Skip to main content

20080429 
อนาโตล ฟรองซ์  เขียน
ไกรวรรณ  สีดาฟอง แปล

อนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20

ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์” มามากมายแล้วเขาก็กลับไปเขียนเรื่อง “เด็ก” ที่ดูเหมือนว่าแสนจะธรรมดา

“หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้” จัดพิมพ์ในภาคภาษาไทยครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยสำนักพิมพ์ “ทิวสน” แล้วก็ใช้เวลายาวนานกว่าสองทศวรรษจึงได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นอีกครั้ง ต้องขอบคุณสำนักพิมพ์   ”เส้นทางวรรณกรรม”  ที่อาจหาญพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2545  อย่างน้อยก็เป็นการยืนยันว่าท่ามกลางธุรกิจหนังสือที่มีการแข่งขันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่น ๆ ยังมีคนทำหนังสือที่มีรสนิยมอยู่บ้างแม้จะเป็นส่วนน้อยก็ตาม

นอกจากผู้เขียนและผู้แปลแล้ว อันที่จริงควรจะให้เครดิตผู้วาดภาพประกอบด้วยเช่นเดียวกัน ภาพประกอบช่วยให้เรื่องราวในหนังสือน่าสนใจขึ้นมาก แต่ทางสำนักพิมพ์ก็ไม่ได้ระบุชื่อคนวาดภาพประกอบ

“หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้” เขียนเป็นตอนๆ ที่แต่ละตอนไม่เกี่ยวเนื่องกันแต่ก็พูดถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันของเด็กๆ เหมือนกัน  เด็กๆ แห่งท้องทุ่งชนบทของประเทศฝรั่งเศสที่เติบโตผูกพันกับดอกไม้ สัตว์เลี้ยง การเป็นชาวนา  

หากมองดูเผิน ๆ กิจกรรมของเด็ก ๆ ที่นำมาถ่ายทอดนั้นช่างปกติธรรมดามาก ไม่มีอะไรในชีวิตประจำวันโลดโผนน่าตื่นเต้นเลยแม้แต่น้อย เช่น ความสัมพันธ์และความเห็นอกเห็นใจระหว่างเด็กหญิงกับสุนัขที่สามารถสื่อสารกันรู้เรื่องแม้ไม่ต้องใช้ถ้อยคำ การแย่งคันเบ็ดตกปลาที่มีอยู่คันเดียวของสองพี่น้อง การช่วยกันเก็บใบ้ไม้แห้งของสองพี่น้องเพื่อให้แม่ใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง

“…เด็ก ๆ ทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง เด็กชายทำงานเงียบ ๆ
เขาเป็นลูกชายชาวนา อีกไม่ช้าก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
และชาวนานั้นไม่พูดมาก ผิดกับลูกสาวชาวนาตัวน้อย ๆ
ที่ส่งเสียงแจ้ว ๆ ขณะเก็บใบไม้...”


ผู้เขียนเลือกที่จะนำเอาความปกติธรรมดามาถ่ายทอด อันสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตและความสัมพันธ์ที่เรียบง่ายของเด็ก ๆ กับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว แม้จะเขียนเป็นร้อยแก้ว แต่ก็เหมือนกับอ่านบทกวี ที่ต้องค่อย  ๆ อ่าน ค่อย ๆ ปล่อยให้ตัวอักษรไหลซึมเข้าเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดจนกลายเป็นภาพแห่งจินตนาการ

ตอนอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ครั้งแรก แวบแรกเกิดความรู้สึกแบบเดียวกับที่อ่าน “เจ้าชายน้อย” ครั้งแรกว่า “ไม่เห็นมีอะไร” อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและอยู่ในภาวะจิตใจที่ปรอดโปร่งพร้อมเปิดรับอะไรที่มันละเอียดอ่อน การอ่าน “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  อีกครั้งทำให้มองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็นในตอนอ่านครั้งแรก

นี่จึงเป็นหนังสือสำหรับความสบายใจ ไม่ใช่สำหรับการ “อ่านเอาเรื่อง” การอ่านอย่างเร่งรีบเพื่อ “เอาความ” นั้นจะทำสูญเสียอรรถรสไปอย่างน่าเสียดาย

“หมู่เด็ก” และ” ทุ่งดอกไม้” นั้นงดงามดุจเดียวกัน เด็ก ๆ ที่จับกลุ่มเล่นหัวกันอย่างเพลิดเพลินนั้นก็เช่นเดียว “ทุ่งดอกไม้” ที่เริงรำเล่นลม ความสวยงามของดอกไม้และความมีชีวิตชีวาของเด็กคือสุนทรีย์ที่ให้แรงดลใจอย่างไม่มีอะไรเปรียบ

ในที่นี้จะขอยกตอนที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กหญิงกับสุนัข แม้จะธรรมดาแต่มันก็ไม่ธรรมดาที่ทำให้เรื่องราวง่าย ๆ กลายเป็นวรรณกรรมได้

แจ๊คเกอลินกับมิโร

แจ๊คเกอลินกับมิโรเป็นเพื่อนกัน เธอเป็นเด็กน้อยส่วนมันเป็นหมาใหญ่ ทั้งคู่อาศัยอยู่ในชนบท มีความผูกพันอย่างลึกซึ้ง รู้จักกันมานานแค่ไหนไม่มีใครรู้ มันเกินกว่าความทรงจำของเด็กกับหมา ทั้งคู่เองก็ไม่อยากรู้ด้วยและไม่อยากรู้อะไรทั้งนั้น

พวกเขาเป็นเพื่อนกันมานานแล้ว นับตั้งแต่เริ่มมีสิ่งต่าง ๆ ทั้งคู่ไม่รู้ว่ามีจักรวาลอยู่ก่อนแล้ว ในความคิดของเด็กและหมา  โลกอ่อนเยาว์เรียบง่ายและซื่อใสเหมือนกัน

มิโรตัวโตและแข็งแรงกว่าแจ๊คเกอลินมาก เมื่อยกขาหน้าขึ้นพาดบ่าเธอ หน้าอกมันสูงกว่าเด็กหญิงเสียอีก มันสามารถกลืนกินเธอหมดในสามคำ แต่มันก็รู้ มันสัมผัสความดีงามในตัวเธอได้ แม้ยังเด็กเธอก็ยังมีคุณค่า มันชื่นชมเธอ มันเลียหน้าเธอด้วยความจงรักภักดี

แจ๊กเกอลินก็รักมิโร มันแข็งแรงและใจดี เธอนับถือสุนัข มันรู้ความลี้ลับมากมาย เธอเชื่อว่าในชาติก่อนมันเกิดเป็นมนุษย์อาศัยอยู่อีกใต้ท้องฟ้า เป็นเจ้าแห่งทุ่งหญ้าป่าเขา

แต่แล้ววันหนึ่ง แจ๊กเกอลินก็ประหลาดใจและฉงนสนเทห์ เธอเห็นมิโรเจ้าสุนัขผู้น่าเกรงขามถูกล่ามโซ่ไว้กับต้นไม้ข้างบ่อน้ำ เธอมองสุนัขด้วยความสับสน

สุนัขมองเธอด้วยสายตาซื่อสัตย์ มันใส่ปลอกคอและโซ่โดยไม่แสดงอาการขัดขืนและคับแค้นเลย แต่เด็กหญิงลังเลไม่กล้าเข้าใกล้ เธอยอมรับไม่ได้ว่าสหายผู้สง่างามและล้ำลึกกลายเป็นนักโทษ

ความเศร้าหมองครอบครองจิตใจอันอ่อนเยาว์ของเด็กหญิง.

อ่าน “วรรณกรรมเด็ก” เล่มนี้แล้วนี้บางทีอาจฉุกคิดได้ว่าความงดงามนั้นสามารถหาได้ง่าย ๆ แค่เพิ่มความสนใจต่อเรื่องราวของเด็ก ๆ มากขึ้นอีกสักเล็กน้อยเท่านั้น ?.
                            
                       

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…