musicnotation's picture

<p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#800000"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"><strong>บ้านบรรทัดห้าเส้น</strong></font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"><strong>...</strong></font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2"><strong>และอื่นๆ</strong></font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#800000"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">จริงๆ มันก็ยังเป็น &ldquo;บ้านบรรทัดห้าเส้น&rdquo; &ndash; คอลัมน์เพลงที่ไม่ค่อยจะอัพเดทเหมือนเดิมนั่นแหละครับ &#61514;</font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#800000"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">แต่ที่เติมสร้อยคำว่า &ldquo;</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">...</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">และอื่นๆ&rdquo; มาเนี่ย ก็เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมา ผมเคยแอบเขียนคอลัมน์ต่างๆ ในประชาไทอยู่บ้าง ทั้งเรื่องหนัง</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">, </font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">หนังสือ เรื่อยไปจนถึงเรื่องที่ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับประชาไทเลย อย่างเรื่องมวยปล้ำเป็นต้น </font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">(</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">ซึ่งการส่งเรื่องแบบนี้มานั้น ค่อนข้างวัดใจพี่ซัง &ndash; ผู้ดูแลคอลัมน์คนสวยอยู่พอสมควร ซึ่งพี่แกก็ใจถึงพอจะเอาลงอีก</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">...</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">ขอบคุณครับพี่ </font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">;-) )</font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#800000"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">ไหนๆ ก็ไหนๆ ผมก็ขอถือโอกาสเสียเลย ที่จะควบรวมนามปากกา &ldquo;ยี่สิบสี่เศษหนึ่งส่วนหก&rdquo; และ &ldquo;รองเท้าผ้าใบเบอร์เก้าครึ่ง&rdquo; ที่ผมเคยใช้ในบทความต่างๆ มาอยู่ในนามของ &ldquo;เด็กใหม่ในเมือง&rdquo; เสียเลย</font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#800000"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">ดังนั้น ต่อไปใน &ldquo;บ้านบรรทัดห้าเส้น</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">...</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">และอื่นๆ&rdquo; ก็จะยังมีเรื่องเพลงให้อ่านเป็นส่วนใหญ่เหมือนเดิม แต่ในบางครั้ง ผมจะขอแซมเอาเรื่องบันเทิงสัพเพเหระแขนงอื่นๆ เอาไว้แก้เลี่ยนด้วย</font></font></font></p> <p style="margin-bottom: 0cm"><br /> </p> <p style="margin-bottom: 0cm"><font color="#800000"><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">เผื่อว่าบางครั้งที่ผมเขียนเรื่องเพลงไม่ออก จะได้ใช้ชื่อคอลัมน์เป็น &ldquo;ทางหนีไฟ&rdquo; สำหรับตัวเองด้วย</font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">... </font></font><font face="Tahoma, sans-serif"><font size="2">อะแฮ่มๆ</font></font></font></p> <a href="file:///D:/%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%87/27_5/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B9%80%E0%B8%98%C2%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%C2%89%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%92%E0%B9%80%E0%B8%98%C2%99%E0%B9%80%E0%B8%98%C2%9A%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%83%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%83%E0%B9%80%E0%B8%98%E2%80%94%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%91%E0%B9%80%E0%B8%98%E2%80%9D%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%99%C2%89%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%92%E0%B9%80%E0%B8%99%E2%82%AC%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%99%C2%89%E0%B9%80%E0%B8%98%C2%99...%E0%B9%80%E0%B8%99%C2%81%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%85%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%90%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%99%C2%88%E0%B9%80%E0%B8%98%C2%99%E0%B9%80%E0%B8%99%C2%86.doc"></a><p><strong><br /> &quot;เด็กใหม่ในเมือง&quot;</strong> <br />เป็นนามปากกาของชายไทยเชื้อสายจีน ที่มีคนบอกว่าเขาหน้าเหมือนแซมไวส์ แกมจี (เพื่อน ฮอบบิตของโฟรโด้ในหนัง Lord of the Ring) บางคนบอกว่าเขาหน้าเหมือนแจ็ค แบล็ค (พระเอกหนังเรื่อง School of Rock) แต่เขายืนยันว่าเขาเป็นผู้ชายตัวอ้วนที่จัดว่าหน้าตาดี ถ้าเทียบกับผู้ชายตัวอ้วนคนอื่นๆ <br /><br />ตอนเด็กๆ เคยฝันอยากเป็นดีเจ แต่ต่อมาเขาค้นพบว่าคนอ่านตัวหนังสือของเขารู้เรื่องมากกว่าฟังเขาพูด จึงเบนเข็มเข้าสู่อาชีพนักเขียนอิสระ (อิสระมาก...จนน่าใจหาย) แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่ทิ้งความฝันวัยเด็ก โดยการเขียนเรื่องดนตรีในเว็บไซต์แห่งนี้นะแหละ </p><p>&nbsp;</p>

บล็อกของ musicnotation

The Wrestler : ขอเก็บโลกใบสุดท้ายไว้บนสังเวียน

ผมขอเริ่มต้นบทความชิ้นนี้ ด้วยการย้อนระลึกถึงเมื่อครั้งที่ผมยังเป็นเด็กนักเรียนประถม ในยุคที่สถานีโทรทัศน์ทุกแห่งในประเทศไทยยังไม่มีการออกอากาศช่วงกลางวันในวันธรรมดา และยังไม่มีเคเบิลทีวีให้บริการอย่างเอิกเกริกแบบตอนนี้ ในยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นสิ่งอภิมหาแพงเกินกว่าที่ทุกครัวเรือนจะมี หรือถึงบ้านไหนจะมี เทคโนโลยีในยุคนั้นก็ยังไม่เอื้อให้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์รวมความบันเทิงแบบทุกวันนี้

ความบันเทิงในยุคนั้นของผม นอกจากรายการทีวีวันเสาร์ - อาทิตย์แล้ว บรรดาวีดิโอจากร้านเช่าก็เป็นความบันเทิงราคาถูกที่พอจะมีกันได้ ซึ่งวีดิโอที่เรามักจะเลือกเช่า ก็หนีไม่พ้นการ์ตูนและหนังต่างๆ

ทิงนองนอย : การค้นพบของหมาทันสมัย

(ก่อนจะเริ่มบทความ...คุณผู้อ่านรู้สึกไหมครับ ว่าชื่อบทความกับชื่อผม มันคล้องจองกันพิลึก อิอิ...)

 

 

ไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านจะมีศิลปิน หรือวงดนตรีใดๆ ที่เมื่อมีอัลบั้มใหม่ของพวกเขา / เธอ ออกวางแผง เราก็ไม่รีรอที่จะรีบไปหาอัลบั้มมาเป็นเจ้าของโดยพลันหรือเปล่า

 

สำหรับตัวผม...โมเดิร์นด็อกสร้างความรู้สึกแบบนี้ให้ผมตลอดมา ตั้งแต่สมัยผมควักเงิน 60 บาทจากกระเป๋านักเรียนสีกากีออกจากกระเป๋า และคว้าอัลบั้ม “โมเดิร์นด็อก” (ที่มีชื่อเล่นว่าอัลบั้ม “เสริมสุขภาพ”) จากแผงเทป

 

จนถึงวันนี้ วันที่โมเดิร์นด็อกมีอัลบั้ม “ทิงนองนอย” ออกมาเป็นอัลบั้มใหม่ ความรู้สึกนั้นก็ยังเกิดกับผมไม่แปรเปลี่ยน เพราะในแต่อัลบั้ม โมเดิร์นด็อกจะกลับมาพบกับเราในรูปแบบที่ไม่ซ้ำเดิม ตั้งแต่การเป็นผู้นำกระแสอัลเทอร์เนทีฟ (โมเดิร์นด็อก), การนำกลิ่นอายของดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (คาเฟ่), งานทดลองที่วัดใจทั้งคนทำและคนฟัง (Love me love my life) งานอคูสติก (Very Common of moderndog), การกลับสู่ความเรียบง่าย (แดดส่อง)

 

มาถึงวันนี้ หลังจากอัลบั้ม “แดดส่อง” มา 4 ปี (ซึ่งระหว่างนั้น โมเดิร์นด็อกก็ยังคงตระเวนเล่นสดอย่างสม่ำเสมอ สลับกับโปรเจ็กต์ย่อยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมงานในโปรเจ็กต์ “น้ำคือชีวิต” ร่วมกับคาราบาวและเฉลียง, โปรเจ็กต์ BoydPod และการร่วมงานในอัลบั้ม “มนต์เพลงคาราบาว” เป็นต้น) ในวันที่โมเดิร์นด็อกออกนอกร่มเงาของเบเกอรี่ มิวสิค และออกอัลบั้มภายใต้สังกัดของตัวเอง และในวันที่วงการเพลงแตกต่างจากวันที่ผมยังใส่กางเกงขาสั้นสีกากีมากมายเหลือเกิน

 

ผมจึงสนใจว่า ในคราวนี้โมเดิร์นด็อกจะมาไม้ไหนอีก ;-)

บุญชู ไอ เลิฟ สระ อู : คนดีที่บ้านโข้ง

คุณรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับข่าวการเมืองในตอนนี้บ้างหรือเปล่าครับ?

เอาเข้าจริง ถ้าคุณเป็นคนปกติทั่วไป แม้ว่าจะสนใจการเมืองมากขนาดไหน แต่ถ้ารับปริมาณข่าวการเมืองจากหลากหลายฝ่ายถี่ๆ มันก็พาลจะเกิดอาการเอียน พาลให้ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว หรือหนักๆ เข้าอาจจะเล่นเอาอ้วกแตกเอาง่ายๆ

(อันนี้ผมขอยกเว้นบรรดานักเสพติดการเมืองตามบรรดาเวบบอร์ดการเมืองต่างๆ นะ ไม่รู้ว่าพวกพี่แกกินอะไรกัน ถึงได้สนใจเรื่องพรรค์นี้กันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย)

และด้วยภาวะการเมืองอันชวนพะอืดพะอมแบบนี้ อาจทำให้หลายๆ คนไม่มีอารมณ์จะสนใจเรื่องหนัง ละคร รวมถึงเรื่องบันเทิงเริงใจต่างๆ แต่วันนี้ผมจะพูดถึงหนังภาคล่าสุดของหนังไทยภาคต่อที่คนไทยรักที่สุด

ใช่ครับ...ผมกำลังจะพูดถึง “บุญชู : ไอ – เลิฟ – สระ – อู” ซึ่งถ้านับจากตัวเลขภาค ก็ถือเป็นภาค 9 เข้าไปแล้ว

Concert Review : เพลงแบบประภาส

ตั้งแต่เขียนคอลัมน์ “บ้านบรรทัดห้าเส้น” แบบขาดๆ หายๆ มาได้หลายปีนั้น มีบทความแบบหนึ่งที่ผมพยายามเขียนมามากครั้ง...แล้วก็เขียนไม่ค่อยได้สักที

บทความประเภทที่ว่าก็คือรายงานคอนเสิร์ตนั่นเอง

ด้วยความที่ผมมักหาเรื่องไปดูคอนเสิร์ตทั้งฟรี และไม่ฟรีอยู่เสมอๆ นัยว่าเพื่อเป็นการหาประสบการณ์ทางดนตรี เพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องดนตรีไปด้วย (...ข้ออ้างดังกล่าวฟังดูสวยหรูนะครับ แต่มันเป็นเหตุผลที่ผมจะเก็บเอาไว้อธิบายให้แฟนตัวเองเข้าใจ เวลาที่เธอบ่นถึงราคาบัตรคอนเสิร์ตที่ผมจ่ายไปในแต่ละเดือน)

พอได้ดูคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง แล้วได้เจออะไรดีๆ ก็อยากจะเอามาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟัง แต่พอจะเริ่มต้นเขียน อาการขี้เกียจผสมกับการไม่รู้จะเริ่มเล่าจากตรงไหนดี... ซึ่งกว่าจะแก้ปัญหาพรรค์นี้ไปได้ คอนเสิร์ตนั้นก็ผ่านไปเนิ่นนานจนมันไม่น่าสนใจแล้ว

นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งของความพยายาม ที่ถ้าคุณได้อ่านบทความชิ้นนี้ ก็หมายความว่าผมประสบความสำเร็จในการเขียนรายงานคอนเสิร์ตเสียที

คอนเสิร์ตที่ผมจะมาเล่าให้คุณฟังก็คือคอนเสิร์ต “เพลงแบบประภาส” นั่นเองครับ

 

24_07_01

สวีทนุช : เมื่ออดีตส่งกลิ่นหอม

แม้ว่าช่วงนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงตกต่ำของวงการดนตรีไทย ด้วยยอดขายของซีดีที่นับวันจะต่ำเตี้ยติดดินลงทุกที แต่ถ้าเรามองกันถึงเนื้องาน ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้มีงานที่น่าสนใจออกมาหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นงานของภูมิจิตที่ผมพูดไปถึงเมื่อคราวที่แล้ว, โปรเจ็กต์โฟล์คของคุณมาโนช พุฒตาลที่เริ่มต้นด้วยซิงเกิ้ล “อยู่อยุธยา” (ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงงานที่ผมสนใจด้วยความลำเอียงล้วนๆ อย่างอัลบั้มใหม่ของโฟร์ – มด... แหม ก็น้องมดเขาน่ารักนี่ อิอิ...)

รวมถึงงานชิ้นนี้ที่ผมจะพูดถึงในครั้งนี้ด้วย

ผมกำลังจะพูดถึงอัลบั้ม “ต้นฉบับเสียงหวาน” ของ “สวีทนุช” ครับ

20080527 sweetnuch

Found and Lost : โลกในสายตาของภูมิจิต

ในขณะที่ผมกำลังนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ เราได้เห็นบรรดานักคว้าดาวปรากฏในหน้าจอของโมเดิร์นไนน์ทีวี และในอีกไม่นานก็คงถึงคราวของรายการ Academy Fantasia ที่จะกลับมาอยู่ในความสนใจกันอีกครั้ง

พูดถึงรายการเรียลิตี้โชว์ทั้ง 2 รายการที่ว่านั่น ดูจะเป็นเส้นทางลัดของบรรดา “นักล่าฝัน” หลายๆ คนที่หวังจะเข้าสู่วงการดนตรี ซึ่งดูจะเป็นเส้นทางที่คนจับจ้อง และหลายคนพร้อมจะกระโดดลงไปหามันมากที่สุด... แม้ในที่สุดเราจะได้เห็นว่า เอาเข้าจริงคนที่ถูกลืมจากเวทีเหล่านี้มีมากกว่าผู้ที่ได้รับชื่อเสียงหลายเท่านัก

แต่ในคราวนี้ ผมจะพูดถึงวงดนตรีวงหนึ่ง ที่เส้นทางการเดินทางของพวกเขาดูจะขรุขระ ไม่ได้มีสปอตไลท์สาดส่อง และไม่ได้มีแฟนคลับคอยเป็นแม่ยกมากมายนัก เอาง่ายๆ ก็คือทางของพวกเขาเป็นเส้นขนานกับเส้นทางของนักล่าฝันเหล่านั้น

วงดนตรีวงนี้เริ่มจากวงดนตรีเล็กๆ จากการรวมตัวของนิสิตร่วมสถาบัน จับพลัดจับผลูได้เล่นในคอนเสิร์ต Live in a Day (คอนเสิร์ตที่จัดโดยนิตยสาร a day) ครั้งแรก เริ่มทำแผ่นซิงเกิ้ลแบบทำเอง – ขายเอง วางขายตามเทศกาลดนตรีต่างๆ ซึ่งแม้จะขายไม่ค่อยได้ แต่ก็พอทำให้มีคนรู้จักพวกเขาในแวดวงอินดี้อยู่พอสมควร

หลังจากนั้นพวกเขาได้ร่วมเป็นหนึ่งในวงที่ริเริ่มก่อตั้งกลุ่ม “โคตรอินดี้” – กลุ่มวงดนตรีเล็กๆ ที่จัดคอนเสิร์ตกันเอง เล่นกันเอง โดยเริ่มจากการเช่าโรงหนังชั้นสองแถวๆ เยาวราชเพื่อเปิดคอนเสิร์ต ก่อนที่จะเริ่มจัดคอนเสิร์ตตามสถานที่ต่างๆ มีคนดูบ้าง ไม่มีคนดูบ้าง ถูกตำรวจปิดงานเพราะเล่นเกินเวลาเที่ยงคืนบ้าง

ในระหว่างนั้นวงดนตรีวงนี้ผ่านการเปลี่ยนแปลงสมาชิก และเริ่มสะสมเพลงของตัวเองมากขึ้น  ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ลับคมเขี้ยวทางดนตรีให้แหลมคมขึ้นเรื่อยๆ

หลังจากนั้นพวกเขาได้มีเพลงไปอยู่อัลบั้ม Compilation อัลบั้ม Tata Tomorrow ของห้องซ้อมดนตรี Tata Studio ของต้าร์ – อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา (จริงๆ พูดชื่อสั้นๆ ว่าคุณต้าร์ แห่งวง Paradox ก็ได้ หรือจะเรียกให้สั้นกว่านั้นว่า “ต้าร์ Paradox” ก็ได้อีก แต่ เอ่อ...ไอ้ที่อยู่ในวงเล็บนี่ มันชักจะยาวเกินไปแล้วนี่หว่า:-P) ร่วมกับวงดนตรีหลายๆ วง (หนึ่งในนั้นคือวง Klear ที่ตอนนี้ไปอยู่ในสังกัด Genie Records ไปแล้ว) ซึ่งมาถึงตอนนี้ พวกเขาได้มีโอกาสทำอัลบั้มเต็มๆ ของพวกเขาสักที หลังจากเริ่มตั้งวงมากว่า 5 ปี โดยได้คุณต้าร์นี่แหละที่ทำหน้าที่ Producer ของอัลบั้ม

อัลบั้มที่ว่านี่ชื่อ Found and Lost และวงดนตรีวงนี้คือวงดนตรี “ภูมิจิต” นั่นเอง

20080418 poomjit

99.5 The Radio : เมื่อรายการวิทยุดีๆ จะไม่มีที่อยู่

จริงๆ แล้วผมตั้งใจจะประเดิมคอลัมน์ใหม่นี้ ด้วยการเขียนถึงหนังเรื่อง "รักแห่งสยาม" (ที่เขียนเสียช้าขนาดนี้ ก็เพราะผมเพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้จากรอบพิเศษที่ชาว pantip.com ร่วมกันจัดขึ้น) แต่ก็มีเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ผมเปลี่ยนใจกระทันหัน

เหตุผลที่ว่านั่นก็คือการยุติรายการของคลื่นวิทยุ 99.5 The Radio ครับ

20080117 The Radio

ถ้าใครได้ติดตามแวดวงวิทยุในกรุงเทพฯ (หรือถ้าไม่ได้ตามในกรุงเทพฯ จะฟังวิทยุทางเนตก็เช่นกัน) รวมถึงเป็นนักฟังเพลงสากลอยู่บ้าง คงจะรู้จักรายการนี้ในฐานะที่เป็นแหล่งรวมนักจัดรายการระดับ "เทพ" ของวงการวิทยุเมืองไทย ตั้งแต่คุณหมึก - วิโรจน์ ควันธรรม, คุณมาโนช พุฒตาล, คุณเดือนเพ็ญ สีหรัตน์,ป้าแต๋ว - วาสนา วีระชาติพลี ฯลฯ

นักจัดรายการเหล่านี้ เป็นตัวแทนของดีเจ. ในยุคที่วงการวิทยุอุดมไปด้วยดีเจ. ต้องมีความรู้-เข้าใจในตัวเพลงที่เปิด ประกอบกับความสามารถในการดึงคนฟังให้อยู่หมัด

สิ่งที่เราได้ยินจาก The Radio จึงแตกต่างจากรายการวิทยุประเภท "ฟังเพลงต่อเนื่อง 50 นาที" ตรงที่เราจะได้ฟังเพลงพอประมาณ ในขณะเดียวกันดีเจก็ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้พูดเข้ารายการกับปิดท้ายเพลงเพียงเท่านั้น หลายๆ ครั้งที่เราจะได้ยินเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของเพลงที่เปิดอยู่ รวมถึงเรื่องราวสัพเพเหระต่างๆ จนบางครั้งสิ่งที่ดีเจพูด น่าสนใจกว่าตัวเพลงที่เปิดเสียอีก (ถ้าใครเคยฟังพี่ซัน - มาโนช พุฒตาล จัดรายการจะเข้าใจเรื่องนี้ดีครับ เพราะหลายๆ คนที่ฟังช่วงที่พี่ซันจัดก็เพื่อรอลุ้นว่าวันนี้พี่ซันจะพูดอะไร และจะคว้า "ไอ้จู๊ด" - กีตาร์ตัวโปรดขึ้นมาเล่นสดๆ ในรายการช่วงไหน)

The Radio แสดงให้เราเห็นว่าดีเจไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เป็นผู้พูดเปิดรายการ, เข้าเพลง, ปิดรายการ และหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการช่วยขายของให้กับสปอนเซอร์ของคลื่นด้วย (ฮา...) แต่ดีเจยังนำเสนอความคิด, ประสบการณ์ และรสนิยมทางดนตรีมาคลุกเคล้าแล้วนำเสนอไปกับวิธีการพูดที่น่าฟัง (ซึ่งสิ่งนี้บรรดาดีเจหน้าหล่อรุ่นหลังๆ ทำไม่ค่อยเป็น)

ทำให้แม้จะไม่ได้เป็นคลื่นวิทยุสังกัดบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่รายการนี้ก็มีผู้ฟังมากพอสมควร และเป็นที่กล่าวขวัญแบบปากต่อปากมากขึ้นเรื่อยๆ (ได้ยินมาว่าแม้กระทั่งในออฟฟิศของประชาไทเอง ก็มีแฟนๆ เดอะเรดิโออยู่หลายคนเหมือนกัน)

แต่แม้ว่ารายการนี้จะมีผู้ฟังเยอะขนาดไหน แต่จำนวนสปอนเซอร์กลับไม่ได้เยอะตามไปด้วย จนในที่สุด นายทุนเลยถอดใจ เปลี่ยนรูปแบบรายการเป็นเน้นเพลงป๊อปเอาใจวัยรุ่น (ทั้งๆ ที่ได้ยินมาว่าหลังช่วงปีใหม่ จะมีสปอนเซอร์อีกหลายเจ้าเข้ามาสนับสนุน แต่ก็ดูว่าจะไม่ทันกาลเสียแล้ว)

เอาเข้าจริงสิ่งที่เกิดขึ้นกับ The Radio ก็เป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับหลายๆ รายการวิทยุชั้นดีในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นรายการที่ผสานการเป็นคลื่นวิทยุขวัญใจวัยรุ่นกับรายการวิทยุคุณภาพได้ลงตัวอย่าง Smile Radio FM 88.0 หรืออย่าง 89.0 Pirate Rock ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของคลื่นขวัญใจคออินดี้อย่าง Fat Radio ในปัจจุบัน (แม้กระทั่งพี่หมึก – วิโรจน์ ควันธรรมเองก็เคยเจอเรื่องแบบนี้มาก่อนในสมัย 94.5 Love FM.)

เพราะทุกรายการที่ผมกล่าวมานั้น ต่างเป็นรายการที่มีกลุ่มคนฟังเหนียวแน่นพอสมควร และต่างก็รับคำกล่าวขวัญจากผู้ฟังในด้านคุณภาพ แต่ก็ไม่สามารถรักษาคลื่นวิทยุของตัวเองไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลจากการหาโฆษณาไม่ได้, ไม่ได้ต่อสัญญาสัมปทานกับทางคลื่น เพราะมีเจ้าอื่นที่เงินหนากว่ามาประมูลได้

เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยจนเริ่มรู้สึกว่า การทำรายการวิทยุให้ถูกใจคนฟัง อาจไม่สำคัญเท่ากับการทำรายการวิทยุให้ถูกใจเอเจนซี่โฆษณา ซึ่งบรรดาเอเจนซี่เหล่านี้นะแหละ ที่เป็น “มือที่มองไม่เห็น” ที่คอยกำหนดชี้เป็น ชี้ตายให้กับวิทยุ (เอาเข้าจริง มันก็โอบคลุมไปทั้งวงการวิทยุ, โทรทัศน์, นิตยสาร... หรือให้ง่ายกว่านั้น สื่อทุกประเภทกำลังถูกมือข้างนี้ค่อยๆ บีบทีละน้อย...)

ในขณะที่คนเสพได้แต่มองตาปริบๆ ด้วยความเสียดาย

ผมควรจะจบเรื่องนี้ด้วยการสรุปแบบเศร้าๆ ว่า “นี่คืออีกหนึ่งคลื่นวิทยุดีๆ ที่ต้องจากไปเพราะกระแสทุนเป็นใหญ่”
...แต่มันยังจบไม่ได้ครับ

เพราะว่ามีคนนำเรื่องการยุติรายการของ The Radio ไปโพสต์ลงในเวบบอร์ดในห้อง “เฉลิมไทย” ของเว็บไซต์ Pantip.com (http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A6178823/A6178823.html)  ซึ่งผลที่ได้ก็คือมีผู้เข้ามาแสดงความเห็นถึง 934 ความเห็น (ในขณะที่ผมเขียนบทความชิ้นนี้อยู่) ซึ่งความเห็นจำนวนมากนั้นมีความเห็นของพี่หมึก และทีมดีเจหลายๆ ท่านของ The Radio รวมอยู่ด้วย

จากความเห็นเหล่านั้น จุดประกายให้ทีมงาน The Radio เลือกที่จะลองหาทางเคลื่อนไหวอะไรสักอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นการทดลองจัดรายการออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต หรืออาจจะเป็นการจัดกิจกรรมพบปะแฟนๆ รายการ (ใครอยากทราบรายละเอียดจริงๆ ลองสอบถามไปที่ theradiolive@hotmail.com ดูแล้วกัน)

ผมเริ่มเห็นสัญญานอันดี ที่ “มือที่มองไม่เห็น” จะถูกทดสอบโดยพลังของผู้ฟัง – ผู้เสพสื่อจริงๆ สักที

ซึ่งแม้จะยังไม่รู้ว่า The Radio จะ “เกิดใหม่” ได้อีกครั้งหรือไม่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าพวกพี่ๆ สามารถทำได้ การเกิดใหม่คราวนี้จะเป็นเหมือนนกฟินิกซ์ที่เกิดขึ้นจากกองไฟที่เผาร่างตัวเอง

มันจะไม่ตายง่ายๆ แน่นอนครับ

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ musicnotation