Skip to main content

 

ประโยคชื่อเรื่องนั้นเป็นคำพูดคำแรก ๆ ที่ใช้สอนหนังสือ เวลาสี่เดือน ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ วันละชั่วโมง เนื้อหาทั้งหมดทั้งมวลสรุปได้ประโยคเดียวคือ ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร คนส่งสารจะใช้ภาษาอย่างไรนั้น มีหลายอย่างเป็นปัจจัย


ปีสองปีมานี้ มีคำพูดของคนอยู่สองสามประโยคที่ฟังแล้วทนไม่ได้ ต่อมความอดทนจะระเบิด ต้องรีบปิดการสื่อสารทันที เพื่อสวัสดิภาพของอารมณ์

 

เช่นคำว่า แดงประจำเดือน  ที่ใช้เป็นคำเรียกแทนคนเสื้อแดงนั้น  คนเขียนก็ไม่น่าจะโง่ง่าวถึงขนาดไม่รู้ว่าประจำเดือนคืออะไร  บอกให้อีกครั้งว่า ประจำเดือนคือ ไข่ ของผู้หญิงที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์โดยอสุจิ  ไข่จะฝังตัวในผนังมดลูก กลายเป็นพังผืดแล้วออกมาเป็นประจำเดือนทุกเดือน  โดยไข่จะตกทุกเดือน เมื่อผสมพันธุ์ถูกเวลาก็จะกลายเป็นคน คือ เรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละ นั่นแปลว่า หากเราไม่ใช่ คน ในวันนี้ เราก็คือ ประจำเดือน ในวันนั้นในอดีตของแม่

 

ฉะนั้น การเรียกคนเสื้อแดงว่า แดงประจำเดือน ด้วยนัยยะว่า ประจำเดือนเป็นเลือด เป็นของสกปรก จึงเป็นการเปรียบที่สะท้อนความไร้รสนิยม การเหยียดเลือดเนื้อของแม่ทุกคนในโลกใบนี้ ที่สำคัญคือเหยียดหยามอดีตของตัวเอง

 

คนเขียน คนคิดคำนี้ และคนที่ยินดีปรีดากับคำ ๆ นี้ ก็คือคนที่ดูถูกตัวเอง เพราะถ้าคุณไม่ใช่คน คุณก็คือประจำเดือนในผ้าอนามัยของแม่

 

ด่ากัน เปรียบกัน ด้วยคำอื่นที่สร้างสรรค์ดีกว่าว่าไปเรื่อยแบบนี้จะดีกว่า

 

อีกประโยคหนึ่งที่ทนไม่ได้ ฟังเมื่อไรก็รู้สึกอยากกลับไปเป็นประจำเดือนให้แม่ คำนั้นคือ อาหารดี ดนตรีไพเราะ คำง่าย ๆ ไม่หยาบคาย ทุกอย่างธรรมดา แต่คำพูดประโยคนี้เมื่อพูดออกมาแล้ว ในสถานการณ์นั้น จึงกลายเป็นวาจาสาธารณะ  และทำให้จำจนตายกับประโยคนี้

 

ช่วงนี้บ้านเรากลับเข้าสู่สภาวะสงครามอีกรอบหนึ่ง การเสพข่าวสารบางทีอาจทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้นได้ แม้ว่าจะพยายามรู้เท่าทันและดูอ่านอย่างมีสติก็ตาม

 

เมื่อผู้ส่งสารกับผู้รับสารจูนกันไม่ได้ เราในฐานะผู้รับสารก็ปิดสื่อนั้นเสีย เพราะตราบใดที่หาความเป็นกลางไม่ได้ ทุกคำพูดเต็มไปด้วยหอกดาบหยาบคายพ่นออกมาตามหน้าเวบ เราก็ไม่จำเป็นต้องอ่านมันอีกต่อไป

 

 

 

บล็อกของ โอ ไม้จัตวา

โอ ไม้จัตวา
ได้มีโอกาสไปแอ่วเมืองน่านเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นสิบปี ไปคราวนี้คนที่ไปด้วยก็แทบไม่เคยไปเลย มีเราคนเดียวที่มาบ่อยที่สุด กระนั้นก็นับได้ประมาณสี่ครั้ง ความที่เมืองน่านเป็นเมืองที่จะว่าไกลก็ไกล จะว่าไม่ไกลก็ไม่ไกลนัก ขับรถจากเชียงใหม่ 5 ชั่วโมงรวมเวลาพักรถกินกาแฟที่เด่นชัย ขับรถเส้นทางนี้ขอแนะนำร้านกาแฟสดเด่นชัย ตรงริมแม่น้ำ เชิงสะพานทางไปลำปาง กาแฟเค้าดีจริงๆ หรือหากใครดื่มกาแฟไม่ได้ ถ้าได้ผ่านไปที่อ.ร้องกวาง จ.แพร่ แวะตลาดสด มีร้านหนึ่งขายเมี่ยง ใช้อมตอนขับรถง่วง ๆ ได้ผลดี เพราะเมี่ยงเป็นใบชาชนิดหนึ่งมีคาเฟอีนเหมือนกัน เราชอบกินเมี่ยงเพราะไม่ขับปัสสาวะเหมือนกาแฟ  
โอ ไม้จัตวา
  รูปนี้ก็ต้องจับกล้องนิ่ง ๆ เพราะถ่ายท้องฟ้าตอนเย็น
โอ ไม้จัตวา
 คำถามเดิม ถ่ายยังไงให้ดีให้สวย คำตอบแบบกำปั้นทุบกล้องเลยคือ มองให้เห็นความงาม ซึ่งตรงนี้ขอเน้นย้ำว่า “ความงามเป็นเรื่องปัจเจก” เป็นเรื่องของใครของมัน กล้องก็ของเรา เราถ่ายเราก็เอาไปดู และชื่นชมอย่างน้อยก็กับตัวเอง คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างไม่ต้องสนใจ ถ้าเราเห็นว่างาม...ถ่ายเลย
โอ ไม้จัตวา
  หลายคนถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ช่วยสอนหน่อยได้ไหม ความที่ไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องการถ่ายภาพมาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ทำให้เราสอนเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้เช่นกัน คำตอบที่บอกไปส่วนใหญ่จะบอกแบบโยนกล้องให้แล้วไปหาเอา
โอ ไม้จัตวา
  ไปกินปลาสะแงะมาแล้ว รสชาติและเนื้อคล้าย ๆ กับปลาคังน่ะ ร้านที่ไปกินเป็นร้านอาหารอร่อยด้วยรสมือคนปรุง ชื่อร้านน้องเบส ขอแนะนำ เป็นห้องแถวสองคูหา นอกจากปลาสะแงะที่น่าลิ้มรสแล้ว สิ่งที่พลาดไม่ได้อีกเมนูหนึ่งของร้านนี้คือ เห็ดหอมทอดซีอิ้ว ที่มีน้ำจิ้มสีเขียวสูตรของร้านนี้โดยเฉพาะ อร่อยจริง ๆ
โอ ไม้จัตวา
ภาพจาก www.thailandoutdoor.com ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์  วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ “ปลาไหลหูดำ  โอว  หี่  เหมา  ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย   ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น แต่บางคนบอกความลับว่า  พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น…
โอ ไม้จัตวา
http://blog.palungjit.com/uploads/s/saochiangmai/3152.mp3 เพลงน้องน้อยแพนด้า สำหรับดาวน์โหลดค่ะ แพนด้าไม่ใช่หมี แพนด้าคือแพนด้า
โอ ไม้จัตวา
  ความที่ปายเป็นเมืองโรแมนติก เมืองที่อยู่สบาย ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำเล็ก ๆ ไหลผ่าน เหมือนภาพในฝัน ในนิทานยังไงยังงั้น จึงมีผู้คนจำนวนหนึ่งย้ายนิวาสสถานมาอาศัยอยู่ที่ปาย บางคนมานอนอ่านหนังสือ พักผ่อน เช่าบ้านอยู่นาน ๆ เป็นจุดแวะพักในซอกมุมหนึ่งของโลก ก่อนจะออกเดินทางต่อไป  
โอ ไม้จัตวา
ดอกไม้ริมทาง ใครจะนึกบ้างว่าเมืองที่ “อะไรก็ปาย” ในพ.ศ.นี้ เคยเป็นดินแดนสำหรับเนรเทศผู้กระทำความผิดมาก่อน ย้อนหลังไปไกลเจ็ดร้อยกว่าปี เมื่อเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในพ.ศ. 1839 ในสมัยราชวงศ์มังรายปกครองเชียงใหม่นี้ ปายก็เป็นเมืองหน้าด่านเมืองหนึ่งของเชียงใหม่ ในชื่อว่า “เมืองน้อย” ซึ่งปัจจุบันบ้านเมืองน้อย (อยู่ระหว่างปายกับอ.เวียงแหง) เป็นหมู่บ้านของชาวปกากญอ อยู่ต้น ๆ ของแม่น้ำปาย
โอ ไม้จัตวา
  ได้เวลาพารถคันน้อย ๆ ไปออกกำลังกายอีกแล้ว คราวนี้ไปแบบไม่รู้อะไรเลย บ้านวัดจันทร์ ฉันรู้จักในนามป่าสนวัดจันทร์ ความที่ชอบต้นสนสองใบ สามใบ และไม่เคยแยกออกสักทีว่าอย่างไหนสองใบ หรือสามใบ แต่ที่ชอบคือใบฝอย ๆ เวลามองไกล ๆ แล้วดูเป็นฟู่ ๆ สวยดี ใบสนไม่มีน้ำ ยามหน้าแล้งจึงยังเขียวอยู่เนื่องจากมีน้ำมันอยู่ข้างใน
โอ ไม้จัตวา
คนปาย
โอ ไม้จัตวา
ตื่นเช้ามาด้วยอาการแฮ้งค์ดาวแดงอย่างสุดชีวิต ความที่เคมีในร่างการเริ่มปฏิเสธดาวดาวสีแดงดวงนี้ ทำให้ชีวิตฉันง่ายขึ้นเมื่อต้องชะตากับลีโอ จนเพื่อนร่วมทางบอกว่าเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่กินลีโอ