Skip to main content

20080420

“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน
“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล
“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล

“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย
เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมาย
แห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารัก
เพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”
(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)

นอกจากปรีชา ช่อปทุมมา ศิษย์แห่ง “สำนักศานตินิเกตัน” โดยตรงซึ่งพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปีพ.ศ. 2526 แล้วยังมีนายแพทย์วิทุร  แสงสิงแก้ว อีกผู้หนึ่ง ที่แปลบทกวีล้ำค่าเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 ทั้งยังเคยได้รับเลือกให้เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อหลายปีมาแล้ว

แม้ว่าบทกวี “จันทร์เสี้ยว” นี้จะพูดถึงเรื่องเด็ก ตลอดจนความสัมพันธ์อันลึกล้ำระหว่างแม่กับลูก (หรืออาจเป็นพ่อกับลูกก็ได้แล้วแต่จินตนาการและความต้องการของผู้อ่าน) แต่ก็เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับใครก็ตามที่กำลังค้นหาแรงดลใจจากคุณค่าชีวิต  จากความสัมพันธ์อ่อนโยนระหว่างมนุษย์พึงมีกับมนุษย์

จำได้ว่า บทกวี “จันทร์เสี้ยว” นี้ ข้าพเจ้าเคยนำติดตัวอยู่เสมอในยามเดินทางท่องไปในวัยหนุ่มราวกับเป็นคัมภีร์ชีวิต สะท้อนสะท้านใจกับโลกของความเป็นเด็ก(ที่หลบซ่อนอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งในตัวเอง) ตลอดจนความรักที่ผู้เป็นพ่อหรือแม่มีต่อลูกน้อย และรู้สึกประหลาดใจกับความสามารถของผู้ประพันธ์ที่วาดแต่งจินตนาการแห่งความเป็นเด็กใส่ไว้ในโลกของภาษาอย่างไพเราะ

บทกวี “จันทร์เสี้ยว” ทำให้เชื่อว่าความงามแห่งความเป็นมนุษย์และความรักอันสูงส่งนั้นมีอยู่จริงซึ่งไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล หากแต่สามารถหาได้จากความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวซึ่งในที่นี้คือแม่กับลูกน้อย

ข้าพเจ้าอ่านจนจำได้ขึ้นใจว่าแต่ละบทแต่ละคำนั้นไพเราะอย่างไร  จินตนาการของผู้ประพันธ์เกี่ยวกับเด็กนั้นช่างน่าพิศวงซึ่งมีแต่กวีที่แท้จริงเท่านั้นที่ทำได้ คนที่แสร้งทำเป็นกวีหรือนักแกะสลักถ้อยคำโดยทั่วไปนั้นไม่อาจทำเช่นที่ “รพินทรนาถ ฐากูร” กวีรางวัลโนเบลที่น่าภาคภูมิใจของโลกตะวันออกทำได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งต้องยกความดีให้กับผู้แปลทั้งสองท่านด้วยที่นอกจากมีรสนิยมในการอ่าน การแปลแล้ว ยังสามารถในการเลือกสรรคำร้อยเรียงออกมาเป็นภาษาไทยซึ่งใครจะชอบสำนวนแปลของใครมากกว่ากันนั้นก็แล้วแต่ผู้อ่าน

คำว่า “จันทร์เสี้ยว” นั้น ผู้รู้บางท่านให้ความหมายว่าคือสิ่งสวยงามที่จุติมาครั้งแรกด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องและจะต้องเติบโตขึ้นไปจนเต็มที่ตามวันเวลาที่ผ่านไป เช่นเดียวกับความงามของพระจันทร์วันเพ็ญซึ่งค่อย ๆ สว่างมาจากรัศมีของพระจันทร์เสี้ยวในคืนแรก ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนขอบฟ้า

ข้าพเจ้าขอยกบทกวีมาให้อ่านสักบทหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงจินตนาการของผู้ประพันธ์ที่เสมือนเข้าไปนั่งอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของเด็ก

ความเห็นใจ

ถ้าผมเป็นเพียงลูกหมาตัวเล็ก ๆ ไม่ใช่ลูกแม่ละก้อ เมื่อผมพยายามจะกินอาหารจากจาน แม่ครับ, แม่จะพูดไหมว่า “ไม่เอานะ”
แม่จะไล่ผม และตวาดไหมว่า “ไปให้พ้น ไอ้ลูกหมาซุกซน”
ไปซิครับแม่ ผมจะไปเด็ด ๆ ! จะไม่เดินเข้ามาหาเมื่อแม่เรียก จะไม่ยอมให้แม่เลี้ยงอีกเลย
ถ้าผมเป็นเพียงนกแก้วขนเขียวตัวเล็ก ๆ ไม่ใช่ลูกแม่ละก้อ แม่ครับ, แม่จะล่ามโซ่เพราะเกรงว่าผมจะบินหนีไหม แม่จะชี้นิ้วและดุไหมว่า “ไอ้นกเนรคุณ จิกโซ่ได้ทั้งวันทั้งคืน”
ไปซิครับแม่, ผมจะไปจริง ๆ ! จะบินเข้าป่า ไม่ยอมให้แม่กอดอีกแล้ว.
                    (สำนวนแปล ปรีชา ช่อปทุมมา)

ความไร้เดียงสาน่ารักในวัยเด็กถูกแปรรูป และยกระดับขึ้นให้กลายเป็นความงดงามที่จรรโลงใจโดยถ้อยคำง่าย ๆ ลองดูอีกบทหนึ่ง

เมื่อใดและทำไม

เมื่อใดที่พ่อนำของเล่นสารพัดสีมาฝากเจ้า ลูกเอ๋ย พ่อเกิดความเข้าใจขึ้นว่า ทำไมจึงมีการเล่นสีสันบนก้อนเมฆ บนท้องฟ้าและบนกลีบผกา...เมื่อพ่อนำของเล่นสารพัดสีมาฝากเจ้านั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อร้องเพลงเพื่อเป็นจังหวะให้เจ้าเต้น พ่อรู้ชัดว่าทำไมจึงมีเสียงดนตรีจากใบไม้และทำไมคลื่นจึงประสานเสียงบำเรอโสตแห่งแผ่นดิน...เมื่อพ่อร้องเพลงเป็นจังหวะให้เจ้าเต้นนั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อยื่นขนมใส่มือตะกละของเจ้า    พ่อรู้ชัดว่าทำไมจึงมีน้ำหวานในกระเปาะดอกไม้และทำไมผลไม้แผกพันธุ์จึงถูกเติมด้วยรสเลิศอย่างลึกลับ...เมื่อพ่อยื่นขนมใส่มือตะกละของเจ้านั่นแหละ
เมื่อใดที่พ่อจูบแก้มเจ้าเพื่อเย้าให้ยิ้ม ลูกเอ๋ย พ่อเกิดความรู้สึกว่าลำแสง จากท้องฟ้ายามเช้าและสายลมเย็นแห่งคิมหันต์นำความสุขเพียงใดมาสู่พ่อ...เมื่อพ่อจูบแก้มเจ้าเพื่อเย้าให้ยิ้มนั่นแหละ

                                   (สำนวนแปล ปรีชา  ช่อปทุมมา)

ข้าพเจ้ากลับมาอ่าน “จันทร์เสี้ยว” อีกครั้งหนึ่งเพื่อค้นหาแรงดลใจให้กับตัวเอง กลับบ้านหนนี้ข้าพเจ้าจึงนำ “จันทร์เสี้ยว” ติดตัวไปด้วย
                                                 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…