Skip to main content
 

สุกัญญา เบาเนิด

ในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม 

แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร) มีการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญ ในวันสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา หรือ เทศกาลต่างๆ  โดยเฉพาะงานวันชาติมอญ ซึ่งเป็นวันที่แรงงานมอญทุกคนจะพร้อมใจกัน การแต่งกายแบบมอญ หรือ ชุดประจำชาติ ซึ่งเป็นที่รับรู้ว่า ผู้ชายต้องสวมใส่ โสร่งแดง
เป็นโสร่งพื้นแดงลายตารางคล้ายคันนามีแถบขาวคาดที่กลางผืน และแถบขาวนี้เองก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้โสร่งมอญแตกต่างจากโสร่งของพม่า  ส่วนเสื้อนั้นมีลักษณะสีขาวหรืออาจจะมีลายตารางสีแดงบนพื้นขาว คอกลมแขนยาวผ่าหน้าผูกเชือก  ส่วนผู้หญิงต้องนุ่งผ้าถุงแดง ลักษณะผ้าถุงเป็นลายดอกบนพื้นแดงมีเชิง ส่วนเสื้อมีลักษณะเป็นเสื้อสีขาว หรือ สีชมพูอ่อนแขนยาว คอกลมผ่าหน้าผูกเชือก ชายเสื้อค่อนข้างยาวปิดสะโพกเพื่อให้แตกต่างจากเสื้อผู้หญิงพม่า 

คนมอญเชื่อว่าการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติมอญนั้นเป็นการแสดงถึงความรักชาติ และแยกตัวออกจากความเป็นพม่า มิอู อายุ ๒๕ ปี คนมอญหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า ทำงานที่สมุทรสาครประมาณ ๑๒ ปี กล่าวว่า
"....ถ้ามอญแต่งชุดมอญแสดงว่ารักชาติ ถ้าไม่แต่งชุดแบบนี้เขาก็ดูไม่ออก อันไหนมอญอันไหนพม่า...." (๑)

ดังที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่เรียกว่าชุดประจำชาติของมอญ การสวมใส่ชุดมอญเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นมอญของผู้สวมใส่ และความคิดชาตินิยม ถึงแม้ชุดประจำชาติมอญจะเกิดขึ้นไม่นานและก็เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกหยิบยกมาแสดงถึงตัวตนมอญโดยได้รับอิทธิพลจากพรรคมอญใหม่ในการสร้างกระแสชาตินิยมมอญ เพราะไม่เพียงแต่ชุดประจำชาติที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่ยังมีธงชาติมอญ เพลงชาติมอญ วันชาติมอญ สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ(หงส์)อีกด้วย เป็นการปลูกฝังสำนึกทางชาติพันธุ์ของคนมอญในประเทศพม่าที่ดำเนินมาตลอดระยะเวลาเกือบ ๖๐ ปีตั้งแต่อังกฤษได้คืนเอกราชให้พม่าและเหตุการณ์การละเมิดข้อตกลงปางโหลงที่เป็นชนวนให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆกับรัฐบาลพม่าตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙๐ เป็นต้นมา

นอกจากการสวมใส่ชุดประจำชาติ ตามวาระและโอกาสต่างๆแล้ว  พบว่าในกลุ่มแรงงานมอญยังนิยมเสื้อผ้าอีกรูปแบบหนึ่ง คือ เสื้อยืดที่มีลวดลายและข้อความภาษามอญ เรียกว่า "เสื้อลายมอญ"   มักจะจัดทำขึ้นในวาระสำคัญต่างๆ เช่น งานวันชาติมอญ งานออกพรรษา งานสงกรานต์ งานลอยกระทง เป็นต้น ลวดลายและข้อความต่างๆ บางลวดลายได้บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจ  โดยทำเป็นรูปอดีตกษัตริย์มอญ  เช่น รูปพระเจ้าราชาธิราช   พระเจ้าเมียะมนูฮอ  หรือ พระนางจามเทวี  ทำให้ชวนคิดต่อไปว่าเพราะเหตุอันใดลวดลายเหล่านี้ถึงมาปรากฏอยู่บนเสื้อผ้า  และมีอะไรที่เป็นความรู้สึกลึกๆที่ซ่อนอยู่ในความคิดและความรู้สึกของผู้สวมใส่

ยกตัวอย่างเช่น เสื้อที่ทำเป็นรูป พระเจ้าเมียะมนูฮอ มีข้อความว่า "พระเจ้าเมียะนูฮอต้องถูกมัด (พันธนาการ) และทรมานจากกษัตริย์พม่า พระเจ้าอโนรธา"   เสื้อลายนี้ถูกอธิบายว่าถูกห้ามสวมใส่ในประเทศพม่า เนื่องมาจากมีความหมายในเชิงการเมืองและเป็นการต่อต้าน  แต่ในส่วนของคนมอญนั้นมันได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่ง
กดขี่ข่มเหงคนมอญตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นภาพในจินตนาการ หรือในสภาวะการณ์ปัจจุบัน

นายกาวซอน คนมอญย้ายถิ่นหมู่บ้านแหว่งอะเปาะ เมืองปอง จังหวัดสะเทิม รัฐมอญ ประเทศพม่า  ทำในงานในสมุทรสาครประมาณ ๑๐ ปี อาศัยอยู่แถบวัดโกรกกรากใน พูดถึงเสื้อลายมอญให้ฟังว่า

"...จริงๆแล้วทุกวันนี้มอญเราก็มีอยู่แค่เสื้อกับโสร่ง...ความรู้สึกในใจของเราถ้าเราไม่ได้พูดออกมาเราก็จะไม่มีความสุขเราใส่เสื้อแบบนี้มันแทนความรู้สึกข้างใน เราอยากจะแสดงออก เราไม่ได้หวังให้ใครรับรู้นอกจาพวกเราเอง ถึงอย่างอื่นเราจะพ่ายแพ้แต่จิตใจเราไม่แพ้ เราจึงเตือนสติกันเองว่า รูปนี้พระเจ้าของเรานะ  อันนี้เป็นตัวหนังสือภาษามอญของเรานะ .." (๒)

เสื้อลายมอญทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเสื้อประจำกลุ่ม นอกจากลวดลายและข้อความต่างๆแล้วยังมีข้อความที่ระบุถึงชื่อกลุ่ม และหมู่บ้าน เมือง ในเมืองมอญ (ประเทศพม่า) แรงงานมอญที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะผลิตเสื้อซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มตัวเอง บางครั้งอาจมีการใช้ข้อความเป็นภาษาไทยเพื่อสื่อให้คนไทยได้รับรู้ว่าผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าเหล่านั้นเป็นคนมอญไม่ใช่คนพม่า

สำหรับลวดลายที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ รูปหงส์ เนื่องจากหงส์สัญลักษณ์ของมอญซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเชื่อมโยงกับตำนานการสร้างเมืองหงสาวดี และเมื่อมีวันชาติมอญหงส์ก็ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเป็นสัญลักษณ์แทนชนชาติมอญ หงส์เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด มักจะปรากฏอยู่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รูปปั้น ภาพเขียน รูปแกะสลัก บนเสื้อผ้า ตราประจำองค์กรของมอญ และธงชาติ ในงานวันชาติมักจะพบเห็นสัญลักษณ์ของหงส์อยู่ทั่วไป  หงส์นั้นไม่เพียงแต่ปรากฏในงานวันชาติเท่านั้น งานสำคัญทางศาสนา งานบุญประเพณีก็มักจะนำรูปหงส์มาประดับไว้ในงาน คล้ายกับเป็นการเน้นย้ำถึงความเป็นมอญ นอกจากนี้อากัปกริยาของหงส์บางลักษณะก็สื่อความหมายแตกต่างกันไป เช่น
๑. หงส์คู่ซ้อนกัน หมายถึง หงส์ในตำนานการสร้าง เมืองหงสาวดี  
๒. หงส์บิน  มีความหมายในเชิงการเมืองมากที่สุด ปรากฏอยู่บนผืนธงชาติมอญ  ในมุมมองของทางการพม่ายอมรับที่คนมอญใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์แต่ก็ต้องเป็นหงส์ยืน (นิ่งๆ)เท่านั้น หากทำเป็นรูปหงส์บินพม่าก็จะถือว่าเป็นศัตรู  ๓. หงส์ยกเท้า มีความหมายในเชิงการเมือง สืบเนื่อง จากทางการพม่าห้ามไม่ใช้รูปหงส์บิน  กลุ่มนักศึกษามอญในมหาวิทยาลับย่างกุ้งได้ออกแบบหงส์ขึ้นใหม่ ยกเท้ากำลังก้าวขาข้างหนึ่งกำลังจะก้าวไปข้างหน้า (๓) แทนความหมายว่าคนมอญจะไม่หยุดการเคลื่อนไหวเรื่องชนชาติและพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าเสมอ  

ในปัจจุบันการสกรีนเสื้อยืดเป็นลวดลายและข้อความภาษามอญสามารถทำได้ง่ายและสะดวก เพราะตั้งแต่มีคอมพิวเตอร์และการพัฒนารูปแบบอักษรมอญที่สามารถใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ประกอบกับในเมืองไทยสามารถหาร้านสกรีนได้ง่าย ต่างกับที่เมืองมอญ(ประเทศพม่า) ซึ่งร้านสกรีนเสื้อนั้นหายากและมีราคาแพง ที่สำคัญสังคมไทยให้สิทธิเสรีในการแสดงออกทางความคิด ตราบใดที่ท่าทีและการแสดงออกของคนมอญเหล่านั้นไม่ได้เป็นปฏิปักษ์หรือต่อต้านรัฐบาลไทย  ตรงกันข้ามกับในประเทศพม่าที่รัฐบาลมักมีข้อจำกัดต่อการแสดงออกทางด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อยต่างๆ 

นายอองซอนโม่น อายุ ๒๕ ปีคนมอญจากหมู่บ้านกวักเต่ เมืองมุเดิง จังหวัดมะละแหม่ง เช่าห้องอยู่แถบมหาชัยนิเวศน์ และเข้ามาเป็นแรงงานในสมุทรสาครประมาณ ๙ ปีกล่าวถึงชุดประจำชาติมอญและเสื้อลายมอญให้ฟังว่า
"....เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เขาก็ทำกันอยู่ เราก็รับรู้ โสร่งแดง เสื้อขาว ชุดประจำชาติเราก็รู้...ความหมายโสร่งคือ สีแดงหมายถึง สีเลือด แสดงว่ารักชาติ ส่วนสีขาวหมายถึงศาสนาและ จิตใจที่ใสสะอาด   ส่วนที่พม่าไม่มีเสื้อที่สกรีนลายหรอกเป็นเสื้อขาวเฉยๆ ตราแบบนี้ไม่มีหรอก ทำไม่ได้หรอกเขาไม่ให้ทำ เขาไม่ให้โอกาส ประเทศไทยนั้นทำได้..." (๔)             

ปัจจุบันเสื้อลายมอญยังคงได้รับการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง นับวันก็จะมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น  หากสามารถถอดความหมายที่อยู่บนเสื้อแต่ละตัว เราคงจะได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคมของมอญได้อย่างไม่รู้จบ  เดิมทีนั้นผู้เขียนเองก็ไม่ได้สนใจเสื้อลายมอญเหล่านี้เท่าไหร่นัก มีบ้างตัวสองตัว เมื่อได้เรียนรู้ความหมายที่อยู่บนตัวเสื้อ จากเดิมที่ไม่ได้สนใจก็กลายมาเป็นการสะสม...แล้วก็รอลุ้นว่า....งานวันชาติมอญในปีหน้าเสื้อลายมอญจะเป็นรูปอะไร.!!!!

อ้างอิง
(๑) สัมภาษณ์  มิอู,  คนมอญจากหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง เมืองมอญ ประเทศพม่า,  4 พฤศจิกายน 2549.
(๒) สัมภาษณ์  นายกาวซอน,  คนมอญบ้านแหว่งอะเปาะ เมืองปอง จังหวัดสะเทิม เมืองมอญประเทศพม่า,  ๒๖ พฤศจิกายน,๒๕๔๙.
(๓) พิสัณห์ ปลัดสิงห์,  มอญ ชนชาติไร้แผ่นดิน, กรุงเทพฯ  :  พิมพ์ที่จตุจักรการพิมพ์, ๒๕๒๕. หน้า ๓๒ .
(๔) สัมภาษณ์  นายอองซอนโม่น,  คนมอญจากเมืองมอญ ประเทศพม่า,  ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙.

20_8_01
เสื้อลายมอญรูปมนุษยสิงห์ สัญลักษณ์ของเมืองสะเทิมมีข้อความว่า
"ทหารกู้ชาติมอญ"

20_8_02
เสื้อลายมอญรูปหงส์มีข้อความว่า
"กลุ่มเยาวชนมอญหงสา"

20_8_03 20_8_04
เสื้อลายมอญรูปพระเจ้าราชาธิราช (กษัตริย์มอญ)  มีข้อความว่า
"กลุ่มสามัคคีหงสา"

20_8_05
เสื้อลายมอญรูปพระเจ้าเมียะนูฮอ (กษัตริย์มอญ) ข้อความว่า
"รูปพระเจ้าเมียะนูฮอต้องถูกมัด(พันธนาการ) โดยกษัตริย์พม่า พระเจ้าอโนรธา"

20_8_06
เสื้อลายมอญรูปพระนาง
จามเทวี มีข้อความว่า "กลุ่มทำงานวันชาติมอญครั้งที่ ๕๙ และวีระกษัตรีมอญจามเทวี"

20_8_07
เสื้อลายมอญรูปหงส์และจารึกหนังสือมอญ มีข้อความว่า
"อนุรักษ์กันมาแต่รากเหง้าของเราชาวมอญ และทำทุกอย่างเพื่อชาติจะได้รุ่งเรือง"

20_8_08

20_8_09
เสื้อลายมอญรูปธงชาติมอญ(ด้านหน้า) และรูปหงส์
มีข้อความว่า
"วันชนชาติมอญครั้งที่ ๕๗ ประเทศมาเลเชีย" (ด้านหลัง)

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
การบริภาษผู้ที่มาทำให้เราไม่พอใจนั้นมีอยู่ด้วยกันทุกชนชาติ หากแต่ถ้อยคำที่ก่นด่ากันนั้นมีนัยยะสำคัญอย่างไร เหตุใดคนที่เลือกสรรถ้อยคำนั้นขึ้นมาจึงคิดว่าจะเป็นคำที่เจ็บแสบ สามารถระบายอารมณ์พลุ่งพล่านนั้นลงได้ ว่าแต่ว่า คำที่คนชาติหนึ่งด่ากันแล้วนำเอาไปด่าใส่คนอีกชาติหนึ่งมันจะเจ็บแสบอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือคนด่าจะเป็นฝ่ายเจ็บเสียเอง
องค์ บรรจุน
บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร
องค์ บรรจุน
แม้พุทธศาสนาจะมีต้นกำเนิดมาจากชมพูทวีป แต่ชนชาติต่างๆ ได้มีการแลกรับปรับใช้ในแบบของตนเอง เกิดลัทธินิกายผิดแผกแตกต่างกันไป สำหรับพุทธศาสนาในเมืองไทยนั้นเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเถรวาทของมอญ ซึ่งเลื่องชื่อเรื่องความเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติของสงฆ์และความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแน่นแฟ้นของพุทธศาสนิกชนมอญ ข้อหนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้คือ พุทธประวัติตอนที่พระนางพิมพาสยายผมลงเช็ดพระบาทองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธประวัติตอนนี้มีกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของมอญเท่านั้น นอกจากนี้ชาวมอญยังได้นำมาใช้ในชีวิตจริงกับกษัตริย์และราชวงศ์อีกด้วย…
องค์ บรรจุน
ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน  
องค์ บรรจุน
ป้าขจี (สงวนนามสกุล) เป็นคนที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในหลายวัฒนธรรม คลุกคลีกับผู้คนตั้งแต่เหนือสุดจนเกือบใต้สุดแดนสยาม อีกทั้งยังมีการผสมผสานหลายชาติพันธุ์ในตัวของป้า กับวัยที่ผ่านสุขทุกข์มาแล้วกว่า ๗๖ ปี จิตใจที่โน้มเอียงเลือกจะอยู่ข้างวัฒนธรรมแบบใดหรือยอมรับการผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตมากน้อยเพียงใดนั้น คงเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่หล่อหลอมป้าขจีมาตั้งแต่วัยเด็ก
องค์ บรรจุน
ไม่รู้ว่าทำไมนักวิชาการที่ชอบใช้ทฤษฎีเมืองนอกเมืองนา ประเภทท่องจำขี้ปากฝรั่งมาพูด (สังเกตดูจากบทความวิชาการที่มักมีวงเล็บภาษาอังกฤษ มีเชิงอรรถในแต่ละหน้าเกือบครึ่งหน้ากระดาษ ฉันไม่ได้รังเกียจหลักการวิชาการของต่างชาติที่มีมาก่อนเรา เพียงแต่สงสัยว่า ตรงไหนกันหนอคือความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากสมองของคนเขียน...?) ชอบเอาทฤษฎีมาทดสอบพฤติกรรมเอากับคนเล็กคนน้อย คนที่ไม่ค่อยมีปากมีเสียงในสังคม โดยมักมีคำถามและ “คำพิพากษา” ต่อคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เมื่อพบเจอคนชาติพันธุ์นุ่งห่มชุดประจำชาติของเขาในกิจกรรมสำคัญ ก็ล้วนมีคำพูดถากถางเสียดสี และพูดคุยกันในกลุ่มของตัวเองแบบเห็นเป็นเรื่องขำ
องค์ บรรจุน
ถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่คงรู้กันแล้วว่า พม่าย้ายเมืองหลวงจาก ร่างกุ้ง (Rangoon) ไปยังเมืองเนปิดอว์ (Naypyitaw หรือ Naypyidaw) หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไม เหตุผลที่คาดเดากันไปก็มีหลายอย่าง ทั้งความเชื่อถือของนายพลตานฉ่วยตามคำทำนายของโหรส่วนตัว ภัยคุกคามจากอเมริกา หรือข่าวล่าสุดเรื่องการสะสมอาวุธ สร้างอุโมงค์ใต้ดินซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกาหลีเหนือเมื่อไม่นาน เพื่อลำเลียงพลและสรรพาวุธป้องกันตนเองและควบคุมชนกลุ่มน้อยต่างๆ
องค์ บรรจุน
เม้ยเผื่อน เล่าว่า ตนเองเกิดที่ย่านวัดน่วมกานนท์ ตำบลชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับบ้านปากบ่อและอยู่ภายในตำบลเดียวกันและเป็นหมู่บ้านของสามีและเครือญาติทางสามี
องค์ บรรจุน
  ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
องค์ บรรจุน
ผมเป็นคนมหาชัย แม้ว่ามหาชัยเป็นเพียงแค่ชื่อตำบลหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แต่คนทั่วไปกลับรู้จักคุ้นเคยมากกว่าชื่อจังหวัด เช่นเดียวกับ แม่กลอง ซึ่งเปรียบเหมือนชื่อเล่นที่คนเคยปากมากกว่าชื่อสมุทรสงคราม ทั้งที่เป็นเพียงชื่อตำบลเล็กๆ เท่านั้น ทั้งสองจังหวัดนี้อยู่ชายทะเลอ่าวไทย สมุทรสาครมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านท่าจีน ไม่ต่างจากสมุทรสงครามที่มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ไปออกอ่าวไทยที่บ้านแม่กลอง
องค์ บรรจุน
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยมีรัฐเอกราชปกครองตนเองอยู่ตอนใต้ของประเทศพม่า ปัจจุบันอยู่ในฐานะชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า ขณะที่มอญส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามายังดินแดนไทย และมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยเช่นเดียวกัน ชนชาติมอญ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรมสืบเนื่องมายาวนาน แม้ปัจจุบันจะไม่มีรัฐปกครองตนเอง แต่วัฒนธรรมมอญทางด้านศาสนา ภาษา วรรณคดี สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมของชนชาติในภูมิภาคนี้ ล้วนได้รับอิทธิพลจากมอญ
องค์ บรรจุน
ราชาธิราช คือ วรรณคดีไทยที่แปลมาจากพงศาวดารมอญ โดยมีการแต่งเติมรายละเอียดบางอย่าง จึงไม่ใช่ประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารมอญ แม้คนมอญจำนวนมากเชื่อว่า “ราชาธิราช” เป็นพงศาวดารชาติมอญก็ตาม เพราะได้รับอิทธิพลจากการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และคณะ แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นำมาสู่การจัดพิมพ์จำหน่ายโดยหมอบรัดเลย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และอีกหลายสำนักพิมพ์มากกว่า ๒๒ ครั้ง ไม่นับแบบเรียน การแสดงลิเก ละครพันทาง ละครเวที และละครโทรทัศน์