Skip to main content

 

ผมไม่ได้คิดฝันว่าจะเป็นนักวิชาการมาแต่ต้น
สู้เรียนเพิ่มจากระดับปริญญาตรีในศาสตร์คนละแขนงต่างขั้ว แค่หวังเพียงจะได้รับฟังและพูดคุยอธิบายความกับนักวิชาการทั้งหลายให้รู้เรื่องบ้างเท่านั้น
\\/--break--\>
เมื่อได้เรียนรู้แล้วจึงได้พยายามใช้ศัพท์แสงวิชาการ แม้จะไม่ค่อยเคยคุ้นปาก แต่เอาเถอะ เพื่อการต่อยอดองค์ความรู้แบบบูรณาการองค์รวม การพาตนเองเข้าสู่เวทีวิชาการเชิงวิพากษ์ที่เน้น
“เชิงอรรถ” และ “บรรณานุกรม” (บทความวิชาการบางชิ้นเมื่อเอาเชิงอรรถแต่ละหน้ามารวมกันยาวกว่าเนื้อหาวิชาการ) รวมทั้งการต่อสู้และข่มกันทางวิชาการด้วยทฤษฎีตะวันตก หน้าฉากเสนอปรับเปลี่ยนอคติแบบ “ฝรั่งมักถูกเสมอ” เป็นทัศนคติเชิงบวกมุ่งยกระดับภูมิปัญญาพื้นถิ่นสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่หลังฉากกลับก่อให้เกิดอัตลักษณ์เชิงซ้อนในวงวิชาการวาทกรรมอำพราง

หลังเรียนจบ หลายคนให้เกียรติเรียก
“นักวิชาการ” นับว่าดูดีไม่เลว แต่รู้ตัวดีว่า ถ้าจะเป็นได้อย่างมากก็แค่ “นักวิชาการคนกลุ่มน้อย”

นักวิชาการเยาวชนบางท่านไม่เห็นด้วยกับงานเขียนแบบที่อ้างอิงประวัติศาสตร์ส่วนกลางและโดยเฉพาะการยึดโยงกับราชสำนัก รวมทั้งคนที่มีภาพของความเป็น
“คนใน” และนักเคลื่อนไหวเรื่องวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย จึงถูกกันออกจากนักวิชาการในอุดมคติ หลายท่านไม่จัดให้อยู่ในฐานะนักวิชาการไม่ว่าชายขอบหรือริมขอบ มีเพียงฉายาอันยาวที่ได้จากการทำงานว่า “นักเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมมอญ” ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง

“การจัดองค์ประกอบความเป็นไทยเสียใหม่ที่เริ่มขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยการดึงเอาความรับรู้ทางประวัติศาสตร์และความคิดฝันของชนชั้นนำไทยยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้กลับมาเป็นแกนกลางของความเป็นไทย พร้อมกับประดับประดาด้วยเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ในฐานะที่พึ่งของไพร่ฟ้าหลากชาติพันธุ์ ได้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรอันอุดมของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทย ซึ่งรวมถึงแรงงานต่างด้าว "ชาวพม่า" ในการยืนยันการดำรงอยู่ของพวกตนในดินแดนประเทศไทย

ดังปรากฏตัวอย่างว่า นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมมอญ ได้พยายามเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของตน เข้ากับบทบาทของพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ฉบับราชการของไทย เพื่อยืนยันความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐไทยกับชาวมอญที่มีมานับแต่อดีต...
 
ในความเป็นจริง “แรงงานต่างด้าว” นั้นเรื่องหนึ่ง “สิทธิเสรีภาพ มนุษยธรรม เมตตาธรรม” เรื่องหนึ่ง “ความหลากหลายทางชาติพันธุ์” เรื่องหนึ่ง “ประวัติศาสตร์รัฐชาติ” เรื่องหนึ่ง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” เรื่องหนึ่ง และ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ฉบับเขียนใหม่” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นง่ายในเร็ววันอย่างที่นักวิชาการเยาวชนคิดฝัน แม้ทั้งหมดนี้จะสามารถ “บูรณาการ” เข้ากันได้ก็ตามแต่ก็ต้องแยกคิดพิเคราะห์ในรายละเอียด

“คนในวัฒนธรรม” หลายคน ซึ่งอาจมีผมรวมอยู่ด้วยในนั้น แวดวงวิชาการเรียกว่า “คนใน” ถูกจัดวางให้เป็น “แหล่งข้อมูล” และชุมชนของพวกเราคือ “พื้นที่ศึกษา” ไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์ด้วยกันลงพื้นที่ศึกษามนุษย์ด้วยกันเองแต่เข้าไม่ถึงมนุษย์ แม้พยายามจัดวางตัวเองชนิด “วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” แต่ก็เป็นได้แค่เพียง นักวิชาการแบบชะโงกทัวร์ พกทฤษฎีตะวันตกอย่างบ้าหอบฟาง ตั้งสมมุติฐานขึ้นไล่เลี่ยกับคำตอบ เพียงใส่ชื่อแหล่งข้อมูลและพื้นที่วิจัยเข้าไป เลือกอ่าน เลือกฟัง และเลือกหยิบข้อมูลบางอย่างด้วยสายตา (แว่น) ที่มีอคติส่วนตัว วิเคราะห์อย่างผิวเผินเป็นงานวิจัยเล่มหนา สิ่งที่ตามมาภายหลังงานวิจัยในตู้เหล็กปิดตายก็คือ ตำแหน่งทางวิชาการ และองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องราวว่าด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ “แหล่งข้อมูล” และ “พื้นที่ศึกษา” ด้วยภาษาขั้นเทพ ข้อมูลที่ได้นั้นแม้จะเป็นความจริงแต่ไม่ทั้งหมด เป็นเพียงความจริงที่เกิดขึ้นในบางวันเวลาและเหตุแห่งปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช่ทุกบริบทแห่งปัจจัย

ข้อรังเกียจที่ว่า การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์แอบอิงประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนักของคนกลุ่มน้อยอย่างพวกเรา เช่น หญิงมอญ อำนาจ และราชสำนัก, เจ้าจอมโซ่ง, กำเนิดต้นแซ่และการตั้งนามสกุลจากแซ่ของลูกจีนในไทย และ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี เป็นต้น งานเหล่านี้แตกต่างกันในเรื่องของเนื้อหาและการนำเสนอ แต่หลักใหญ่ใจความก็คือ ต่างต้องการพื้นที่นำเสนอ การประกาศตัวตน ที่มิได้เป็นอากาศธาตุ ไม่ได้ต้องการเป็นเพียงผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร รอรับฝนจากฟ้าเท่านั้น ความอิ่มเอมมิได้อยู่ที่ปากท้องอย่างเดียว จิตใจก็สำคัญไม่ต่างกัน

งานลักษณะดังกล่าวไม่ตอบโจทย์นักวิชาการ แต่ตอบโจทย์ชนกลุ่มน้อย เพราะเรื่องเล่าที่บอกรากเหง้าและการมีตัวตนของบรรพชนในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงคนกลุ่มน้อยหรือคนชายขอบ (คนเพศที่สาม คนพิการ คนป่วย คนไร้บ้าน ชนกลุ่มน้อย คนชาติพันธุ์ คนชายขอบสวัสดิการรัฐ) เท่านั้น แต่มันได้แสดงให้คนเหล่านี้ซึ่งรวมกันแล้วเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมได้มีส่วนในการภาคภูมิใจว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างสังคม ก็เพื่อการอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่ต้องเหนือหรือด้อยกว่าใครในสังคมเดียวกัน

อันที่จริงแล้ว นักวิชาการในสังคมเรามีไม่มากนัก หากรวมคนกลุ่มน้อยและคนชายขอบทุกกลุ่มเข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ยิ่งนับเฉพาะนักวิชาการที่ห่างไกลต่อการทำความเข้าใจประเด็นเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันต่างหากที่เป็น
“นักวิชาการชายขอบ”

การที่คนกลุ่มน้อยและคนชายขอบเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประวัติศาสตร์ส่วนกลางในยุคที่นักวิชาการชายขอบเห็นว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัย ไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มน้อยทั้งหมดยอมรับในอำนาจ แต่เป็นการต่อสู้กับอำนาจด้วยอำนาจที่กดทับพวกเขามานาน เพื่อประกาศพื้นที่ของตน ปัจจัยทั้งสองประการจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อย่างที่  นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้ว่า

“ช่องโหว่ที่ทำให้ ‘ประวัติศาสตร์แห่งชาติ’ สำนวนนี้ไม่ลงตัวดังกล่าว ในภายหลังมีความพยายามที่จะทดแทนด้วยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก็มีปัญหาตรงที่หลายครั้งด้วยกันเป็นการศึกษาที่อาศัยกรอบโครงของ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ทำให้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับราชธานี (ดังเช่นพงศาวดารท้องถิ่นส่วนใหญ่ซึ่งเขียนกันขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ท้องถิ่นไม่ได้เป็นฝ่ายรับ (
passive) เพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงท้องถิ่นเป็นหน่วยการเมืองที่เลือกการกระทำที่มองผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งต่างหาก อีกทั้งมีโครงสร้างอำนาจและโครงสร้างสังคมภายในที่เป็นอิสระจากการกำกับของราชธานี แต่การมองท้องถิ่นอย่างเป็นอิสระนี้ ซึ่งเริ่มกระทำกันมากขึ้นในภายหลัง กลับก่อให้เกิดความวิตกกังวล แก่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและนักวิชาการอนุรักษ์นิยม เกรงกันว่าจะทำให้เกิดความแตกแยกในชาติ...”

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของคนกลุ่มน้อยจึงต้องอาศัยประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนัก ซึ่งสามารถสนองประโยชน์ได้ ในขณะที่
“นักวิชาการชายขอบ” ปฏิเสธทั้งประวัติศาสตร์ส่วนกลาง ปฏิเสธทั้งคนกลุ่มน้อยที่อาศัยประวัติศาสตร์ส่วนกลางและราชสำนัก “นักวิชาการชายขอบ” เหล่านี้ จึงไม่เคยเข้าใจคนกลุ่มน้อยและแม้แต่ตัวเอง ในเวทีวิชาการจึงมักเกิดปรากฏการณ์พูดอย่างทำอย่าง ดังศัพท์วิชาการสวยหรูที่ว่า “ย้อนแย้ง”

ข้อชวนฉงนนั้นคือ สถาบันวิชาการหลายแห่งที่เป็นติ่งหนึ่งของมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาชน ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตนักวิชาการและผลงานวิชาการ หลายแห่งมีชื่อสถาบันเป็นพระนามของสมาชิกราชวงศ์ บางแห่งอาศัยวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ ๓ รอบ ๔ รอบ หรือหลายๆ รอบ ในการก่อตั้งสถาบัน แม้การก่อตั้งสถาบันจะไม่ได้รับพระราชทานทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง แต่การใช้ชื่อสมาชิกใน
“สถาบัน” มาเป็นชื่อ “สถาบัน” เริ่มตั้งแต่การเวนคืนที่ดินได้โดยง่าย งบประมาณและตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น แม้กระทั่งความน่าเชื่อถือเพื่อการแสวงหาทุนและความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการก่อตั้งสถาบัน เหล่านี้ถือเป็นการนำพาตนเองเข้าไปสัมพันธ์อยู่กับส่วนกลางและราชสำนักหรือไม่
 
 
 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่