลำต่อเลย เขามีความฝันอยากเต้นโคลเวอร์แดนซ์กับเพื่อน ๆ เขาจึงร้องหมอลำไม่ได้สักนิด และส่งผลให้สถานะของวงง่อนแง่นไร้ผู้สืบทอด

                หากเคนไม่รับสืบทอด วงจะต้องสูญสลาย หรือ นัยยะคือ ตายนั่นเอง

                และเหมือนจะเป็นเรื่องตลกร้ายเมื่อพ่อของเคนตายกะทันหันทำให้เคนต้องมารับหน้าที่เป็นพระเอกแทน ทั้งที่ร้องหมอลำไม่เป็นเลยสักนิดเดียว

                แต่เขาก็ตัดสินใจจะรับสืบทอดหมอลำนี้ไม่ให้มันตายไปพร้อมกับพ่อของเขาด้วย

                หากจะบอกว่า ความตายในเรื่องนี้คือ ผลัดใบเพื่อไปสู่รุ่นต่อไปอาจจะเป็นไปได้ พร้อม ๆ กับเป้นตั้งคำถามสู่อนาคตของผู้คนในท้องถิ่นนี้ด้วย

                น่าสนใจว่า ความตายเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในหมู่บ้านนี้ไม่ใช่น้อย หากพ่อของเคนยังอยู่ พวกวรรณก็คงไม่ได้เข้าวง เพราะ เขามีมาตรฐานหมอลำแบบหนึ่ง (ซึ่งคือ แม่ของเคน) หากจะมองว่า การตายนี้เองเป็นเมล์ดพันธุ์ของการสืบทอดก็ว่าได้

                วัฒนธรรมจะต้องมีการสานต่อ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยคือ สิ่งที่ตายแล้ว หากอีสานถูกแทนที่ด้วยหมอลำ หมอลำยังคงเป็นศิลปะที่ยังคงอยู่และยังได้รับความนิยเสมอมาในแผ่นดินที่ราบสูงแห่งนี้ (ผมได้ยินว่า วงหมอลำทำเงินได้มากมายจนคิวแสดงไปถึงปีหน้าหลายวงทีเดียว) ศิลปะหมอลำเป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามยุคสมัยได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุนี้ ไม่แปลก มันจะถูกนำมาใช้เป็นสัญญะของความหวังที่หนังเรื่องนี้นำเสมอด้วย

3. ความหวังและการเกิดใหม่

                แม้อีสานในเรื่องจะมีสภาพแร้นแค้น ไม่มีชีวิตชีวา มีแต่แดงร้อน หญ้าตายใด แต่น่าแปลกที่เรามีความหวังกับมันได้เสมอมา

                หนังเรื่องนี้พาเราไปมองเห็นความหวังที่ว่านั้นผ่านกำเนิดเกิดใหม่ของวงดนตรีหมอลำที่เคนกับวรรณและเพื่อน ๆ ร่วมกันสร้างขึ้นมาใหม่กลายเป็นวงใหม่ที่สืบทอดตำนานของวงเดิมเอาไว้ไม่ให้สูญหายขณะเดียวกันก็พัฒนาต่อยอดวงให้ไม่ล้าสมัยและกลายเป็นร่วมสมัยไปแทบพร้อม ๆ กัน

                เพราะนี่คือ วงหมอลำที่เกิดจากคนหนุ่มสาวนั่นเอง

                คนหนุ่มสาวที่ถูกปฏิเสธว่า พวกเอ็งไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ครึ่งของพวกของเก่าหรอก บางคนโดนต่อว่าว่า ไม่เหมาะกับงานนี้ไปทำอย่างอื่นเถอะ สิ่งเหล่านี้คือ หนามยอกอกที่เกิดขึ้นกับทุกศิลปะในประเทศแห่งนี้ ผู้ใหญ่มักจะอยากให้ทุกอย่างเหมือนเดิมโดยไม่ได้มองโลกใบนี้ไปถึงไหนแล้ว พวกเขาหวังแค่อยากให้มันเหมือนแบบเก่าจนลืมไปว่า การหยิบสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นไปไว้ในฐานะของเหมือนเดิมนั้น ไม่ต่างกับการแช่แข็งการพัฒนาเอาไว้ด้วย หนังจึงสะท้อนภาพให้เห็นว่า เมื่อไม่มีผู้ใหญ่แล้ว เด็กจึงเข้ามารับสืบทอดส่วนตรงนี้พร้อมกับพัฒนาตัวศิลปะตัวนี้ขึ้นมาให้ยังคงอยู่ในแบบตัวเอง

                ผมมีความเชื่อว่า หมอลำในยุคนี้กับเมื่อหลายสิบปีก่อนแตกต่างกันแน่นอน แต่นั่นเป็นเพราะการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้าสมัย ไม่ใช่ล้าสมัย เมื่อเข้าสมัยแล้ว ศิลปะจะอยู่ได้ต่อไปและเป็นมิตรกับผู้คนมากขึ้น

                หมอลำเป็นมิตรกับคนดูมากและเข้าถึงประชาชนในอีสานจริง ๆ ไม่แปลกที่ฉากสุดท้ายของหนังสะท้อนให้เห็นการเกิดขึ้นใหม่ของหมอลำวงนี้อันเป็นการบอกว่า ความหวังใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว

                ในขณะที่ผู้ใหญ่มองไม่เห็นความหวังผืนแผ่นดินนี้ บางคนขายที่นา บ้าน ลงไปยังเมืองหลวงไปอยู่กับลูกหลานที่พวกเขาส่งไปแบบไม่หวนกลับมา บางคนหลงอยู่กับเรื่องความแค้นไร้สาระในอดีตจนทำลายน้ำใจลูก หรือ บางคนผิดพลาดที่ส่งลูกหลานไปหาผัวทั้งที่ตัวเองไม่มีใครดูแล สิ่งเหล่านี้ถูกเล่าควบคู่กับหนังอย่างน่าสนใจว่า หรืออนาคตของอีสานจะไม่ได้อยู่ในมือของคนแก่พวกนี้แต่อยู่กับบรรดาเด็ก ๆ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมานี่แหละ

                ภาพของวงดนตรีหมอลำที่คืนชีพ ภาพของหลานของแม่ใหญ่แดงที่กำลังลืมตาดูโลกนั้นเป็นเสมือนเครื่องบอกย้ำว่า หมดเวลาคร่ำครวญกับอดีตแล้วมุ่งหน้าสู่อนาคตที่พวกเขาสร้างมันขึ้นมาได้

                ไม่จำเป็นต้องเข้าเมืองหลวงแบบเพลงขายแรงงานทั้งหลายชอบร้อง ไม่ต้องนั่งคร่ำครวญว่า อีสานแห้งแล้ง หรือ ยากจน อนาคตจากนี้คือ เรื่องราวของพวกเขาเหล่าหนุ่มสาวแห่งที่ราบสูงที่จะนำพาอีสานไปสู่เส้นทางใด

                รู้แต่เพียงนี่คือ อนาคตที่พวกเขาต้องกำหนดเองต่างหาก

                ประดุจบทเพลงหมอลำที่นำเสียงเพลงของพวกเขามุ่งหน้ากันต่อไป

               นี่คือ ภาพยนตร์ไทยที่ทำมาเพื่อสะท้อนให้เรามองเห็นความหวังเล็ก ๆ ในดินแดนแห่งนี้และควรค่าแก่การไปชมอย่างยิ่งครับ 

บล็อกของ Mister American

Mister American
คงไม่มีอะไรต้องพูดมากนอกจากนี่คือ ภาพยนตร์ซอมบี้ที่ดีที่สุดในรอบหลายปี และที่สำคัญนี่ไม่ใช่หนังที่สร้างโดยฮอลลีวู้ดแต่เป็นเกาหลีใต้ ประเทศที่มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชียที่เรียกว่าเป็นเบอร์หนึ่งไปแล้วในด้านคุณภาพของหนังที่นอกจากฮอลลีวู้ดแล้วมีเพียงประเทศนี้ที่ทำหนังออกมาได้สากลและสนุกในแบบที่ทุก
Mister American
ยังคงเป็นช่วงเวลาเศรษฐกิจยังไม่มีวี่แววว่าจะ ฟื้นตัวเสียที ในช่วงปลายปี 2015 นี้ทุกอย่างยังคงมองไม่เห็นว่า อนาคตจะเป็นเช่นไร กระนั้นเองสำหรับงานหนังสือแห่งชาติ เดือนตุลาคมนี้ยังคงเป็นช่วงเวลาร้อนแรงของบรรดาค่ายไลท์โนเวลต่าง ๆ มากมายที่ต่างเตรียมกระสุนดินดำ หรือ ออกหนังสือมาเพื่อจูงใจนักอ่านทั้งหล
Mister American
           ความสำเร็จครั้งมโหฬารของภาคที่สี่ของแฟรนไชส์ Jurassic Park อย่าง Jurassic World นั้นเรียกได้ว่า เป็นการหักปากกานักสังเกตที่คาดเดาว่า ภาคต่อของไดโนเสาร์ภาคนี้อาจจะทำเงินได้ไม่มากนัก ทว่า การเปิดตัวในอเมริกากว่า 200 ล้านเหรียญในเวลาเพียงสามวันจนทำลานสถิติของ
Mister American
              ท่ามกลางความเงียบงันสถาวะเงินฝืดที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้มีสภาพเรียกว่า ย่ำแย่ที่สุดในหลายปี ผู้คนไม่ยอมจับจ่ายใช้สอยกันยกเว้นเพียงจำเป็นทำให้สถาวะของประเทศค่อนข้างเงียบ บริษัทหลายบริษัทต่างเจ็บตัวเข้าเนื้อกันไปตาม ๆ กันทำให้หลายคนคาดการณ์ว
Mister American
            “บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ทุกวันเพ็ญเดือนสิบสอง บางระจัน บางระจัน บางระจัน ไม่อาจยืนอยู่ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง”
Mister American
                ถ้าให้พูดล่ะก็นี่ก็เป็นเวลาครบรอบสามปีแล้วกระมั้งครับนับจากการล่มสลายของค่าย Bliss publishing  ค่ายหนังสือยักษ์ใหญ่ที่ปิดตัวลงไปและทำให้กระแสหนังสือเล่มเล็กอย่างไลท์โนเวลนั้นกลายเป็นหนังสือกระแสหลักที่หลายค่ายพากันกระโจนเข้ามาร่วมสมรภูม
Mister American
            เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นวงการภาพยนตร์ไทย ไม่สิ ต้องบอกว่า วงการภาพยนตร์เมอร์เชียลอาร์ตของโลกนั้นต้องสูญเสียปรมาจารย์ สุดยอดนักสู้ของโลกไปอย่างไม่มีวันกลับ แม้ว่า ชื่อเสียงของชายคนนั้นจะแทบไม่เป็นที่สนใจของสื่อหรือคนไทยมากนัก หลายคนถึงกับงุนงงว่
Mister American
            ย้อนเวลากลับไปเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น เราคงได้เห็นนโยบายคืนความสุขให้กับประชาชนของ คสช อย่างการเปิดโรงภาพยนตร์เมเจอร์ให้ชมภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 กันไปบ้างแล้ว  แน่ล่ะว่า หลายคนคงจดจำภาพของบรรดาผู้คนที่พากันยื้อแย่งก
Mister American
        ต้องบอกว่า นี่คือ อนิเมะที่มาแรงแซงทางโค้งที่สุดในซีซั่นที่ผ่านมาเลยทีเดียว ท่ามกลางกระแสอนิเมะฟอร์มยักษ์เรื่องอื่น ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมามากมายและหลายคนคาดว่า อนิเมะที่ถูกดัดแปลงมาจากไลท์โนเวลชื่อเดียวกันของ ยู คามิยะ นักเขียนการ์ตูนที่อ
Mister American
              ท่ามกลางความวุ่นวายของการเมืองไทยที่ถึงจุดพลิกพันอีกครา หลังเกิดการัฐประหารขึ้นอีกครั้งได้ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์โดยรวม แน่ล่ะว่าภาพยนตร์ไทยที่สามารถทำรายได้มหาศาลในตอนนี้นั้นคงไม่พ้นหนังอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชภาคที่ 5 ยุทธหัตถีที่กวาดร
Mister American
          ถ้าพูดถึงหนังซัมเมอร์บล็อกบัสเตอร์ในปีนี้ที่ผมอยากดูใจจะขาดชนิดว่า แทบคลั่งแบบรอไม่ไหวแล้วที่จะต้องไปดูให้ได้นั้นย่อมไม่มีหนังเรื่องไหนทำให้ผมเกิดอาการคลั่งได้มากพอ ๆ กับหนังเรื่อง ก็อตซิลล่า (Godzilla) ของ กาเรธ เอ็ดเวิร์ด ที่เป็นการนำก็อตซิลล่