Skip to main content
 


เพลงวาสิฏฐี  โดย มาโนช  พุฒตาล

เมื่อวานนี้ฉันหยิบ วันที่ถอดหมวก ของเสกสรรค์  ประเสริฐกุล ขึ้นมาอ่าน (อีกรอบ) ต้องบอกก่อนว่าเป็นแฟนหนังสือของอาจารย์เสกสรรค์อย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นเด็กภูหินร่องกร้า และซื้อ "ถนนหนังสือ" หน้าปกเสกสรรค์-จิระนันท์ มาอ่านด้วยความทึ่งกับหนุ่มสาวสมัยนั้น ความที่ประวัติศาสตร์ของเขาอยู่ใกล้บ้านเรา จึงยิ่งอ่านยิ่งอิน


วันที่ถอดหมวก เป็นชื่อบทความในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องที่สุดยอดในแง่ของเนื้อหาและกลวิธีการเขียน โดยเฉพาะหมวกนั้นแฟนเสกสรรค์ย่อมรู้ว่ามันเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเขา เมื่อหมาที่มีบาดแผลในใจไม่ยอมให้เขาใส่หมวก จุดที่เขาเลือกถอดหมวกเพื่อหมาตัวนั้น เป็นจุดแห่งการปลดขื่อคาในหัวใจ ที่นอกจากจะจองจำแล้วยังเสียดสีขูดขีดสร้างบาดแผลให้อีกด้วย

หากเป็นฉันในห้วงเวลาเช่นนั้น ถ้าไม่ถอดหมวกยอมมัน ก็ต้องทำใจหมาสู้รบกับบาดแผลในใจมันต่อไป

เสกสรรค์ผ่านพ้นตัวตนของเขา ขณะที่ความคิดยิ่งแก่ยิ่งคม เมื่อหยิบมาอ่านทีไร หมาน้อยธรรมดาอย่างฉัน ที่บางครั้งคลี่ปม คลายปัญหาบางอย่างไม่ออก ก็หัวโล่งเมื่อได้พบคำตอบมากมาย วางที่กายแล้วก็ได้โบนัสเป็นหนทางในการวางที่ใจ

การอ่านหนังสือบางครั้งเหมือนคุยกับเพื่อน อย่างน้อยหากวัยห่างกันก็เป็นเพื่อนมนุษย์ อย่างหนึ่งที่ฉันเห็นด้วย และปฏิบัติเช่นเดียวกับเขามาเป็นเวลานาน คือการแหงนมองท้องฟ้าอยู่บ่อย ๆ มองทีไรก็รู้สึกว่าตัวเรานั้นเล็กนิดเดียวในจักรวาล เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องอื่น ๆ นอกกายหรือในใจเราล้วนเล็กกว่า การมองฟ้าของฉันจึงเหมือนการปฏิบัติธรรมโดยมีวิหารกว้างใหญ่ มีดวงดาวและความเงียบเป็นเสียงสวดมนต์ ขณะที่เสกสรรค์ใช้วิธีการดังกล่าวเป็นสิ่งฟื้นความสงบภายใน

ในบทความ "รู้ทันตัวเอง" เขากล่าวถึงการหลอมรวมระหว่างตัวตนและความคิด เป็นสิ่งที่ทำให้แตะต้องความคิดก็พลาดไปแตะต้องตัวตนของคนเข้า เป็นเหตุแห่งทุกข์เมื่อถูกโต้แย้งความคิด แล้วสะเทือนถึงตัวตน

และบางครั้งคนก็มองไม่เห็นว่า การต่อต้านอำนาจนั้นเป็นการแสดงอำนาจอย่างหนึ่ง หรือผู้ถูกกดขี่ กลับกลายเป็นผู้กดขี่เสียเอง สาเหตุก็มาจากตัวตนและความคิดที่โยงใยอยู่ด้วยกันนี้เอง

เหตุนี้นอกจากละตัวตนจากความคิดให้ได้แล้ว ยังต้องรู้ตัวตนอีกด้วย ว่าอยู่ตรงไหน อยู่ท่ามกลางความคิดแบบไหน ของใคร ถูกครอบงำ และกำลังครอบงำสิ่งใดอยู่หรือไม่

เมื่อเดือนที่แล้วได้มีโอกาสฟังวีระศักดิ์  ยอดระบำ พูดถึงทางรอดของสังคมไทยว่า ต้องพุทธเท่านั้น สังคมไทยควรหันมาศึกษาพุทธอย่างจริงจัง สองวันก่อน ส.ศิวรักษ์ ก็พูดถึงทางออกของสังคมไทยว่าต้องพุทธเช่นกัน


คำถามจากฉันคือ ต้องวางดาบหรือไม่ก่อนจะรู้พุทธ

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
ได้มีโอกาสไปแอ่วเมืองน่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นสิบปี ไปคราวนี้คนที่ไปด้วยก็แทบไม่เคยไปเลย มีเราคนเดียวที่มาบ่อยที่สุด กระนั้นก็นับได้ประมาณสี่ครั้ง ความที่เมืองน่านเป็นเมืองที่จะว่าไกลก็ไกล จะว่าไม่ไกลก็ไม่ไกลนัก ขับรถจากเชียงใหม่ 5 ชั่วโมงรวมเวลาพักรถกินกาแฟที่เด่นชัย ขับรถเส้นทางนี้ขอแนะนำร้านกาแฟสดเด่นชัย ตรงริมแม่น้ำ เชิงสะพานทางไปลำปาง กาแฟเค้าดีจริงๆ หรือหากใครดื่มกาแฟไม่ได้ ถ้าได้ผ่านไปที่อ.ร้องกวาง จ.แพร่ แวะตลาดสด มีร้านหนึ่งขายเมี่ยง ใช้อมตอนขับรถง่วง ๆ ได้ผลดี เพราะเมี่ยงเป็นใบชาชนิดหนึ่งมีคาเฟอีนเหมือนกัน เราชอบกินเมี่ยงเพราะไม่ขับปัสสาวะเหมือนกาแฟ  
โอ ไม้จัตวา
  รูปนี้ก็ต้องจับกล้องนิ่ง ๆ เพราะถ่ายท้องฟ้าตอนเย็น
โอ ไม้จัตวา
 คำถามเดิม ถ่ายยังไงให้ดีให้สวย คำตอบแบบกำปั้นทุบกล้องเลยคือ มองให้เห็นความงาม ซึ่งตรงนี้ขอเน้นย้ำว่า “ความงามเป็นเรื่องปัจเจก” เป็นเรื่องของใครของมัน กล้องก็ของเรา เราถ่ายเราก็เอาไปดู และชื่นชมอย่างน้อยก็กับตัวเอง คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างไม่ต้องสนใจ ถ้าเราเห็นว่างาม...ถ่ายเลย
โอ ไม้จัตวา
  หลายคนถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ช่วยสอนหน่อยได้ไหม ความที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องการถ่ายภาพมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้เช่นกัน คำตอบที่บอกไปส่วนใหญ่จะบอกแบบโยนกล้องให้แล้วไปหาเอา
โอ ไม้จัตวา
  ไปกินปลาสะแงะมาแล้ว รสชาติและเนื้อคล้าย ๆ กับปลาคังน่ะ ร้านที่ไปกินเป็นร้านอาหารอร่อยด้วยรสมือคนปรุง ชื่อร้านน้องเบส ขอแนะนำ เป็นห้องแถวสองคูหา นอกจากปลาสะแงะที่น่าลิ้มรสแล้ว สิ่งที่พลาดไม่ได้อีกเมนูหนึ่งของร้านนี้คือ เห็ดหอมทอดซีอิ้ว ที่มีน้ำจิ้มสีเขียวสูตรของร้านนี้โดยเฉพาะ อร่อยจริง ๆ
โอ ไม้จัตวา
ภาพจาก www.thailandoutdoor.com ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ “ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น…
โอ ไม้จัตวา
http://blog.palungjit.com/uploads/s/saochiangmai/3152.mp3 เพลงน้องน้อยแพนด้า สำหรับดาวน์โหลดค่ะ แพนด้าไม่ใช่หมี แพนด้าคือแพนด้า
โอ ไม้จัตวา
  ความที่ปายเป็นเมืองโรแมนติก เมืองที่อยู่สบาย ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำเล็ก ๆ ไหลผ่าน เหมือนภาพในฝัน ในนิทานยังไงยังงั้น จึงมีผู้คนจำนวนหนึ่งย้ายนิวาสสถานมาอาศัยอยู่ที่ปาย บางคนมานอนอ่านหนังสือ พักผ่อน เช่าบ้านอยู่นาน ๆ เป็นจุดแวะพักในซอกมุมหนึ่งของโลก ก่อนจะออกเดินทางต่อไป  
โอ ไม้จัตวา
ดอกไม้ริมทาง ใครจะนึกบ้างว่าเมืองที่ “อะไรก็ปาย” ในพ.ศ.นี้ เคยเป็นดินแดนสำหรับเนรเทศผู้กระทำความผิดมาก่อน ย้อนหลังไปไกลเจ็ดร้อยกว่าปี เมื่อเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในพ.ศ. 1839 ในสมัยราชวงศ์มังรายปกครองเชียงใหม่นี้ ปายก็เป็นเมืองหน้าด่านเมืองหนึ่งของเชียงใหม่ ในชื่อว่า “เมืองน้อย” ซึ่งปัจจุบันบ้านเมืองน้อย (อยู่ระหว่างปายกับอ.เวียงแหง) เป็นหมู่บ้านของชาวปกากญอ อยู่ต้น ๆ ของแม่น้ำปาย
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาพารถคันน้อย ๆ ไปออกกำลังกายอีกแล้ว คราวนี้ไปแบบไม่รู้อะไรเลย บ้านวัดจันทร์ ฉันรู้จักในนามป่าสนวัดจันทร์ ความที่ชอบต้นสนสองใบ สามใบ และไม่เคยแยกออกสักทีว่าอย่างไหนสองใบ หรือสามใบ แต่ที่ชอบคือใบฝอย ๆ เวลามองไกล ๆ แล้วดูเป็นฟู่ ๆ สวยดี ใบสนไม่มีน้ำ ยามหน้าแล้งจึงยังเขียวอยู่เนื่องจากมีน้ำมันอยู่ข้างใน
โอ ไม้จัตวา
คนปาย
โอ ไม้จัตวา
ตื่นเช้ามาด้วยอาการแฮ้งค์ดาวแดงอย่างสุดชีวิต ความที่เคมีในร่างการเริ่มปฏิเสธดาวดาวสีแดงดวงนี้ ทำให้ชีวิตฉันง่ายขึ้นเมื่อต้องชะตากับลีโอ จนเพื่อนร่วมทางบอกว่าเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่กินลีโอ