Skip to main content

 

20080331 ภาพปก หนีให้พ้นไปจากวัยเด็ก
จอห์น  โฮลท์  เขียน
กาญจนา  ถอดความ


หนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  

ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้

นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน    ตลอดจนได้ทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเด็กมาอย่างกว้างขวางยังได้เขียนงานวิชาการเกี่ยวกับเด็กไว้อีกหลายเล่มด้วยกันคือ How Children Fail, How Children Learn, The Underachieving School และบทความที่เกี่ยวกับเด็กที่ตีพิมพ์ตามนิตยสารต่าง ๆ อีกมากหลาย

เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องอยู่กับ “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ที่วางอยู่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ ซึ่งได้สร้างกฏเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อกำหนดว่าเด็ก ๆ ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร พวกผู้ใหญ่จะปฏิบัติต่อแกอย่างไร และกล่าวถึงวิธีการที่ไม่ถูกต้องทั้งหลายทั้งปวงที่สังคมกระทำต่อเด็ก ๆ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังบอกไว้ด้วยว่าควรจะเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร

คำว่า “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ตามการนำเสนอของผู้เขียนคือ ทัศนคติ ประเพณี กฏเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกของคนในสังคมที่มีต่อเด็ก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกำแพงกั้นขวางชีวิตวัยเยาว์กับชีวิตผู้ใหญ่ออกจากกัน

 

 

“สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” จะกางกั้นเด็กออกจากโลกของผู้ใหญ่ ทำให้ผู้เยาว์พบกับความยากลำบากในการที่จะติดต่อสื่อสารกับสังคมส่วนใหญ่รอบ ๆ ตัวเขา ขาดแม้แต่โอกาสที่จะได้เข้ามาร่วมเล่น ร่วมรับผิดชอบในส่วนที่เด็กก็พอจะทำได้

ทัศนคติและความรู้สึกเช่นนี้ได้ปิดกั้นเด็กให้ห่างออกจากโลกแห่งเสรีภาพ และความเป็นอิสระ ทำให้เด็ก ๆ เป็นอย่างที่เราเห็น ๆ กัน เด็ก ๆ กลายเป็นแหล่งรวมของการจู้จี้จุกจิก ร้องไห้กวนใจ  น่ารำคาญ  เลี้ยงไม่โต  ไม่มีเหตุผล    

ผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ผู้ปกครองบางประเภทที่  “ไม่อยากให้ลูกโต” ต้องการยืดวัยเด็กของลูกให้ยาวออกไป ในสายตาของพ่อแม่บางประเภทนั้น “ลูกไม่เคยโต” (เพราะไม่ต้องการให้โต)  จนเด็กทนไม่ได้และต้องรำพันออกมาว่า

“ผมรักพ่อแม่มาก เราเคยอยู่กันอย่างมีความสุข แต่จนเดี๋ยวนี้พ่อกับแม่ก็ยังอยากให้ผมทำตัวเหมือนเด็กอย่างแต่ก่อน ผมอยากจะทำอะไรของผมเองบ้าง พ่อกับแม่ก็ไม่ชอบ ผมรู้สึกสับสนและรู้สึกผิดมากที่ทำให้ท่านไม่สบายใจ ผมไม่รู้จะทำอย่างไรดี ใจหนึ่งก็ไม่อยากทำให้ท่านผิดหวัง แต่อีกใจหนึ่งผมก็อยากจะมีชีวิตของผมเองบ้าง” (หน้า 21)

พ่อแม่ต้องการให้ชีวิตวัยเด็กยาวนานเกินไป และมักไม่ยอมให้เด็กได้ค่อย ๆ หลุดพ้นไปจากอ้อมอก ให้กลับมามีความสัมพันธ์ในรูปแบใหม่กับพ่อแม่ เมื่อเด็กไม่มีทางเลือกแบบอื่นที่พอจะผูกพันกับพ่อแม่ได้แกก็จะเลือกหนทางที่จะตัดขาดกับพ่อแม่เสียเลย ยิ่งถ้าพ่อแม่พยายามผูกแกให้แน่นเพียงใด แกก็จะยิ่งออกแรงดึงดิ้นให้หลุดแรงขึ้นเพียงนั้น แรงดึงที่รุนแรงนี้อาจจะก่อให้เกิดความร้าวฉานกับทุกฝ่ายและกลายเป็นฝันร้ายของทุกคน

ถ้าไม่มีทางอื่นที่เด็กจะออกจากอ้อมอกของครอบครัวไปได้ แกคงต้องเลือกเอาขั้นแตกหักเป็นทางเลือกสุดท้าย

ในบทที่ว่าด้วย “การเห็นเด็กเป็นตุ๊กตา” ผู้เขียนเสนอให้เลิกมองเด็กเป็น “ตุ๊กตา” เสียทีเพราะการที่มองดูเด็กเป็นตุ๊กตาตัวน้อย ๆ น่ารักน่าเอ็นดูนั้นมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริงแต่มันเป็นค่านิยมที่เราใส่เข้าไปเอง ความน่ารัก น่าเอ็นดูนี้มีอยู่ในคนทุกรุ่น ทุกวัย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในเด็ก ๆ เท่านั้นและการที่เราเห็นเด็ก ๆ เป็นของเล่นตัวเล็ก ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะความรู้สึกดังกล่าวทำให้เรารู้สึกว่าเป็นผู้ใหญ่กว่า รู้สึกเหนือกว่าเด็ก ๆ

ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เรามีต่อเด็กนั้นไม่ใช่เพราะคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวเด็กจริง ๆ แต่เป็นเพียงทฤษฎีความเชื่อต่าง  ๆ ที่ผู่ใหญ่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับตัวเด็ก  ๆ มากกว่า คุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่เด็กมี เช่น ความมีชีวิตชีวา ความเฉลียวฉลาด ความสวยมีเสน่ห์ ความอยากรู้อยากเห็น ความหวัง ความไว้วางใจซึ่งดูเหมือนคุณสมบัติที่ดี ๆ ทั้งนั้นแต่ความจริงแล้วเด็ก ๆ ย่อมมีคุณสมบัติที่จะเสียใจ สนุกสนานชื่นชม เด็กก็รู้จักความทุกข์ ความกังวลด้วย

คุณสมบัติที่เด็กมีนี้ไม่ได้เป็นคุณสมบัติเฉพาะเด็กเท่านั้น แต่มันเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ทุกคน ทุกรุ่น ทุกวัย หากแต่ผู้ใหญ่มักคิดไปว่า นี่คือคุณสมบัติแห่งความเป็นเด็กเท่านั้น เช่น ความอยากรู้อยากเห็น

ที่แย่ที่สุดก็คือผู้ใหญ่ชอบไปสอนเด็ก ๆ ที่กำลังจะเริ่มโตให้ทิ้งหรือซุกซ่อนลักษณะแห่งความเป็นเด็กเอาไว้ สอนให้อายถ้าเขาทำท่าอยากรู้อยากเห็นแบบเด็ก ๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าพวกผู้หญิงได้รับอนุญาตจากสังคมให้แสดงท่าแบบเด็ก ๆ ได้มากกว่าผู้ชาย บางสังคมก็ให้ค่ายกย่องไปเลย เช่น ยิ่งผู้ใหญ่ไร้เดียงสาเหมือนเด็ก ๆ ก็ยิ่งน่ารักมากเท่านั้น!

เด็กไม่ใช่อะไรที่เป็นนามธรรมอย่างที่คิดกัน แต่เป็นรูปธรรมอย่างสามัญที่สุดเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั่ว ๆ ไป เด็ก ๆ มักคิดถึงตนเองก่อนคนอื่นและเห็นแก่ตัว ไม่มีความสามารถที่จะเข้าไปนั่งในจิตใจของคนอื่นได้ เอาแต่ใจตนเองและใจร้าย ส่วนการเป็นผู้ใหญ่ไมได้หมายความว่าจะต้องเลวมากขึ้น

เมื่อมีคนถามว่า “มันผิดอย่างไรที่จะมองเด็กอย่างชื่นชม มันดีกว่าที่จะดูเด็กอย่างที่เด็กเป็นอยู่จริง ๆ มิใช่หรือ ?”

คำตอบของผู้เขียนคือ “การที่เรามองใครสักคนดีกว่าที่เขาเป็นอยู่จริงนั้นเป็นการถูกต้องหรือ มันจะไม่อันตรายดอกหรือ” แล้วผู้เขียนก็ยกตัวอย่างประกอบให้เห็นอย่างชัดเจน

สำหรับคนที่สนใจเรื่อง “เด็ก” ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้
                                   

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…