Skip to main content

 

ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น
สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
\\/--break--\>
เมื่อได้เรียนรู้แล้วจึงได้พยายามใช้ศัพท์แสงวิชาการ แม้จะไม่ค่อยเคยคุ้นปาก แต่เอาเถอะ เพื่อการต่อยอดองค์ความรู้แบบบูรณาการองค์รวม การพาตนเองเข้าสู่เวทีวิชาการเชิงวิพากษ์ที่เน้น
“เชิงอรรถ” และ “บรรณานุกรม” (บทความวิชาการบางชิ้นเมื่อเอาเชิงอรรถแต่ละหน้ามารวมกันยาวกว่าเนื้อหาวิชาการ) รวมทั้งการต่อสู้และข่มกันทางวิชาการด้วยทฤษฎีตะวันตก หน้าฉากเสนอปรับเปลี่ยนอคติแบบ “ฝรั่งมักถูกเสมอ” เป็นทัศนคติเชิงบวกมุ่งยกระดับภูมิปัญญาพื้นถิ่นสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่หลังฉากกลับก่อให้เกิดอัตลักษณ์เชิงซ้อนในวงวิชาการวาทกรรมอำพราง

หลังเรียนจบ หลายคนให้เกียรติเรียก
“นักวิชาการ” นับว่าดูดีไม่เลว แต่รู้ตัวดีว่า ถ้าจะเป็นได้อย่างมากก็แค่ “นักวิชาการคนกลุ่มน้อย”

นักวิชาการเยาวชนบางท่านไม่เห็นด้วยกับงานเขียนแบบที่อ้างอิงประวัติศาสตร์ส่วนกลางและโดยเฉพาะการยึดโยงกับราชสำนัก รวมทั้งคนที่มีภาพของความเป็น
“คนใน” และนักเคลื่อนไหวเรื่องวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย จึงถูกกันออกจากนักวิชาการในอุดมคติ หลายท่านไม่จัดให้อยู่ในฐานะนักวิชาการไม่ว่าชายขอบหรือริมขอบ มีเพียงฉายาอันยาวที่ได้จากการทำงานว่า “นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมมอญ” ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง

“การจัดองค์ประกอบความเป็นไทยเสียใหม่ที่เริ่มขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยการดึงเอาความรับรู้ทางประวัติศาสตร์และความคิดฝันของชนชั้นนำไทยยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้กลับมาเป็นแกนกลางของความเป็นไทย พร้อมกับประดับประดาด้วยเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ในฐานะที่พึ่งของไพร่ฟ้าหลากชาติพันธุ์ ได้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรอันอุดมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทย ซึ่งรวมถึงแรงงานต่างด้าว "ชาวพม่า" ในการยืนยันการดำรงอยู่ของพวกตนในดินแดนประเทศไทย

ดังปรากฏตัวอย่างว่า นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมมอญ ได้พยายามเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตน เข้ากับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ฉบับราชการของไทย เพื่อยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐไทยกับชาวมอญที่มีมานับแต่อดีต...
 
ในความเป็นจริง “แรงงานต่างด้าว” นั้นเรื่องหนึ่ง “สิทธิเสรีภาพ มนุษยธรรม เมตตาธรรม” เรื่องหนึ่ง “ความหลากหลายทางชาติพันธุ์” เรื่องหนึ่ง “ประวัติศาสตร์รัฐชาติ” เรื่องหนึ่ง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” เรื่องหนึ่ง และ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ฉบับเขียนใหม่” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นง่ายในเร็ววันอย่างที่นักวิชาการเยาวชนคิดฝัน แม้ทั้งหมดนี้จะสามารถ “บูรณาการ” เข้ากันได้ก็ตามแต่ก็ต้องแยกคิดพิเคราะห์ในรายละเอียด

“คนในวัฒนธรรม” หลายคน ซึ่งอาจมีผมรวมอยู่ด้วยในนั้น แวดวงวิชาการเรียกว่า “คนใน” ถูกจัดวางให้เป็น “แหล่งข้อมูล” และชุมชนของพวกเราคือ “พื้นที่ศึกษา” ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์ด้วยกันลงพื้นที่ศึกษามนุษย์ด้วยกันเองแต่เข้าไม่ถึงมนุษย์ แม้พยายามจัดวางตัวเองชนิด “วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” แต่ก็เป็นได้แค่เพียง นักวิชาการแบบชะโงกทัวร์ พกทฤษฎีตะวันตกอย่างบ้าหอบฟาง ตั้งสมมุติฐานขึ้นไล่เลี่ยกับคำตอบ เพียงใส่ชื่อแหล่งข้อมูลและพื้นที่วิจัยเข้าไป เลือกอ่าน เลือกฟัง และเลือกหยิบข้อมูลบางอย่างด้วยสายตา (แว่น) ที่มีอคติส่วนตัว วิเคราะห์อย่างผิวเผินเป็นงานวิจัยเล่มหนา สิ่งที่ตามมาภายหลังงานวิจัยในตู้เหล็กปิดตายก็คือ ตำแหน่งทางวิชาการ และองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องราวว่าด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ “แหล่งข้อมูล” และ “พื้นที่ศึกษา” ด้วยภาษาขั้นเทพ ข้อมูลที่ได้นั้นแม้จะเป็นความจริงแต่ไม่ทั้งหมด เป็นเพียงความจริงที่เกิดขึ้นในบางวันเวลาและเหตุแห่งปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช่ทุกบริบทแห่งปัจจัย

ข้อรังเกียจที่ว่า การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์แอบอิงประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนักของคนกลุ่มน้อยอย่างพวกเรา เช่น หญิงมอญ อำนาจ และราชสำนัก, เจ้าจอมโซ่ง, กำเนิดต้นแซ่และการตั้งนามสกุลจากแซ่ของลูกจีนในไทย และ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี เป็นต้น งานเหล่านี้แตกต่างกันในเรื่องของเนื้อหาและการนำเสนอ แต่หลักใหญ่ใจความก็คือ ต่างต้องการพื้นที่นำเสนอ การประกาศตัวตน ที่มิได้เป็นอากาศธาตุ ไม่ได้ต้องการเป็นเพียงผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร รอรับฝนจากฟ้าเท่านั้น ความอิ่มเอมมิได้อยู่ที่ปากท้องอย่างเดียว จิตใจก็สำคัญไม่ต่างกัน

งานลักษณะดังกล่าวไม่ตอบโจทย์นักวิชาการ แต่ตอบโจทย์ชนกลุ่มน้อย เพราะเรื่องเล่าที่บอกรากเหง้าและการมีตัวตนของบรรพชนในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงคนกลุ่มน้อยหรือคนชายขอบ (คนเพศที่สาม คนพิการ คนป่วย คนไร้บ้าน ชนกลุ่มน้อย คนชาติพันธุ์ คนชายขอบสวัสดิการรัฐ) เท่านั้น แต่มันได้แสดงให้คนเหล่านี้ซึ่งรวมกันแล้วเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมได้มีส่วนในการภาคภูมิใจว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างสังคม ก็เพื่อการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่ต้องเหนือหรือด้อยกว่าใครในสังคมเดียวกัน

อันที่จริงแล้ว นักวิชาการในสังคมเรามีไม่มากนัก หากรวมคนกลุ่มน้อยและคนชายขอบทุกกลุ่มเข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ยิ่งนับเฉพาะนักวิชาการที่ห่างไกลต่อการทำความเข้าใจประเด็นเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันต่างหากที่เป็น
“นักวิชาการชายขอบ”

การที่คนกลุ่มน้อยและคนชายขอบเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประวัติศาสตร์ส่วนกลางในยุคที่นักวิชาการชายขอบเห็นว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย ไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มน้อยทั้งหมดยอมรับในอำนาจ แต่เป็นการต่อสู้กับอำนาจด้วยอำนาจที่กดทับพวกเขามานาน เพื่อประกาศพื้นที่ของตน ปัจจัยทั้งสองประการจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อย่างที่  นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้ว่า

“ช่องโหว่ที่ทำให้ ‘ประวัติศาสตร์แห่งชาติ’ สำนวนนี้ไม่ลงตัวดังกล่าว ในภายหลังมีความพยายามที่จะทดแทนด้วยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก็มีปัญหาตรงที่หลายครั้งด้วยกันเป็นการศึกษาที่อาศัยกรอบโครงของ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ทำให้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับราชธานี (ดังเช่นพงศาวดารท้องถิ่นส่วนใหญ่ซึ่งเขียนกันขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ท้องถิ่นไม่ได้เป็นฝ่ายรับ (
passive) เพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงท้องถิ่นเป็นหน่วยการเมืองที่เลือกการกระทำที่มองผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งต่างหาก อีกทั้งมีโครงสร้างอำนาจและโครงสร้างสังคมภายในที่เป็นอิสระจากการกำกับของราชธานี แต่การมองท้องถิ่นอย่างเป็นอิสระนี้ ซึ่งเริ่มกระทำกันมากขึ้นในภายหลัง กลับก่อให้เกิดความวิตกกังวล แก่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและนักวิชาการอนุรักษ์นิยม เกรงกันว่าจะทำให้เกิดความแตกแยกในชาติ...”

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของคนกลุ่มน้อยจึงต้องอาศัยประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนัก ซึ่งสามารถสนองประโยชน์ได้ ในขณะที่
“นักวิชาการชายขอบ” ปฏิเสธทั้งประวัติศาสตร์ส่วนกลาง ปฏิเสธทั้งคนกลุ่มน้อยที่อาศัยประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนัก “นักวิชาการชายขอบ” เหล่านี้ จึงไม่เคยเข้าใจคนกลุ่มน้อยและแม้แต่ตัวเอง ในเวทีวิชาการจึงมักเกิดปรากฏการณ์พูดอย่างทำอย่าง ดังศัพท์วิชาการสวยหรูที่ว่า “ย้อนแย้ง”

ข้อชวนฉงนนั้นคือ สถาบันวิชาการหลายแห่งที่เป็นติ่งหนึ่งของมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาชน ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตนักวิชาการและผลงานวิชาการ หลายแห่งมีชื่อสถาบันเป็นพระนามของสมาชิกราชวงศ์ บางแห่งอาศัยวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๓ รอบ ๔ รอบ หรือหลายๆ รอบ ในการก่อตั้งสถาบัน แม้การก่อตั้งสถาบันจะไม่ได้รับพระราชทานทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง แต่การใช้ชื่อสมาชิกใน
“สถาบัน” มาเป็นชื่อ “สถาบัน” เริ่มตั้งแต่การเวนคืนที่ดินได้โดยง่าย งบประมาณและตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น แม้กระทั่งความน่าเชื่อถือเพื่อการแสวงหาทุนและความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการก่อตั้งสถาบัน เหล่านี้ถือเป็นการนำพาตนเองเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับส่วนกลางและราชสำนักหรือไม่
 
 
 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…