Skip to main content
 

สุกัญญา เบาเนิด

ในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม 

แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร) มีการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญ ในวันสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา หรือ เทศกาลต่างๆ  โดยเฉพาะงานวันชาติมอญ ซึ่งเป็นวันที่แรงงานมอญทุกคนจะพร้อมใจกัน การแต่งกายแบบมอญ หรือ ชุดประจำชาติ ซึ่งเป็นที่รับรู้ว่า ผู้ชายต้องสวมใส่ โสร่งแดง
เป็นโสร่งพื้นแดงลายตารางคล้ายคันนามีแถบขาวคาดที่กลางผืน และแถบขาวนี้เองก็กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้โสร่งมอญแตกต่างจากโสร่งของพม่า  ส่วนเสื้อนั้นมีลักษณะสีขาวหรืออาจจะมีลายตารางสีแดงบนพื้นขาว คอกลมแขนยาวผ่าหน้าผูกเชือก  ส่วนผู้หญิงต้องนุ่งผ้าถุงแดง ลักษณะผ้าถุงเป็นลายดอกบนพื้นแดงมีเชิง ส่วนเสื้อมีลักษณะเป็นเสื้อสีขาว หรือ สีชมพูอ่อนแขนยาว คอกลมผ่าหน้าผูกเชือก ชายเสื้อค่อนข้างยาวปิดสะโพกเพื่อให้แตกต่างจากเสื้อผู้หญิงพม่า 

คนมอญเชื่อว่าการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติมอญนั้นเป็นการแสดงถึงความรักชาติ และแยกตัวออกจากความเป็นพม่า มิอู อายุ ๒๕ ปี คนมอญหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง ประเทศพม่า ทำงานที่สมุทรสาครประมาณ ๑๒ ปี กล่าวว่า
"....ถ้ามอญแต่งชุดมอญแสดงว่ารักชาติ ถ้าไม่แต่งชุดแบบนี้เขาก็ดูไม่ออก อันไหนมอญอันไหนพม่า...." (๑)

ดังที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่เรียกว่าชุดประจำชาติของมอญ การสวมใส่ชุดมอญเป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นมอญของผู้สวมใส่ และความคิดชาตินิยม ถึงแม้ชุดประจำชาติมอญจะเกิดขึ้นไม่นานและก็เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกหยิบยกมาแสดงถึงตัวตนมอญโดยได้รับอิทธิพลจากพรรคมอญใหม่ในการสร้างกระแสชาตินิยมมอญ เพราะไม่เพียงแต่ชุดประจำชาติที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่ยังมีธงชาติมอญ เพลงชาติมอญ วันชาติมอญ สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ(หงส์)อีกด้วย เป็นการปลูกฝังสำนึกทางชาติพันธุ์ของคนมอญในประเทศพม่าที่ดำเนินมาตลอดระยะเวลาเกือบ ๖๐ ปีตั้งแต่อังกฤษได้คืนเอกราชให้พม่าและเหตุการณ์การละเมิดข้อตกลงปางโหลงที่เป็นชนวนให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆกับรัฐบาลพม่าตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙๐ เป็นต้นมา

นอกจากการสวมใส่ชุดประจำชาติ ตามวาระและโอกาสต่างๆแล้ว  พบว่าในกลุ่มแรงงานมอญยังนิยมเสื้อผ้าอีกรูปแบบหนึ่ง คือ เสื้อยืดที่มีลวดลายและข้อความภาษามอญ เรียกว่า "เสื้อลายมอญ"   มักจะจัดทำขึ้นในวาระสำคัญต่างๆ เช่น งานวันชาติมอญ งานออกพรรษา งานสงกรานต์ งานลอยกระทง เป็นต้น ลวดลายและข้อความต่างๆ บางลวดลายได้บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่น่าสนใจ  โดยทำเป็นรูปอดีตกษัตริย์มอญ  เช่น รูปพระเจ้าราชาธิราช   พระเจ้าเมียะมนูฮอ  หรือ พระนางจามเทวี  ทำให้ชวนคิดต่อไปว่าเพราะเหตุอันใดลวดลายเหล่านี้ถึงมาปรากฏอยู่บนเสื้อผ้า  และมีอะไรที่เป็นความรู้สึกลึกๆที่ซ่อนอยู่ในความคิดและความรู้สึกของผู้สวมใส่

ยกตัวอย่างเช่น เสื้อที่ทำเป็นรูป พระเจ้าเมียะมนูฮอ มีข้อความว่า "พระเจ้าเมียะนูฮอต้องถูกมัด (พันธนาการ) และทรมานจากกษัตริย์พม่า พระเจ้าอโนรธา"   เสื้อลายนี้ถูกอธิบายว่าถูกห้ามสวมใส่ในประเทศพม่า เนื่องมาจากมีความหมายในเชิงการเมืองและเป็นการต่อต้าน  แต่ในส่วนของคนมอญนั้นมันได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่ง
กดขี่ข่มเหงคนมอญตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นภาพในจินตนาการ หรือในสภาวะการณ์ปัจจุบัน

นายกาวซอน คนมอญย้ายถิ่นหมู่บ้านแหว่งอะเปาะ เมืองปอง จังหวัดสะเทิม รัฐมอญ ประเทศพม่า  ทำในงานในสมุทรสาครประมาณ ๑๐ ปี อาศัยอยู่แถบวัดโกรกกรากใน พูดถึงเสื้อลายมอญให้ฟังว่า

"...จริงๆแล้วทุกวันนี้มอญเราก็มีอยู่แค่เสื้อกับโสร่ง...ความรู้สึกในใจของเราถ้าเราไม่ได้พูดออกมาเราก็จะไม่มีความสุขเราใส่เสื้อแบบนี้มันแทนความรู้สึกข้างใน เราอยากจะแสดงออก เราไม่ได้หวังให้ใครรับรู้นอกจาพวกเราเอง ถึงอย่างอื่นเราจะพ่ายแพ้แต่จิตใจเราไม่แพ้ เราจึงเตือนสติกันเองว่า รูปนี้พระเจ้าของเรานะ  อันนี้เป็นตัวหนังสือภาษามอญของเรานะ .." (๒)

เสื้อลายมอญทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเสื้อประจำกลุ่ม นอกจากลวดลายและข้อความต่างๆแล้วยังมีข้อความที่ระบุถึงชื่อกลุ่ม และหมู่บ้าน เมือง ในเมืองมอญ (ประเทศพม่า) แรงงานมอญที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันก็จะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะผลิตเสื้อซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มตัวเอง บางครั้งอาจมีการใช้ข้อความเป็นภาษาไทยเพื่อสื่อให้คนไทยได้รับรู้ว่าผู้ที่สวมใส่เสื้อผ้าเหล่านั้นเป็นคนมอญไม่ใช่คนพม่า

สำหรับลวดลายที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ รูปหงส์ เนื่องจากหงส์สัญลักษณ์ของมอญซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณเชื่อมโยงกับตำนานการสร้างเมืองหงสาวดี และเมื่อมีวันชาติมอญหงส์ก็ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติเป็นสัญลักษณ์แทนชนชาติมอญ หงส์เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด มักจะปรากฏอยู่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รูปปั้น ภาพเขียน รูปแกะสลัก บนเสื้อผ้า ตราประจำองค์กรของมอญ และธงชาติ ในงานวันชาติมักจะพบเห็นสัญลักษณ์ของหงส์อยู่ทั่วไป  หงส์นั้นไม่เพียงแต่ปรากฏในงานวันชาติเท่านั้น งานสำคัญทางศาสนา งานบุญประเพณีก็มักจะนำรูปหงส์มาประดับไว้ในงาน คล้ายกับเป็นการเน้นย้ำถึงความเป็นมอญ นอกจากนี้อากัปกริยาของหงส์บางลักษณะก็สื่อความหมายแตกต่างกันไป เช่น
๑. หงส์คู่ซ้อนกัน หมายถึง หงส์ในตำนานการสร้าง เมืองหงสาวดี  
๒. หงส์บิน  มีความหมายในเชิงการเมืองมากที่สุด ปรากฏอยู่บนผืนธงชาติมอญ  ในมุมมองของทางการพม่ายอมรับที่คนมอญใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์แต่ก็ต้องเป็นหงส์ยืน (นิ่งๆ)เท่านั้น หากทำเป็นรูปหงส์บินพม่าก็จะถือว่าเป็นศัตรู  ๓. หงส์ยกเท้า มีความหมายในเชิงการเมือง สืบเนื่อง จากทางการพม่าห้ามไม่ใช้รูปหงส์บิน  กลุ่มนักศึกษามอญในมหาวิทยาลับย่างกุ้งได้ออกแบบหงส์ขึ้นใหม่ ยกเท้ากำลังก้าวขาข้างหนึ่งกำลังจะก้าวไปข้างหน้า (๓) แทนความหมายว่าคนมอญจะไม่หยุดการเคลื่อนไหวเรื่องชนชาติและพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าเสมอ  

ในปัจจุบันการสกรีนเสื้อยืดเป็นลวดลายและข้อความภาษามอญสามารถทำได้ง่ายและสะดวก เพราะตั้งแต่มีคอมพิวเตอร์และการพัฒนารูปแบบอักษรมอญที่สามารถใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์  ประกอบกับในเมืองไทยสามารถหาร้านสกรีนได้ง่าย ต่างกับที่เมืองมอญ(ประเทศพม่า) ซึ่งร้านสกรีนเสื้อนั้นหายากและมีราคาแพง ที่สำคัญสังคมไทยให้สิทธิเสรีในการแสดงออกทางความคิด ตราบใดที่ท่าทีและการแสดงออกของคนมอญเหล่านั้นไม่ได้เป็นปฏิปักษ์หรือต่อต้านรัฐบาลไทย  ตรงกันข้ามกับในประเทศพม่าที่รัฐบาลมักมีข้อจำกัดต่อการแสดงออกทางด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อยต่างๆ 

นายอองซอนโม่น อายุ ๒๕ ปีคนมอญจากหมู่บ้านกวักเต่ เมืองมุเดิง จังหวัดมะละแหม่ง เช่าห้องอยู่แถบมหาชัยนิเวศน์ และเข้ามาเป็นแรงงานในสมุทรสาครประมาณ ๙ ปีกล่าวถึงชุดประจำชาติมอญและเสื้อลายมอญให้ฟังว่า
"....เรารู้จักมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เขาก็ทำกันอยู่ เราก็รับรู้ โสร่งแดง เสื้อขาว ชุดประจำชาติเราก็รู้...ความหมายโสร่งคือ สีแดงหมายถึง สีเลือด แสดงว่ารักชาติ ส่วนสีขาวหมายถึงศาสนาและ จิตใจที่ใสสะอาด   ส่วนที่พม่าไม่มีเสื้อที่สกรีนลายหรอกเป็นเสื้อขาวเฉยๆ ตราแบบนี้ไม่มีหรอก ทำไม่ได้หรอกเขาไม่ให้ทำ เขาไม่ให้โอกาส ประเทศไทยนั้นทำได้..." (๔)             

ปัจจุบันเสื้อลายมอญยังคงได้รับการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง นับวันก็จะมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น  หากสามารถถอดความหมายที่อยู่บนเสื้อแต่ละตัว เราคงจะได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การเมือง และสังคมของมอญได้อย่างไม่รู้จบ  เดิมทีนั้นผู้เขียนเองก็ไม่ได้สนใจเสื้อลายมอญเหล่านี้เท่าไหร่นัก มีบ้างตัวสองตัว เมื่อได้เรียนรู้ความหมายที่อยู่บนตัวเสื้อ จากเดิมที่ไม่ได้สนใจก็กลายมาเป็นการสะสม...แล้วก็รอลุ้นว่า....งานวันชาติมอญในปีหน้าเสื้อลายมอญจะเป็นรูปอะไร.!!!!

อ้างอิง
(๑) สัมภาษณ์  มิอู,  คนมอญจากหมู่บ้านฮะปลาง จังหวัดมะละแหม่ง เมืองมอญ ประเทศพม่า,  4 พฤศจิกายน 2549.
(๒) สัมภาษณ์  นายกาวซอน,  คนมอญบ้านแหว่งอะเปาะ เมืองปอง จังหวัดสะเทิม เมืองมอญประเทศพม่า,  ๒๖ พฤศจิกายน,๒๕๔๙.
(๓) พิสัณห์ ปลัดสิงห์,  มอญ ชนชาติไร้แผ่นดิน, กรุงเทพฯ  :  พิมพ์ที่จตุจักรการพิมพ์, ๒๕๒๕. หน้า ๓๒ .
(๔) สัมภาษณ์  นายอองซอนโม่น,  คนมอญจากเมืองมอญ ประเทศพม่า,  ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙.

20_8_01
เสื้อลายมอญรูปมนุษยสิงห์ สัญลักษณ์ของเมืองสะเทิมมีข้อความว่า
"ทหารกู้ชาติมอญ"

20_8_02
เสื้อลายมอญรูปหงส์มีข้อความว่า
"กลุ่มเยาวชนมอญหงสา"

20_8_03 20_8_04
เสื้อลายมอญรูปพระเจ้าราชาธิราช (กษัตริย์มอญ)  มีข้อความว่า
"กลุ่มสามัคคีหงสา"

20_8_05
เสื้อลายมอญรูปพระเจ้าเมียะนูฮอ (กษัตริย์มอญ) ข้อความว่า
"รูปพระเจ้าเมียะนูฮอต้องถูกมัด(พันธนาการ) โดยกษัตริย์พม่า พระเจ้าอโนรธา"

20_8_06
เสื้อลายมอญรูปพระนาง
จามเทวี มีข้อความว่า "กลุ่มทำงานวันชาติมอญครั้งที่ ๕๙ และวีระกษัตรีมอญจามเทวี"

20_8_07
เสื้อลายมอญรูปหงส์และจารึกหนังสือมอญ มีข้อความว่า
"อนุรักษ์กันมาแต่รากเหง้าของเราชาวมอญ และทำทุกอย่างเพื่อชาติจะได้รุ่งเรือง"

20_8_08

20_8_09
เสื้อลายมอญรูปธงชาติมอญ(ด้านหน้า) และรูปหงส์
มีข้อความว่า
"วันชนชาติมอญครั้งที่ ๕๗ ประเทศมาเลเชีย" (ด้านหลัง)

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่