Skip to main content

เย็นวันหนึ่ง สายรุ้งออกไปเล่นฟุตบอลเหมือนเคย แต่วันนี้แม่ของเขาไม่ไปด้วย เพราะมีเพื่อนของแม่มาหาที่บ้าน สายรุ้งจึงไปกับเด่นสองคน

สายรุ้งใส่ชุดกีฬาสีขาวตัวโปรด ใส่รองเท้าสีแดงที่แม่เพิ่งซื้อให้ใหม่ ส่วนเด่นใส่สีแดงทั้งชุด
“ใส่ชุดนี้แล้วทำประตูได้ทุกที” เด่นคุย

สายรุ้งนำฟุตบอลไปด้วย เขาใส่ไว้ในตะกร้าด้านหน้าของจักรยาน แล้วก็บึ่งไปยังสวนสาธารณะพร้อมเด่น
เหมือนเคย มีเพื่อนบางคนรออยู่แล้ว พวกเขากำลังเล่นลิงชิงบอลกันอยู่เป็นการวอร์มร่างกาย จากนั้นก็แบ่งทีมกัน พอแบ่งทีมเรียบร้อยแล้ว พวกเขาก็เล่น แต่วันนี้มีเด็กสองคนที่สายรุ้งไม่เคยเห็นมาก่อนมาขอเล่นด้วย

“สองคนนี่เพิ่งย้ายมา” เด่นกระซิบ “อยู่โรงเรียนเดียวกับเราด้วย”
สายรุ้งเลี้ยงบอลด้วยเท้าซ้ายและขวาอย่างคล่องแคล่ว เขามีความถนัดทั้งขวาและซ้ายพอกัน   เวลาทำการบ้าน เมื่อเขาเขียนหนังสือด้วยมือขวาจนเมื่อยแล้ว เขาก็เปลี่ยนเป็นเขียนด้วยมือซ้ายแทน

บอลหลุดจากเท้าซ้ายไปยังเท้าขวาของสายรุ้งไม่มีพลาด เขาครองบอลอยู่อย่างนั้น ต่อเมื่อหลบหลอกคู่ต่อสู้ได้แล้ว สายรุ้งก็จะส่งให้เด่น เด่นจะใช้ความแข็งแกร่งของร่างกายบังฟุตบอลเอาไว้ และคอยหมุนหนีไปเรื่อย ๆ

เด่นแข็งแรงประเปรียว  ใช้ไหล่เบียดไหล่และไม่ยอมให้ใครแย่งบอลจากการครอบครองไปได้ง่าย ๆ  

ขณะที่เด่นกำลังครองบอลอยู่นั้น มีใครคนหนึ่งเข้ามาเบียดแย่งบอล แต่เด่นใช้ไหล่กันไว้ เด็กคนนั้นเลยใช้ไหล่กระแทก เด่นจึงใช้ไหล่กระแทกกลับไป กระแทกไป กระแทกมา เด็กคนนั้นก็พูดขึ้นด้วยอารมณ์ว่า
”เล่นอย่างนี้มาต่อยกันดีกว่า!”

พอเด็กคนนั้นพูดขาดคำ เด่นก็ต่อยเปรี้ยงเข้าที่หน้าอย่างว่องไวราวกับนักมวยอาชีพ เป็นผลให้เด็กคนนั้นล้มทั้งยืน 

สายรุ้งไม่เคยเห็นเด่นดูน่ากลัวอย่างนี้มาก่อนเลย พอเด็กคนนั้นล้มลง เด่นทำท่าจะเข้าไปเตะซ้ำ แต่สายรุ้งห้ามไว้ ทันใดนั้นเองที่เพื่อนของเด็กคนนั้นปราดเข้ามาต่อยเด่น โดยที่เด่นไม่ทันระวังตัว

เด็กคนที่ล้มลงลุกขึ้นในฉับพลันทันที และวิ่งเข้าใส่เด่นอีกคน เด่นจึงถูกรุม ล้อมหน้าล้อมหลังด้วยเด็กสองคน เป็นเด็กสองคนที่เพิ่งย้ายมาใหม่  พวกผู้หลักผู้ใหญ่ไม่มีใครคิดจะห้ามเลย ดูเหมือนพวกผู้ใหญ่อยากเห็นเด็กชกต่อยกัน

สายรุ้งจึงเข้าไปช่วยเด่น เขาพยายามแยกไม่ให้ต่อยกัน สายรุ้งกระโดดเข้าไปขวาง แต่ไม่มีใครหยุด ทั้งสามคนกำลังโกรธ สายรุ้งพยายามจะช่วยเด่นโดยการผลักเด็กคนหนึ่งออกไป เด็กอีกคนหนึ่งจึงต่อยสายรุ้งทันที สายรุ้งเซถลาราวนกปีกหัก เขาไม่เคยโดนใครต่อยมาก่อนเลย 

เมื่อเห็นดังนั้น เพื่อนที่เล่นอยู่ด้วยกันทั้งหมดจึงกรูเข้าไปช่วยสายรุ้งเพราะสายรุ้งเป็นที่รักของเพื่อนทุกคน

เด็กสองคนนั้นยอมแพ้ในที่สุด หน้าบวมเป่ง ริมฝีปากมีเลือดไหล แต่เด่นกับสายรุ้งก็สะบักสะบอมไม่น้อยเหมือนกัน

สายรุ้งและเด่นพากันกลับบ้านในสภาพสะบักสะบอม มีเพื่อนบางคนเดินมาส่ง พวกเขาพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นด้วยความตื่นเต้น สายรุ้งเองก็ตื่นเต้น เขาไม่แน่ใจว่าเขาเป็นคนกล้าหาญหรือเปล่า เขาเพียงแต่ทนไม่ได้ที่เห็นเด่นถูกทำร้ายต่อหน้าต่อตา

“แม่ของนายต้องดุฉันแน่” เด่นว่า
สายรุ้งไม่พูดอะไร เขารู้ว่าแม่จะต้องเสียใจที่เห็นเขาเจ็บปวดและแม่จะต้องเจ็บปวดมากกว่าที่เขาได้รับ แต่ที่จริงเขาไม่ได้เป็นอะไรเลย เขาแค่โดนต่อยเท่านั้นเอง และคนที่ต่อยเขาก็ถูกคนอื่นรุมต่อยจนยอมแพ้ไปแล้ว ที่จริงน่าเห็นใจเด็กหน้าใหม่สองคนนั้นด้วยซ้ำ พวกเขาไม่มีเพื่อน

“เสียดายที่โอเว่นไม่มาด้วย” เด่นพูด “ไม่งั้นสองคนนั้นจะโดนงับจนจมเขี้ยวแน่”
“ไม่มาน่ะดีแล้ว” สายรุ้งว่า

แม่ตกใจจนหน้าซีดเมื่อเห็นสภาพของสายรุ้ง ริมฝีปากด้านหนึ่งของเขาบวมผิดรูป ดวงตาคล้ำเพราะแรงกระแทก  
“ลับตาแม่นิดเดียว ก็เกิดเรื่อง” เธอพูด
“ผมผิดเองครับ” เด่นว่า
“เล่าให้ฟังซิว่าเกิดอะไรขึ้น”
เด่นจึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด “เป็นความผิดของผมเอง” เด่นพูดอีกครั้ง
“ผมไม่เป็นไรหรอกแม่” สายรุ้งพูด

แม่ทำแผลให้สายรุ้งและเด่น เด่นดูยับเยินกว่าสายรุ้ง มีเลือดไหลออกมาจากจมูกเขาด้วย รอบดวงตาเขาบวมเป่งไม่น้อย
“แม่ไม่สบายใจเลยที่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น”
“ผมจะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก” เด่นรับคำ
“ผมก็จะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกครับ” สายรุ้งรับคำด้วยเช่นกัน

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…