Skip to main content

วันนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งของสายรุ้งมาโรงเรียนสาย พอครูถามเขาก็ตอบว่าที่บ้านเขากำลังมีปัญหา พ่อของเขาป่วยหนัก

เมื่อสายรุ้งเห็นแววตาเศร้าสร้อยของเพื่อนนักเรียนคนนั้นแล้วรู้สึกสงสารจับใจ เพื่อนนักเรียนกำลังจะร้องไห้อยู่แล้วตอนที่ตอบคำถามของครู

เป็นไปได้ว่าสายรุ้งอาจกำลังคิดถึงตัวเองที่สูญเสียพ่อไปตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็เลยเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนนักเรียนคนนั้นดีว่าจะต้องเสียใจมากเพียงใดหากพ่อของเขาต้องมีอันเป็นไป

อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนไม่ได้รู้สึกอย่างที่สายรุ้งรู้สึก ความทุกข์ใจของเพื่อนนักเรียนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวนั้น กลายเป็นหัวข้อสนทนาอย่างออกรสชาติของเด็กบางคน

สายรุ้งประหลาดใจมากที่เด็กนักเรียนบางคน กระซิบกระซาบกันอย่างน่าสงสัยถึงสาเหตุที่ทำให้พ่อของเพื่อนนักเรียนคนนั้นป่วย

“พ่อเขาเป็นโรคร้าย”
“ไม่มีทางรักษา”
“พ่อเขาชอบเที่ยวผู้หญิง”
“งั้นแม่ของเขาก็อาจติดโรคด้วย”

สายรุ้งไม่เข้าใจถ้อยคำเหล่านี้เลย แน่ละ จากสถานการณ์ สายรุ้งรู้ว่าพ่อของเพื่อนนักเรียนป่วยด้วยโรคร้ายแรงซึ่งอาจจบลงด้วยการสูญเสีย แต่เท่าที่สายรุ้งรู้ก็คือ โรคทุกชนิดสามารถรักษาได้หรืออย่างน้อยก็อาจยืดชีวิตออกไปได้นาน

แม่บอกสายรุ้งอยู่เสมอว่าโรคทุกชนิดสามารถรักษาได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วทำไมพวกเด็ก ๆ จึงพากันพูดแบบนี้ ถ้าเพื่อนนักเรียนคนนั้นได้ยินเข้าคงจะเสียใจไม่น้อย

สายรุ้งถามแม่ว่า “แม่ครับ มีคนบอกว่าโรคบางโรครักษาไม่ได้จริงไหมครับ”
อันที่จริงสายรุ้งเกือบจะลืมเรื่องนี้ไปแล้วด้วยซ้ำเมื่อกลับมาถึงบ้าน บ้านอันอบอุ่นที่ความกังวลใจจะไม่มาแผ้วพาน
สายรุ้งหยิบการบ้านขึ้นมาทำ วันนี้มีการบ้านสองวิชา  พอสายรุ้งนึกถึงการบ้าน เขาก็นึกถึงเพื่อนที่ไม่มาโรงเรียน แล้วก็นึกถึงคำพูดที่ได้ยิน

“เรื่องนี้แม่เคยบอกสายรุ้งแล้วนี่”  แม่กำลังทำอาหารอยู่ในครัว
“ครับ แม่เคยบอกผมแล้ว ผมจำได้” แล้วสายรุ้งก็เล่ารายละเอียดให้ฟัง
แม่จึงบอกว่า “โรคทุกโรครักษาได้ เพียงแต่อาจไม่หายขาด อย่างเช่นโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ แต่ถึงแม้ไม่หายขาด เราก็สามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกับโรคที่อยู่ในร่างกายของเราได้ เพียงแต่เราต้องระมัดระวังไม่ให้มันลุกลาม” แม่อธิบายต่อไปว่า

“มนุษย์ทุกคนมีโรคอยู่ในตัวทั้งนั้น เราจึงต้องดูแลตัวเองไม่ให้โอกาสโรคที่อยู่ในตัวกำเริบออกมา เช่น ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ดื่มน้ำเยอะ ๆ”
“ครับแม่ ผมเข้าใจแล้วครับ”
“แต่เด็กพวกนั้นไม่เข้าใจหรอก”
แม่พูด “เอ่อ คนที่มีประสบการณ์หรือคนที่สนใจเรื่องพวกนี้อย่างจริงจังเท่านั้นจึงจะรู้”

วันรุ่งขึ้น เพื่อนนักเรียนคนนั้นมาเรียนตามปกติ แต่เขานั่งซึม ดูอ่อนเพลียมาก บางครั้งเขานั่งหลับตา พอถึงเวลาพักเที่ยง เขาก็ยังนั่งอยู่ในห้องเรียน ไม่ไปกินข้าวในโรงอาหารเหมือนเด็กคนอื่น

สายรุ้งจึงเดินเข้าไปหา “นายไม่หิวข้าวเหรอ” สายรุ้งถาม
เด็กคนนั้นสั่นศีรษะ เขาหลบหน้าแล้วก็หันหน้าไปทางหน้าต่าง ใบหน้าของเขาซีดเซียวมาก เขาคงมีความทุกข์ใจอย่างหนัก
สายรุ้งอยากปลอบใจเพื่อน แต่เพื่อนคงไม่อยากให้ใครรบกวน ดังนั้นสายรุ้งจึงเดินถอยออกมา

“พ่อฉันไม่สบาย” เพื่อนนักเรียนพูดขึ้น “ฉันรู้ว่าหลายคนพูดถึงพ่อฉันในทางไม่ดี แม้แต่ครูก็ยังพูด”   สายรุ้งพยักหน้าแสดงว่าเข้าใจในสิ่งที่เพื่อนพูด
“ไม่ว่าพ่อฉันจะเป็นอย่างไร ฉันก็รักพ่อ เพราะพ่อดีกับฉันเสมอ” พอพูดจบประโยค เขาก็น้ำตาไหล  สายรุ้งรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะร้องไห้เหมือนกัน

“แม่บอกว่าโรคทุกชนิดสามารถรักษาได้” สายรุ้งพูด
“แต่มันสายเกินไปแล้ว สำหรับพ่อของฉัน” เขาสะอึกสะอื้น
สายรุ้งหันหน้าไปทางอื่น เขาไม่อยากเห็นเพื่อนร่ำไห้ เขาไม่สบายใจเลยที่เพื่อนมีอาการอย่างนั้น
“เย็นนี้นายไปเที่ยวบ้านฉันมั้ย” สายรุ้งชวน สายรุ้งคิดว่าแม่จะมีวิธีพูดที่ทำให้เพื่อนคลายความทุกข์ลงไปได้
“ฉันต้องกลับไปดูแลพ่อ”
“ถ้าอย่างนั้น ฉันไปเยี่ยมพ่อนายได้ไหม”
เพื่อนนักเรียนมองสายรุ้ง ก่อนตอบว่า “ฉันดีใจที่นายไม่รังเกียจพ่อฉันเหมือนคนอื่น ๆ” เขาหยุดร้องไห้แล้ว
“ทำไมต้องรังเกียจด้วยล่ะ” สายรุ้งว่า “แม่สอนฉันให้รักตัวเองและไม่ให้รังเกียจคนอื่น”

เขายิ้มเมื่อได้ยินคำพูดของสายรุ้ง.

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…