Skip to main content

ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า


แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้


อาปา-พ่อแท้ ๆ ของผิงผิงจะกลับมาหาตอนช่วงปิดเทอม และพาลูกไปไหนมาไหนด้วย ผิงผิงซึ่งเอาแต่ใจตนเองเสมอมาพบเจอเหตุการณ์หลายอย่างกระทั่งเกิดความเข้าใจพ่อ เข้าใจความรักที่พ่อมีต่อเธอ ผิงผิงมองพ่อด้วยความรู้สึกแบบใหม่ ก่อนที่พ่อจะจากเธอไปตลอดกาล


นอกจากประเด็นเรื่องความรักของพ่อ-ลูกแล้ว ตัวละครผิงผิงยังมีพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ด้วย ทั้งเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ การใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์ด้วยการเล่นดนตรีและไปไกลกระทั่งเป็นผู้นำประท้วงในเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่อต้านทุนนิยม


วรรณกรรมเรื่อง “หัวใจทองในใจเธอ” มีจุดเด่นและจุดด้อยอยู่หลายส่วนด้วยกัน มีทั้งส่วนที่สนุกและส่วนที่น่าเบื่อ จะขอพูดถึงจุดเด่นหรือข้อดีก่อน


1.
ผู้เขียนมีความรู้พอสมควรเกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมจีน อาทิเช่นเรื่องภาษา เครื่องดนตรี และสามารถนำวัฒนธรรมทั้งสองส่วนมาผสมกลมกลืนเข้าด้วยกันได้ดีพอสมควร ซึ่งก่อให้เกิดบรรยากาศแปลก ๆ ที่หาอ่านได้ยากในวรรณกรรมเยาวชนอื่น ๆ


2.
ผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญทางภาษาในระดับหนึ่ง มีสำนวนและคำพังเพยโบราณที่น่าสนใจ บางตอนยกระดับการพรรณาจนเป็นเหมือนบทกวี บางตอนสอดแทรกบทกวีไว้น่าอ่าน

ฟ้ากว้างสว่างด้วยดาวหมื่นพัน
            แก้วตาฟ้าฝากฝันของพ่อไว้

            นิ่งสนิทนิทราเถิดยอดดวงใจ
            มือของพ่อจะคุ้มภัยเจ้านิรันดร์”
(หน้า 79)


3.
มีประเด็นมากมาย ที่บรรจุอยู่ในวรรณกรรมเล่มนี้ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวอย่างความรักของพ่อ-ลูกไปจนถึงประเด็นส่วนรวมอย่างปัญหาการรุกล้ำของทุนนิยม หรือปัญหาการพัฒนาไปสู่วิถีชีวิตปกติของคนต่างจังหวัด รวมถึงปัญหาทางสังคมอย่างเรื่องปัญหาของเยาวชนเรื่องยาเสพติดก็ถูกใส่แทรกไว้ในหลายบทหลายตอน


ส่วนจุดด้อยหรือข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อทำให้การเขียนวรรณกรรมเยาวชนดียิ่ง ๆ ขึ้นนั้นก็มีหลายจุดด้วยกันคือ


1.
การจงใจใช้ภาษาให้อ่านยากโดยไม่จำเป็น วรรณกรรมเยาวชนซึ่งเข้าใจว่ามุ่งหวังให้เยาวชนอ่านนั้นควรจะสร้างแรงดึงดูดใจด้วยการบรรยายอย่างง่าย ๆ แต่น่าติดตาม และเล่าออกมาด้วยภาษาเรียบง่ายแต่ฉลาด ไม่จำเป็นอะไรเลยที่ต้องยกคำแปลก ๆ มาใช้ เช่นการตั้งชื่อตอนว่า “ฤารอยร้าวรู้ร้างจางหาย” “ทิพยดุริยางค์ประโลมใจ” ฯลฯ ถ้อยคำเหล่านี้จะทำให้วรรณกรรมเยาวชนดูห่างไกลจากเยาวชนมากยิ่งขึ้น


2.
การใส่เหตุการณ์และเรื่องราวหลากหลายเข้าไปมากเกินไป แตกประเด็นมากมายยิบย่อย เพิ่มตัวละครหลายตัวจนน่าจะเขียนเป็นนวนิยายขนาดยาวสำหรับผู้ใหญ่ มากกว่าจะเป็นวรรณกรรมเยาวชน เช่น ชีวิตคู่ที่ระหองระแหงของพ่อแม่บุญธรรมของผิงผิงโดยมีแม่ม่ายคนงามเข้ามาเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงไปยังเรื่องการสร้างห้องอาหารหรูในสวนสาธารณะ


3.
พัฒนาการของผิงผิงที่จริงน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การเร่งให้ผิงผิง “โตเร็วเกินไป” นอกจากจะไม่สมจริงไม่น่าเชื่อแล้ว ทำให้ตัวละครขาดชีวิตชีวา ขาดความลึก กลายเป็นการยัดเยียดจากผู้เขียนไป เช่น การให้ผิงผิงเป็นผู้นำการประท้วงการก่อสร้างห้องอาหาร ต่อต้านการพัฒนา ซึ่งที่จริงแล้วการประท้วง “ความเจริญ” นั้นเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนแต่กลับถูกลดความซับซ้อนลงให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ของเด็ก ทั้งยังเป็นการตอกย้ำทัศนคติ (ที่ผิด ๆ) ในเรื่องการพัฒนาหรือการต่อต้านความเจริญ ผิงผิงจึงดูเป็นเด็กที่แก่แดด ไม่น่ารักตามวัย


ในตอนนี้ผู้เขียนไปไกลถึงขนาดตั้งชื่อตอนว่า “พลังประชาเด็ดดอกหญ้าสะเทือนถึงดวงดาว” ซึ่งจากชื่อแล้วน่าจะเป็นบทความหรือนวนิยายเกี่ยวกับการการต่อสู้ของประชาชนเสียมากกว่า


4.
การแยกเด็ดขาดระหว่างโลกสองโลก คือโลกที่มีสีขาวกับสีดำ ตัวละครฝ่ายดีนั้นดีหมดไม่ว่าจะขยับตัวทำอะไร ในขณะที่ตัวละครฝ่ายเลวก็เลวไปเสียทุกเรื่อง


เลิศศักดิ์” ตัวละครฝ่ายเลว เป็นลูกชายเสี่ย เคยเข้าไปอยู่สถานพินิจควบคุมความประพฤติ เป็นแบบอย่างของความเลวที่พบได้บ่อยจนน่าระอา คือรวย ไม่ตั้งใจเรียน ทำผิดกฏหมาย ใช้อำนาจเงินซื้อทุกอย่าง มีพ่อคอยให้ท้าย เป็นอันธพาล ฯลฯ ผิงผิงอาศัยความเลวอันสมบูรณ์แบบของเขานี่เองในการระบุว่าตนเองอยู่ฝ่ายดี


เขาพูดกับผิงผิงตามแบบฉบับว่า

เงินน่ะ... น้องสาว มันมีอำนาจเสมอแหละ เหมือน ๆ กับที่มันมีอำนาจจะทำลายสวนสวรรค์ของเธอทิ้งยังไงล่ะ” (หน้า 113)

ไม่ว่าผมจะทำผิดสักกี่ครั้ง... ผมก็มีเตี่ยคอยปกป้องเพราะผมเป็นลูกชายคนเดียวของเตี่ย ผมจึงถูกเสมอ เดี๋ยวเตี่ยก็วิ่งเต้นเสียเงินนิดหน่อยก็ช่วยผมออกมาอีกจนได้” (หน้า 148)

------------

ด้วยศักยภาพของผู้เขียน เชื่อว่าจะสร้างวรรณกรรมเยาวชนออกมาได้ดียิ่งขึ้น แล้วจะรอคอยอ่าน.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…