Skip to main content

 

ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น
สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
\\/--break--\>
เมื่อได้เรียนรู้แล้วจึงได้พยายามใช้ศัพท์แสงวิชาการ แม้จะไม่ค่อยเคยคุ้นปาก แต่เอาเถอะ เพื่อการต่อยอดองค์ความรู้แบบบูรณาการองค์รวม การพาตนเองเข้าสู่เวทีวิชาการเชิงวิพากษ์ที่เน้น
“เชิงอรรถ” และ “บรรณานุกรม” (บทความวิชาการบางชิ้นเมื่อเอาเชิงอรรถแต่ละหน้ามารวมกันยาวกว่าเนื้อหาวิชาการ) รวมทั้งการต่อสู้และข่มกันทางวิชาการด้วยทฤษฎีตะวันตก หน้าฉากเสนอปรับเปลี่ยนอคติแบบ “ฝรั่งมักถูกเสมอ” เป็นทัศนคติเชิงบวกมุ่งยกระดับภูมิปัญญาพื้นถิ่นสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่หลังฉากกลับก่อให้เกิดอัตลักษณ์เชิงซ้อนในวงวิชาการวาทกรรมอำพราง

หลังเรียนจบ หลายคนให้เกียรติเรียก
“นักวิชาการ” นับว่าดูดีไม่เลว แต่รู้ตัวดีว่า ถ้าจะเป็นได้อย่างมากก็แค่ “นักวิชาการคนกลุ่มน้อย”

นักวิชาการเยาวชนบางท่านไม่เห็นด้วยกับงานเขียนแบบที่อ้างอิงประวัติศาสตร์ส่วนกลางและโดยเฉพาะการยึดโยงกับราชสำนัก รวมทั้งคนที่มีภาพของความเป็น
“คนใน” และนักเคลื่อนไหวเรื่องวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย จึงถูกกันออกจากนักวิชาการในอุดมคติ หลายท่านไม่จัดให้อยู่ในฐานะนักวิชาการไม่ว่าชายขอบหรือริมขอบ มีเพียงฉายาอันยาวที่ได้จากการทำงานว่า “นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมมอญ” ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง

“การจัดองค์ประกอบความเป็นไทยเสียใหม่ที่เริ่มขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยการดึงเอาความรับรู้ทางประวัติศาสตร์และความคิดฝันของชนชั้นนำไทยยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้กลับมาเป็นแกนกลางของความเป็นไทย พร้อมกับประดับประดาด้วยเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ในฐานะที่พึ่งของไพร่ฟ้าหลากชาติพันธุ์ ได้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรอันอุดมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทย ซึ่งรวมถึงแรงงานต่างด้าว "ชาวพม่า" ในการยืนยันการดำรงอยู่ของพวกตนในดินแดนประเทศไทย

ดังปรากฏตัวอย่างว่า นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมมอญ ได้พยายามเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตน เข้ากับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ฉบับราชการของไทย เพื่อยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐไทยกับชาวมอญที่มีมานับแต่อดีต...
 
ในความเป็นจริง “แรงงานต่างด้าว” นั้นเรื่องหนึ่ง “สิทธิเสรีภาพ มนุษยธรรม เมตตาธรรม” เรื่องหนึ่ง “ความหลากหลายทางชาติพันธุ์” เรื่องหนึ่ง “ประวัติศาสตร์รัฐชาติ” เรื่องหนึ่ง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” เรื่องหนึ่ง และ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ฉบับเขียนใหม่” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นง่ายในเร็ววันอย่างที่นักวิชาการเยาวชนคิดฝัน แม้ทั้งหมดนี้จะสามารถ “บูรณาการ” เข้ากันได้ก็ตามแต่ก็ต้องแยกคิดพิเคราะห์ในรายละเอียด

“คนในวัฒนธรรม” หลายคน ซึ่งอาจมีผมรวมอยู่ด้วยในนั้น แวดวงวิชาการเรียกว่า “คนใน” ถูกจัดวางให้เป็น “แหล่งข้อมูล” และชุมชนของพวกเราคือ “พื้นที่ศึกษา” ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์ด้วยกันลงพื้นที่ศึกษามนุษย์ด้วยกันเองแต่เข้าไม่ถึงมนุษย์ แม้พยายามจัดวางตัวเองชนิด “วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” แต่ก็เป็นได้แค่เพียง นักวิชาการแบบชะโงกทัวร์ พกทฤษฎีตะวันตกอย่างบ้าหอบฟาง ตั้งสมมุติฐานขึ้นไล่เลี่ยกับคำตอบ เพียงใส่ชื่อแหล่งข้อมูลและพื้นที่วิจัยเข้าไป เลือกอ่าน เลือกฟัง และเลือกหยิบข้อมูลบางอย่างด้วยสายตา (แว่น) ที่มีอคติส่วนตัว วิเคราะห์อย่างผิวเผินเป็นงานวิจัยเล่มหนา สิ่งที่ตามมาภายหลังงานวิจัยในตู้เหล็กปิดตายก็คือ ตำแหน่งทางวิชาการ และองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องราวว่าด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ “แหล่งข้อมูล” และ “พื้นที่ศึกษา” ด้วยภาษาขั้นเทพ ข้อมูลที่ได้นั้นแม้จะเป็นความจริงแต่ไม่ทั้งหมด เป็นเพียงความจริงที่เกิดขึ้นในบางวันเวลาและเหตุแห่งปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช่ทุกบริบทแห่งปัจจัย

ข้อรังเกียจที่ว่า การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์แอบอิงประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนักของคนกลุ่มน้อยอย่างพวกเรา เช่น หญิงมอญ อำนาจ และราชสำนัก, เจ้าจอมโซ่ง, กำเนิดต้นแซ่และการตั้งนามสกุลจากแซ่ของลูกจีนในไทย และ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี เป็นต้น งานเหล่านี้แตกต่างกันในเรื่องของเนื้อหาและการนำเสนอ แต่หลักใหญ่ใจความก็คือ ต่างต้องการพื้นที่นำเสนอ การประกาศตัวตน ที่มิได้เป็นอากาศธาตุ ไม่ได้ต้องการเป็นเพียงผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร รอรับฝนจากฟ้าเท่านั้น ความอิ่มเอมมิได้อยู่ที่ปากท้องอย่างเดียว จิตใจก็สำคัญไม่ต่างกัน

งานลักษณะดังกล่าวไม่ตอบโจทย์นักวิชาการ แต่ตอบโจทย์ชนกลุ่มน้อย เพราะเรื่องเล่าที่บอกรากเหง้าและการมีตัวตนของบรรพชนในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงคนกลุ่มน้อยหรือคนชายขอบ (คนเพศที่สาม คนพิการ คนป่วย คนไร้บ้าน ชนกลุ่มน้อย คนชาติพันธุ์ คนชายขอบสวัสดิการรัฐ) เท่านั้น แต่มันได้แสดงให้คนเหล่านี้ซึ่งรวมกันแล้วเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมได้มีส่วนในการภาคภูมิใจว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างสังคม ก็เพื่อการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่ต้องเหนือหรือด้อยกว่าใครในสังคมเดียวกัน

อันที่จริงแล้ว นักวิชาการในสังคมเรามีไม่มากนัก หากรวมคนกลุ่มน้อยและคนชายขอบทุกกลุ่มเข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ยิ่งนับเฉพาะนักวิชาการที่ห่างไกลต่อการทำความเข้าใจประเด็นเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันต่างหากที่เป็น
“นักวิชาการชายขอบ”

การที่คนกลุ่มน้อยและคนชายขอบเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประวัติศาสตร์ส่วนกลางในยุคที่นักวิชาการชายขอบเห็นว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย ไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มน้อยทั้งหมดยอมรับในอำนาจ แต่เป็นการต่อสู้กับอำนาจด้วยอำนาจที่กดทับพวกเขามานาน เพื่อประกาศพื้นที่ของตน ปัจจัยทั้งสองประการจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อย่างที่  นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้ว่า

“ช่องโหว่ที่ทำให้ ‘ประวัติศาสตร์แห่งชาติ’ สำนวนนี้ไม่ลงตัวดังกล่าว ในภายหลังมีความพยายามที่จะทดแทนด้วยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก็มีปัญหาตรงที่หลายครั้งด้วยกันเป็นการศึกษาที่อาศัยกรอบโครงของ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ทำให้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับราชธานี (ดังเช่นพงศาวดารท้องถิ่นส่วนใหญ่ซึ่งเขียนกันขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ท้องถิ่นไม่ได้เป็นฝ่ายรับ (
passive) เพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงท้องถิ่นเป็นหน่วยการเมืองที่เลือกการกระทำที่มองผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งต่างหาก อีกทั้งมีโครงสร้างอำนาจและโครงสร้างสังคมภายในที่เป็นอิสระจากการกำกับของราชธานี แต่การมองท้องถิ่นอย่างเป็นอิสระนี้ ซึ่งเริ่มกระทำกันมากขึ้นในภายหลัง กลับก่อให้เกิดความวิตกกังวล แก่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและนักวิชาการอนุรักษ์นิยม เกรงกันว่าจะทำให้เกิดความแตกแยกในชาติ...”

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของคนกลุ่มน้อยจึงต้องอาศัยประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนัก ซึ่งสามารถสนองประโยชน์ได้ ในขณะที่
“นักวิชาการชายขอบ” ปฏิเสธทั้งประวัติศาสตร์ส่วนกลาง ปฏิเสธทั้งคนกลุ่มน้อยที่อาศัยประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนัก “นักวิชาการชายขอบ” เหล่านี้ จึงไม่เคยเข้าใจคนกลุ่มน้อยและแม้แต่ตัวเอง ในเวทีวิชาการจึงมักเกิดปรากฏการณ์พูดอย่างทำอย่าง ดังศัพท์วิชาการสวยหรูที่ว่า “ย้อนแย้ง”

ข้อชวนฉงนนั้นคือ สถาบันวิชาการหลายแห่งที่เป็นติ่งหนึ่งของมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาชน ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตนักวิชาการและผลงานวิชาการ หลายแห่งมีชื่อสถาบันเป็นพระนามของสมาชิกราชวงศ์ บางแห่งอาศัยวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๓ รอบ ๔ รอบ หรือหลายๆ รอบ ในการก่อตั้งสถาบัน แม้การก่อตั้งสถาบันจะไม่ได้รับพระราชทานทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง แต่การใช้ชื่อสมาชิกใน
“สถาบัน” มาเป็นชื่อ “สถาบัน” เริ่มตั้งแต่การเวนคืนที่ดินได้โดยง่าย งบประมาณและตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น แม้กระทั่งความน่าเชื่อถือเพื่อการแสวงหาทุนและความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการก่อตั้งสถาบัน เหล่านี้ถือเป็นการนำพาตนเองเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับส่วนกลางและราชสำนักหรือไม่
 
 
 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…