Skip to main content

 

 


ต้นโพธิ์ที่วัดนี้ตั้งอยู่กลางลานจอดรถ อายุประมาณ 200 ปี ความสูงประมาณ 25 เมตรเป็นต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงากับรถที่มาจอดเพื่อชมความงามของวิหารที่ตกแต่งด้วยผลงานการแกะสลักโลหะ

 

  


ใต้ต้นโพธิ์มีเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยาง โคนต้นมีไม้ค้ำศรีค้ำจุนต้นโพธิ์ไว้ไม่ให้หายไปจากการรุกไล่ของพื้นคอนกรีต ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญทางพุทธศาสนา จึงมีประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับต้นโพธิ์ โดยเฉพาะการทำบุญด้วยไม้ค้ำศรี นัยว่าเพื่อค้ำจุนพระพุทธศาสนานั้น ดูราวกับว่าเป็นสิ่งค้ำจุนต้นไม้ใหญ่ให้คงอยู่ท่ามกลางความเจริญทางวัตถุ

 


เห็นต้นไม้กลางลานคอนกรีตแบบนี้แล้วคิดถึงป่าเขาทุ่งหญ้า อย่างในเพลงที่นำมาให้ฟังวันนี้ ชื่อเพลงใกล้ตา ไกลตีน หาฉบับเสียงร้องของน้าหงาใน Youtube ไม่มี ได้เวอร์ชั่นของคุณสุนทรี เวชานนท์ มาให้ฟังกัน จริง ๆ แล้วเวอร์ชั่นนี้ก็ชอบ



คุณสุนทรีเคยเล่าให้ฟังว่าตอนเข้าห้องอัดเพลงนี้ ร้องม้วนเดียวจบ แล้วน้าหงาใส่เสียงซึง เคยมีโอกาสฟังเธอร้องสดในคอนเสิร์ตสายน้ำสามัญชน ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับคาราวานวงใหญ่ รู้สึกว่าเวอร์ชั่นนั้นเธอร้องได้ผ่อนคลายแต่มีพลัง และดนตรีในวันนั้นเรียบง่ายและสมบูรณ์แบบ



ส่วนเวอร์ชั่นนี้ฟังทีไรก็รู้สึกว่าต้องปีนกระไดฟัง เพราะเสียงเธอสูงปรี๊ด ฟังยากเหลือเกิน แต่อย่างไรก็ตามฉันก็ชอบฟังเพลงนี้เวลาคิดถึงทุ่งหญ้า ลมหนาว และต้นไม้ใหญ่บนสันภู คิดถึงกลิ่นดิน กลิ่นใบไม้แห้ง ฝุ่นที่มากับสายลม ฉันเคยขับรถเลียบแม่น้ำโขง บนเส้นทางแม่สาย-สามเหลี่ยมทองคำ-เชียงแสน เปิดเพลงนี้คลอไปด้วย รู้สึกเข้ากับบรรยากาศดีนัก

เคยได้ยินเรื่องเล่าว่า เพลงนี้น้าหงาแต่งที่เมืองน่านเมื่อครั้งอยู่ในป่า เพื่อนของเขาตายไปกับการสู้รบ หลุมฝังศพของเพื่อนอยู่ใกล้ตัว

 

คิดถึง...แต่ไปหาไม่ได้



บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
ได้มีโอกาสไปแอ่วเมืองน่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นสิบปี ไปคราวนี้คนที่ไปด้วยก็แทบไม่เคยไปเลย มีเราคนเดียวที่มาบ่อยที่สุด กระนั้นก็นับได้ประมาณสี่ครั้ง ความที่เมืองน่านเป็นเมืองที่จะว่าไกลก็ไกล จะว่าไม่ไกลก็ไม่ไกลนัก ขับรถจากเชียงใหม่ 5 ชั่วโมงรวมเวลาพักรถกินกาแฟที่เด่นชัย ขับรถเส้นทางนี้ขอแนะนำร้านกาแฟสดเด่นชัย ตรงริมแม่น้ำ เชิงสะพานทางไปลำปาง กาแฟเค้าดีจริงๆ หรือหากใครดื่มกาแฟไม่ได้ ถ้าได้ผ่านไปที่อ.ร้องกวาง จ.แพร่ แวะตลาดสด มีร้านหนึ่งขายเมี่ยง ใช้อมตอนขับรถง่วง ๆ ได้ผลดี เพราะเมี่ยงเป็นใบชาชนิดหนึ่งมีคาเฟอีนเหมือนกัน เราชอบกินเมี่ยงเพราะไม่ขับปัสสาวะเหมือนกาแฟ  
โอ ไม้จัตวา
  รูปนี้ก็ต้องจับกล้องนิ่ง ๆ เพราะถ่ายท้องฟ้าตอนเย็น
โอ ไม้จัตวา
 คำถามเดิม ถ่ายยังไงให้ดีให้สวย คำตอบแบบกำปั้นทุบกล้องเลยคือ มองให้เห็นความงาม ซึ่งตรงนี้ขอเน้นย้ำว่า “ความงามเป็นเรื่องปัจเจก” เป็นเรื่องของใครของมัน กล้องก็ของเรา เราถ่ายเราก็เอาไปดู และชื่นชมอย่างน้อยก็กับตัวเอง คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างไม่ต้องสนใจ ถ้าเราเห็นว่างาม...ถ่ายเลย
โอ ไม้จัตวา
  หลายคนถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ช่วยสอนหน่อยได้ไหม ความที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องการถ่ายภาพมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้เช่นกัน คำตอบที่บอกไปส่วนใหญ่จะบอกแบบโยนกล้องให้แล้วไปหาเอา
โอ ไม้จัตวา
  ไปกินปลาสะแงะมาแล้ว รสชาติและเนื้อคล้าย ๆ กับปลาคังน่ะ ร้านที่ไปกินเป็นร้านอาหารอร่อยด้วยรสมือคนปรุง ชื่อร้านน้องเบส ขอแนะนำ เป็นห้องแถวสองคูหา นอกจากปลาสะแงะที่น่าลิ้มรสแล้ว สิ่งที่พลาดไม่ได้อีกเมนูหนึ่งของร้านนี้คือ เห็ดหอมทอดซีอิ้ว ที่มีน้ำจิ้มสีเขียวสูตรของร้านนี้โดยเฉพาะ อร่อยจริง ๆ
โอ ไม้จัตวา
ภาพจาก www.thailandoutdoor.com ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ “ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น…
โอ ไม้จัตวา
http://blog.palungjit.com/uploads/s/saochiangmai/3152.mp3 เพลงน้องน้อยแพนด้า สำหรับดาวน์โหลดค่ะ แพนด้าไม่ใช่หมี แพนด้าคือแพนด้า
โอ ไม้จัตวา
  ความที่ปายเป็นเมืองโรแมนติก เมืองที่อยู่สบาย ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำเล็ก ๆ ไหลผ่าน เหมือนภาพในฝัน ในนิทานยังไงยังงั้น จึงมีผู้คนจำนวนหนึ่งย้ายนิวาสสถานมาอาศัยอยู่ที่ปาย บางคนมานอนอ่านหนังสือ พักผ่อน เช่าบ้านอยู่นาน ๆ เป็นจุดแวะพักในซอกมุมหนึ่งของโลก ก่อนจะออกเดินทางต่อไป  
โอ ไม้จัตวา
ดอกไม้ริมทาง ใครจะนึกบ้างว่าเมืองที่ “อะไรก็ปาย” ในพ.ศ.นี้ เคยเป็นดินแดนสำหรับเนรเทศผู้กระทำความผิดมาก่อน ย้อนหลังไปไกลเจ็ดร้อยกว่าปี เมื่อเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในพ.ศ. 1839 ในสมัยราชวงศ์มังรายปกครองเชียงใหม่นี้ ปายก็เป็นเมืองหน้าด่านเมืองหนึ่งของเชียงใหม่ ในชื่อว่า “เมืองน้อย” ซึ่งปัจจุบันบ้านเมืองน้อย (อยู่ระหว่างปายกับอ.เวียงแหง) เป็นหมู่บ้านของชาวปกากญอ อยู่ต้น ๆ ของแม่น้ำปาย
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาพารถคันน้อย ๆ ไปออกกำลังกายอีกแล้ว คราวนี้ไปแบบไม่รู้อะไรเลย บ้านวัดจันทร์ ฉันรู้จักในนามป่าสนวัดจันทร์ ความที่ชอบต้นสนสองใบ สามใบ และไม่เคยแยกออกสักทีว่าอย่างไหนสองใบ หรือสามใบ แต่ที่ชอบคือใบฝอย ๆ เวลามองไกล ๆ แล้วดูเป็นฟู่ ๆ สวยดี ใบสนไม่มีน้ำ ยามหน้าแล้งจึงยังเขียวอยู่เนื่องจากมีน้ำมันอยู่ข้างใน
โอ ไม้จัตวา
คนปาย
โอ ไม้จัตวา
ตื่นเช้ามาด้วยอาการแฮ้งค์ดาวแดงอย่างสุดชีวิต ความที่เคมีในร่างการเริ่มปฏิเสธดาวดาวสีแดงดวงนี้ ทำให้ชีวิตฉันง่ายขึ้นเมื่อต้องชะตากับลีโอ จนเพื่อนร่วมทางบอกว่าเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่กินลีโอ